วจีรักษ์ ต้อนรับเข้าบล็อกค่ะ
Group Blog
 
All blogs
 

ดอกทานตะวัน













ทานตะวันเป็นพืชน้ำมันที่สำคัญทางเศรษฐกิจรองจากถั่วเหลือง และปาล์มน้ำมัน ทานตะวันค่อนข้างทนแล้งได้ดี เมื่อเปรียบเทียบกับพืชไร่ชนิดอื่น เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง และถั่วเขียว เมล็ดทานตะวันมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ส่วนกากที่ได้หลังจากสกัดน้ำมันแล้วมีโปรตีน 40-50 เปอร์เซ็นต์ น้ำมันทานตะวันมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวประมาณ 88 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าถั่วเหลือง และน้ำมันปาล์ม และมีสาร antioxidants กันหืนได้ดีสามารถเก็บไว้ได้นานกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น เนื่องจากน้ำมันทานตะวันมีคุณค่าสูง จึงเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศเพื่อการบริโภค และใช้ในอุตสาหกรรมเช่น น้ำมันชักเงา น้ำมันหล่อลื่น สีทาบ้าน ส่วนลำต้นทานตะวันสามารถนำไปทำกระดาษคุณภาพดี

ปัญหาของพืช ข้อจำกัด และโอกาส

• ขาดพันธุ์คุณภาพดีของทางราชการ แม้ว่าหลายหน่วยงานได้ทำการวิจัย ทานตะวันมานานกว่า 30 ปี แต่ยังไม่มีพันธุ์ทานตะวันที่จะส่งเสริมให้ เกษตรกรปลูก
• ราคาจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ค่อนข้างสูงประมาณ 180-240 บาทต่อกิโลกรัม คิดเป็น 20-25 เปอร์เซ็นต์ของต้นทุนการผลิต
• การปลูกทานตะวันในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม
• ผลผลิตทานตะวันค่อนข้างต่ำ

พันธุ์

การเลือกพันธุ์
• ผลผลิตสูง คุณภาพดี และตรงตามความต้องการของตลาด
• ต้านทานต่อศัตรูพืช
• เจริญเติบโตดี เหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศที่ปลูก

พันธุ์ที่นิยมปลูก

พันธุ์สำหรับใช้สกัดน้ำมัน
แปซิฟิก 33
เป็นพันธุ์ลูกผสมนำเข้าจากต่างประเทศ มีความสามารถในการผสมตัวเอง เปอร์เซ็นต์ติดเมล็ด 96 เปอร์เซ็นต์ อายุดอกบาน 58 วัน อายุเก็บเกี่ยว 92 วัน เส้นผ่าศูนย์กลางจานดอก 13 เซนติเมตร ผลผลิต 218 กิโลกรัมต่อไร่ น้ำหนัก 1000 เมล็ด 49 กรัม เมล็ดสีดำลายเทา น้ำมันในเมล็ด 39 เปอร์เซ็นต์

พันธุ์เชียงใหม่ 1
เป็นพันธุ์ผสมเปิด (พันธุ์สังเคราะห์) ที่พัฒนาขึ้นในประเทศ เปอร์เซ็นต์ติดเมล็ด 90 เปอร์เซ็นต์ อายุดอกบาน 58 วัน อายุเก็บเกี่ยว 100 วัน เส้นผ่าศูนย์กลางจานดอก 15 เซนติเมตร ผลผลิต 203 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิต 203 กิโลกรัมต่อไร่ น้ำหนัก 1000 เมล็ด 48 กรัม เมล็ดสีดำ น้ำมันในเมล็ด 35 เปอร์เซ็นต์

พันธุ์สำหรับใช้ขบเคี้ยว
พันธุ์แม่สาย
เป็นพันธุ์ผสมเปิด อายุดอกบาน 64 วัน ขนาดจานดอกค่อนข้างใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 19 เซนติเมตร อายุเก็บเกี่ยว 107 วัน ให้ผลผลิตดีที่สุดในเขตภาคเหนือ 309 กิโลกรัมต่อไร่ มีขนาดเมล็ดค่อนข้างใหญ่ ขนาดเมล็ดหลังกะเทาะ กว้างx ยาว x หนา เท่ากับ 1.3 x 0.5 x 0.2 เซนติเมตร น้ำหนัก 1000 เมล็ด 112 กรัม น้ำมันในเมล็ดค่อนข้างต่ำ 33 เปอร์เซ็นต์

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

• พื้นที่ดอน หรือที่ลุ่มไม่มีน้ำท่วมขัง มีความลาดเอียงไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์
• ความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 500 เมตร
• ดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว หรือดินเหนียว มีการระบายน้ำ และถ่ายเทอากาศดี
• ดินควรมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีอินทรีย์วัตถุไม่ต่ำกว่า 1 เปอร์เซ็นต์
• ค่าความเป็นกรดด่างระหว่าง 6.0-7.5
• อุณหภูมิที่เหมาะสมประมาณ 18-35 องศาเซลเซียส
• ปริมาณน้ำฝนกระจายสม่ำเสมอ 800-1,200 มิลลิเมตรตลอดปี

การปลูก

ฤดูปลูก
• ในสภาพไร่ ปลูกในช่วงปลายฤดูฝน เดือนกันยายน-กลางเดือนตุลาคม มีปริมาณน้ำฝนตกกระจายสม่ำเสมอตลอดช่วงฤดูปลูก 400-600 มิลลิเมตร
• ในสภาพนา ปลูกในช่วงฤดูแล้ง เดือนตุลาคม-ธันวาคม
• ในสภาพไร่ที่มีน้ำชลประทาน สามารถปลูกในช่วงดังกล่าวได้เช่นกัน

การเตรียมดิน
• ในสภาพไร่ ไถดะลึก 30-35 เซนติเมตร ตากดินไว้ 7 วัน แล้วไถพรวนดินด้วยผาล 7 อีกครั้งหนึ่ง
• ในสภาพนา ไถดะลึก 20-25 เซนติเมตร ตากดินไว้ 7 วัน แล้วไถพรวนดินด้วยผาล 7 อีกครั้ง ยกร่องปลูก อาจเป็นร่องสำหรับ ปลูกแถวเดียว หรือแถวคู่ โดยยกร่องกว้าง 1.5 เมตร

วิธีการปลูก
ระยะปลูก 75 x 25 เซนติเมตร หยอดเมล็ด 2 เมล็ดต่อหลุม ลึก 4-5 เซนติเมตร แล้วกลบหลุม ถอนแยกให้เหลือ 1 ต้นต่อหลุมหลังงอกแล้ว 10 วัน รวมประมาณ 8,533 ต้นต่อไร่

การดูแลรักษา

การให้ปุ๋ย
• ดินร่วนทราย หรือดินร่วนปนทราย มีอินทรียวัตถุต่ำกว่า 1.0 เปอร์เซ็นต์ ให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-8 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่พร้อมปลูก (รองก้นร่อง หรือก้นหลุม) 25 กิโลกรัม และอีกครึ่งหนึ่งให้ครั้งที่ 2 ร่วมกับปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 46-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ โดยโรยข้างแถวแล้วกลบ เมื่อทานตะวันอายุ 20-25 วันหลังงอก หรือสูตร 16-8-8 อัตรา 60-70 กิโลกรัมต่อไร่ โดยแบ่งครึ่ง ครึ่งแรกใส่รองก้นร่องพร้อมปลูก และครั้งที่ 2 โรยข้างแถวแล้วพรวนกลบ เมื่อทานตะวันอายุ 20-25 วันหลังงอก
• ดินร่วนสีน้ำตาล ให้ปุ๋ยสูตร 20 - 20 - 0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 16-20-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ พร้อมปลูก และที่อายุ 20-25 วันหลังงอก ให้ปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 46-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ โดยโรยข้างแถวแล้วกลบ
• ดินเหนียวสีดำ ให้ปุ๋ยสูตร 21-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่ พร้อมปลูก รองก้นหลุม 25 กิโลกรัม และอีกครึ่งหนึ่ง ให้ครั้งที่ 2 โดยโรยข้างแถวแล้วกลบ เมื่อทานตะวันอายุ 20-25 วันหลังปลูก
• ดินเหนียวสีแดง ให้ปุ๋ยสูตร 20-20-0 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกใส่พร้อมปลูก (รองก้นร่อง หรือก้นหลุม) 25 กิโลกรัม และให้ครั้งที่สองอีก 25 กิโลกรัมเมื่อทานตะวันอายุ 20-25 วันหลังงอก

การให้น้ำ
• ในสภาพนา หรือในสภาพไร่ การปลูกในช่วงฤดูแล้ง โดยการให้น้ำ ชลประทาน ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอในปริมาณ 30-35 มิลลิเมตรต่อครั้ง ทุก ๆ 10-14 วัน และหยุดให้น้ำเมื่อสิ้นสุดระยะสร้างเมล็ด หรือประมาณ 20-25 วันหลังดอกบานแล้ว รวม 6-7 ครั้งตลอดฤดูปลูก
• ในกรณีที่ให้น้ำตามร่องระหว่างแถวปลูก ควรให้น้ำสูงระดับ 2 ใน 3 ของระดับความลึกของร่อง หลังให้น้ำแล้ว ไม่ควรปล่อยให้น้ำท่วมแปลงปลูก เกิน 24 ชั่วโมง

โรคที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

โรคใบจุดหรือใบไหม้
เกิดอาการใบจุดเล็กสีน้ำตาลมีวงสีเหลืองล้อมรอบแผล จุดที่ขยายใหญ่มี รูปร่างไม่แน่นอน และทำให้เกิดใบไหม้ ต่อมาแผลจุดจะแพร่กระจาย ไปยังทุกส่วนของต้นทานตะวันที่อยู่เหนือพื้นดิน ตั้งแต่ใบ ก้านใบ ลำต้น กลีบเลี้ยง กลีบดอก และจานดอก เชื้อเข้าทำลายจากส่วนต่าง ๆ ของต้นทานตะวันแล้วแพร่กระจายขึ้นสู่ยอด ทำให้ต้นทานตะวันไหม้ แห้ง และแก่ก่อนกำหนด จานดอกเล็ก เมล็ดลีบ ผลผลิตต่ำ ควรกำจัดซากพืชที่ เป็นโรคด้วยการเผาทำลาย หรือนำออกจากแปลง

โรคเน่าดำหรือชาโคลรอท
ต้นทานตะวันที่มีการติดเชื้อจะมีขนาดเล็กกว่าปกติ ใบเหี่ยวลู่ลงแห้งติดคาต้น ลำต้นส่วนที่ติดผิวดินเกิดแผลสีน้ำตาลดำลุกลามจากโคนต้นไปตามส่วนต่าง ๆ ของลำต้นและราก เมื่อผ่าดูภายในจะพบฝุ่นผงเมล็ดกลมเล็กสีดำหรือเทาดำกระจายอยู่ในเนื้อเยื่อพืชทั่วทุกส่วนและปิดกั้นขวางทางลำเลียงน้ำและอาหาร ทำให้ต้นทานตะวันเหี่ยวแห้งตายควรถอนและเผาทำลายต้น ทานตะวันที่เป็นโรคและไม่ควรปล่อยให้ต้นทานตะวันขาดน้ำรุนแรงในช่วงที่อากาศ ร้อนจัดและความชื้นในดินต่ำ

โรคใบหงิก
ใบหงิกงอเป็นรูปถ้วยหงายตั้งแต่ใบยอดลงมาจนถึงกลางต้น ด้านล่างใบจะพบลักษณะของเส้นกลางใบและเส้นแขนงโป่งพองจนเห็นได้ชัด บริเวณเนื้อใบจะมีเส้นใบฝอยสีเขียวเข้มกระจายทั่วไป ทำให้ใบหดย่น ต้นแคระแกร็นจนไม่สามารถให้ดอก ในกรณีที่ให้ดอก ดอกอาจมีรูปร่างผิดปกติเมื่อพบทานตะวันที่เป็นโรค ควรถอนออกจากแปลงปลูกและนำไปทำลาย และควบคุมการแพร่ระบาดของแมลงปากดูด ได้แก่ แมลงหวี่ขาว

แมลงศัตรูที่สำคัญและการป้องกันกำจัด

หนอนเจาะสมอฝ้าย
กินเมล็ดและเจาะจานดอก ทำให้ดอกเน่าเสียหาย การทำลายรุนแรง ผลผลิตจะเสียหายมาก ควรใช้สารไตรอะโซฟอส และคลอร์ไพริฟอส ฉีดพ่น

เพลี้ยจักจั่น
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยชอบดูดกินน้ำเลี้ยงที่ด้านใต้ใบ ทำให้ใบพืชหด หงิกงอ ขอบใบม้วนขึ้นด้านบน ถ้าระบาดรุนแรงจะทำให้ขอบใบแห้งหรือใบไหม้ ผลผลิตลดลง ควรใช้สารคาร์โบซัลแฟน คลอไพริฟอส

การป้องกันกำจัดวัชพืช
• เก็บเศษซากวัชพืชข้ามปี ออกจากแปลง ก่อนปลูกทานตะวัน
• กำจัดวัชพืชโดยใช้แรงงานคน หรือเครื่องจักรกลเมื่อทานตะวันอายุ 20-25 วัน คลุมดินด้วยเศษซากพืชหรือฟางข้าวทันทีหลังปลูก
• ในกรณีที่การกำจัดวัชพืชด้วยวิธีดังกล่าวข้างต้นไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ อาจเลือกใช้วิธีพ่นสารกำจัดวัชพืช



การเก็บเกี่ยว
เก็บเกี่ยวทานตะวันตามช่วงอายุของพันธุ์ที่ปลูก หรือเมื่ออายุประมาณ 90- 120 วัน หรือหลังจากจานดอกเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแล้วประมาณ 7-14 วัน โดยใช้กรรไกรตัดจานดอก โดยเลือกเฉพาะดอกที่สมบูรณ์

การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
• นำจานดอกที่เก็บเกี่ยวแล้วตากแดด 1-2 แดด บนลานซีเมนต์ หรือตาก บนผืนผ้าใบและคลุมกองจานดอกทานตะวันด้วยผืนผ้าใบในเวลากลางคืน เพื่อป้องกันน้ำค้าง
• กะเทาะเมล็ดจากจานดอก โดยใส่จานดอกในถุงผ้า หรือกระสอบแล้ว ใช้ท่อนไม้ทุบ หรือใช้เครื่องนวดถั่วเหลืองที่ดัดแปลงแล้วความเร็วรอบ 200 -350 รอบต่อนาที
• นำเมล็ดที่กะเทาะแล้วไปตากแดด 1-2 แดด เพื่อลดความชื้นในเมล็ด ให้เหลือประมาณ 12-14 เปอร์เซ็นต์ แล้วทำความสะอาดเมล็ด
• บรรจุเมล็ดที่ได้ในกระสอบป่านที่ไม่ชำรุด สะอาด
• ตัดแต่งปากกระสอบให้เรียบร้อย และเย็บปากกระสอบด้วยเชือกฟาง
• ควรวางกระสอบที่บรรจุเมล็ดทานตะวันในที่ร่ม บนพื้นที่มีแผ่นไม้รอง















 

Create Date : 16 พฤษภาคม 2552    
Last Update : 16 พฤษภาคม 2552 8:58:33 น.
Counter : 3309 Pageviews.  

ดอกดาวเรือง


ลักษณะทั่วไปของดาวเรือง
          ดาวเรือง (Marigold) เป็นชื่อที่คนไทยทั่วไปรู้จักกันดี แต่มีชื่อภาษาท้องถิ่นทางภาคเหนือว่า "ดอกคำปู้จู้" ซึ่งหมายถึงดอกไม้ที่มีกลีบสีเหลืองคล้ายทองคำ ดาวเรืองเป็นพืชล้มลุก อายุประมาณ 0.5-4 ฟุต ใบเป็นใบประกอบ มีลักษณะเรียวยาว ดอกมีลักษณะเป็นแบบดอกรวม ประกอบด้วยดอกย่อยเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก อัดซ้อนกันแน่นอยู่บนฐานรองดอก ดอกมีสีเหลือง ส้ม ครีม และขาว มีตั้งแต่ขนาดเล็ก คือประมาณ 1 นิ้ว จนถึงขนาดใหญ่ประมาณ 4 นิ้ว และเมื่อตัดลำต้น กิ่งก้านหรือใบของดาวเรือง จะมีกลิ่นเหม็น จึงทำให้แมลงไม่ค่อยรบกวน นอกจากนี้ภายในรากของดาวเรืองมีสารชนิดหนึ่งคือ แอลฟ่า เทอร์เธียนิล (& - terthienyl) ซึ่งเป็นสารที่สามารถควบคุมปริมาณไส้เดือนฝอยในดินได้เป็นอย่างดี


ชนิดของดาวเรือง
          ดาวเรืองที่ปลูกกันอยู่โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
          1. ดาวเรืองอเมริกัน (American Marigolds ) เป็นดาวเรืองที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปอเมริการ ลำต้นสูงตั้งแต่ 10-40 นิ้ว ดอกสีเหลือง ส้ม ทอง และขาว กลีบ ดอกซ้อนกันแน่น ดอกมีขนาดใหญ่ประมาณ 3-4 นิ้ว ดาวเรืองชนิดนี้มีหลายพันธุ์ ได้แก่



          พันธุ์เตี้ย สูงประมาณ 10-14 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ ปาปาย่า (papaya) ไพน์แอปเปิล (pineaple) ปัมพ์กิน (Pumpkin) เป็นต้น
          พันธุ์สูงปานกลาง สูงประมาณ 14-16 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์อะพอลโล (Apollo) ไวกิ่ง (Ziking) มูนช๊อต (Moonshot) เป็นต้น
          พันธุ์สูง สูงประมาณ 16-36 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ดับเบิล อีเกิล (Double Egle) ดับบลูน (Doubloon) ซอฟเวอร์เรน (Sovereign) เป็นต้น
          2. ดาวเรืองฝรั่งเศส (French Marigolds) ดาวเรืองฝรั่งเศสเป็นดาวเรืองต้นเล็ก ต้มเป็นพุ่มเตี้ย ๆ สูงประมาณ 6-12 นิ้ว ดอกสีเหลือง ส้ม ทอง น้ำตาลอมแดง และสีแดง ดอกมีขนาดเล็กประมาณ 1.5 นิ้ว นิยมปลูกประดับในแปลงมากกว่าปลูกเพื่อตัดดอก เนื่องจากมีกานดอกสั้น นอกจากนี้ยังเป็นดาวเรืองที่สามารถลดปริมาณไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการรากปมในรากพืชได้ ตัวอย่างดาวเรืองฝรั่งเศส ได้แก่


          พันธุ์ดอกชั้นเดียว ดอกมีขนาด 1.5-2 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์เรด มาเรตต้า (Red Marietta) นอธตี้ มาเรตต้า (Naughty Marietta) เอสปานา (Espana) ลีโอปาร์ด (Leopard) เป็นต้น
          พันธุ์ดอกซ้อน ดอกมีขนาดตั้งแต่ 1.5-3 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ควีน โซเฟีย (Queen Sophia ) สการ์เลต โซเฟีย (Scarlet Sophia) โกลเด้น เกต (Golden Gate ) เป็นต้น
          3. ดาวเรืองพันธุ์ลูกผสม (Mule Mariglds หรือ Afro American Marigolds)
เป็นดาวเรืองลูกผสมระหว่างดาวเรืองอเมริกันและดาวเรืองฝรั่งเศส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำลักษณะความแข็งแรง ดอกใหญ่ และมีกลีบซ้อนมากของดาวเรืองอเมริกัน รวมเข้ากับลักษณะต้นเตี้ยทรงพุ่มกะทัดรัดของดาวเรืองฝรั่งเศส ดาวเรืองลุกผสมให้ดอกเร็วมาก คือเพียง 5 สัปดาห์หลังจากเพาะเมล็ดดอกมีขนาด 2-3 นิ้ว ดอกดกและอยู่กับต้นได้ดี ดาวเรืองชนิดนี้มีข้อเสียก็คือเมล็ดจะลีบ ไม่สามารถนำมาเพาะให้เป้นต้นใหม่ได้จึงเรียกว่า ดาวเรืองล่อ เช่นเดียวกับการผสมม้ากับลา มีลูกออกมาเรียกว่า ล่อ ซึ่งเป็นหมัน จึงทำให้เมล็ดมีราคาแพงมาก และการปลูกดาวเรืองด้วยเมล็ดชนิดนี้ จึงควรใช้เมล็ดเป็นปริมาณ 2 เท่าของจำนวนที่ต้องการ เนื่องเมล็ดมรเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำ
          ดาวเรืองลุกผสมที่นิยมปลูกมีอยู่หลายพันธุ์ คือ พันธุ์นักเก็ต (Nugget) ไฟร์เวิร์ก (Fireworks) เรด เซเว่น สตาร์(Red Sevenstar) และโชว์โบ๊ต (Showboat)


พันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับในประเทศไทย
          1. พันธุ์ซอฟเวอร์เรน ดอกสีเหลือง กลีบดอกซ้อนกันแน่น สวยงาม ดอกมีขนาดประมาณ 10 ซ.ม 
          2. พันธุ์ทอรีดอร์ ดอกสีส้ม ขนาดประมาณ 8.5-10 ซ.ม
          3. พันธุ์ดับเบิล อีเกิล ดอกสีเหลือง ขนาดประมาณ 8.5 ซ.ม และมีก้านดอกแข็ง
          4. พันธุ์ดาวเรืองเกษตร เป็นดาวเรืองที่มหาวิทยลับเกษตรศาสตร์ นำเข้ามาทดลองปลูกและคัดเลือกพันธุ์ที่โครงการเกษตรที่สูง และได้คัดเลือกพันธุ์ไว้ได้ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์สีทองเบอร์ 1 พันธุ์สีทองเบอร์ 4 เป็นพันธุ์ที่มีดอกสีเหลืองขึ้นได้ดีในสภาพของประเทศไทย และให้ผลลิตสูงพอสมควร


การขยายพันธุ์ดาวเรือง
          1. การเพาะเมล็ด เป็นวิธีการที่นิยมปฏิบัติกันและผลผลิตดีกว่าวิธีอื่น โดยนำเมล็ดดาวเรืองมาเพาะในกระบะหรือแปลงเพาะ
          การเพาะเมล็ดในกระบะ กระบะที่จะใช้เพาะอาจเป็นกระบะไม้หรือกระบะพลาสติกก็ได้ วัสดุเพาะประกอบด้วยขุยมะพร้าว ทราย ขี้เถ้าแกลบ ปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 1:1:1:1
          การเพาะเมล็ดในแปลง แปลงที่จะใช้เพาะเมล็ดดาวเรือง ควรเป็นดินร่วนซุยและค่อนข้างละเอียด ขุดแปลงกลับหน้าดินตากไว้ประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อฆ่าเชื้อโรคและแมลง จากนั้นนำปุ๋ยคอก(มูลโค มูลเป็ด มูลไก่ เป็นต้น ) มาผสมและคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ย่อยดินให้ละเอียดแล้วปรับหน้าแปลงให้เรียบ

          การเพาะเมล็ดทั้งการเพาะในกระบะและในแปลง มีวิธีการปฏิบัติดังนี้
                    1. ทำร่องบนวัสดุเพาะในกระบะหรือบนแปลงให้ลึกประมาณ 5 เซนติเมตร และให้แต่ละร่องห่างกันประมาณ 5 ซ.ม 
                    2. หยอดเมล็ดดาวเรืองในร่อง ห่างกันประมาณ 3-5 ซ.ม แล้วกลบร่องเพื่อกลบเมล็ดดาวเรือง 
                    3. ให้ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ เศษฟาง หรือหญ้าแห้ง คลุมกระบะเพาะ เพื่อป้องกันความเสียหายเนื่องจากฝนชะแต่ถ้าเป็นฤดูหนาวก็ควรคลุมพลาสติกเช่นกัน เพื่อเพิ่มความร้อนให้กับกระบะหรือแปลงเพาะ จะทำให้เมล็ดงอกได้ดีขึ้น หลังจากเพาะได้ประมาณ 3-5 วัน เมล็ดจะงอก และอีกประมาณ 10-12 วัน จึงย้ายต้นกล้าไปปลูกได้

          2. การปักชำ เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่สามารถทำได้อีกวิธีหนึ่ง แต่ไม่ค่อยนิยมมากนัก เนื่องจากได้จำนวนน้อยและให้ผลผลิตต่ำกว่า ดอกมีขนาดเล็กกว่า สาเหตุที่ทำกันเพาะเป็นผลพลอยได้จากการเด็ดยอดทิ้ง ยอดที่เด็ดทิ้งจะมีความยาว 1-2 นิ้ว แล้วนำไปปักชำที่ใช้คือขี้เถ้าแกลบเพราะเก็บความชื้นได้ดีหลังจากเตรียมแปลงหรือถุงหักชำแล้ว นำยอดดาวเรืองมาปักชำ หากควบคลุมความชื้นได้ดี ยอดดาวเรืองจะออกรากภายใน 3-4 วัน และถ้ามีการใช้ฮอร์โมนเร่งรากจะทำให้ดาวเรืองออกรากได้ดียิ่งขึ้นจากนั้นนำไปใว้ให้ถูกแดดอีกประมาณ 3-4 วัน จึงสามารถย้ายไปปลูกยังแปลงปลูกได้


การปลูกดาวเรือง 
          การปลูกดาวเรืองเป็นขึ้นตอนแต่การเตรียมแปลงปลูก การย้ายกล้ามาปลูกในแปลง รวมถึงการปฏิบัติดูแล ขั้นตอนในการปฏิบัติดูแลมีดังนี้
          1. การเตรียมแปลงปลูก
ดินที่ที่จะใช้ปลูกดาวเรืองควรเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี เก็บรักษาความชื้นได้สูง และมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6-5-7.5 ในขณะที่เตรียมดินนั้น ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปด้วย เพื่อเมธาตุอาหารและปรับโครงสร้างให้ดินโปร่ง ควรขุดพลิกหน้าดินไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อทำลายเชื้อโรคและแมลงศัตรูพืช แปลงควรมีขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร ความยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่ จากนั้นจึงย่อยดินให้ละเอียดและปรับหน้าแปลงให้เรียบ แล้วจึงปลูกดาวเรืองโดยให้แต่ละแถวห่างกัน 30 ซ.ม และระยะระหว่างต้นห่างกัน 30 ซ.ม เช่นกัน ถ้าพื้นที่ปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ ให้เว้นทางเดินระหว่างแปลงประมาณ 80 ซ.ม แต่ถ้าเป็นที่ลุ่มและยกร่องปลูกก็ไม่ต้องเว้นทางเดินไว้ เพียงแต่เว้นขอบแปลงริมร่องน้ำไว้เล็กน้อยเพื่อใช้เป็นทางเดิน
          2. วิธีการปลูก
             1) การเตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมในแปลงโดยให้หลุมห่างกัน 30 ซ.ม และแต่ละแถวห่างกัน 30 ซ.ม รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตหรือปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตราหลุมละ1 ช้อนชา แล้วเกลี่ยดินกลบปุ๋ยเพื่อป้องกันไม่ให้รากดาวเรืองสัมผัสปุ๋ยโดยตรง
             2) การย้ายกล้า ควรย้ายกล้าดาวเรืองในตอนเย็น ก่อนย้ายกล้ารดน้ำล่างหน้า 1 วัน หรือรดน้ำตอนเช้าแล้วย้ายกล้าตอนเย็น และควรใช้ช้อนปลูกขุดต้นกล้า เพื่อให้ดินติดรากต้นกล้ามาด้วย ต้นกล้าจะได้ไม่โทรมและตั้งตัวได้เร็ว
             3) การปลูกต้นกล้า ปลูกต้นกล้าหลุมละต้น โดยฝังต้นกล้าลงในหลุมให้โคนต้นอยู่ระดับปากหลุมและกลบดินให้เสมอใบเลี้ยง จากนั้นจึงรีบรดน้ำให้ชุ่มตลอดเวลา
          3.การปฏิบัติดูแลรักษา
             1) การรดน้ำ ในช่างแรกคือตั้งแต่เริ่มปลูกถึงอายุ 7 วัน ควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นหลังจากนั้นรดน้ำวันละครั้งในตอนเช้าก็พอ และในช่วงที่ดอกเริ่มบานจะต้องระวังอย่าให้น้ำถูกดอกดาวเรือง เพราะจะทำให้ดอกเสียหายและถูกเชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย
             2) การใส่ปุ๋ย เมื่อดาวเรืองมีอายุ 15 และ 25 วัน ควรใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม และเมื่อดาวเรืองมีอายุ 35 และ 45 วัน ควรใส่ปุ๋ยสูตร15-24-12 อัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม เช่นกัน การใส่ปุ๋ยควรใส่ให้ห่างโคนต้นประมาณ 6 นิ้ว โดยฝังลงในดินประมาณครึ่งนิ้ว จากนั้นควรพรวนดินรอบ ๆ โคนต้นและกลบโคนต้นไว้ การใส่ปุ๋ยทุกครั้งจะต้องรดน้ำให้โชกเสมอ
             3) การปลิดยอด นิยมเรียกว่า การเด็ดตุ้ม หรือการแต่งตุ้ม ทำเพื่อให้ดาวเรืองแตกพุ่มและจะทำให้ดอกดาวเรืองมีขนาดใหญ่ การปลิดยอดนี้ควรทำเมื่อดาวเรืองมีอายุ 21-25 วัน ซึ่งเป็นระยะที่ดาวเรืองมีใบจริงขนาดใหญ่ประมาณ 4 คู่ และส่วนยอดมีใบเล็ก ๆ ประมาณ 1-2 คู่ วิธีการปลิดยอดทำได้โดยใช้มือซ้ายจับใบคู่บนสุดที่ต้องการเหลือไว้แล้วใช้มือขวาดึงส่วนยอดลงทางด้านข้าง เพื่อให้ยอดหลุดออกมา ไม่ควรเด็ดยอด เพราะจะทำให้ส่วนตาของยอดเหลือติดอยู่ ซึ่งจะเจริญเป็นดอกในภายหลัง ทำให้ดอกไม่เป็นไปตามกำหนด คือดอกบานไม่พร้อมกันและมีขนาดเล็ก ปกติดาวเรืองต้นหนึ่งควรไว้ดอกประมาณ 8 ดอก จึงจะได้ดอกที่มีคุณภาพ
             4) การปลิดตาข้าง หลังจากการปลิดตายอดประมาณ 1 สัปดาห์ ตาข้างจะเริ่มแตกขึ้นใหม่นั้น มียอดที่ยอดและมีตาข้างเจริญออกมาหรือยัง เมื่อดอกที่ยอดและมีตาข้างเจริญออกมาหรือยัง เมื่อดอกที่ยอดมีขนาดประมาณเท่าเมล็ดข้าวโพด ให้ปลิดตาข้างออกให้หมด เพื่อไม่ให้ตาข้างเจริญเป็นดอกต่อไป ซึ่งจะทำให้ดอกที่ยอดมีขนาดใหญ่ ก้านดอกยาว และมีขนาดสม่ำเสมอ
          4. การตัดดอก
          ก่อนตัดดอกดาวเรืองเพื่อนำไปจำหน่ายประมาณ 2-3 วัน ควรใช้น้ำตาลทรายจำนวน15 ลิตร ฉีดพ่นใบดาวเรืองทั้งด้านบนและด้านล่าง จะทำให้ก้านดอกแข็งแรงขึ้น จากนั้นจึงทยอยตัดดอก อายุของดาวเรืองที่สามารถตัดดอกขายได้คือประมาณ 55-65 วัน หรือให้สังเกตจากดอกที่ยังมีกลีบดอกตรงกลางเป็นสีเขียวอยู่ได้นานกว่าดอกที่บานทั้งหมด ในการตัดดอกนั้นควรตัดให้ชิดโคนกิ่งให้มากที่สุด จะทำให้ก้านดอกที่ติดมามีขนาดยาว


ศัตรูที่สำคัญของดาวเรือง
          โรค 
          โรคที่สำคัญและพบบ่อย ๆ คือ 
          1. โรคเหี่ยว เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปทอรา (Phytoptora) มักเกิดกับดาวเรืองที่ดอกกำลังเริ่มทยอยบาน ระยะแรกมีอาการคล้ายกับดาวเรืองขาดน้ำ กล่าวคือ อาการเหี่ยวจะแสดงในตอนกลางวันส่วนกลางคืนอาการจะปกติ หลังจากนั้นประมาณ 3 -4 วัน ดาวเรืองก็จะเหี่ยวทั้งด้นและตายไปในที่สุด
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็ป ฉีดพ่นสลับกับคาร์เบนดาซิมประมาณสัปดาห์ละครั้ง และถ้าพบมากต้นที่เป็นโรคและตายในแปลงต้องรีบกำจัดทิ้ง
          2. โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งลักษณะอาการ คือจะเห็นสปอร์ของเชื้อราเป็นฝุ่นสีขาว ๆ ตามใบของดาวเรือง ทำให้ใบหยิก การเจริญเติบโตชะงัก ถ้าเป็นมากอาจทำให้ต้นตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด โดยการพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็ป ไดแทน-เอ็ม 45 ประมาณสัปดาห์ละครั้ง
          3. โรคดอกไหม้ เกิดเชื้อราเข้าทำลายดอกดาวเรือง ทำให้ดอกเป็นสีน้ำตาลจนไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้
การป้องกันกำจัด ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีแมนโคเซ็ปหรือดาโคนิล โดยฉีดพ่นให้ทั่วทั้งแปลง

แมลง
          1. เพลี้ยไฟ เข้าทำลายโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อนและใบอ่อน จะเห็นมีรอยขีดตามใบหรือกลีบเลี้ยงของดอก เพลี้ยไฟจะระบาดมากในช่างฤดูร้อน
การป้องกันกำจัด ใช้สารเทมมิค เอ จี (Temic A.G.) ฝังรอบ ๆ โคนต้น โดยฝังให้ห่างโคนต้นประมาณ 1 ฝ่ามือ หรือฉีดพ่นด้วยสารโตกุไธออนสัปดาห์ละครั้ง
          2. หนอนกระทู้หอม เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน จะเข้าทำลายในขณะที่ดอกดาวเรืองเริ่มบานหนอนจะกัดกินดอกดาวเรือง ทำให้ดอกแหว่งเสียหาย
การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง เช่น แลนเนท,แคสเคต หรือใช้เชื้อไวรัสทำลายแมลงพวกเอ็น.พี.วี (NPV) ฉีดพ่นในแปลงที่มีหนอนกระทู้หอมระบาด


การใช้ประโยชน์
          ดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากชนิดหนึ่ง นอกจากจะมีความสำคัญทางเศรษฐกิจแล้ว ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ได้อีกด้วย การนำดาวเรืองไปใช้ประโยชน์สรุปได้ดังนี้
          1.ปลูกประดับเพื่อความสวยงาม
ดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่มีความสวยงาม กลีบดอกสีเหลืองเรียงอัดกันแน่น และมีอายุการใช้งานนาน ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับปลูกเพื่อประดับอาคารบ้านเรือนและสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลินตา สบายใจ
          2.ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกันแมลง
เนื่องจากดาวเรืองเป็นสารที่มีกลิ่นเหม็น (ฉุน)แมลงไม่ชอบ จึงสามารถใช้เป็นเกราะป้องกันแมลงให้แก่พืชอื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้รากของดาวเรืองยังมีสารชนิดหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณไส้เดือนฝอยในดินได้
          3.ปลูกเพื่อจำหน่าย
             3.1 ใช้ทำพวงมาลัย ปัจจุบันนิยมนำดอกดาวเรืองมาร้อยพวงมาลัยกันมาก ไม่ว่าจะเป็นพวงมาลัยไหว้พระ หรือพวงมาลัยสำหรับคล้องคอในงานพิธีต่าง ๆ การตัดดอกดาวเรืองสำหรับใช้ประโยชน์ในด้านนี้จะต้องให้มีก้านดอกสั้น ๆ หรือให้เหลือเฉพาะดอก
             3.2 ใช้ปักแจกัน เนื่องจากดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่ลักษณะกลมเรียงตัวกันแน่นเป็นระเบียบ และมีสีสันสวยงาม จึงมีคนนิยมนำมาปักแจกันมาก ไม่ว่าจะเป็นแจกันตั้งตามโต๊ะรับแขกตามหิ้งพระ หรือแจกันประกอบโต๊ะหมู่บูชา การตัดดอกดาวเรืองเพื่อนำมาปักแจกันนี้ควรตัดให้มีก้านดอกยาวประมาณ 18-20 นิ้ว มัดดอกดาวเรืองเป็นกำ ๆ แล้วใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อเพื่อให้ดอกดาวเรืองคงความสดอยู่ได้นาน ๆ 
             3.3 การปลูกลงกระถางหรือถุงเพื่อประดับอาคารสถานที่ ปัจจุบันมีการนำกระถางหรือถุงดาวเรืองมาประดับอาคารสถานที่กันมากขึ้น เพาะสามารถใช้ประดับไว้เป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานนิทรรศการ งานพระราชทานปริญญาบัตร หรือแม้แต่งานพิธีตามอาคารบ้านเรือน การปลูกดาวเรืองเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านนี้ ก็เหมือนกับการปลูกดาวเรืองโดยทั่วไป เพียงแต่เป็นการปลูกลงในกระถางหรือถุง แทนที่จะปลูกลงในแปลง พอดอกดาวเรืองเริ่มบาน ก็นำไปใช้ประโยชน์หรือจำหน่ายได้
             3.4 จำหน่ายให้กับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ เนื่องจากดาวเรืองเป็นพืชที่สารแซธโธฟิล (Xanthophyll) สูง จึงสามารถนำไปเป็นส่วนผสมอากหารสัตว์ได้ดี โดยเฉพาะอาหารของของไก่ไข่ จะทำให้ไข่แดงมีสีแดงสดใสน่ากินยิ่งขึ้น


ต้นทุนการผลิต ผลตอบแทนและการตลาด
          1. ต้นทุนการผลิต การปลูกดาวเรืองในแปลงปลูกโดยทั่วไปต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่ประกอบด้วยค่าเมล็ดพันธุ์(เมล็ดละประมาณ 60 สตางค์ 1 บาท ) ปุ๋ย สารเคมี และแรงงาน โดยเฉลี่ยต้นทุนในการผลิตดาวเรืองประมาณไร่ละ 19,120 บาท แต่ถ้าเป็นการปลูกดาวเรืองในถุงพลาสติกหรือปลูกในกระถาง ต้นทุนจะแตกต่างกันไปตามวัสดุที่ใช้ปลูก โดยเฉลี่ยแล้วต้นทุนการผลิตประมาณกระถางละ 5-8 บาท
          2. ผลตอบแทนและราคาจำหน่าย การปลูกดาวเรืองในแปลง พื้นที่ 1 ไร่ จะเก็บผลผลิตได้ประมาณ 37,258 ดอก ราคาโดยเฉลี่ยประมาณดอกละ 1 บาท ดังนั้นผลตอบแทนในการปลูกดาวเรืองประมาณไร่ละ 37,258 บาท
          3. ตลาดและแหล่งรับซื้อ แหล่งรับซื้อดาวเรืองที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพ ฯ คือ ตลาดปากคลองตลาด ส่วนตลาดอื่น ๆ เช่น สวนจตุจักร นิยมรับซื้อดาวเรืองที่ปลูกในกระถางหรือถุงพลาสติก นอกจากนี้ยังมีตลาดอื่น ๆ อีก เช่น ตลาดเทเวศร์ ลาดพร้าว สะพานควาย บางเขน และตามศูนย์การค้าหรือซุปเปอร์มาร์เก็ต
ส่วนในต่างจังหวัดนั้น สามารถนำดาวเรืองไปจำหน่ายได้ตามตลาดสดทั่วไป และจะมีพ่อค้าไปรับซื้อในท้องที่ที่ปลูกดาวเรือง จากนั้นพ่อค้าก็จะนำไปจำหน่ายต่อที่ตลาดกรุงเทพ









 

Create Date : 16 พฤษภาคม 2552    
Last Update : 16 พฤษภาคม 2552 9:01:25 น.
Counter : 810 Pageviews.  

ดอกจำปา


ชื่อวิทยาศาสตร์  Michelia champaca L.


ลักษณะทั่วไป  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง อายุประมาณ 5-6 ปี เป็นทรงพุ่มค่อนข้างเตี้ย สูงเฉลี่ย 20 ฟุต ใบมีขนาดเล็กกว่าจำปีคือยาวประมาณ 15 เซนติเมตร สีเขียวอ่อน มีขนบาง ๆ ตามกิ่งและลำต้นมีตุ่มละเอียด ดอกมีสีเหลืองอมส้ม เป็นดอกเดี่ยว แต่ออกดอกรวมกันเป็นช่อ ตามโคนก้านใบส่วนยอด เริ่มออกดอกเมื่ออายุ 1 ปีถึง 1 ปีครึ่ง ให้ดอกมากที่สุดเมื่ออายุ 3-5 ปี เฉลี่ย 70 ดอกต่อต้น และออกดอกตลอดปี ดอกจะบานเวลาตี 2–ตี 3


การขยายพันธุ์  นิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดในแปลงเพาะ แล้วจึงย้ายกล้าลงชำในกระถาง จนอายุ 3-6 เดือน จึงย้ายปลูกลงดิน จะไม่นิยมการตอนกิ่งเนื่องจากไม่ค่อยออกราก


การเตรียมดิน  พรวนดินและพลิกดินขึ้นตากผสมปุ๋ยคอกและปูนขาวพึ่งไว้ 1 สัปดาห์ จากนั้นก็ขุดหลุมขนาด 1*1*1 เมตร ตากดินให้แห้งแล้วจึงผสมด้วยปุ๋ยคอกมูลสัตว์ 1 ปุ้งกี๋ ไว้กลบลงในหลุม รองก้นหลุมด้วยเศษกระดูกสัตว์ก่อนปลูก  หากจะปลูกเพื่อเก็บดอกจำหน่าย ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 4 เมตร ระหว่างแถว 6 เมตร ถ้าเป็นพื้นราบ  แต่หากปลูกแบบยกร่องให้ปลูกเป็นแถวเดียว ระยะเวลาที่เหมาะสมกับการปลูกคือ ปลายฤดูฝนตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงธันวาคม และก่อนหลังฤดูแล้งคือตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม


การให้น้ำ  หลังปลูกเสร็จแล้วควรรดน้ำทุกวันเช้า-เย็น จนกว่าต้นจะตั้งตัวได้จึงรดน้ำวันละครั้ง แต่หากเป็นหน้าแล้งควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เนื่องจากหากได้น้ำไม่เพียงพอก็จะออกดอกน้อย


การให้ปุ๋ย  ควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์สูตร 15-15-15 หรือ 14-14-14 (50 กิโลกรัม/ไร่) เดือนละครั้ง โดยหยอดเป็นหลุมรอบทรงพุ่มแล้วกลบดิน รดน้ำให้ชุ่ม ส่วนปุ๋ยคอกและปูนขาวให้ใส่ปีละครั้งพร้อมการพรวนดิน








 

Create Date : 16 พฤษภาคม 2552    
Last Update : 16 พฤษภาคม 2552 8:34:22 น.
Counter : 1208 Pageviews.  

ดอกชบา













นัดกันว่าจะไปพูดปรึกษา                  ที่ไร่มันกลางป่าพนาสณฑ์
           ครั้นรุ่งแจ้งแสงสีสุริยน                                 ก็ชวนกันสองคนเดินเข้าไพร
                       เดินมา                                             สองปรีดาชื่นแช่มแจ่มใส
           เห็น
ชะบา ป่าบานตระการใจ                         เก็บให้นางชมดมทัด


                                  (เงาะป่า พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 5)














  ชื่อพฤกษาศาสตร์ 


  ชื่อไทยพื้นเมือง       


  วงศ์       


  วรรณคดีที่กล่าวถึง     


  สรรพคุณ       


  การขยายพันธุ์


  ลักษณะ        



Hibiscus sosa chinensis Linn.   


ดอกใหม่ แดงใหม่ ชุมบา


MALVACEAE.


รามเกียรติ์  อิเหนา เงาะป่า ไตรภูมิพระร่วง ดาหลัง


รากใช้ยาสมุนไพร รักษาฝี และถอนพิษ


ใช้กิ่งตอน หรือปักชำ


ไม้พุ่ม เป็นต้นไม้เนื้ออ่อน เปลือกเหนียว ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม ปลายใบแหลม โคนใบมน ริมใบเป็นจักคล้ายใบเลื่อย ดอกชบามีหลายพันธุ์ มีลักษณะต่าง ๆ กัน มีอยู่สีหลายสี เช่น แดง แสด ม่วง เหลือง   ขาว มีเกสรอยู่กลางดอก บางพันธุ์จะยาวยื่นออกมานอกดอก











































ดอกไม้ประจำจังหวัด



ปัตตานี



ชื่อสามัญ



Shoe flower



ชื่อวิทยาศาสตร์



Hibiscus spp.



วงศ์



MALVACEAE



ชื่ออื่น



Hibiscus, Rose of China



ลักษณะทั่วไป



เป็นไม้พุ่มเตี้ย ดอกมีทั้งซ้อน และไม่ซ้อน มีสีต่างๆ กัน เช่น สีแดง สีเหลือง สีขาว สีชมพู สีงาช้าง มีทั้งดอกโต และดอกเล็ก ใบเป็นใบเดี่ยว รูปมน ขอบใบเป็นรอยหยัก ปลายใบแหลม ชบาเป็นไม้เนื้ออ่อนมีเปลือกไม้ค่อนข้างเหนียว



การขยายพันธุ์



โดยการตอนกิ่ง หรือปักชำ



สภาพที่เหมาะสม



ดินร่วยซุย แสงแดดปานกลาง



ถิ่นกำเนิด



เขตร้อน จีน, อินเดีย และฮาวาย












 

Create Date : 15 พฤษภาคม 2552    
Last Update : 15 พฤษภาคม 2552 8:44:33 น.
Counter : 1108 Pageviews.  

ดอกกุหลาบ


กุหลาบเป็นดอกไม้ที่นิยมปลูกไว้ชื่นชมมาแต่โบราณ ประมาณกันว่ากุหลาบเกิดขึ้นเมื่อกว่า 70 ล้านปีมาแล้ว เคยมีการค้นพบฟอสซิลของกุหลาบใน รัฐโคโลราโด และ รัฐโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้พิสูจน์ว่ากุหลาบป่าเป็นพืชที่มีอายุถึง 40 ล้านปี แต่กุหลาบป่าสมัยโลกล้านปีนี้ มีรูปร่างหน้าตาไม่เหมือนกุหลาบสมัยนี้ เนื่องจากมนุษย์ได้นำเอากุหลาบป่ามาปลูกและผสมพันธุ์ ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์ต่างๆ มากมาย
               ความจริงแล้วกำเนิดของกุหลาบหรือกุหลาบป่านี้มีเฉพาะในแถบบริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรของโลกเท่านั้น คือกำเนิดในภาคกลางของทวีปเอเชีย แล้วแพร่ขยายพันธุ์ไปตลอดซีกโลกเหนือ ไม่ว่าจะเป็นแถบที่มีอากาศหนาวจัดอย่าง อาร์กติก อลาสก้า ไซบีเรีย หรือแถบอากาศร้อนอย่าง อินเดีย แอฟริกาเหนือ แต่ในบริเวณแถบใต้เส้นศูนย์สูตรอย่างทวีปออสเตรเลีย หรือเกาะต่างๆ ในมหาสมุทรรวมทั้งแอฟริกาใต้ ไม่เคยมีปรากฏว่ามีกุหลาบป่าเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเลย
              











ตามประวัติศาสตร์เล่าว่า กุหลาบป่าถูกนำมาปลูกไว้ในพระราชวังของจักรพรรด์จีน ในสมัยราชวงศ์ฮั่นราว 5,000 ปีมาแล้ว ขณะที่อียิปต์เองก็ปลูกกุหลาบเป็นไม้ดอก ส่งไปขายให้แก่ชาวโรมัน ชาวโรมันเป็นชาติที่รักดอกกุหลาบมากถึงจะสั่งซื้อจากประเทศอียิปต์แล้ว ยังลงทุนสร้างเนอร์สเซอรี่ขนาดใหญ่สำหรับปลูกดอกกุหลาบอีกด้วย สำหรับชาวโรมันแล้วเรียกได้ว่าดอกกุหลาบมีความสำคัญกับชีวิตประจำวัน เพราะชาวโรมันถือว่าดอกกุหลาบเป็นสัญลักษณ์ของความรัก ซึ่งเป็นทั้งของขวัญ เป็นดอกไม้สำหรับทำเป็นมาลัยต้อนรับแขก เป็นดอกไม้สำหรับงานเฉลิมฉลองต่างๆ ใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับทำขนม ทำไวน์ ส่วนน้ำมันกุหลาบยังใช้ทำเป็นยาได้อีกด้วย
               กุหลาบถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักและความโรแมนติก ซึ่งมีบางตำนานเล่าว่า ดอกกุหลาบเป็นเสมือนเครื่องหมายแทนการกำเนิดของ เทพธิดาวีนัส ซึ่งเป็นเทพแห่งความงาม และความรัก วีนัสเป็นที่รู้จักกันในชื่อ อโฟรไดท์ ในตำนานเทพของกรีกได้กล่าวไว้ว่า น้ำตาของเธอหยดลงปะปนกับเลือดของ อคอนิส คนรักของเธอที่ถูกหมูป่าฆ่า เลือดและน้ำตาหยดลงสู่พื้นแล้วกลายเป็นดอกไม้สีแดงเข้มหรือดอกกุหลาบนั่นเอง แต่บางตำนานก็เล่าว่าดอกกุหลาบเกิดจากเลือดของ อโฟรไดท์ เองที่หยดลงสู่พื้น เมื่อเธอแทงตัวเองด้วยหนามแหลม
               บางตำนานกล่าวว่ากุหลาบเกิดจากการชุมนุมของบรรดาทวยเทพ เพื่อประทานชีวิตใหม่ให้กับนางกินรีนางหนึ่ง ซึ่งเทพธิดาแห่งบุปผาชาติ หรือ คลอริส บังเอิญไปพบนางนอนสิ้นชีพอยู่ ในตำนานนี้กล่าวว่า อโฟรไดท์ เป็นเทพผู้ประทานความงามให้ มีเทพอีกสามองค์ประทานความสดใส เสน่ห์ และความน่าอภิรมย์ และมี เซไฟรัส ซึ่งเป็นลมตะวันตกได้ช่วยพัดกลุ่มเมฆ เพื่อเปิดฟ้าให้กับแสงของเทพ อพอลโล หรือแสงอาทิตย์ส่องลงมาเพื่อประทานพรอมตะ จากนั้น ไดโอนีเซียส เทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่นก็ประทานน้ำอมฤต และกลิ่นหอม เมื่อสร้างบุปผาชาติดอกใหม่นี้ขึ้นมาได้แล้ว เทพทั้งหลายก็เรียกดอกไม้ซึ่งมีกลิ่นหอมและทรงเสน่ห์นี้ว่า Rosa จากนั้น เทพธิดาคลอริส ก็รวบรวมหยดน้ำค้างมาประดับเป็นมงกุฎ เพื่อมอบให้ดอกไม้นี้เป็นราชินีแห่งบุปผาชาติทั้งมวล จากนั้นก็ประทานดอกกุหลาบให้กับเทพ อีโรส ซึ่งเป็นเทพแห่งความรัก กุหลาบจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความรัก แล้วเทพ อีโรส ก็ประทานกุหลาบนี้ให้แก่ ฮาร์โพเครติส ซึ่งเป็นเทพแห่งความเงียบ เพื่อที่จะเก็บซ่อนความอ่อนแอของทวยเทพทั้งหลาย ดอกกุหลาบจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเงียบและความเร้นลับอีกอย่างหนึ่ง
               กุหลาบกลายเป็นของขวัญ ของกำนัลสำหรับการแสดงความรัก และมักจะมีผู้เปรียบเทียบความงามของผู้หญิงเป็นเสมือนดอกกุหลาบ และผู้หญิงคนแรกในประวัติศาสตร์โลกที่ได้รับสมญาว่าเป็นผู้หญิงงามเสมือนดอกกุหลาบคือ พระนางคลีโอพัตรา ซึ่งพระนางยังได้เคยต้อนรับ มาร์ค แอนโทนี คนรักของพระนาง ในห้องซึ่งโรยด้วยดอกกุหลาบหนาถึง 18 นิ้ว หอมฟุ้งไปด้วยกลิ่นกุหลาบ








ตำนานดอกกุหลาบในเมืองไทย









               กุหลาบมาจากคำว่า "คุล" ในภาษาเปอร์เชีย แปลว่า "สีแดง ดอกไม้ หรือดอกกุหลาบ" และเข้าใจว่าจากเปอร์เซียได้แพร่เข้าไปในอินเดีย เพราะในภาษาฮินดีมีคำว่า "คุล" แปลว่า "ดอกไม้" และคำว่า "คุลาพ" หมายถึงกุหลาบอย่างที่ไทยเราเรียกกัน แต่ออกเสียงเป็น "กุหลาบ"  ส่วนคำว่า "Rose" ในภาษาอังกฤษนั้นมาจากคำว่า "Rhodon" ที่แปลว่ากุหลาบในภาษากรีก
               กุหลาบเข้ามาเมืองไทยสมัยใดไม่ทราบแน่ชัด แต่จากบันทึกของ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บันทึกไว้ว่าได้เห็นกุหลาบที่กรุงศรีอยุธยา และที่แน่นอนอีกแห่งก็คือ ในกาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศกสมัยกรุงศรีอยุธยา  ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ กล่าวถึงกุหลาบไว้ว่า











          กุหลาบกลิ่นเฟื่องฟุ้ง
หอมรื่นชื่นชมสอง
นึกกระทงใส่พานทอง
หยิบรอจมูกเจ้า
  เนืองนอง
สังวาส
ก่ำเก้า
บ่ายหน้าเบือนเสีย


               สำหรับตำนานดอกกุหลาบของไทยเล่ากันว่า เป็นบทละครพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 เรื่อง มัทนะพาธา ในเรื่องเล่าถึงเทพธิดาองค์หนึ่งชื่อ "มัทนา" ซึ่งนางได้มีเทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ "สุเทษณะ" ซึ่งพระองค์ทรงหลงรักเทพธิดา "มัทนา" มากแต่นางไม่มีใจรักตอบ จึงถูกสาบให้ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบ จึงกลายเป็นตำนานดอกกุหลาบแต่นั้นมา










กุหลาบขาว กับ กุหลาบแดง สีไหนเกิดก่อน ?









               มีหลายตำนานเล่าถึงการเกิดกุหลาบสีขาวและกุหลาบสีแดงไว้แตกต่างกัน  ตำนานหนึ่งเล่าว่า กุหลาบขาว เกิดขึ้นก่อน กุหลาบแดง เดิมทีมีนกไนติงเกลตัวหนึ่งมาหลงรักเจ้าดอกกุหลาบขาวแสนสวย ขณะที่มันกำลังจะโอบกอดดอกกุหลาบด้วยความรักนั้นเอง หนามกุหลาบก็ทิ่มแทงที่หน้าอกของมัน หยดเลือดของเจ้านกไนติงเกลเลยทำให้ดอกกุหลาบสีขาวกลายเป็นสีแดง เลยมีดอกกุหลาบสีแดงนับแต่นั้นเป็นต้นมา  ส่วนอีกตำนานหนึ่งก็เล่าว่ากุหลาบสีแดงใน สวนอีเดน เกิดจาการจุมพิตของ อีฟ เจ้าดอกกุหลาบขาวที่หญิงสาวจุมพิต เลยเกิดอาการขวยเขินจึงเปลี่ยนเป็นสีแดง
               นอกจากนี้ ความหมายของความรักในศาสนาคริสต์ ถือว่ากุหลาบสีขาวแทนความบริสุทธิ์ของ พระแม่มาเรีย และกุหลาบสีแดงเกิดจากหยาดพระโลหิตของ พระเยซูเจ้า เมื่อถูกสวมมงกุฎหนาม มันจึงเป็นสัญลักษณ์ของผู้ประกาศศาสนาที่พลีชีพเพื่อพระผู้เป็นเจ้า









สีกุหลาบสื่อความหมาย










               ในวันวาเลนไทน์ ซึ่งเป็นวันแห่งความรัก ดอกกุหลาบถือเป็นสัญลักษณ์ และของกำนัลของวันนี้ ดังนั้นเวลาที่คิดจะให้ดอกกุหลาบแก่ใครสักคน เราก็น่าจะรู้ความหมายของสีอันเป็นสื่อความหมายของดอกกุหลาบไว้บ้างก็น่าจะดี ซึ่งก็จะมีความดังนี้



  • สีแดง สื่อความหมายถึง ความรักและความปราถนา เป็นดอกไม้ของกามเทพ คิวปิด และอีรอส เป็นสิ่งนำโชคนำความรักมาให้แก่หญิงหรือชายที่ได้รับ

  • สีชมพู สื่อความหมายถึง ความรักที่มีความสุขอย่างสมบูรณ์

  • สีขาว สื่อความหมายถึง ความมีเสน่ห์ ความบริสุทธิ์ มิตรภาพ และความสงบเงียบ และนำโชคมาให้แก่หญิงหรือชายเช่นเดียวกับกุหลาบแดง

  • สีเหลือง สื่อความหมายถึง เราเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันเสมอนะ

  • สีขาวและแดง สื่อความหมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

  • กุหลาบตูม สื่อความหมายถึง ความงามและความเยาว์วัย










ช่อกุหลาบสื่อความหมาย








               จำนวนดอกกุหลาบในช่อก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สื่อความหมายได้เช่นกัน และในวันวาเลนไทน์หรือวันไหนๆ ถ้าคุณได้ช่อดอกกุหลาบจากใครสักคน เค้าคนนั้นอาจกำลังต้องการสื่อความหมายอะไรบางอย่างให้คุณรู้ก็เป็นได้








จำนวนดอกกุหลาบ
1
2
3
7
9
10
11
12
13
15
20
21
36
40
99
100
101
108
999
ความหมาย
รักแรกพบ
แสดงความรู้สึกที่ดีให้กัน
ฉันรักเธอ
คุณทำให้ฉันหลงเสน่ห์
เราสองคนจะรักกันตลอดไป
คุณเป็นคนที่ดีเลิศ
คุณเป็นสมบัติชิ้นที่มีค่าชิ้นเดียวของฉัน
ขอให้เธอเป็นคู่ของฉันเพียงคนเดียว
เพื่อนแท้เสมอ
ฉันรู้สึกเสียใจจริงๆ
ฉันมีความจริงใจต่อเธอ
ชีวิตินี้ฉันมอบเพื่อเธอ
ฉันยังจำความหลังอันแสนหวาน
ความรักของฉันเป็นรักแท้
ฉันรักเธอจนวันตาย
ฉันอุทิศชีวิตนี้เพื่อเธอ
ฉันมีคุณเพียงคนเดียวเท่านั้น
คุณจะแต่งงานกับฉันไหม
ฉันจะรักคุณจนวินาทีสุดท้าย








 

Create Date : 13 พฤษภาคม 2552    
Last Update : 13 พฤษภาคม 2552 19:44:45 น.
Counter : 585 Pageviews.  


vajeerak
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]


ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Google
hello!
อยากคุยกันเข้ามานี่

cursor
ฟังเพลง โหลดเพลง mp3 ที่นี่ hello! ต้อนรับเข้าสู่ blog ค่ะ : Users Online เข้าเมล์เราต้องนี่เลย บล็อกเว็บอื่นจ้า
TOP
Friends' blogs
[Add vajeerak's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.