ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำร้องตามรัฐธรรมนูญ ม.68 หรือไม่ อย่างไร

                      เนื่องจากมีเพื่อนๆ พี่ๆ นักลงทุนให้ความสนใจประเด็นนี้พอสมควร ผมจึงอยากเสนอความเห็นทางกฎหมายเพื่อเป็นประเด็นพิจารณาต่อไปครับ

                      ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำร้องตามรัฐธรรมนูญ ม.68 หรือไม่ อย่างไร ( ซึ่งผู้เขียนจะไม่กล่าวถึงหลักการทางรัฐธรรมนูญนะครับ เนื่องจากเป็นปัญหาในกรณีนี้ค่อนข้างน้อย และมีหลายฝ่ายกล่าวถึงอยู่แล้ว หรืออีกนัยหนึ่ง ขี้เกียจนั่นเอง 555+)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 68 บัญญัติว่า...ผู้ทราบการกระทำมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย...
ทั้งที่คำว่า "และ" ในกฎหมายใช้เชื่อมความในกฎหมายมากมาย แต่นักฎหมายกลับตีความได้สองนัย ดังนี้
นัยแรก ผู้ทราบการกระทำผิดมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง เฉพาะอัยการเท่านั้นมีหน้าที่ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินัยฉัย
นัยที่สอง นักกฎหมายบางท่านให้ความเห็นว่า ผู้ทราบการกระทำมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และผู้ทราบการกระทำผิดสามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย หากจะให้อัยการเป็นผู้ยื่นคำร้องผู้เดียวตามนัยแรก ต้องใช้คำเชื่อว่า "เพื่อ"ในการเชื่อมความ
ด้วยความเคารพต่อความเห็นของทุกฝ่าย ผู้เขียนใคร่ขอพิจารณาบางประเด็นที่คิดว่าน่าจะเป็นปัญหาในทางปฏิบัติเท่านั้นครับ (ไปว่าเรื่องทฤษฎีสงสัยเขียนอีกเดือนก็ไม่จบ 555)  

 

เรื่องที่จะพิจารณาเป็นประการแรกคือ “การตีความรัฐธรรมนูญ”  

 

ในรัฐธรรมนูญแทบทุกฉบับของไทย ไม่ได้บัญญัติว่าจะตีความตามหลักเกณฑ์อย่างไร หลักเกณฑ์ที่น่าจะนำใช้มาเป็นหลักในการตีความ  จึงควรเป็นหลักทั่วไปอันมีบัญญัติไว้ใน ปพพ. ซึ่งมีหลักว่าให้ตีความตามตัวอักษรหรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้นๆ  (ย้ำว่าไม่ใช่การเอาหลักกฎหมายแพ่งมาใช้ตีความรัฐธรรมนูญนะครับ และความเห็นนี้ก็มีมาตั้งแต่ ยังไม่ถึง พ.ศ.2510 ด้วยครับ)  

 

ในเรื่องนี้ เคยมีผู้ให้ความเห็นว่า “ปัญหาในการตีความรัฐธรรมนูญเป็นปัญหาคำพูดยิ่งกว่าปัญหาในทางกฎหมาย นักปราชญ์ในทางภาษาดูเหมือนจะพูดได้ดีกว่านักกฎหมาย ถ้อยคำภาษาทั้งหลายในโลกนี้ย่อมมีบางคำที่มีความหมายได้สองทางต่างกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็จำต้องล้วงลึกถึงความตั้งใจของผู้เขียนแห่งเอกสารนั้นๆ เพื่อที่จะได้เห็นแสงแห่งความหมายที่ตั้งใจไว้( รายงานการประชุมของคณะกรรมการวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎร ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2498) 

 

การที่มีการกล่าวว่ากรณีนี้เทียบกับกรณีที่นำเอาความหมายในพจนานุกรม ทำไมกรณีนี้ไม่ใช้วิธีการเดียวกันล่ะ  กรณีนี้ต้องบอกว่า การนำความหมายในพจนานุกรมมาใช้ในการตีความเป็นเพียงวิธีการหลังจาก หาความหมายเฉพาะตามบทกฎหมายนั้นๆ หรือกฎหมายฉบับนั้น กล่าวอีกนัยคือไม่ได้มีความหมายที่เป็นความมุ่งหมายเฉพาะตามบทบัญญัตินั้นๆครับ  

 

จากหลักการตีความกฎหมายดังกล่าวข้างต้น นำมาสู่ประเด็นที่มีความเห็นต่างกัน คือ ผู้ทราบการกระทำมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 68 หรือไม่ หรือศาลมีอำนาจรับคำร้องดังกล่าวหรือไม่นั่นเอง ซึ่งการตีความบทบัญญัติมาตรานี้ ควรพิจารณาเรียงเดียวกันในกฎหมายรัฐธรรมนูญนี้(ซึ่งเรื่องนี้ก็มีกล่าวกันไว้แล้วจากทั้งสองฝ่าย คงไม่เขียนอีกนะครับ)  แต่ที่มีการพูดถึงน้อยคือ การกลับไปดูรายงานประชุมร่างกฎหมายมาตรานี้ครับ ว่าจะค้นหาความมุ่งหมายได้หรือไม่ อย่างไร  

 

นอกจากนี้ กรณีนี้ ผู้เขียนเห็นว่า หลักที่น่าจะนำมาเทียบเคียงได้ คือ หลักการดำเนินคดีอาญา ซึ่งถือเป็นกฎหมายเพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยของส่วนรวม เช่นเดียวกัน  

 

บางท่าน อาจคุ้นเคย กับการที่เมื่อมีคดีอาญาเกิดขึ้น แล้วไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ซึ่งส่งสำนวนต่อไปยังพนักงานอัยการ ส่งฟ้องศาลต่อไป แต่แท้จริงแล้ว ช่องทางผ่านไปทางตำรวจหรือพนักงานอัยการเป็นเพียงช่องทางหนึ่งซึ่งประสงค์จะช่วยเหลือผู้เสียหายและเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยเท่านั้น ผู้เสียหายในคดีมีสิทธิฟ้องคดีอาญาต่อศาลเองได้ครับ (ป.วิ.อ. มาตรา 28) หรือที่ชัดเจนหน่อยคือ มาตรา 34 ป.วิ.อ. ซึ่งบัญญัติว่า “คำสั่งไม่ฟ้องคดี (ของอัยการ) หาตัดสิทธิผู้เสียหายฟ้องคดีโดยตนเองไม่” หรือกรณีของการตรวจสอบของ ปปช. ซึ่งต้องส่งสำนวนให้อัยการฟ้องต่อไป แม้อัยการจะไม่เห็นควรฟ้อง ปปช.ก็ยังคงมีอำนาจฟ้องเอง(แต่กรณีนี้อาจเทียบเคียงได้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากเป็นเจ้าหน้าที่รัฐเช่นเดียวกัน) เป็นต้น  ซึ่งจากที่กล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า กฎหมายมุ่งประสงค์ที่จะการการนำคดีไปฟ้องร้อง เพื่อพิจารณาในศาล สามารถทำได้ หลายช่องทาง มิใช่ทางพนักงานอัยการเพียงเส้นทางเดียว  

 

ประเด็นที่เห็นควรนำมาพิจารณาต่อมาคือ เรื่องมาตรฐานการพิสูจน์ ซึ่งแบ่งได้หลายระดับ ดังนี้  

 

1.       proof  beyond reasonable doubt  คือการพิสูจน์ของโจทก์ให้เห็นว่าเหตุเป็นไปดังคำฟ้องโดยไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะไม่เป็นเช่นนั้น หากเทียบเป็นเปอร์เซนก็น่าจะประมาณ 80% ขึ้นไป โดยมาตรฐานนี้ จะใช้ในคดีอาญาครับ ทั้งนี้ มิใช่ proof  beyond any doubt หรือ 100% ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในความเป็นจริงครับ  

 

2.       proof by clear and convincing evidence  มาตรฐานการพิสูจน์จะต่ำกว่าคดีอาญาเล็กน้อย คือราวๆ 60-80%  

 

3.       proof  on the balance of probability หรือเกิน 50% ซึ่งใช้ในคดีแพ่งทั่วไป  

 

4.       proof of prima facie case or probable cause  ซึ่งเป็นมาตรฐานการพิสูจน์ในระดับต่ำสุด คือมีเหตุให้เชื่อว่ามีมูลเป็นจริงเช่นนั้น กล่าวคือ อาจจะเป็นไปแต่ ไม่จำต้องถึงขนาด 50%  ซึ่งจะใช้ในกรณีการไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญา การขอออกหมายจับผู้ต้องหา เป็นต้น เมื่อแบ่งมาตรฐานการพิสูจน์ดังนี้แล้ว ปัญหาที่ควรนำมาพิจารณาประการต่อไปคือ พนักงานอัยการใช้มาตรฐานการพิสูจน์ในระดับใด ในการพิจารณาสั่งคดี ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว หากพิจารณา ขั้นตอนการเรียกผู้เกี่ยวข้องมาเบิกความไต่สวนก่อนสั่งคดีของพนักงานอัยการ จะเห็นได้ว่า มาตรฐานการพิสูจน์น่าจะต่ำกว่าระดับ 3. แต่ผู้เขียนไม่แน่ใจว่า จะสูงกว่าระดับ 4 หรือไม่  ดังนั้น ผู้เขียนจึงเห็นว่า การที่ให้คดีสำคัญๆ เป็นยุติเพียงชั้นพนักงานอัยการจึงเป็นเรื่องไม่เหมาะสม ประเด็นต่อมา ศาลในคดีนี้ มีอำนาจรับคำร้อง หรือไม่  หรือควรรับคำร้องหรือไม่  

 

จากความเห็นของผู้เขียนดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนจึงเห็นว่าศาลควรรับคำร้องไว้พิจารณา อย่างไรก็ดี  รัฐธรรมนูญมีหลักว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร คำว่าทุกองค์กร จึงไม่ควรยกเว้น ศาลรัฐธรรมนูญเองด้วย จึงจำต้องตรวจสอบว่า ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิฉัยประเด็นนี้ไว้หรือไม่ ซึ่งมีหลักว่า ข้อเท็จจริงเดียวกันควรวินิจฉัยเป็นอย่างเดียว แต่หากข้อเท็จจริง คนละอย่างก็ไม่จำต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกัน ซึ่งกรณีนี้มีผู้เห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยประเด็นนี้มาแล้วในกรณีขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์(ถ้าเข้าใจไม่ผิด)  กรณีนายอภิสิทธิ์ ซึ่งเป็น หัวหน้าพรรค ได้ให้ความเป็นว่าเป็นกรณีขอให้ยุบพรรค ซึ่งเป็นคนละกรณีกับคดีนี้  เนื่องจากผู้เขียนยังไม่เห็นคำวินิจฉัยดังกล่าว (ขี้เกียจค้น อิอิ) แต่ก็ไม่สนิทใจนักหากจะกล่าวว่าข้อเท็จจริงเป็นคนละประเด็นกัน เพียงพิจารณาจากคำขอแห่งคำร้องนั้น  ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประเด็นแห่งคำวินิจฉัยดังกล่าว ว่าเป็นกรณีเช่นเดียวหรือไม่ ถ้าเป็นก็ควรที่จะวินิจฉัยเป็นอย่างเดียวกัน หากไม่ ก็ไม่จำต้องวินิจฉัย เป็นอย่างเดียวกันครับ  

 

ประเด็นที่ผู้เขียนเห็นควรพิจารณาประการสุดท้าย คือ หากศาลรับคำร้องไว้วินิจฉัยแล้ว ศาลสามารถพิจารณาได้แค่ไหน เพียงไร 

 

ขอวางเป็นหลักการที่ศาลปฎิบัติมาตลอดตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ ดังนี้ครับ หากเป็นเรื่อง ที่เป็นดุลพินิจของฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายนิติบัญญัติโดยเฉพาะว่าควรหรือไม่ อย่างไร ศาลจะไม่เข้าไปวินิจฉัยถึงความควรหรือไม่ดังกล่าว เว้นแต่จะขัดหลักเหตุผลโดยชัดแจ้ง(แบบใครๆก็รู้นั่นแหล่ะครับ) ศาลมีเพียงอำนาจตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น เช่น มีอำนาจตรวจสอบว่าดุลพินิจชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เท่านั้นครับ 

 

ส่วนที่ว่าใครจะมุ่งหมายเอาชนะกันหรือไม่ อย่างไร ถ้าอยู่ในกรอบหลักการ แล้ว ผู้เขียนยังเห็นว่าไม่ใช่เรื่องเสียหายครับ ทั้งนี้ การกระทำจะแสดงให้เห็นเจตนาของผู้นั้นเอง และเมื่อเวลาผ่านไปสิ่งต่างๆ เหล่านี้ย่อมจะชัดเจนขึ้นครับ เหมือนกราฟหุ้นน่ะแหล่ะครับ เวลาผ่านไปแล้ว แม่นอย่างกับจับวาง  รู้งี้ๆ... อิอิ  

 

                ผู้เขียนยินดีน้อมรับ ทุกความเห็นและทุกคำวิจารณ์ครับ คิดเห็นอย่างไร ว่ากันด้วยเหตุแลผลครับ ^^

 

 

 

 

 

 

 

 v

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

              

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




Create Date : 14 มิถุนายน 2555
Last Update : 15 มิถุนายน 2555 11:34:24 น.
Counter : 4342 Pageviews.

16 comments
  


สวัสดีค่ะ คุณต้นไม้

ดาวเห็นว่า สวยดีค่ะ สาว ใน เฮด นะคะ

โดย: dawreung51 วันที่: 14 มิถุนายน 2555 เวลา:19:01:19 น.
  
สวัสดีคร้าบคุณดาว สาวน้อยคนโปรดผมน่ะคับ อิอิ


แต่คุณดาวไม่ยอมแพ้ใช่มะค้าบบ เรื่องความสวยยยย
โดย: tonmai08 วันที่: 14 มิถุนายน 2555 เวลา:19:22:31 น.
  
ปัญหาคือในปัจจุบันประเทศเราไม่ได้มีกระบวนการตรวจสอบศาลที่ดีครับ

ศาลรัฐธรรมนูญ (และศาลต่าง ๆ) ไม่กลัวการทำผิด เพราะว่าถึงทำผิดจริงก็ไม่ได้มีบทลงโทษ อย่างเลวร้ายที่สุดก็แค่โดนถอดจากตำแหน่ง ซึ่งก็ต้องใช้เสียง ส.ว. ถึง 3 ใน 4 และรัฐธรรมนูญปี 50 ก็เตรียมการไว้เสร็จสรรพแล้ว

ต่อไปถ้ามีกำหนดบทลงโทษมากขึ้น เช่นให้จำคุกศาลถ้าปฏิบัติขัดรัฐธรรมนูญหรือวินิจฉัยผิดพลาดโดยไม่รอบคอบก็น่าจะช่วยให้ประเทศนี้ดีขึ้นครับ แต่คงยากแหละครับ อำมาตย์ครองเมือง
โดย: dark IP: 10.151.85.133, 1.20.1.133 วันที่: 14 มิถุนายน 2555 เวลา:23:51:01 น.
  
ด้วยความเคารพ คุณ dark น่าจะเข้าใจคลาดเคลื่อนไปนิดนะครับ

อันที่จริงศาลถือเป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่กระบวนการยุติธรรมครับ กระบวนการตรวจสอบที่สามารถให้ถอดถอนจากตำแหน่งโดย ส.ว. เป็นเพียงกระบวนการหนึ่งครับ

หากศาลทำผิดจริงก็มิได้พ้นจากความผิดทางอาญาซึ่งมีโทษจำคุกครับ และโทษก็หนักกว่าเจ้าพนักงานทั่วไปด้วยครับ

นอกจากนี้หากการทำผิดนั้นก่อให้เกิดความเสียหาย ก็สามารถฟ้องร้องทางแพ่งได้ครับ

ที่สำคัญการตรวจสอบว่าศาลกระทำผิดหรือไม่ การตรวจสอบเบื้องต้นง่ายมาก เพราะมันอยู่ในสิ่งที่เขียนนั่นแหล่ะครับ การวินิจฉัยพยานหลักฐาน ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย มันมีหลักวิชาอยู่ครับ อย่างเช่น การตีความรัฐธรรมนูญ ก็มีการกล่าวถึงเรี่องนี้มาตั้งแต่ที่ผมนำมาลงแหล่ะครับ 2498 ส่วนสภาพสังคมปัจจุบันมีเหตุต้องเปลี่ยนแปลงการตีความหรือไม่ ก็ต้องมีเหตุผลที่หนักแน่น หรือเพื่อให้เกิดความยุติธรรมมากกว่าครับ สำคัญอยู่ที่ถูกหลักวิชาครับ มิใช่ถูกใจฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ทั้งนี้ ก็ทำนองเดียวกับ การใช้ดุลพินิจของฝ่ายปกครอง เช่น การวินิจฉัยสั่งการต่างๆ เช่น บริหารจัดการเรื่องน้ำท่วมไม่ดี ก็อาจโดนฟ้องร้องได้เช่นกันครับ แต่จะต้องรับผิดหรือไม่ ต้องไปพิจารณาในรายละเอียดว่า จงใจหรือไม่ ประมาทหรือไม่ โดยปกติถ้าไม่มีเจตนาก็จะไม่มีความผิดทางอาญาครับ
โดย: tonmai08 วันที่: 15 มิถุนายน 2555 เวลา:7:27:39 น.
  
ถ้าผมเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ผมคงอยากให้การพิทักษ์รัฐธรรมนูญมีช่องทางเลือกได้ คือ ถ้าผู้พิทักษ์ฯ เห็นว่ามีข้อมูลสามารถส่งอัยการ ถ้าอัยการละเลย ก็ส่งศาล ในกรณีของอัยการ ถ้าเห็นว่ามีมูลก็นำส่งศาล ถ้าไม่เห็นด้วย ก็จบไป ในกรณีของศาล มีสิทธิรับเป็นคดีหรือไม่ก็ส่งให้อัยการ

ผมคงไม่อยากให้อัยการเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญแต่เพียงผู้เดียว หรือ ท่านๆอยากให้เป็นเช่นนั้น ?
โดย: หนึ่งความเห็น IP: 10.0.101.171, 118.175.5.167 วันที่: 15 มิถุนายน 2555 เวลา:8:17:11 น.
  
โดยกระบวนการควรเป็นเช่นนั้นครับ อัยการกับศาลทำหน้าที่ต่างกัน มาตรฐานการพิสูจน์ต่างกัน อัยการจริงๆ แล้วก็คือทนายความของรัฐ ซึ่งโดยหลักแล้วไม่ใช่ผู้ตัดสินครับ หากจะวางหน้าที่ให้ซ้ำซ้อนกัน ก็ดูจะเป็นเรื่องที่แปลกประหลาดในรูปแบบกระบวนการครับ
โดย: tonmai08 วันที่: 15 มิถุนายน 2555 เวลา:18:10:33 น.
  
"แม่" คำนี้ที่ยิ่งใหญ่

"แม่" คำนี้มีแต่ให้

"แม่" คำนี้ที่คอยห่วงใย

"แม่" คือกำลังใจที่.....

ลูกๆ หาได้ตลอดเวลา....


ขอให้ ...คุณแม่ และ คุณทนายต้นไม้ ...มีความสุข และ ครอบครัว ทุกคนนะคะ

โดย: dawreung51 วันที่: 11 สิงหาคม 2555 เวลา:21:50:48 น.
  
สวัสดีครับ
โดย: 8088-xt วันที่: 24 สิงหาคม 2555 เวลา:11:23:56 น.
  
มาเยี่ยมครับ
โดย: ตากลมอมตังค์ วันที่: 27 ตุลาคม 2555 เวลา:22:34:22 น.
  




ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน

ไม่มีอะไร มาขวางกั้น ความจงรักภัคดี ของคนไทย ทุกคน
โดย: dawreung51 วันที่: 5 ธันวาคม 2555 เวลา:10:06:19 น.
  
โดย: dawreung51 วันที่: 25 ธันวาคม 2555 เวลา:13:58:42 น.
  
ดาว ขอ ให้ ปีใหม่นี้ เป็นปีที่วิเศษสุด ของคุณและครอบครัวทุกคน และ อิ่มเอมด้วยบุญบารมี มีความสุขตลอดกาล นะคะ

โดย: dawreung51 วันที่: 1 มกราคม 2556 เวลา:1:47:03 น.
  
新正如意 新年发财

ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้

ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาไฉ

คิดหวังสิ่งใดขอให้สมหวังสมปรารถนาในปีใหม่นี้
มีแต่ความสุขมั่งคั่ง โชคดีร่ำรวยตลอดปีนะคะ


โดย: dawreung51 วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:19:41:50 น.
  
ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาไฉ

มีความสุขมาก มาก เงินทองไหลมาเทมา นะครับ



โดย: ตากลมอมตังค์ วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา:20:04:23 น.
  


ขอพร อันประเสริฐ ทั้งหลายทั้งปวงในสากลโลก คุ้มครอง ให้...คุณทนายต้นไม้..... รวมทั้งครอบครัว ทุกคน
มีแต่สิ่งดีดี เข้ามาในชีวิต พบแต่ ความเจริญรุ่งเรือง ทั้งกิจการงาน
และ หน้าที่การงาน รวมทั้ง สรรพสิ่ง ต่างๆ ที่อันอาจจะเกิดขึ้น ในอนาคตต่อไป
ให้ รุ่งเรือง โชติช่วง ตลอด ปีใหม่ไทย นี้ และ ตลอดไป ค่ะ
โดย: dawreung51 วันที่: 13 เมษายน 2556 เวลา:21:13:20 น.
  
สวัสดีค่ะ
โดย: ป้ายแดง IP: 27.55.96.117 วันที่: 13 กันยายน 2558 เวลา:10:24:34 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

tonmai08
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



มิถุนายน 2555

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30