Group Blog
 
All Blogs
 

อะไรคือ Korg OASYS ?

Korg OASYS เป็นอภิมหาโปรเจ็คของ Korg ซึ่งใช้เวลาเริ่มต้นโครงการจนถึงปัจจุบันเกือบ 14 ปี โดยเริ่มต้นจากโครงการในปี ค.ศ. 1991 ซึ่งยังเป็นสมัยของ Korg T-series อยู่ โครงการนี้ดำเนินเรื่อยมาจนกระทั่งมี prototype synth ในปี 1995 ออกมายั่วน้ำลาย



แต่เนื่องจากเทคโนโลยีเมื่อ 10 ปีก่อนยังไม่เอื้ออำนวยในการผลิตสู่ตลาด ประกอบกับราคาของ RAM และอุปกรณ์อื่นๆยังสูงมาก เมื่อเทียบกับ processir ที่จะนำมาใช้ใน OASYS สมัยนั้น Korg จึงนำแต่ละส่วนของ OASYS ที่เรียกกันว่า synthkit ออกมาชำแหละขาย ซึ่งก็กวาดเงินไปมากอยู่ เพราะตัวอย่างของอุปกรณ์ที่ใช้ synthkit เช่น Korg Trinity, Korg wavedrum, Korg prophecy, Korg Z1, Electribe, Korg Triton และประดา effects อีกหลายๆตัว จนไม่รู้ว่า korg เกิดละอายใจหรือว่าไง เลยเก็บเทคโนโลยีของตนที่ผ่านมาในช่วง 10-20 ปีหลังมารวมมิตรใหม่ในนามของ Korg OASYS

ใน Korg OASYS 1995 เดิมนั้น มีหลายอย่างที่น่าสนใจมากทีเดียวครับ เพราะประกอบด้วย ROMPLER synth engine ที่สามารถเล่นได้ถึง 112 voices polyphony, มี physical modeling กว่า 20 แบบทั้ง analogs synth และเครื่องดนตรีประเภท reeds หรือ brass, pluckes, bow หรือแม้แต่ engine แบบ electric piano ก็มีครับ นอกจากนี้ยังมี vector synthesis จาก wavestation ร่วมด้วย แต่ใน korg OASYS 2005 นั้นมีอะไรใหม่บ้าง เราลองมาดูครับ



ก่อนอื่นเลยหัวใจของ Korg OASYS 2005 ไม่ใช่เป็น custom processor เหมือนกับ synth รุ่นก่อนๆแล้วครับ คราวนี้ Korgเลือกชิป Pentium 2.4 GHz มาใช้ และสร้าง GUI บน LINUX OS ซึ่งมีความสวยงามและดูหรูแบบเรียบๆพอสมควรทีเดียว นอกเหนือจากนี้ Korg ยังเพิ่ม RAM อีก 2 slots โดยใส่มาจากโรงงาน 1 slot เป็นขนาด 1 GB และมี flash ROM ขนาด 500 MB ร่วมด้วยสำหรับ load EXi synth หรือเป็น expansion sound ที่ไม่ถูกลบข้อมูลทิ้งไปเวลาปิดเครื่อง ในส่วนประกอบอื่นๆที่เพิ่มมาอีกก็มี function KARMA level 2 ซึ่ง Stephen Kay ได้ทำการปรับปรุง negine ให้ลึกยิ่งขึ้นและดึงเอาลูกเล่นใหม่ๆมาใช้เพิ่มสีสันให้กับเสียงทั้งในระดับ programs หรือ combi มากขึ้น และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ vector synthesis ซึ่งมีการเพิ่มเติมลูกเล่นมากขึ้น เนื่องจากจำนวน polyphony ของ OASYS ไม่ใช่ข้อจำกัดอีกต่อไป และปิดท้ายด้วยระบบบันทึกแบบ digital multitrack 16 tracks (บันทึกได้ทีละ 4 tracks) ซึ่งสามารถรวมเข้าไปในส่วนของ sequencer แล้ว mixdown ลง internal CD writer ได้เลย

ภายนอกของ OASYS จะประกอบด้วย controller ที่ค่อนข้างมากทีเดียว และหน้าจอ LCD แบบ touch screen ขนาด 10.4 นิ้ว เนื่องจาก Korg ตั้งราคา OASYS ให้อยู่ในระดับ S-class ดังนั้น OASYS จึงออกมาเฉพาะในรุ่น 76 keys synth-weight และ 88 keys graded hammer เท่านั้น

OASYS เป็นระบบ Open system จึงมีการเพิ่มเติม engine ใหม่ๆผ่านทาง software upgrade ได้ (ยังไม่รู้นโยบายของ Korg ว่าจะcharge ตรงนี้เพิ่มอีกหรือเปล่านะครับ) โดย OASYS 05 มี engine ของ synth มาให้ 3 แบบคือ
1. HD-1 เป็น engine แบบ ROMPLER โดยมี 172 voices polyphony และมี base ROM ที่ 314 MB และสามารถเลือก load expansion bank ตัวใดตัวหนึ่งได้แก่ EXs1 เป็นคล้ายๆ studio sound เช่นกลอง guitar เบส synth ขนาด 313 MB หรือ concert grand piano EXs2 ขนาด 503 MB ลงใน flash ROM ได้ ตัวเสียงที่ sample มานั้นเข้าใจว่าน่าจะเป็น 48 KHz 16-bit นะครับ และไม่มีการ compress เสียงเหมือน Yamaha หรือ Roland ครับ



2. AL-1 มี polyphony สูงสุด 84 voices เป็น virtual analogs ที่เสียงดีตัวหนึ่งทีเดียวครับ สามารถเพิ่ม modulation matrix ได้มากมาย และทำ FM synthesis ได้ในตัวครับ



3. CX-3 เป็น tonewheel organ modeling มี 172 voices polyphony เท่ากันกับ HD-1 คุณภาพเสียงดีกว่า Korg CX-3 ครับ



นอกจากนี้ Korg ยังเพิ่ม effects มาให้อีกพอควรทีเดียว โดยมี 12 insert efects, 2 total, 2 master ซึ่งสามารถใช้งานได้พร้อมๆกันหรือ route ผ่านแบบserial หรือ parallel ได้ทั้งนั้น



อนาคตของ synth ที่เรียกได้ว่าเป็น megasynth ของปี 2005 จะเป็นอย่างไรคงต้องติดตามใกล้ชิดครับ เพราะเท่าที่ทราบทั้ง Yamaha ซึ่งไปซื้อ steinberg มาก็เริ่มโครงการลับๆแล้วในเยอรมัน ส่วน Alesis ก็เตรียมออกตัว Fusion synth ซึ่งคุณสมบัติคล้ายๆ OASYS แต่มี synth engine เพิ่มมาอีกสองตัวคือ physical modeling และ FM และแถมท้ายด้วย 8 tracks harddisk recording ในตัว และราคาถูกกว่า OASYS ถึง 1/3 ทำให้ทั่วโลกกำลังจับตามองอยู่ว่า Korg จะสามารถพา OASYS ไปได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่




 

Create Date : 16 มิถุนายน 2548    
Last Update : 20 มิถุนายน 2548 14:46:16 น.
Counter : 2614 Pageviews.  

Korg OASYS teaser

ยังครับ ยังไม่มีปัญญาจะหามาใช้ กับคีย์บอร์ดใหม่ที่ราคาอยู่ในระดับ premium อย่างงี้ เพียงแต่ว่าตอนนี้ Korg OASYS เริ่มวางจำหน่ายแล้วครับ และได้รับเสียงตอบรับจาก High-end users ค่อนข้างดีทีเดียว มีตัวอย่าง MP3 ออกมาให้ฟังมากมายแล้วครับ และเริ่มมี review ความประทับใจครั้งแรกกับเจ้าคีย์บอร์ดตัวนี้ออกมาเรื่อยๆ ก็เลยลองเอามารวบรวมไว้ที่นี่ครับ

ภาพจาก //www.sweetwater.com/forum



ตัวอย่างการใช้งาน
หน้าจอของ OASYS ที่ใช้ OS เป็น LINUX ลองเปิดดูครับ จะเห็นถึงความซับซ้อนของแต่ละโปรแกรมที่มี ไม่มีเสียงประกอบนะครับ ขนาด file ประมาณ 3.8 MB ครับ
//www.korg.com/oasys_gui/OASYS_Virtual_GUI.html

ตัวอย่างเสียงจาก USERS
//www.russomusic.com/forum_links.html
//homepage.mac.com/rvsands1/FileSharing3.html
อันนี้จาก KORG ครับ คลิ๊กที่ mp3 ครับ //www.korg.com/oasys/

online VIDEO
จาก Steven Kay บิดาแห่ง KARMA ต้องดูครับ เพราะมีรายละเอียดที่จำเป็นของการใช้งาน OASYS อย่างมาก (สำหรับคนที่คิดซื้อนะครับ ใครไม่ซื้อเข้าไปดูก็ได้ครับ แต่ไฟล์วิดีโอใหญ่มากครับ broadband บางทียังช้าเลยครับ)
//www.karma-lab.com/oasys/o_main.html




 

Create Date : 16 มิถุนายน 2548    
Last Update : 17 มิถุนายน 2548 11:09:14 น.
Counter : 593 Pageviews.  

Review RD-700SX

ห่างหายไปนานสำหรับวิชานี้ครับ
ที่จริงมีโอกาสเล่นเจ้า RD700SX มาหลายอาทิตย์แล้ว แต่เพิ่งมีเวลามารวบรวมเนื้อหาครับ ตัวนี้เป็นกลุ่มที่ Roland เรียกว่า Stage piano ซึ่งการใช้งานจะเหมาะกับการเล่นสดหรือในสตูดิโอเพื่อใช้เป็น controller มากกว่ามาตั้งเล่นตามบ้านครับ ซึ่งรูปลักษณ์การออกแบบก็ไม่ได้อ่อนข้อบรรดารุ่นพี่อย่าง RD500 , RD 600 หรือ RD 700 ที่สร้างชื่อมาก่อนเลย



รูปร่างภายนอก
Roland ออกแบบรุ่น RD ได้คล้ายๆกันครับ ในรุ่น RD 700SX นี่ผมจะชอบด้านข้างเป็นพิเศษ คือจะทำเป็นขอบหยักขึ้นด้านข้าง เพื่อช่วยในการยกหรือเคลื่อนย้าย แบบเดียวกับใน Fantom series ตัวถังทั้งหมดเป็นโลหะยกเว้นด้านล่างครับ สีด้านหน้าดูอาจจมีปัญหาเล็กน้อยเพราะเป็นสีดำพ่นเคลือบบนผิวอลูมิเนียมสีบรอนซ์ ซึ่งถ้าเกิดการขูดขีดเล็กน้อยจะเห็นสีขาวเด่นออกมาเลยทีเดียว ความหนักตัวนี้ไม่เป็นรองใครเลยครับ แต่ถ้าเทียบกับคีย์บอร์ด 88 คีย์แล้วถือว่าไม่หนักเกินไปครับ

การจัดวาง



รูปร่างของการจัดวางตำแหน่งของ Roland ยังคงแบบเดิมครับ ไม่มี modulation wheel แยกกับ pitchbend เหมือนเคย มีแต่ joystick แบบครึ่งท่อน ด้านซ้ายของจอ LCD จะเป็นภาค volume , parametric EQ , sound control (stereo limiter) , ภาคควบคุม effects reverb, chorus และ multi FX และเป็นปุ่มควบคุม arppegiator และ backup rhythm และมี slider ควบคุม zones ต่างๆของ คีย์บอร์ดทั้ง upper และ lower รวมทั้ง switch local control on/off ครับ
จอ LCD เป็นจอขนาดเล็กๆครับ ซึ่งที่จริงแล้ว Roland น่าจะปรับขนาดของจอเพิ่มขึ้นกว่านี้ครับ เพราะขนาดจอเล็กมากเมื่อเทียบกับข้อมูลที่ต้องดู หรืออย่างน้อยท้เป็นหน้าจอยาวๆแบบในรุ่น XP ก็ยังดี เพราะเวลาตั้งค่าหรือตั้งเสียงนี่ต้อง scroll ไปมาอยู่หลายๆรอบเลยครับ โดยเฉพาะเวลาเราใช้งานกับเสียงที่ซับซ้อนหลายๆ layers และมี arppegiator หรือ backing track ร่วมด้วย



ด้านขวาของจอ LCD จะมีปุ่ม inc, dec, และ cursor navigators แบบ 4 ทิศทางครับ และมีปุ่มที่ใช้เลือก categories ของเสียงโดยหลักๆเช่น acoustic piano, electric piano, clav/mallet, strings. Pad, organ, guitar/bass, brass/winds, voices/synth, rhythm/GM2 ซึ่งสามารถเข้าไปเลือกเสียงหลักๆแต่ละ categories ได้ทันที ด้านบนจะเป็นปุ่ม one-touch button ซึ่งมีประโยชน์มากครับ ปุ่มนี้จะมีให้เลือกเป็น A. Piano กับ E. Piano โดยจะ hardwire กับเสียงหลักๆเช่น A.Piano ก็จะมีให้เลือกคือ Superior Grand กับ X Ultimate ส่วน Electric Piano ก็จะเป็น SX E.Piano1 กับอะไรอีกสักตัวนี่แหละครับ ปุ่มนี้เหมาะสำหรับเวลาที่เราเล่นอะไรใน RD 700SX ไปเรื่อยๆจนต้องกลับมาเล่นเสียงเปียโนเหมือนเดิม ไม่ต้องวนกลับเข้า menu เดิมๆอยู่ คุณสามารถกดปุ่มนี้ได้เลยครับ นอกเหนือจากนี้ก็เป็นปุ่มเลือกการทำงานของ layer ต่างๆของ Keyboard ทั้ง 4 layer ครับ คือ upper1,2 , Lower 1,2
ด้านหลังของเครื่องน่าสนใจมากทีเดียวครับ อย่างแรกเลยก็คือ port แบบ XLR ใน main output และก็มี port แบบ unbalanced มาด้วยกัน ซึ่งเหมาะมากเวลาต่อเข้ากับ mixer ทั่วๆไปไม่ต้องผ่าน DI box และที่เพิ่มความรู้สึกของการเป็น controller ก็คือ MIDI out เพิ่มออกมาอีก 1 port และมี USB port โดยที่ RD 700 SX จะมี internal memory ในตัว 1 MB สำหรับโหลด SMF (standard midi file) มาใช้กับ GM2 module ในตัวครับ ซึ่งถ้าเทียบกับเพลงทั่วไปก็น่าจะประมาณ 20-30 เพลง ครับ ก็พอเหมาะสำหรับงานประจำวันหนึ่ง และที่ขาดไม่ได้คือ SRX-expansion slot ซึ่งมีมาให้ 2 slots จริงๆแล้ว expansion board ของ Roland นี่ไม่ถูกนะครับ ตัวนึงก็หมื่นกว่าบาท ล้วถ้าเทียบกับ sound จาก CD ROM ที่มีจำหน่ายทั่วไปนี่ expansion board แพงกว่ากันเยอะครับ แต่ที่ผมมองก็คือ ตัว expansion board ให้ความสะดวกในการเลือกเสียงที่เราต้องการ โดยไม่ต้องเสียเวลา load หรือโปรแกรมเพิ่มเติม เราสามารถเลือกใช้เสียงจาก expansion board ได้ทันทีเหมือนเป็น bank หนึ่งในเครื่องเลยทีเดียว ในส่วนของ foot controller Roland ก็ไม่ได้ตัดลดลง แต่ให้มาถึงสามครับ สามารถพ่วงได้ทั้ง continuous controller หรือ switching ก็ได้ ของ RD 700SX จะมี parameter ที่สามารถใช้ foot switch กำหนด tap tempo ได้ครับ นับว่าสะดวกมากๆ

การใช้งาน
ตรงนี้มีรายละเอียดมากพอควรครับ เริ่มต้นจากพื้นฐานของ synth engine ก่อนเลย ใน RD 700 เดิมนี่ใช้ engine แบบเดียวกันกับ XV-series ครับ ความจุของ ROM เสียง ประมาณ 64 MB หรือถ้าเป็นความจุจริงน่าจะเพียงครึ่งหนึ่ง ส่วน RD 700 SX ใช้ engine ที่มีใน Fantom-X ครับ ตัดในส่วนของ M-FX ออกไปเหลือแค่ 2 M-FX และ Chorus กับ Reverb และเพิ่มในส่วนของ parametric EQ ที่สามารถเลือก boost frequency ได้ (sweep) และ stereo compressor ซึ่งช่วยในการเล่นสดมากครับ ถ้าเทียบกับ graphic EQ แล้วผมรู้สึกว่า parametric EQ ช่วยมากกว่าในกรณีของการปรับเสียงเปียโนให้เข้ากับสถานที่แต่ละที่ โดยในส่วนของ mid frequency สามารถปรับ sweep ได้กว้างถึงช่วง 20 Hz ปละไปได้สุดถึง 15 KHz และปรับที่ Q ได้ สามารถทำ filter แบบ Hi-pass, lo-pass หรือ Band pass/ reject ได้ครับ
เสียงของ RD 700SX เป็นอะไรที่มีคนสนใจมากครับ เพราะ Roland โปรโมทเสียงของตัวนี้ไว้เยอะทีเดียว ขอเน้นที่ตัวเสียง acoustic piano ก่อนนะครับ เสียง acoustic piano หลักๆมีหลายตัวครับ แต่ที่เป็น high-light เลยก็คือ Superior grand ซึ่งเป็น Steinway Grand Model D sampling และ X-Ultimate grand ซึ่งเป็น Yamaha Grand Model C และเป็นเสียงที่มีอยู่ใน Fantom X ถ้าพูดถึงคุณภาพของเสียงทั้งสองเสียงนี้ต้องถือได้ว่าทำได้ดีทีเดียวครับ Roland เน้นที่การ sampling note ทุกๆตัว ทั้ง 88 คีย์ ที่ความละเอียดของ velocity 3-4 ระดับ ซึ่งเปียโนไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติระดับนี้ก็มีแต่ใน Clavinova CLP-900 series ของ Yamaha และ Korg OASYS เท่านั้นครับ และราคาสูงกว่า RD 700SX หลายเท่า เสียง Superior grand เหมาะสำหรับ solo โดยเฉพาะเพลงแนว Jazz หรือ Classic เสียงจะออกทุ้มๆ หม่นๆเล็กน้อย ส่วน X-Ultimate ที่มาจาก Yamaha Grand นั้นทำได้ดีทีเดียวครับ setup ที่ผมใช้ตัวล่างเป็น Fantom X8 ตัวบนเป็น Motif 7ES เมื่อเวลาตั้งเสียง Grand piano เหมือนกัน สามารถยกมือเล่นจาก Fantom Xไปยัง Motif ES ได้โดยคนทั่วไปไม่รู้สึกถึงความแตกต่างของเสียงเลยครับ (แต่ผมปรับ mastering effects ของ Fantom X เป็น High Boost แล้วนะครับ ถ้าไม่ปรับเสียงจะอึมครึมมาก) เสียงของ X-ultimate เหมาะสำหรับเพลง Pop มากครับ หรือ Ballad หวานๆ แล้วซ้อนกับเสียง Strings จะเหมาะมากทีเดียว แต่ไม่ค่อยเหมาะกับเพลงเร็ว เพราะค่อนข้างจะจมใน Mix และถึงปรับ EQ แล้วก็ตามเสียงที่ออกมาก็ไม่น่าเล่นเท่าที่ควร เสียงที่เหมาะกว่าผมว่าน่าจะเป็น So true ใน Fantom-S, X ครับ หรือเสียง 600Grand ใน RD 700SX ซึ่งเป็นเสียงที่มาจาก RD 600 ครับ เสียงจะผ่านการ compress มาระดับหนึ่งแล้ว
โดยรวมแล้ว เสียงของ Ultimate grand และ Superior Grand ไม่ได้ทำให้ผิดหวังเลยครับ และ Roland ก็ไม่ลืมที่จะรวมฮิตเสียงที่เคยสร้างชื่อก่อนหน้านี้เข้ามารวมไว้ด้วย เลยทำให้เสียงของRD 700SX มีให้เลือกกว้างขึ้น ในส่วนของ Electric piano ก็ผ่านในระดับของ Roland และเสียงรวบรวมมาได้ครบทั้ง CP-70 , Rhodes, Wurlitzer , Dyno Rhodes , FM electric piano ยังขาดแต่เสียงของ RMI ซึ่งหาได้ยากในคีย์บอร์ดปัจจุบัน
เสียงอื่นๆเช่น Strings ก็ให้น้ำหนักที่ดีครับ ออกจะแน่นไปบางครั้งเวลาเอามาซ้อนกับเสียงเปียโน ซึ่งต้อง Open chord ไว้กว้างๆหน่อยครับ หรือไม่ก็เลือกใช้เสียง Synth string แทนครับ ที่ขาดไปในกลุ่มนี้คงเป็นพวกเสียง solo string กับพวก Cello หรือ Contrabass หนักๆ แต่เท่าที่มีก็เพียงพอสำหรับการเล่นทั่วๆไปแล้วครับ เพราะเสียงพวกนี้สามารถหาได้จากการ์ด Strings อยู่แล้ว
ในส่วนของ Organ นั้นจะประกอบด้วยเสียง Organ แบบ samples ทั่วไปและ virtual tonewheel organ ซึ่งยืมเทคโนโลยีมาจากรุ่น VK-series เสียงส่วนใหญ่แน่นดีครับ เพร634;ะผ่าน Organ M-FX เสียง Leslie ก็สามารถใช้งานได้ระดับหนึ่ง แม้จะไม่เนี๊ยบมากนัก แต่สามารถใช้แทรกในเพลงได้ โดยไม่ต้องเพิ่มคีย์บอร์ดใหม่เข้าไป เสียงตระกูล pad จะออกเน้นไปทางแน่นๆมากกว่า บางเสียงไม่ค่อยเหมาะจะใช้เป็นเสียงซ้อนกับเปียโน เสียงตระกูล brass ก็อยู่ในระดับเทียบเท่ากับ Fantom X ครับ อาจจะไม่ค่อยเด่นนัก เช่นเดียวกับเสียงที่เหลือครับ
ในแง่ของการเล่นสด Roland ทำการบ้านเจ้า RD 700SX มาดีทีเดียวครับ ทุกปุ่มสามารถใช้งานได้ง่าย แม้ไม่มีคู่มือประกอบ หรือสามารถเลือกใช้ตรงไปตรงมา เช่น transpose ก็กดปุ่มคาไว้แล้วเลือกคีย์ที่เราจะ transpose ไป หรือ split ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน ฟังก์ชั่นควบคุมเสียงหรือ master keyboard ก็ตรงไปตรงมา สามารถตั้งเองได้ง่ายๆ หรือจะเจาะลึกลงไป เช่นให้ rhythm ส่งออกไปยัง sound module ตัวนี้ หรือให้ arp ควบคุมแค่บาง feature ก็สามารถทำได้เช่นกันครับ

สรุปเสียที
ตัว RD 700SX สามารถเป็นทั้ง stage piano, master controller และเป็นตัว input ผ่าน USB ได้ดีทีเดียวครับ การใช้งานง่าย ลูกเล่นที่จำเป็นจริงๆสำหรับการเล่นสดหรือในสตูดิโอ และเสียงเปียโนที่ไม่เป็นรองใคร ทำให้ RD-700SX ค่อนข้างโดดเด่นมาก แต่กรณีของการมาใช้เป็น solo piano อาจจะทำได้ไม่ค่อยสมบูรณ์นัก ถ้าเทียบกับเสียงเปียโนที่ได้จาก Virtual synth อื่นๆ เพราะขนาดของเสียงต่างกันเป็นร้อยเท่า แต่ความสะดวก รวดเร็ว และสามารถยืดหยุ่นในการใช้งานเป็นจุดแข็งของตัวนี้ครับ




 

Create Date : 03 มิถุนายน 2548    
Last Update : 3 มิถุนายน 2548 13:37:57 น.
Counter : 3938 Pageviews.  

MINI review Roland FP2

จริงๆเคย review ไปเมื่อช่วงพฤษภาฯปีที่แล้วครับ กดเข้าคลังกระทู้แล้วไม่เข้าไป แล้วยังไม่เปิด blog ของตัวเองเลยไม่ได้เก็บเป็นเรื่องเป็นราว

ตัวที่ไปลองช่วงนั้นเป็น FP2 กับ FP5 ครับ คงพอกล้อมแกล้มกันได้นะครับ เพราะในส่วนตัวผมรู้สึกว่า ROland จะใช้ soundset ที่เป็นเสียงเปียโนคล้ายๆกันในสามรุ่นนี้คือเป็น 2-velocity stereo sampling grand + electric piano แล้วก็มี GS sound อีก 256 เสียงมาให้ ต่างกันที่ internal speaker กับขาตั้งที่บางรุ่นมีบางรุ่นไม่มีครับ

เสียงเปียโนใช้งานได้ดีครับ มีสองแบบคือ แบบใสๆ สำหรับเพลง pop หรือ Jazz ครับ ถ้าจำไม่ผิดจะเป็น Piano1 และ Piano2 จะเป็นแบบทุ้มหน่อยเหมาะกับเพลง classic (ส่วนใหญ่ผมจะไม่ค่อยชอบเสียงแบบนี้เท่าไหร่นักเพราะมักจะเอาเสียงจาก sample set เดียวกันมาแต่ง EQ กับ FIlter ให้ออกมาเป็นยเสียง piano 2 หรือไปลดขนาดของเสียง piano 2 ลง แต่รู้สึกว่า Roland FP จะแยกเป็นอีก 1 soundset นะครับ แต่ผมยังนิยม Piano1 มากกว่า
เสียงอื่นในตระกูล electric piano เช่น Rhodes , Wurlitzer นี่ใช้ได้ครับ จะคล้ายๆกันกับใน V-combo ซึ่งเสียง Rhodes มีอาการ bark พวกควร แต่เนื่องจากไม่มี COSM เหมือนใน V-combo ซึ่ง COSM เป็น effects ที่ช่วยสร้างองค์ประกอบอื่นๆเช่น amp modelling ความแตกต่างในเรื่องลูกเล่นเลยชัดเจนกว่า
เสียงอื่นๆเช่น string หรือ pad หรือ Jazz scat นี่เป็นเหมือนเสียงที่ต้องมีใน synth ทุกตัวของ Roland ไปแล้วครับ ก็มาตรฐานเทียบเท่ากับในรุ่น XV ครับ ส่วนเสียง GS ก็พอใช้งานในส่วนของเล่น backing track หรือประกอบจังหวะให้เราเวลาซ้อมหรือเล่นแบบ one man show ได้

สรุปตัวนี้ก็อยู่ในรุ่นกลางๆครับ เทียบเท่ากับ P90, P120 แต่ลูกเล่นปลีกย่อยอาจจะเยอะกว่า ในขณะที่ P120 ไปเน้นที่คุณภาพของคีย์และคุณภาพของเสียงมากกว่า




 

Create Date : 28 เมษายน 2548    
Last Update : 28 เมษายน 2548 18:27:49 น.
Counter : 725 Pageviews.  

Musik Messe 2005 สรุป M.I.P.A. award ประจำปีนี้

ประกาศผลออกมาแล้วนะครับ สำหรับ MIPA award ซึ่งเป็นสรุปผลโหวตโปรดักส์ดีเด่นประจำปีของบรรณาธิการนิตยสารดนตรีทั่วโลก 40 เล่ม ประจำงาน MusikMesse ทุกๆปีซึ่งผลเป็นตามนี้ครับ
(ข้อมูลจาก //www1.mipa-award.de/nominees2005.htm )

Best innovative product : Apple Garageband

Bass
Best Bass Amp : Hugh & Kettner Quantum QT600
Bass Cabinet : Ampeg Pro Series
E-Bass : Line6 Variax Bass

Drum
Acoustic Drum : Pearl Reference Series Drums
Cymbals : Sabian Artisan Ride cymbals
Hardware : Pearl Advance Hardware
Drum Sticks : Regal Tip E Series Stick
Drum Head : Remo Emperor X Snare drum head
Percussion : Meinl Luis Conte Artist Series Congas
Drum Mic : Senheiser Evolution 900 series

Guitar
E-guitar : PRS 513
Acoustic guitar : Martin D-28
Guitar Combo : Fender Cyber twin
Guitar top : Fishman Loudbox
Guitar Effects (19" or floor) : Line 6 PODxt Live
Pick ups : Seymour Duncan JB
Strings : Elixir Nanoweb

Keyboard / Software
Synthesizer : Access Virus (คงหมายถึงรุ่น TI ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุดครับ)
Sampler : Steinberg Halion 3
Stage Piano : Roland RD700 (SX?)
Keyboard Workstation : Korg OASYS (มันก็สมควรได้อยู่หรอก เล่นราคาปาไปสามแสนออกอย่างงั้น)
Sound Libraries : Apple Jam Pack
Software Instrument : Korg Legacy Collection
Organ/Portable Keyboard : Clavia Nord Electro 2

Recording
Mixing Desk : Yamaha DM-2000
Mixing Desk High end : SSL AWS900
Studio Mic : AKG C414 B-XLII
Studio monitor (near field) : Genelec 8000 series
Surround Tools : Steinberg Nuendo 3
Recording Software : Cakewalk Sonar 4
Desktop recording workstation : Tascam 2488
Recording I/O : Motu 828 MkII
Recording Hardware : Digidesign Protools HD
Recording Effects : NI Guitar Rig

Dance / Groove gear
Groove Box : roland MC 909
DJ software / DJ tools : Ableton Live 4

Live Sound
Mixing desk : MIDAS Verona
Portable Sound : JB: SRX700
Tour Sound : L-Acoustics KUDO
Live Mic : AKG WMS 4000




 

Create Date : 28 เมษายน 2548    
Last Update : 28 เมษายน 2548 18:05:18 น.
Counter : 598 Pageviews.  


หมอจุ๊บ
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]


ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add หมอจุ๊บ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.