รถม้า
นับเป็นเวลาย้อนหลังไปช่วง 80 ปีที่แล้ว สมัยของเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิตซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 การคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ยังพัฒนาไม่ถึงนครลำปาง รถม้าเป็นพาหนะชนิดเดียวที่ได้รับความ นิยมในการเดินทางสูงสุดและสามารถใช้บรรทุกของหรือสินค้า รถม้าคันแรกได้ถูกซื้อมาจากกรุงเทพฯ ขณะนั้นทางกรุงเทพฯ มีรถยนต์ใช้มากขึ้น บทบาทของรถม้าลากในกรุงเทพฯ จึงลดลงรถม้าจึงได้ถูกนำมาใช้ที่นครลำปางและยังได้กระจายไปสู่เมืองหลักของภาคต่างๆ ได้แก่ นครราชสีมาของอีสาน นครศรีธรรมราชของภาคใต้ นครเชียงใหม่ เมืองเชียงราย เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองแม่ฮ่องสอน ของทางภาคเหนือแต่ด้วยเหตุใดไม่ปรากฏผู้ประกอบการรถม้าในเมืองดังกล่าวจึงเลิกกิจการไป คงเหลือแต่เฉพาะจังหวัดลำปางแห่งเดียว ที่ยังคงใช้รถม้าอยู่ตราบ จนกระทั่งวันนี้


















เซรามิค ลำปาง
ที่มาของเครื่องปั้นดินเผาจังหวัดลำปางนั้น ได้เริ่มจากการพบ และสังเกตุเห็นหินที่ใช้ลับมีดของชาวบ้านอำเภอแจ้ห่ม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแร่ดินขาว โดยนายซิมหยู แซ่ฉิม ชาวจีนเมืองไท้ปู อันเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงทางด้านการผลิตถ้วยชาม หลังจากนั้น นายซิมหยูได้ชวนเพื่อนซึ่งได้แก่ นายเซียะหยุย แซ่อื้อนายซิมกิม แซ่กว๊อก จักรยานคู่ชีพออกค้นหาแหล่งดินขาว โดยมีนายทวี ผลเจริญ ให้การสนับสนุนด้านการเงิน จนกระทั่งพบแหล่งดินขาวที่ชาวบ้านปางคำ อำเภอแจ้ห่มระหว่างกิโลเมตรที่ 26-27 ถนนลำปาง-แจ้ห่ม เมื่อราวปี พ.ศ.2498-2499 และในปี พ.ศ.2517 จึงจัดตั้งและก่อเป็นรูปชมรมขึ้นโดยใช้ชื่อว่า "ชมรมเครื่องปั้นดินเผาลำปาง" และต่อมาทางสมาคมได้ทำข้อมูลเพื่อเสนอให้เปิดศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผาภาคเหนือที่จังหวัดลำปาง ซึ่งได้ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2536 ด้วยมูลค่า 119 ล้านบาท ซึ่งต่อมาศูนย์ได้มีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาด้านคุณภาพ และเทคโนโลยีในการผลิต ตลอดจนเป็นที่ฝึกอบรม และให้ความรู้แก่บุคลากรในด้านต่างๆ การเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมเซรามิคในจังหวัดลำปาง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 เป็นต้นมา อุตสาหกรรมเซรามิคในจังหวัดลำปางก็เริ่มเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันโรงงานเซรามิกในจังหวัดลำปาง มีประมาณ 200 โรงงาน และกว่าครึ่งสามารถส่งออกได้ และยังมีโรงงานขนาดเล็กแบบครอบครัวอีกไม่ต่ำกว่า 100โรงงาน มีการจ้างงานรวมประมาณ 9,000 คน มีมูลค่าการผลิตมากกว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี จนปัจจุบันจังหวัดลำปางเป็นที่รู้จักทั่วไปว่าเป็นเมืองแห่งเซรามิค


















สะพานรัษฎาภิเศก
สะพานรัษฎาภิเศก หรือ สะพานขาว ตั้งอยู่ที่ถนนรัษฎา เป็นสะพานข้ามแม่น้ำวัง ตั้งอยู่ใน ต.หัวเวียง อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง เดิมเป็นสะพานโครงสร้างไม้ ที่ทางเจ้าผู้ครองนครลำปาง และชาวจังหวัดลำปางได้จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวาระที่ รัชกาลที่ 5 ในโอกาสที่พระองค์ครองราชย์ครบ 25 ปี ในปี พ.ศ. 2437ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ได้ทาสีพรางตาและด้วยการอ้างว่าสะพานแห่งนี้ไม่มีประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ จึงรอดจากโจมตีทิ้งระเบิดมาได้ หลังจากนั้นได้มีการก่อสร้างใหม่เมื่อเดือนมีนาคม 2460 เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก บริเวณสะพานมีเครื่องหมายไก่ขาว และครุฑหลวงประดับไว้ตรงหัวสะพาน เป็นสัญลักษณ์ของลำปางในฐานะของ ขัวสี่โก๊ง(สะพานสี่โค้ง) ขัวหลวง (สะพานใหญ่) ขัวขาว (สะพานขาว)

ตลาดกองต้า ถนนคนเดินนครลำปาง 
กาดกองต้า หรือ ตลาดจีน ที่ชาวบ้านเรียกติดปาก เป็นย่านตลาดเก่าตั้งอยู่ขนานกับลำน้ำวัง บนถนนตลาดเก่าตลอดทั้งสาย จุดเริ่มต้นอยู่บริเวณ เชิงสะพานรัษฎาไล่ไปจนสุดปลายถนนย้อนเวลากลับไปเมื่อกว่า 100 ปี (ราวสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ภาพความคึกคักจอแจ ขวักไขว่ เต็มไปด้วยผู้คน จะมีอยู่ตลอดย่านนี้ด้วยเพราะในยามนั้น กาดกองต้า เป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของ เมืองลำปาง และของภาคเหนือกาดกองต้า ตลาดโบราณ แหล่งท่องเที่ยวเชิงศิลปะ วัฒนธรรม ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของเมืองลำปาง
กาด คือ ตลาด เป็นภาษาท้องถิ่นล้านนา(คำเมือง)
กองต้า คือ ตรอกท่าน้ำ
กาดกองต้า ก็คือ ตลาดบริเวณตรอกท่าน้ำ





















วัดเจดีย์ซาว 
วัดใหญ่กลางทุ่งนาที่มีเจดีย์ 20 องค์ เจดีย์เล็กใหญ่ที่กระจุกตัวอยู่ในพื้นที่เดียวกัน หากลองนับดูอาจจะขาดเกิน ใครนับเจดีย์ได้ครบ 20 องค์ ถือว่าเป็นคนมีบุญ วัดแห่งนี้สร้างมานานกว่าพันปี ในปี พ.ศ. 2526 ได้มีชาวบ้านขุดพบพระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์ หนัก 100 บาท สองสลึง จึงมอบให้กับวัด ซึ่งพระพุทธรูปองค์นี้มีชื่อว่า พระแสนแซ่ทองคำ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยล้านนา และเป็นพระพุทธรูปทองคำองค์แรกที่ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุแห่งชาติแล้ว

ของฝากจากเมืองเขลางค์นคร 

ห้าแยกหอนาฬิกา ใจกลางเมืองจังหวัดลำำปาง หรือแยกข่วงนครห้า 


ประเพณีที่สำคัญของเมืองเขลางค์นคร 

ท่องเที่ยวเมืองเขลางค์นคร 