Introduction to TCP/IP

Internet ทำให้มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารได้ตลอดเวลา ทุกสถานที่ และไม่ข้อจำกัดแม้ระยะทาง ทำให้จังหวะเวลาของชีวิตเดินเร็วขึ้น ทุกอย่างถูกดำเนินไปด้วยการขับเคลื่อนของ Internet การติดต่อสื่อสารของคนจากทั่วโลกมีปริมาณมากขึ้นจากสถานที่แตกต่างกัน รูปแบบก็แตกต่างไปจากเดิม เกิดการเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันมากขึ้น ข้อมูลจำนวนมหาศาลถูกเก็บบนโลก Cyber แห่งนี้ และทุกคนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
TCP/IP มาจาก Transmission Control Protocol/ Internet Protocol กลุ่มของ Standard Protocol ซึ่งใช้สำหรับการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่อง และเป็นการสร้าง Network กลุ่มของ Protocol นี้ถูก สร้างโดย กลุ่ม Microsoft เพื่อ Support การทำงานของ Applications ในกลุ่มของ Microsoft Windows, Operating System TCP/IP เป็นชุดของ Protocol ที่ถูกใช้ในการสื่อสารผ่าน Internet Network โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถใช้สื่อสารจากต้นทางข้าม Network ไปยังปลายทางได้ และสามารถหาเส้นทางที่จะส่งข้อมูลไปได้เองโดยอัตโนมัติ ถึงแม้ว่าในระหว่างทางอาจจะผ่าน Network ที่มีปัญหา Protocol ก็ยังคงหาเส้นทางอื่นในการส่งผ่านข้อมูลไปให้ถึงปลายทางได้ Protocol ชุดนี้ ได้รับการพัฒนา มาตั้งแต่ปี 1960 ซึ่งถูกใช้เป็นครั้งแรกในเครือข่าย ARPANET ซึ่งต่อมาได้ขยายการเชื่อมต่อไปทั่วโลกเป็น Internet Network ทำให้ TCP/IP เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบัน

TCP/IP มีจุดประสงค์ของการสื่อสารตามมาตรฐาน 3 ประการคือ

1. เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างระบบที่มีความแตกต่างกัน
2. ความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบ Network เช่นในกรณีที่ผู้ส่งและผู้รับยังคงมีการติดต่อกันอยู่แต่โหนด กลางที่ใช้เป็นผู้ช่วยรับ-ส่งเกิดเสียหายใช้การไม่ได้ หรือสายสื่อสารบางช่วงถูกตัดขาด กฎการสื่อสารนี้จะต้องสามารถจัดหาทางเลือกอื่นเพื่อทำให้การสื่อสารดำเนินต่อไปได้โดยอัตโนมัติ
3. มีความคล่องตัวต่อการสื่อสารข้อมูลได้หลายชนิดทั้งแบบที่ไม่มีความเร่งด่วน เช่น การจัดส่งแฟ้มข้อมูล และแบบที่ต้องการรับประกันความเร่งด่วนของข้อมูล เช่น การสื่อสารแบบ real-time และทั้งการสื่อสารแบบเสียง (Voice) และข้อมูล (data)




 

Create Date : 01 สิงหาคม 2553   
Last Update : 1 สิงหาคม 2553 16:31:39 น.   
Counter : 478 Pageviews.  

Encapsulation/Demultiplexing

การส่งข้อมูลผ่านในแต่ละ Layer จะทำการประกอบข้อมูลที่ได้รับมา กับข้อมูลส่วนควบคุมซึ่งถูกนำมาไว้ในส่วนหัวของข้อมูลเรียกว่า Header ภายใน Header จะบรรจุข้อมูลที่สำคัญของ Protocol ที่ทำการ Encapsulate เมื่อผู้รับได้รับข้อมูล ก็จะเกิดกระบวนการทำงานย้อนกลับคือ Protocol เดียวกัน ทางฝั่งผู้รับก็จะได้รับข้อมูลส่วนที่เป็น Header ก่อนและนำไปประมวลและทราบว่าข้อมูลที่ตามมามีลักษณะอย่างไร ซึ่งกระบวนการย้อนกลับนี้เรียกว่า Demultiplexing


รูป: ขั้นตอนการ Encapsulation และ Demultiplexing


ข้อมูลที่ผ่านการ Encapsulate ในแต่ละ Layer มีชื่อเรียกแตกต่างกันดังนี้
• ข้อมูลที่มาจาก User หรือก็คือข้อมูลที่ User เป็นผู้ป้อนให้กับ Application เรียกว่า User Data
• เมื่อ Application ได้รับข้อมูลจาก User ก็จะนำมาประกอบกับส่วนหัวของ Application เรียกว่า Application Data และส่งต่อไปยัง Protocol TCP
• เมื่อ Protocol TCP ได้รับ Application Data ก็จะนำมารวมกับ Header ของ Protocol TCP เรียกว่า TCP Segment และส่งต่อไปยัง Protocol IP
• เมื่อ Protocol IP ได้รับ TCP Segment ก็จะนำมารวมกับ Header ของ Protocol IP เรียกว่า IP Datagram และส่งต่อไปยัง Layer Host-to-Network Layer
• ในระดับ Host-to-Network จะนำ IP Datagram มาเพิ่มส่วน Error Correction และ flag เรียกว่า Ethernet Frame ก่อนจะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณไฟฟ้า ส่งผ่านสายสัญญาณที่เชื่อมโยงอยู่ต่อไป


ในแต่ละเลเยอร์ของโครงสร้าง TCP/IP สามารถอธิบายได้ดังนี้


รูป: โครงสร้าง TCP/IP




 

Create Date : 01 สิงหาคม 2553   
Last Update : 1 สิงหาคม 2553 16:31:53 น.   
Counter : 712 Pageviews.  

Network Interface Layer

Protocol สำหรับการควบคุมการสื่อสารในชั้นนี้เป็นสิ่งที่ไม่มีการกำหนดรายละเอียดอย่างเป็นทางการ หน้าที่หลักคือการรับข้อมูลจากชั้นสื่อสาร IP มาแล้วส่งไปยังโหนดที่ระบุไว้ในเส้นทางเดินข้อมูลทางด้านผู้รับก็จะทำงานในทางกลับกัน คือรับข้อมูลจากสายสื่อสารแล้วนำส่งให้กับ Application ในชั้นสื่อสาร




 

Create Date : 01 สิงหาคม 2553   
Last Update : 1 สิงหาคม 2553 16:32:06 น.   
Counter : 280 Pageviews.  

Internet Layer

ใช้ประเภทของระบบการสื่อสารที่เรียกว่า ระบบเครือข่ายแบบสลับช่องสื่อสารระดับ Packet (Packet-Switching Network) ซึ่งเป็นการติดต่อแบบไม่ต่อเนื่อง (Connectionless) หลักการทำงานคือการปล่อยให้ข้อมูลขนาดเล็กที่เรียกว่า Packet สามารถไหลจาก Node ผู้ส่งไปตาม Node ต่างๆ ใน Network จนถึงจุดหมายปลายทางได้โดยอิสระ หากว่ามีการส่ง Packet ออกมาเป็นชุดโดยมีจุดหมายปลายทางเดียวกันในระหว่างการเดินทางในเครือข่าย Packet แต่ละตัวในชุดนี้ก็จะเป็นอิสระแก่กันและกัน ดังนั้น Packet ที่ส่งไปถึงปลายทางอาจจะไม่เป็นไปตามลำดับก็ได้

• IP (Internet Protocol)
ในระดับ Network Layer จะทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับ Address, Data และควบคุมการส่งข้อมูลบางอย่างที่ใช้ในการหาเส้นทางของ Packet ซึ่งกลไกในการหาเส้นทางของ IP จะมีความสามารถในการหาเส้นทางที่ดีที่สุด และสามารถเปลี่ยนแปลงเส้นทางได้ในระหว่างการส่งข้อมูล และมีระบบการแยกและประกอบ Datagram เพื่อรองรับการส่งข้อมูลระดับ data link ที่มีขนาด MTU (Maximum Transmission Unit) ทีแตกต่างกัน ทำให้สามารถนำ IP ไปใช้บน Protocol อื่นได้หลากหลาย เช่น Ethernet ,Token Ring หรือ Apple Talk
การเชื่อมต่อของ IP เพื่อทำการส่งข้อมูล จะเป็นแบบ connectionless หรือเกิดเส้นทางการเชื่อมต่อในทุกๆครั้งของการส่งข้อมูล 1 Datagram โดยจะไม่ทราบถึง Datagram ที่ส่งก่อนหน้าหรือส่งตามมา แต่การส่งข้อมูลใน 1 Datagram อาจจะเกิดการส่งได้หลายครั้งในกรณีที่มีการแบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยๆ (Fragmentation) และถูกนำไปรวมเป็น Datagram เดิมเมื่อถึงปลายทาง

รูป: IP Header

Header ของ IP โดยปกติจะมีขนาด 20 bytes ยกเว้นในกรณีที่มีการเพิ่ม option บางอย่าง Field ของ Header IP จะมีความหมายดังนี้
a. Version: หมายเลข Version ของ Protocol ที่ใช้งานในปัจจุบันคือ เวอร์ชัน 4 (IPv4) และเวอร์ชัน 6 (IPv6)
b. Header Length: ความยาวของ Header โดยทั่วไปถ้าไม่มีส่วน option จะมีค่าเป็น 5 (5*32 bit)
c. Type of Service (TOS): ใช้เป็นข้อมูลสำหรับ Router ในการตัดสินใจเลือกการ Rout ข้อมูลในแต่ละ Datagram แต่ในปัจจุบันไม่ได้มีการนำไปใช้งานแล้ว
d. Length: ความยาวทั้งหมดเป็นจำนวน Byte ของ Datagram ซึ่งด้วยขนาด 16 Bit ของ Field จะหมายถึงความยาวสูงสุดของ Datagram คือ 65535 byte (64k) แต่ในการส่งข้อมูลจริง ข้อมูลจะถูกแยกเป็นส่วนๆตามขนาดของ MTU ที่กำหนดใน Link Layer และนำมารวมกันอีกครั้งเมื่อส่งถึงปลายทาง Application ส่วนใหญ่จะมีขนาดของ Datagram ไม่เกิน 512 Byte
e. Identification: เป็นหมายเลขของ Datagram ในกรณีที่มีการแยก Datagram เมื่อข้อมูลส่งถึงปลายทางจะนำข้อมูลที่มี Identification เดียวกันมารวมกัน
f. Flag: ใช้ในกรณีที่มีการแยก Datagram
g. Fragment offset: ใช้ในการกำหนดตำแหน่งข้อมูลใน Datagram ที่มีการแยกส่วน เพื่อให้สามารถนำกลับมาเรียงต่อกันได้อย่างถูกต้อง
h. Time to live (TTL): กำหนดจำนวนครั้งที่มากที่สุดที่ Datagram จะถูกส่งระหว่าง hop (การส่งผ่านข้อมูลระหว่าง Network) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการส่งข้อมูลโดยไม่สิ้นสุด โดยเมื่อข้อมูลถูกส่งไป 1 hop จะทำการลดค่า TTL ลง 1 เมื่อค่าของ TTL เป็น 0 และข้อมูลยังไม่ถึงปลายทาง ข้อมูลนั้นจะถูกยกเลิก และ Router สุดท้ายจะส่งข้อมูล ICMP แจ้งกลับมายังต้นทางว่าเกิด time out ในระหว่างการส่งข้อมูล
i. Protocol: ระบุ Protocol ที่ส่งใน Datagram เช่น TCP ,UDP หรือ ICMP
j. Header checksum: ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลใน Header
k. Source IP address: หมายเลข IP ของผู้ส่งข้อมูล
l. Destination IP address: หมายเลข IP ของผู้รับข้อมูล
m. Data: ข้อมูลจาก Protocol ระดับบน


• ICMP (Internet Control Message Protocol)
ICMP เป็น Protocol ที่ใช้ในการตรวจสอบและรายงานสถานภาพของ Datagram ในกรณีที่เกิดปัญหากับ Datagram เช่น Router ไม่สามารถส่ง Datagram ไปถึงปลายทางได้ ICMP จะถูกส่งออกไปยัง Host ต้นทางเพื่อรายงานข้อผิดพลาด ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ดีไม่มีอะไรรับประกันได้ว่า ICMP Message ที่ส่งไปจะถึงผู้รับจริงหรือไม่ หากมีการส่ง Datagram ออกไปแล้วไม่มี ICMP Message ฟ้อง Error กลับมา ก็แปลความหมายได้สองกรณีคือ ข้อมูลถูกส่งไปถึงปลายทางอย่างเรียบร้อย หรืออาจจะมีปัญหา ในการสื่อสารทั้งการส่ง Datagram และ ICMP Message ที่ส่งกลับมาก็มีปัญหาระว่างทางก็ได้ ICMP จึงเป็น Protocol ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ (unreliable) ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของ Protocol ในระดับสูงกว่า Network Layer ในการจัดการให้การสื่อสารนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือ ในส่วนของ ICMP Message จะประกอบด้วย Type ขนาด 8 บิต Checksum ขนาด 16 บิต และส่วนของ Content ซึ่งจะมีขนาดแตกต่างกันไปตาม Type และ Code ดังรูป




 

Create Date : 01 สิงหาคม 2553   
Last Update : 1 สิงหาคม 2553 16:32:22 น.   
Counter : 451 Pageviews.  

Transport Layer

แบ่งเป็น 2 ชนิดตามลักษณะ
1. TCP เป็นแบบที่มีการกำหนดช่วงการสื่อสารตลอดระยะเวลาการสื่อสาร (Connection-Oriented) ซึ่งจะยอมให้มีการส่งข้อมูลเป็นแบบ Byte Stream ที่ไว้ใจได้โดยไม่มีข้อผิดพลาด ข้อมูลที่มีปริมาณมากจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนเล็กๆ เรียกว่า Message ซึ่งจะถูกส่งไปยังผู้รับผ่านทางชั้นสื่อสารของ Internet ทางฝ่ายผู้รับจะนำ Message มาเรียงต่อกันตามลำดับเป็นข้อมูลตัวเดิม TCP ยังมีความสามารถในการควบคุมการไหลของข้อมูลเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ส่ง ส่งข้อมูลเร็วเกินกว่าที่ผู้รับจะทำงานได้ทันอีกด้วย นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ จัดการและควบคุมการรับส่งข้อมูล ซึ่งมีความสามารถและรายละเอียดมากกว่า UDP โดย Datagram ของ TCP จะมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน และมีกลไกควบคุมการรับส่งข้อมูลให้มีความถูกต้อง (reliable) และมีการสื่อสารอย่างเป็นกระบวนการ (connection-oriented)



มีรายละเอียด ดังนี้
• Source Port Number: หมายเลขพอร์ตต้นทางที่ส่ง Datagram นี้
• Destination Port Number: หมายเลขพอร์ตปลายทางที่จะเป็นผู้รับ Datagram
• Sequence Number: Field ที่ระบุหมายเลขลำดับอ้างอิงในการสื่อสารข้อมูลแต่ละครั้ง เพื่อใช้ในการแยกแยะว่าเป็นข้อมูลของชุดใด และนำมาจัดลำดับได้ถูกต้อง
• Acknowledgment Number: ทำหน้าที่เช่นเดียวกับ Sequence Number แต่จะใช้ในการตอบรับ
• Header Length: โดยปกติความยาวของ TCP Header จะมีความยาว 20 Bytes แต่อาจจะมากกว่านั้น ถ้ามีข้อมูลใน Field Option แต่ต้องไม่เกิน 60 Bytes
• Flag: เป็นข้อมูลระดับ bit ที่อยู่ใน TCP Header โดยใช้เป็นตัวบอกคุณสมบัติของ TCP Packet ขณะนั้นๆ และใช้เป็นตัวควบคุมจังหวะการรับส่งข้อมูลด้วย ซึ่ง Flag มีอยู่ทั้งหมด 6 บิต แบ่งได้ดังนี้
o URG ใช้บอกความหมายว่าเป็นข้อมูลด่วน และมีข้อมูลพิเศษมาด้วย (Urgent Pointer)
o ACK แสดงว่าข้อมูลใน Acknowledge Field number นำมาใช้ได้
o DSH เป็นการแจ้งให้ผู้รับข้อมูลทราบว่าควรจะส่งข้อมูลเป็น Segment นี้ไปยัง Application ที่กำลังรออยู่โดยเร็ว
o RST ยกเลิกการติดต่อ (Reset) เนื่องจากกรณีเกิดการสับสนขึ้นด้วยเหตุต่างๆ
o SYN ใช้ในการเริ่มต้นติดต่อปลายทาง
o FIN ใช้เพื่อแจ้งให้ปลายทางทราบว่าจะมีการยุติการติดต่อ

Flag ใน Header ของ TCP มีความสำคัญในการกำหนดการทำงานของ TCP segment เนื่องจากข้อมูลใน Header ของ TCP จะมีข้อมูลครบถ้วนทั้งการรับและการส่งข้อมูล ซึ่งในการทำงานแต่ละอย่างจะมีการใช้งาน Field ไม่เหมือนกัน flag จะเป็นตัวกำหนดว่าให้ใช้งานฟิลด์ไหน เช่น ฟิลด์ Acknowledgment number จะไม่ถูกใช้ในขั้นตอนการเริ่มต้นการเชื่อมต่อ แต่จะมีข้อมูลใน Field ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่มีความหมายใดๆ ซึ่งถ้าไม่มี Flag เป็นตัวกำหนดก็อาจจะมีการนำข้อมูลมาใช้ และก่อให้เกิดความผิดพลาดได้

2. UDP (User Datagram Protocol) เป็นการติดต่อแบบไม่ต่อเนื่อง (Connectionless) มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแต่จะไม่มีการแจ้งกลับไปยังผู้ส่ง จึงถือได้ว่าไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้มีข้อดีในด้านความรวดเร็วในการส่งข้อมูล จึงนิยมใช้ในระบบผู้ให้และผู้ใช้บริการ (client/server system) ซึ่งมีการสื่อสารแบบ ถาม/ตอบ (request/reply) นอกจากนั้นยังใช้ในการส่งข้อมูลประเภทภาพเคลื่อนไหวหรือการส่งเสียง (voice) ทาง Internet
Protocol ชุดนี้อยู่ใน Transport Layer เมื่อเทียบกับโมเดล OSI โดยการส่งข้อมูลของ UDP นั้นจะเป็นการส่งครั้งละ 1 ชุดข้อมูล เรียกว่า UDP datagram ซึ่งจะไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่าง Datagram และจะไม่มีกลไกการตรวจสอบความสำเร็จในการรับส่งข้อมูล กลไกการตรวจสอบโดย checksum ของ UDP นั้นเพื่อเป็นการป้องกันข้อมูลที่อาจจะถูกแก้ไข หรือมีความผิดพลาดระหว่างการส่ง และหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ปลายทางจะได้รู้ว่ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น แต่มันจะเป็นการตรวจสอบเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น โดยในข้อกำหนดของ UDP หากพบว่า Checksum Error ก็ให้ผู้รับปลายทางทำการทิ้งข้อมูลนั้น แต่จะไม่มีการแจ้งกลับไปยังผู้ส่งแต่อย่างใด การรับส่งข้อมูลแต่ละครั้งหากเกิดข้อผิดพลาดในระดับ IP เช่น ส่งไม่ถึง, หมดเวลา ผู้ส่งจะได้รับ Error Message จากระดับ IP เป็น ICMP Error Message แต่เมื่อข้อมูลส่งถึงปลายทางถูกต้อง แต่เกิดข้อผิดพลาดในส่วนของ UDP เอง จะไม่มีการยืนยัน หรือแจ้งให้ผู้ส่งทราบแต่อย่างใด
นอกจาก UDP และ TCP ยังมีอีกสองตัวที่น่าสนใจใน Layer นี้ได้แก่
o RTP (Real Time Protocol)RTP ใช้กำหนดรูปแบบ Packet ในการส่งภาพและเสียงผ่าน Internet ถูกพัฒนาโดย Audio-Video Transport Working Group ของ IETF และได้ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1996 (พ.ศ.2539) โดย RTP จะไม่มีพอร์ต TCP หรือ UDP มาตรฐานในการสื่อสาร แต่จะใช้พอร์ต UDP ที่เป็นเลขคู่ในการสื่อสารและพอร์ต UDP เลขคี่ถัดไปเป็น RTP Control Protocol (RTCP) เลขพอร์ตมักจะอยู่ระหว่าง 16384-32767 RTP สามารถรับส่งข้อมูลอะไรก็ได้แบบ real-time เช่น ภาพและเสียง โดยใช้โปรโตคอล SIP ในการตั้งค่าและยกเลิก RTP เป็น Protocol ที่ใช้รูปแบบการทำงานของ UDP เป็นการส่งข้อมูลในทิศทางเดียว แบบเซิร์ฟเวอร์ไปยังไคลเอนต์ โดยจะไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ดังนั้นจึงสามารถส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และได้ถูกนำมาใช้ในการส่งข้อมูลจำพวก Multimedia นอกจากนี้ RTP ถูกใช้โดย SIP และ H.323 เพื่อทำงานด้านของการสื่อสารแบบเรียลไทม์ เช่น Audio, Video

หน้าที่หลักของ RTP
RTP ถูกใช้โดย SIP และ H.323 เพื่อทำงานด้านของการสื่อสารแบบ Real time เช่น Audio และ Video บน Packet Switching Network มีหน้าที่จัดการเรื่องข้อมูลประเภทเวลาไปยังผู้รับ โดยสามารถแก้ไขค่า Delay ของสัญญาณได้ยอมให้ผู้รับสามารถค้นหา Packet ที่สูญหาย และประเมินเส้นทางในการส่งข้อมูลอีกด้วยนอกจากนี้แล้ว RTP จะมีหน้าที่จัดการในเรื่องของการส่งข้อมูลไปยังผู้รับ ซึ่งสามารถกู้คืนได้ในกรณีที่ Packet สูญหายหรือ jitter โดย RTP ได้รับการประกาศใช้จาก IETF ใน RFC 1889 ซึ่งหน้าที่หลักก็เพื่อให้บริการฟังก์ชันต่าง ๆ เช่น การจัดลำดับ การกำหนด Payload และ Intra-Media Synchronization กับ Real-time Transport Control Protocol (RTCP)









ข้อดีของ RTP

 


1.        ส่งข้อมูลพวกที่ต้องใช้เวลาจริง เช่น Video

 


2.        สามารถใช้ร่วมกับโปรแกรมประยุกต์โครงข่ายมัลติมีเดียอื่นๆ

 



ข้อเสีย RTP

 


1.        ไม่มีการเรียงลำดับข้อมูล

 


2.        มีปัญหาในการลำดับก่อนหลังของเฟรม

 


3.        RTP ไม่มีการรับประกันของข้อมูลที่ส่ง RTP ไม่มีกลไกในการยื่นยันข้อมูลว่าส่งสำเร็จหรือไม่

 




o RTSP: RFC 2326 (REAL-TIME STREAMING PROTOCOL)
Internet ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้รองรับการส่งข้อมูลในรูปแบบ Multimedia ข้อจำกัดของ Multimedia ก็คือปัญหาเรื่อง Speed ในการรับส่งข้อมูล ความเร็วของโมเด็มที่ใช้กันอยู่นี้นับว่าช้าเกินกว่าที่จะนำมาใช้งานได้ เนื่องจากข้อมูล Multimedia ที่ทั้งภาพเคลื่อนไหวและเสียงนั้นต้องการความเร็วในการรับส่งข้อมูลอย่างน้อย 50 ล้านบิตต่อวินาที จึงจะแสดงภาพเคลื่อนไหวเต็มจอพร้อมกับเสียงมีคุณภาพใกล้เคียงกับ Video Tape
หลักการทำงานของ RTSP
RTSP เป็น Protocol ที่สำคัญมากในการรับส่งข้อมูล Media ผ่าน Internet เนื่องจากการรับส่งข้อมูล Multimedia ในแบบต่อเนื่องนั้นจะมีส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวโยงกันถึง 3 ส่วน คือ Server, Encoder และ Player

Encoder ข้อมูลจะต้องถูกเข้ารหัสก่อนเก็บลง File โดยมี Format ที่ Server เรียกใช้งานได้ เมื่อ Server ต้องส่งข้อมูลให้ผู้รับซึ่งจะต้องใช้ Protocol นี้ในการรับส่งข้อมูลอย่างถูกต้อง ด้านปลายทางจะมีการ Decoder ออกมาเพื่อแสดงผล RTSP แม้จะมีความสำคัญในการรับส่งข้อมูลแต่ก็ยังมีเรื่องการกำหนด File Format ที่ใช้จัดเก็บข้อมูล เช่น Active Streaming Format (ASF) ของ Microsoft, Quick Time เพื่อเก็บข้อมูลรวมถึงมาตราฐาน Encoder เช่น MPEG สำหรับใช้ Encoder ข้อมูลเก็บลง File

ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับการรับ-ส่งข้อมูล
• Delay ความล่าช้าในการส่งข้อมูลแบบ Packet เกิดจากการรวบรวมสัญญาณที่สุ่มตัวอย่างจากสัญญาณเสียง, เวลาในการเข้ารหัส/ถอดรหัส, เวลาในการเข้า Packet, Jitter buffer delay, และความล่าช้าของ Network, ปัญหาการล่าช้าจาก Queuing และ ความล่าช้าของสัญญาณจากปลายสายหนึ่งถึงอีกปลายสายหนึ่ง ในเครือข่าย
• Jitter เกิดจาก Packet ที่มาในระยะเวลาที่ไม่แน่นอนซึ่งอาจจะเกิดการความล่าช้าของ Network
• Packet Loss เครือข่าย IP ไม่สามารถรับประกันได้ว่า แพ็คเกจที่ส่งไปครบและถูกต้องตามลำดับ แพ็คเกจส่วนใหญ่ศูนย์หายไปในช่วงที่มีการใช้งานมาก ซึ่งเกิดจากความจุไม่เพียงพอ และการรับส่งข้อมูล ต้องการความต่อเนื่องของเวลา
• ปัญหาเนื่องจากการใช้ IP masque ring เกิดจาก IP masque ring เป็นการใช้ Terminal หลายตัวเพื่อเข้าสู่ เครือข่าย IP ด้วย Public IP Address เพียงตัวเดียว โดยใช้วิธีที่เรียกว่า NAT (Network address translation)
ประโยชน์ของ RTSP
o ทำงานบน Transmission Control Protocol (TCP) จึงทำให้ข้อมูลไม่มีการสูญหายระหว่างรับ/ส่งข้อมูล ระหว่าง server กับ client
o RTSP สามารถเลือกการทำงานให้เหมาะสมกับความเร็วของการใช้งาน Internet
o RTSP สามารถทำงานได้ต่อเนื่อง ซึ่งอาศัย Buffer ในการเก็บข้อมูลในการทำงาน
o RTSP สามารถควบคุมการนำเสนอ ในกรณีให้บริการแบบ On-demand RTSP
o RTSP สามารถให้บริการกับผู้ใช้บริการจำนวนมากได้




 

Create Date : 01 สิงหาคม 2553   
Last Update : 1 สิงหาคม 2553 16:32:42 น.   
Counter : 590 Pageviews.  

1  2  

tukkym2009
Location :
นนทบุรี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]


ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add tukkym2009's blog to your web]