
 |
|
 |
 |
|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
 |
 |
|
|
เมืองพระพิษณุโลกสองแคว 2
 วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ศูนย์รวมศรัทธาแห่งนครสองแคว เมื่อวานได้เกริ่นถึงชื่อในอดีตที่มากมายของเมืองพิษณุโลกไปแล้ว วันนี้ผมจะมาแจกแจงที่มาของแต่ละชื่อให้ทราบกัน เริ่มกันตั้งแต่สมัยสุโขทัยที่มีชื่อเมือง "สองแคว" และ "สรลวงสองแคว" ปรากฏอยู่บนศิลาจารึกอยู่หลายหลักชื่อ "สองแคว"นั้นมีที่มาจากลักษณะภูมิประเทศของเมืองที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำ2สาย คือแม่น้ำน่านหรือแควใหญ่ ไหลผ่านด้านตะวันตก และแม่น้ำแควน้อยไหลผ่านด้านตะวันออกของเมือง จึงทำให้กลายเป็นเมืองที่มีแม่น้ำเป็นปราการธรรมชาติถึง2ด้าน จนสมัยอยุธยา ได้มีการขุดคูชักน้ำจากแม่น้ำน่านทางด้านเหนือเข้ามาใช้ในเมืองจนทำให้แม่น้ำไหลเปลี่ยนเส้นทาง คูน้ำได้ขยายใหญ่กลายเป็นแม่น้ำที่ไหลผ่ากลางเมืองดังเช่นในปัจจุบัน เป็นที่มาของสมญานามที่เรียกว่า"เมืองอกแตก"นั่นเอง ส่วนแม่น้ำแควน้อยก็เปลี่ยนเส้นทางไหลวกมาทางทิศตะวันตกมารวมกับแม่น้ำน่านที่ต.ปากโทกเหนือเมืองพิษณุโลกขึ้นไปประมาณ7ก.ม. ส่วนชื่อ เมือง "สรลวงสองแคว" หรือ สระหลวง สองแคว นั้นปรากฏอยู่ในจารึกหลักที่2 วัดศรีชุม ที่กล่าวถึงพ่อขุนศรีนาวนำถมว่าได้ปกครองเมืองสระหลวง สองแคว และสุโขทัย ศรีสัชนาลัย จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าสระหลวง กับสองแควนั้นเป็นเมืองคู่แฝด เช่นเดียวกับสุโขทัย ศรีสัชนาลัย แม้กระทั่งในสมัยพ่อขุนรามคำแหง และสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท ก็ยังปรากฏชื่อเรียก เมืองสระหลวง สองแคว อยู่ คูกับชื่อ สองแควที่ใช้เรียกมาแต่แรกสร้าง แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่าเมืองสระหลวงนั้นเป็นเมืองใดกันแน่ เมือง "ทวิสาขนคร" นั้น ปรากฏใน ตำนาน ชินกาลมาลีปรณ์ ใช้เรียกชื่อเมืองนี้ ซึ่ง ชื่อ "ทวิสาขนคร" ก็หมายถึงเมืองที่มีแม่น้ำ2สายนั่นเอง เมืองโอฆบุรี เมืองจันทบูรณ์ ตามตำนานพงศาวดารเหนือนั้นกล่าวว่าพระศรีธรรมไตรปิฎกเจ้าเมืองเชียงแสนได้ส่งทหาร2นายคือ จ่านกร้อง(ชื่อโรงเรียนเก่าผมเอง)และจ่าการบุญ ไปสำรวจหาทำเลสร้างเมืองใหม่เพื่อที่จะให้พระโอรสไปครอง จนจ่าทั้งสองได้มาถึงที่นี่เห็นว่าเป็นชัยภูมิที่ดีจึงกลับไปกราบทูลให้เจ้าเมืองทรงทราบ พระองค์เห็นดีด้วยจึงสั่งให้จ่าทั่งสองลงไปคุมงานก่อสร้างเมืองใหม่จนสำเร็จ ทั้งสองแข่งกันสร้างเมืองใหม่ โดยจ่านกร้องสร้างเมืองโอฆบุรีฝั่งตะวันตก จ่าการบุญสร้างเมืองจันทบูรณ์ฝั่งตะวันออก เมื่อสร้างเสร็จ พระศรีธรรมไตรปิฎก ก็เสด็จลงมา โปรดให้สร้างวัดประจำเมืองให้หล่อพระพุทธรูป พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาดาขึ้น เป็นตำนานการสร้างพระพุทธชินราชนั่นเอง จนมาถึงสมัยอยุธยา ได้ปรากฏชื่อ "เมืองชัยนาท" ใช้เรียกในสมัยที่เจ้าสามพระยามาเป็นอุปราชครองเมืองพิษณุโลก ซึ่งแต่เดิมเชื่อกันว่าเป็นจ.ชัยนาทในปัจจุบัน แต่ได้มีการสืบค้น ศึกษากันแน่ชัดแล้วว่า เมืองชัยนาท ที่เจ้าสามพระยามาครองนั้นคือเมืองพิษณุโลก ไม่ใช่ จ.ชัยนาทแต่อย่างใด มาถึงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระองค์ ได้ขึ้นมาครองเมืองพิษณุโลก เพื่อยันศึกจากล้านนา เมืองพิษณุโลกสมัยนั้นจึงกลายเป็นราชธานีควบคู่ไปกับกรุงศรีอยุธยายาวนานถึง 25 ปี ในสมัยดังกล่าวได้มีการสร้าง บูรณะปฏิสังขรณ์ วัดวาอารามมากมายพระราชวัง รวมถึงกำแพงเมืองให้สมกับที่เป็นราชธานีที่พระมหากษัตริย์ทรงประทับ ด้วยข้อมูลข้างต้นจึงมีข้อสันนิษฐานว่า ชื่อเมือง "สองแคว" ได้มีการเปลี่ยนให้เป็น "พิษณุโลก" ในสมัยของพระองค์ ส่วนชื่อ เมือง "พิษณุโลกสองแคว" กับ "พระพิษณุโลกสองแคว" นั้น ได้มีการเรียกกันในชั้นหลัง โดยนำชื่อสองแควมาเป็นชื่อสร้อย อาจจะเป็นเพราะความคุ้นเคยในชื่อเดิม จึงนำมาต่อท้ายชื่อที่ตั้งใหม่เพื่อจะได้ไม่สับสน ดังเช่นในภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท กับตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ที่เรียกเมืองพิษณุโลก ว่า เมืองพิษณุโลกสองแคว เป็นไงครับแต่และชื่อ มีที่มาน่าสนใจมั้ย ผมว่าพิษณุโลกเป็นเมืองที่มีชื่อเรียก มากที่สุดในประเทศไทยแล้วมั้ง ถ้าใครทราบว่าจังหวัดไหนมีชื่อเรียกมากกว่านี้ก็มาเล่าให้ฟังบ้างนะครับ ปล. เมื่อวานเป็นการทดลองทำบล็อกครั้งแรก แต่มีหลายคนสนใจเข้ามาอ่านด้วย ดีใจนะครับ(เรตติ้งดี)อิอิ... ก็ขอให้ติดตามกันต่อไปนะครับ ยังมีเรื่องราวน่าสนใจอีกมากมายที่อยากจะเล่าให้ทุกคนฟัง
Create Date : 30 สิงหาคม 2553 |
|
3 comments |
Last Update : 30 สิงหาคม 2553 19:11:21 น. |
Counter : 8469 Pageviews. |
|
 |
|
|
โดย: คนพิ'โลก (kim_tiger ) วันที่: 30 สิงหาคม 2553 เวลา:21:36:31 น. |
|
| |
|
rabbot |
 |
|
 |
|