<<
พฤษภาคม 2551
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
28 พฤษภาคม 2551

Indiana Jones and the Kingdom of the Crystal Skull : เสน่ห์เดิมๆ ของเพื่อนเก่าที่คุ้นเคย

..

ถ้า ... ลุงอินดี้ มีพลังออกมาโลดแล่นผจญภัยถี่เหมือนน้า เจมส์ บอนด์ เชื่อว่า ผู้ชมหลายคนคงจะอิ่มเอมในอรรถรสของภาพยนตร์ ตอนที่ 4 ของเรื่องนี้มากขึ้นไม่มากก็น้อย


นับเป็นเรื่องที่คาดเดากันได้ไม่ยากที่ Indiana Jones ภาค 4 จะมีความเห็นออกมาในเชิงลบอยู่เช่นกัน แทนที่จะเป็นชื่นชมอย่างมติเอกฉันท์ สมการรอคอยมาเกือบ 2 ทศวรรษ


สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น ต้องยอมรับว่าระยะเวลา 19 ปี นับเป็นช่วงเวลาที่ไม่น้อยเลยสำหรับการพัฒนา เปลี่ยนแปลงในวงการภาพยนตร์ ทั้งยังครอบคลุมรวมถึงรสนิยมของผู้ชมอีกด้วย ยกตัวอย่างเอาง่ายๆว่า ถึงแม้ว่าโครงการในอนาคตอย่างจูราสสิค พาร์ค ภาค 4 มีวี่แววว่าจะกลับมาอีกครั้ง แต่ถึงจะระดมไดโนเสาร์มาเป็นร้อยเป็นพันตัว ก็คงไม่อาจเทียบกับความตื่นตะลึง ที่ได้เห็นไดโนเสาร์เพียงไม่กี่ตัวในภาคแรกได้อีกแล้ว


Indiana Jones ภาคนี้ ตกอยู่ในสถานการณ์คล้ายคลึงกัน เพราะการปล่อยให้ผู้ชมหลายคนรอคอยมานาน ย่อมทำให้เกิดความคาดหวังว่าจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นกว่าเดิม ชนิดที่จับต้องได้ด้วยตาเปล่า แต่เมื่อภาค 4 ที่ปล่อยให้รอจนเหงือกแห้ง กลับยึดเอารูปแบบ ขนบเดิมๆ ของภาคก่อนๆ ผู้ชมหลายคนจึงไม่ค่อยอิ่มกับการผจญภัยของคุณลุงอินดี้มากนัก


ทว่าอย่าหาว่ากระนั้นเลย สมมติว่าเกิดเหตุการณ์ต่อไปนี้ขึ้น เสียงบ่นต่างๆคงซาลงไปมากทีเดียว เหตุการณ์ที่ว่านี้ คือ

“Jones 21 : Kingdom of the Crystal Skull”

ตามนั้นแหละครับ สมมุติกันเล่นๆว่า นี่คือ Indiana Jones ตอนที่ 21 (ซึ่งอาจจะเปลี่ยน ดร.โจนส์มาแล้ว 5 – 6 คน แล้วก็จะมีแฟนๆมาโหวตว่า โจนส์ไหนที่คุณชื่นชอบมากที่สุด –>> แฮริสัน ฟอร์ด ครับ/ค่ะ)



เชื่อว่าหากเป็นเช่นนี้แล้ว Indiana Jones 4 จะได้รับการตอบรับอย่างค่อนข้างเป็นเอกฉันท์มากกว่านี้ เพราะผู้ชมจะไม่สนใจมากมายว่า ภาพยนตร์จะมีบทดีแค่ไหน ต้องลุ้นตัวโก่งว่าโจนส์จะรอดมั๊ย ทำไมมุขเดิมๆ พล็อตเดิมๆ ไม่แปลกใหม่เลย โอ้โห พระเอกโชคดีบ่อยจัง ฯลฯ


คิดในมุมนี้แล้ว ข้อเสียใหญ่ที่สุดของ Indiana Jones จึงกลายเป็นเรื่องความสม่ำเสมอของระยะเวลาฉาย เพราะหากสมมติอีกว่า ภาค 4 ออกฉายไม่เกินปี 95 ... ยังไงๆลุงอินดี้ ก็คงเป็นที่ชื่นชมมากกว่านี้


ผมมองว่า บทที่ดูหลวมๆ ขาดการปะติดปะต่อ หรือเกินจริงไปบ้างนั้น ไม่ใช่ข้อเสียที่น่าผิดหวังมากมาย เพราะหากพิจารณากันอย่างถี่ถ้วน ภาค 2 และ 3 ก็ไม่ได้ดีไปกว่ากันมากนัก หรือผู้ชมบางคนมองว่า Spielberg เอาความชอบส่วนตัวอย่างมนุษย์ต่างดาวมาสนองความอยาก จนทำให้ภาพยนตร์ดูหลุดจากแนวเดิม และเว่อร์มากไป ยิ่งเป็นประเด็นเล็กน้อยลงไปอีก โดยเฉพาะหากเทียบว่า เรื่องราวของมนุษย์ต่างดาวในยุคนั้น รวมถึงอารยธรรมยิ่งใหญ่อันลึกลับในอเมริกาใต้ ล้วนเป็นความเชื่อที่เชื่อมโยงถึงกันจริงๆ ในยุคสงครามเย็น


ด้านส่วนของงานการผลิตที่ดูแล้ว บรรยากาศแทบไม่แตกต่างไปจากเมื่อ 19 ปีก่อนนั้น ถือเป็นความตั้งใจที่ Spielberg ต้องการ แม้กระทั่งตากล้องคู่บุญอย่าง Janusz Kaminski (ที่เพิ่งมารับงานภาพยนตร์ตระกูลอินดี้เป็นครั้งแรก) ก็ต้องเรียนรู้วิธีการนำเสนอภาพออกมาในรูปแบบเดิมๆในสมัยก่อน ตลอดจนฉากแอ็คชั่นหลายฉาก ที่มีการใช้สตั๊นแมนเข้ามาผสมผสาน มากกว่าจะใส่ CG ไปทุกกระเบียดนิ้ว


Indiana Jones and the Kingdom of the Crystal Skull ในวันนี้ จึงมีสถานการณ์คล้ายคลึงกับ The Temple of Doom และ The Last Crusade เมื่อหลายปีก่อน นั่นคือ สมัยที่ออกฉายมาใหม่ๆ มีเสียงบ่นกันหนาหูไม่ต่างกัน แต่เมื่อภาพยนตร์ยืนหยัดข้ามกาลเวลามาสู่ความเป็นภาพยนตร์คลาสสิกได้แล้วนั้น มันก็กลายเป็นภาพยนตร์ที่นักดูหนังไม่ควรพลาดอยู่ดี



อาจเป็นเพราะระยะเวลาที่จากเพื่อนเก่ามานานนั้น บางคนมีประสบการณ์แปลกใหม่ สนุกสนาน ตื่นเต้นประทับใจกับเพื่อนใหม่มากหน้าหลายตา จนกระทั่งเมื่อมีโอกาสได้เจอเพื่อนเก่าอีกครั้ง อาจทำให้บางคนเกิดความคาดหวัง การเปรียบเทียบ อยากให้เพื่อนเก่ามีอะไรแปลกใหม่ หรือมีการพัฒนาในด้านต่างๆที่น่าประทับใจ


แต่สำหรับบางคน ขอแค่ได้มาเจอกับเพื่อนเก่าให้หายคิดถึง ... แค่นี้ก็พอใจแล้ว

..





Create Date : 28 พฤษภาคม 2551
Last Update : 28 พฤษภาคม 2551 18:06:12 น. 0 comments
Counter : 2213 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

POGGHI
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




..

บทความ และผลงานภาพถ่าย โดย เจ้าของ Blog นี้
สงวนลิขสิทธิ์ พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

ห้ามผู้ใดละเมิด ด้วยการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อความ และ ผลงานภาพถ่าย โดย เจ้าของ Blog ไปใช้ โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร


POGGHI

..
[Add POGGHI's blog to your web]