ซิลลูเอท ลาสติ้งไลท์ ภาพย้อนแสง ... แสงสุดท้าย
ภาพซิลลูเอท หรือ ภาพย้อนแสง คือการถ่ายภาพให้เน้นรูปร่างของวัตถุ ตัดกับส่วนของ background ซึ่งมีแสง ดังนั้นวัตถุจะเกิดเป็นคล้ายเงาดำๆ อยู่ด้านหน้า

วิธีถ่ายก็ง่ายๆ คือ ต้องเลือกเวลาถ่ายประมาณเย็นก่อนพระอาทิตย์ตก เพื่อให้มี contrast สูงๆ ระหว่าง วัตถุกับ background ต่อมาก็วัดแสงที่ background ให้พอดี หรือ under หน่อยๆ จำค่าแสงไว้ จัดองค์ประกอบภาพ แล้วก็ใช้ค่าแสงนั้นในการถ่ายภาพ เป็นอันเรียบร้อย

ด้วยเหตุที่ซื้อกล้องถ่ายรูปมาแล้วเห่อการถ่ายรูป แต่กลับไม่ค่อยมีเวลาตระเวณไปถ่ายตามสวนต่างๆ อย่างตากล้องทั้งหลาย เลยต้องอาศัยเวลาว่างๆจากการทำวิจัย มาถ่ายรูป (ว่างจากวิจัยมาถ่ายรูป ไม่ใช่ว่างจากถ่ายรูปไปทำวิจัยนะ)
ซึ่งส่วนมากก็จะว่างตอนหัวค่ำหน่ะ แล้วจะไปไหนได้ ก็ต้องถ่ายวิวแถวเกษตรนี่แหละ แต่จะถ่ายตึกรามบ้านช่องก็ดูเชยๆ ไปมันต้องมีลูกเล่นให้คนรู้ว่า ฝีมือเราม่ายธรรมดา ก็เลยลองถ่ายแนวนี้แหละ "ซิลลูเอท ลาสติ้งไลท์" หรือพูดภาษาบ้านๆคือ "ถ่ายย้อนแสง แสงสุดท้าย" (ถ้าแสง(โสม)สุดท้ายหมด ก็ต่อ ด้วยแม่โขงดิ ตบด้วยเบียร์ก็ได้เมาดี 5555)

แล้วทำไมต้อง....เป็น แสงสุดท้ายหล่ะ?
คำถามนี้ เลยทำให้เกิด จดหมายฉบับนี้ขึ้นมา
[
สำหรับใครที่สงสัยว่าทำไมผมถึงเรียก blog แต่ละครั้งว่า จดหมาย ก็กลับไปอ่านเหตุผลได้ในฉบับที่หนึ่งได้ครับ]
จดหมายฉบับที่สี่ "
แสงสุดท้าย"
ถึงคุณ
.. คนที่ผมรัก คุณเคยได้ยินคำว่า "แสงแห่งความหวัง" หรือเปล่า?
มนุษย์เรานี่เก่งนะ สามารถใช้ธรรมชาติที่พบเห็นซึ่งเป็นรูปธรรม มาอธิบายนามธรรมหลายๆอย่างของมนุษย์เองได้ ซึ่งหนึ่งนั้นคือ
"
ความหวัง" ดังประโยคที่ว่า
"เหมือนกับมีแสงสว่างสาดส่องที่ขอบฟ้า และชีวิตก็กลับมามีความหวังอีกครั้ง"
ผมว่าภาพที่ทุกคนคิดคงไม่แตกต่างจากรูปนี้สักเท่าไหร่หรอกมั๊ง

แต่ความจริงคือ เราไม่มีทางรู้หรอกว่า แสงที่พาดอยู่บนขอบฟ้านั้น
เป็นแสงแรกแห่งความหวังอันเรืองรอง...
หรือ
เป็นแค่แสงสุดท้ายแห่งความฝันอันริบหรี่
...
บางครั้งคนเราก็ไม่อาจแยกแยะความแตกต่างกันได้หรอก
เพราะ
บางครั้งภาพที่เห็นก็เหมือนกับเป็นการมองภาพผ่านกรอบม่านบางอย่าง จึงมองเห็นแตกต่างจากความเป็นจริง

บางครั้งกาพที่เห็นก็มีองค์ประกอบแปลกตาที่สวยงาม สร้างความประทับใจ

ผมเคยมีความหวังอะไรสักอย่างในชีวิตนี้เหมือนกัน และพอนึกภาพออกว่า แสงแห่งความหวัง มันมีหน้าตาเป็นอย่างไร
เคยที่จะมีความหวังว่า แสงนั้นจะค่อยๆ ขยายขึ้นจนเป็นพระอาทิตย์ที่ยิ่งใหญ่
เพียงแต่ วันนี้ผมรู้แล้วว่า แสงที่ผมเห็นนั้น มันเป็นแสงสุดท้าย
และ มันดับไปแล้ว เท่านั้น ......

"
บางครั้ง ในเวลาหนึ่ง เราไม่มีทางรู้ว่า นี่มันคือรุ่งเช้า ที่แสงกำลังจะสาดส่อง หรือ เป็นเย็นย่ำที่ทุกสิ่งจะมืดลง"
"
ทางเดียวที่เราจะรู้ได้ว่าจริงๆ แล้วมันเป็นเวลาใดกันแน่ คือ ให้รู้จักหยุดที่จะรอ "
"
ถ้ามันเป็นเวลาเช้า อีกสักพัก แสงอาทิตย์จะยิ่งสว่างขึ้น"
"
แต่ถ้ามันคือเวลาเย็น อีกอึดใจความมือก็จะครอบคลุมไปเอง"
"
ก็แค่นั้น"
"
แต่ เราจะมีเวลาให้หยุดเพื่อรอ หรือเปล่าหล่ะ?"
