•  Bloggang.com
  • หลุมขุดค้น (อุทยานแห่งชาติภูเวียง)
    เมื่อพูดถึงอุทยานแห่งชาติภูเวียงนักท่องเที่ยวก็ต้องนึกถึงไดโนเสาร์ ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อน ว่าบริเวณที่ ราบสูงที่อยู่ในเขตประเทศไทยปัจจุบัน นั้นจะเคยเป็นบ้านของไดโนเสาร์มาก่อน จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2519 มีการสำรวจแหล่งแร่ยูเรเนียมในบริเวณอุทยานแห่งชาติภูเวียง ระหว่างการสำรวจนักธรณีวิทยาได้ ค้นพบซากกระดูกชิ้นหนึ่งเข้า และเมื่อส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญ ชาวฝรั่งเศสวิจัยผลปรากฏออกมาว่าเป็นกระดูก หัวเข่าข้างซ้ายของไดโนเสาร์ จากนั้นนักสำรวจ ก็ได้ทำการขุดค้นกันอย่างจริงจังเรื่อยมากระทั่งปัจจุบันบนยอดภูประตูตีหมา หลุมขุดค้นที่ 1 ได้พบฟอสซิลไดโนเสาร์พันธุ์หนึ่ง มีลำตัวสูงใหญ่ประมาณ 15 เมตร

    คอยาว หางยาว เป็นพันธุ์กินพืชซึ่งไม่เคยพบที่ใดมาก่อน จึงได้อัญเชิญพระนามของ สมเด็จพระเทพฯ มาตั้งชื่อไดโนเสาร์พันธุ์นี้เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติว่า "ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่" (Phuwianggosaurus Sirindhornae) และในบริเวณหลุมขุดค้นเดียวกันนั้นเอง นักสำรวจได้พบฟัน ของไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้อปะปนอยู่มากกว่า 10 ซี่ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า โซโรพอดตัวนี้อาจเป็นอาหาร ของเจ้าของฟันเหล่านี้ แต่ในกลุ่มฟันเหล่านั้นมีอยู่หนึ่งซี่ที่มีลักษณะ แตกต่างออกไป เมื่อนำไปศึกษาปรากฏ ว่าฟันชิ้นนี้เป็นลักษณะฟันไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ที่ไม่เคย ค้นพบมาก่อนเช่นกัน จึงตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบ นายวราวุธ สุธีธร ว่า "ไซแอมโมซอรัส สุธีธรนี่" (Siamosaurus Suteethorni) ผู้สนใจสามารถเดิน ทางไปชมได้ หลุมขุดค้นที่ 1 นั้นอยู่ไม่ไกลจาก ที่ทำการอุทยาน และยังสามารถเดินไปชมหลุมขุดค้นที่ 2 และ 3 ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงด้วยฟอสซิลของ "ไซแอมโมไทรันนัส อีสานเอ็นซิส" (Siamotyrannus Isanensis) เป็นสิ่งที่ชี้ว่า ไดโนเสาร์ จำพวกไทรันโนซอร์มีต้นกำเนิดในทวีปเอเชีย เพราะฟอสซิลที่พบที่นี่เป็นชิ้นที่เก่าแก่ที่สุด (120-130 ล้านปี) แต่กระดูกชิ้นนี้ได้นำไปจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ในกรมทรัพยากรธรณี กรุงเทพฯบริเวณหินลาดป่าชาด หลุมขุดค้นที่ 8 พบรอยเท้าไดโนเสาร์จำนวน 68 รอย อายุประมาณ 140 ล้านปี เกือบทั้งหมดเป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์กินเนื้อพันธุ์เล็กที่สุดในโลกเดิน 2 เท้า แต่หนึ่งในรอยเท้า เหล่านั้นมี ขนาดใหญ่ผิดจากรอยอื่น คาดว่าเป็นของคาร์โนซอรัส การไปชมควรเดินทางด้วย รถขับเคลื่อน 4 ล้อใช้ เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ห่างจากที่ทำการ 19 กม.

    ส่วนฟอสซิลดึกดำบรรพ์อื่นๆที่ขุดพบ เช่น ซากลูกไดโนเสาร์ ซากจระเข้ขนาดเล็ก ซากหอย 150 ล้านปี จะ อยู่กระจัดกระจายกันตามหลุมต่างๆ

    ความน่าสนใจของที่นี่ไม่ได้มีแต่เพียงไดโนเสาร์เท่านั้น ยังมีการพบร่องรอยอารยธรรมโบราณด้วย โดยพบ "พระพุทธรูปปางไสยาสน์" ประติมากรรมนูนสูงสลักบนหน้าผาของยอดเขาภูเวียง สร้างขึ้นตั้งแต่สมัย พุทธศตวรรษที่ 14 ลักษณะท่านอนได้รับอิทธิพลจากอินเดีย พระเศียรหนุนแนบกับต้นแขนขวา แขนซ้าย ทอดไปตามลำพระองค์ นอกจากนี้"ถ้ำฝ่ามือแดง" ที่บ้านหินร่องมีงานศิลปะของมนุษย์ถ้ำโบราณ ลักษณะ ของภาพเกิดจากการพ่นสีแแดงลงไปในขณะที่มือทาบกับผนังถ้ำก่อให้เกิดเป็นรูปฝ่ามือขึ้น

    ส่วนแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ในบริเวณอุทยานฯจะมีน้ำตกอยู่สองสามแห่ง "น้ำตกทับพญาเสือ" เป็น น้ำตกเล็กๆ ตั้งอยู่ใกล้กับถ้ำฝ่ามือแดง "น้ำตกตาดฟ้า" เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15 เมตร สามารถเข้าถึงได้ทางรถยนต์ อยู่ห่างจากอำเภอภูเวียง 18 กม.และขึ้นเขาไปอีก 6 กม. ตรงต่อไป จาก น้ำตกตาดฟ้าอีก 5 กม. จะถึง "น้ำตกตาดกลาง" สูงประมาณ 8 กม. นอกจากน้ำตก ก็ยังมีแหล่งท่อง เที่ยวประเภท ทุ่งหญ้าและลานหิน ซึ่งจะมีดอกไม้ป่านานาพันธุ์บานในช่วงหลังฤดูฝน ได้แก่ "ทุ่งใหญ่เสา อาราม" "หินลาดวัดถ้ำกวาง" และ "หินลาดอ่างกบ"

    พื้นที่อุทยานฯครอบคลุมอำเภอภูเวียง อำเภอสีชมพู และอำเภอชุมแพ มีพื้นที่ 380 ตรกม. การเดินทาง จากตัวเมืองขอนแก่นใช้เส้นทางขอนแก่น-ชุมแพ (ทางหลวงหมายเลข 12) เป็นระยะทาง 48 กม. แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2038 เป็นระยะทาง 18 กม. ถึงอำเภอภูเวียง แล้วใช้ เส้นทางภูเวียง-บ้านเมืองใหม่ ไปจนถึงกม.ที่ 23 จะเป็นบริเวณที่เรียกว่า "ปากช่องภูเวียง" ซึ่งมี หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติภูเวียงตั้งอยู่ เดินทางต่อไปจนถึงกม.ที่ 30 เลี้ยวซ้ายตรงทางเข้าอ่างเก็บ น้ำบ้านโพธิ์ เป็นระยะทาง 7.7 กม. ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ภูเวียงที่ "ภูประตูตีหมา" ภายใน อาคารมีการจัดแสดงนิทรรศการและซากกระดูกส่วนต่างๆ ของไดโนเสาร์ที่ขุดพบบริเวณภูเวียง โดยมีคำ อธิบายลักษณะและการเกิดซากต่างๆ เหล่านี้




    วันนี้พี่จะพาน้องๆไปดูไดโนเสาร์ที่เคยมีชีวิตอยู่ในประเทศไทยซึ่งอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลนี้เองครับ ที่นั่นก็คือ พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ภูเวียง จังหวัดขอนแก่นนั่นเองครับ






    พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ภูเวียง จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์แห่งแรกของประเทศไทย เป็นสถานที่ศึกษาวิจัยอนุรักษ์ซากไดโนเสาร์ และเผยแพร่เรื่องราวของไดโนเสาร์ ตลอดจนธรณีวิทยาสาขาอื่น ๆ ให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไป ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยจัดให้อยู่ในรูปแบบของแหล่งท่องเที่ยวทางวิชาการของ จ . ขอนแก่น โดยมีพื้นที่ 100 ไร่ เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์ศึกษาวิจัยซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ภูเวียง ก่อตั้งโดยความร่วมมือระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ขอนแก่น และกรมทรัพยากรธรณี กรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่ความรู้ด้านทรัพยากรธรณีสู่สาธารณชน เพื่อการอนุรักษ์ 






    พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ภูเวียง จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์แห่งแรกของประเทศไทย เป็นสถานที่ศึกษาวิจัยอนุรักษ์ซากไดโนเสาร์ และเผยแพร่เรื่องราวของไดโนเสาร์ ตลอดจนธรณีวิทยาสาขาอื่น ๆ ให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไป ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยจัดให้อยู่ในรูปแบบของแหล่งท่องเที่ยวทางวิชาการของ จ . ขอนแก่น โดยมีพื้นที่ 100 ไร่ เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์ศึกษาวิจัยซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ภูเวียง ก่อตั้งโดยความร่วมมือระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ขอนแก่น และกรมทรัพยากรธรณี กรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่ความรู้ด้านทรัพยากรธรณีสู่สาธารณชน เพื่อการอนุรักษ์ 






    เพื่อประโยชน์ของสังคมและส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืนต่อไป อาคารพิพิธภัณฑ์แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนบริการ ได้แก่ ร้านขายของที่ระลึก ขายอาหาร ห้องบรรยาย ส่วนวิชาการ ได้แก่ ห้องปฏิบัติการ ห้องทำงาน ห้องสมุด และส่วนนิทรรศการ ได้แก่ ห้องจัดแสดงชั้นล่างและชั้นบน 







    สืบเนื่องจากในปี พ.ศ. 2513 หน่วยสำรวจธรณีวิทยาจากสหรัฐอเมริกา ได้เข้าไปสำรวจแหล่งแร่ในพื้นที่เทือกเขาภูเวียง จังหวัดขอนแก่น และได้พบแร่ยูเรเนียมชนิดคอฟฟินไนต์เกิดร่วมกับแร่ทองแดงชนิดอะซูไรต์และมาลาไคต์ ทำให้ต่อมาองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศด้านพลังงานปรมาณูเข้าไปสำรวจเพิ่มเติมด้วย ระหว่างปี พ.ศ. 2518 ตลอดจน 2523 กรมทรัพยากรธรณีได้เข้าไปทำการเจาะสำรวจในรายละเอียด ในปี พ.ศ. 2519 นายสุธรรม แย้มนิยม นักธรณีวิทยา ได้ค้นพบซากดึกดำบรรพ์เศษกระดูกไดโนเสาร์บริเวณพื้นลำห้วยประตูตีหมา และต่อมาวินิจฉัยได้ว่าเป็นเศษส่วนปลายของกระดูกขาหลังท่อนบนด้านซ้ายของไดโนเสาร์ซอริสเชียในกลุ่มซอโรพอด[1] (ไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่มี 4 ขา คอยาว หางยาว) โดยถือได้ว่าเป็นการค้นพบหลักฐานไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่นำไปสู่การสำรวจและวิจัยอย่างจริงจังจนถึงปัจจุบัน

    การสำรวจและวิจัย

    นับจากการค้นพบกระดูกไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2519 กรมทรัพยากรธรณี โดยโครงการความร่วมมือด้านบรรพชีวินวิทยา ไทย-ฝรั่งเศส ได้ทำการสำรวจไดโนเสาร์บนเทือกเขาภูเวียงอย่างต่อเนื่อง มีการค้นพบกระดูก ฟัน และรอยตีนไดโนเสาร์จำนวนมาก โดยส่วนใหญ่พบอยู่ในหินทรายหมวดหินเสาขัวยุคครีเทเชียสตอนต้น (ประมาณ 130 ล้านปีมาแล้ว) มีทั้งไดโนเสาร์ซอโรพอดและเทอร์โรพอด หลากหลายสายพันธุ์ และมีขนาดตั้งแต่ตัวเท่าแม่ไก่ ไปจนถึงมีลำตัวยาวจากหัวจรดหางมากกว่า 15 เมตร นับเป็นการค้นพบที่สำคัญ ทำให้คนไทยมีความตื่นตัวเดินทางไปเยี่ยมชมแหล่งไดโนเสาร์ที่เทือกเขาภูเวียงอย่างต่อเนื่อง และรวมถึงการเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรหลุมขุดค้นที่ 2 ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2532 และได้เสด็จพระราชดำเนินพาคณะกรรมการรางวัลนานาชาติสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทอดพระเนตรพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2551







    เริ่มตั้งแต่ที่มีการประกาศก่อตั้งอุทยานแห่งชาติภูเวียง ในปี พ.ศ. 2534 นั้น จังหวัดขอนแก่น อำเภอภูเวียง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมทรัพยากรธรณี และหน่วยงานของรัฐหลายภาคส่วน ได้เล็งเห็นความสำคัญของแหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ในอุทยานแห่งชาติภูเวียง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้จัดสรรงบประมาณในการพัฒนาหลุมขุดค้นไดโนเสาร์ทั้งหมด 4 หลุม ประกอบด้วย หลุมที่ 1 หลุมที่ 2 หลุมที่ 3 และหลุมที่ 9 โดยการสร้างอาคารคลุมหลุมเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับกระดูกไดโนเสาร์ และยังก่อสร้างทางเดินเท้าเชื่อมต่อระหว่างหลุม ซึ่งนอกจากจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาแล้ว ยังเป็นแหล่งเดินชมธรรมชาติในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูเวียงอีกด้วย อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่ แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ในอุทยานแห่งชาติภูเวียง







    การค้นพบแหล่งไดโนเสาร์บนเทือกเขาภูเวียง ถือเป็นการค้นพบที่สร้างชื่อเสียงให้กับเทือกเขาภูเวียงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอบ่างยิ่งไดโนเสาร์ซอโรพอดสกุลและชนิดใหม่จากภูเวียงที่ชื่อว่า ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรนี ที่ใช่ชื่อภูเวียงเป็นชื่อสกุล และใช้นามาภิไธยของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นชื่อชนิดนั้น ยิ่งทำให้ผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศกล่าวขวัญกันอย่างกว้างขวาง ทำให้หน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงานมีความเห็นว่าสมควรก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียงขึ้น และได้เลือกพื้นที่สาธารณประโยชน์โคกสนามบินเนื้อที่ 100 ไร่เป็นสถานที่ก่อสร้าง โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้จัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างในส่วนอาคารพิพิธภัณฑ์ทั้งด้วยเนื้อที่ใช้สอย 5,500 ตารางเมตร กรมทรัพยากรธรณีได้รับมอบหมายให้เป็นผู้กำกับดูแล โดยได้ทำการจัดนิทรรศการถาวร และเปิดให้บริการนักท่องเที่ยวในปี พ.ศ. 2544







    พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง มีการจัดองค์ประกอบการดำเนินงานอย่างครบวงจร มีการจัดพื้นที่ดำเนินงานประกอบด้วย ส่วนสำรวจและวิจัย ส่วนอนุรักษ์และทำเทียมชิ้นส่วนตัวอย่างซากดึกดำบรรพ์ ส่วนคลังตัวอย่าง ห้องสมุด ส่วนนิทรรศการถาวร ส่วนบริหารจัดการ และพื้นที่บริการได้แก่ โรงอาหาร ร้านขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่ม ร้านขายของที่ระลึก และลานจอดรถ รวมถึงห้องประชุมขนาด 140 ที่นั่ง พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียงเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านธรณีวิทยามีการจัดกิจกรรมร่วมกับสถานศึกษาต่างๆ และรวมถึงหน่วยงานอื่นๆ เช่น มูลนิธิด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียงมีโอกาสต้อนรับคณะนักท่องเที่ยวที่หลากหลายทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

    สายพันธุ์ไดโนเสาร์จากภูเวียง

    ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรนี หรือ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน
    สยามโมซอรัส สุธีธรนี
    สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส
    กินรีไมมัส ขอนแก่นเอนซิส
    คอมพ์ซอกเนธัส
    แหล่งรอยตีนไดโนเสาร์ภูเวียง





    Create Date : 20 ตุลาคม 2557
    Last Update : 20 ตุลาคม 2557 19:53:03 น.
    Counter : 2492 Pageviews.

    1 comments
      
    thx u crab
    โดย: Kavanich96 วันที่: 21 ตุลาคม 2557 เวลา:3:22:52 น.
    ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
    Comment :
     *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
     

    okanel
    Location :
      

    [ดู Profile ทั้งหมด]
     ฝากข้อความหลังไมค์
     Rss Feed
     Smember
     ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



    travelShow
    ตุลาคม 2557

     
     
     
    1
    2
    3
    4
    5
    7
    9
    11
    14
    16
    18
    19
    21
    23
    24
    25
    26
    27
    28
    29
    30
    31