|
 |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 | |
|
|
 |
31 สิงหาคม 2553
|
|
|
|
เด็กหลอดแก้ว (IVF) บลาสโตซิสท์คัลเจอร์
การถือกำเนิดครั้งแรกของเด็กหลอดแก้วในปี 1978 ถือเป็นจุดเปลี่ยนของการรักษาภาวะมีบุตรยากสมัยใหม่และอัตราการตั้งครรภ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิม การปฏิสนธิภายนอกร่างกาย (IVF) และการช่วยเหลือการเจริญพันธุ์อื่นๆได้ทำการรักษาอย่างแพร่หลายทั่วไปในปัจจุบัน และได้มีการปรับปรุงพัฒนาให้ได้ผลสำเร็จที่สูงขึ้นและมีค่าใช้จ่ายคุ้มค่ามากกว่าการรักษาด้วยการใช้วิธีการแบบพื้นฐานต่างๆเช่นการผ่าตัดแก้ไขท่อนำไข่ การปฏิสนธิภายนอกร่างกายแบบดั้งเดิม (Conventional IVF) นั้นเป็นชื่อสำหรับวิธีการรักษาโดย Test tube baby (เด็กหลอดแก้ว) ซึ่งเป็นต้นกำเนิด หลักการรักษานั้นจะต้องนำอสุจิหยดลงไปบนจานเพาะเลี้ยงตัวอ่อนหรือหลอดทดลองที่บรรจุเซลล์ไข่ของฝ่ายหญิงอยู่ภายในนั้น การปฏิสนธิภายนอกร่างกาย (IVF) แบบอื่นๆที่แตกต่างไปจากแบบดั้งเดิมนั้นก็จะมีวิธีการทำคล้ายๆกันนี้ แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือระยะเวลาในการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนก่อนที่จะมีการย้ายตัวอ่อนกลับคืนให้
บลาสโตซิสท์คัลเจอร์ ปัจจุบันในยุคแห่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธี Blastocyst transfer นั้นถือเป็นวิธีการที่เข้ามามีบทบาทสำคัญแทนที่การทำ IVF แบบเดิมซึ่งใส่ตัวอ่อนระยะ 4 - 8 เซลล์ ในอดีตแพทย์จะต้องทำการใส่ตัวอ่อนกลับคืนให้ภายในวันที่สองหรือไม่เกินวันที่สามภายหลังจากไข่ถูกปฏิสนธิ เนื่องจากตัวอ่อนเหล่านั้นไม่สามารถรอดชีวิตต่อไปจนถึงระยะบลาสโตซิสท์ในห้องปฏิบัติการได้ จนกระทั่งปัจจุบันได้มีการผลิตน้ำยาซึ่งสามารถใช้เพาะเลี้ยงตัวอ่อนให้เจริญเติบโตต่อไปได้จนถึงระยะบลาสโตซิสท์ ด้วยเหตุนี้เราจึงได้รับประโยชน์อย่างมากจากเพาะเลี้ยงตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสท์
ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสท์นั้นเป็นตัวอ่อนที่มีการพัฒนาไปจนมีจำนวนเซลล์ 100 -120 เซลล์ และกว่าจะมาถึงระยะนี้ได้ตัวอ่อนจะต้องใช้เวลาในการพัฒนาตัวเองนานถึง 5 วันภายหลังจากที่ไข่ได้รับการปฏิสนธิ และระยะหลังจากนี้คือการฝังตัวลงบนเยื่อบุโพรงมดลูกของแม่และเกิดเป็นการตั้งครรภ์
ผลของการใส่ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสท์ 1) ในทางทฤษฎีแล้วยิ่งตัวอ่อนมีจำนวนเซลล์มากก็จะยิ่งมีโอกาสฝังตัวได้สูงขึ้น จากการศึกษาพบว่าอัตราการตั้งครรภ์จากการใส่ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสท์สูงกว่าอัตราการตั้งครรภ์จากการใส่ตัวอ่อนระยะ 4 8 เซลล์ 2) การใส่ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสท์คืนกลับสู่โพรงมดลูกจะเป็นการกระทำที่สัมพันธ์กับกระบวนการเจริญพันธุ์ตามธรรมชาติ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ตัวอ่อนระยะ 4 8 เซลล์นั้นเป็นระยะที่ควรจะอยู่ที่ท่อนำไข่ ดังนั้นการใส่ตัวอ่อนในวันที่ 2 และ 3 จึงอาจเป็นอัตรายต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อน เพราะต้องพบกับสภาวะแวดล้อมภายในมดลูกก่อนเวลาอันสมควร ดังนั้นการใส่ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสท์ซึ่งตามธรรมชาติจะผ่านท่อนำไข่ออกมาอยู่ในมดลูกแล้ว จะสอดคล้องกับระยะของเยื่อบุโพรงมดลูกและสามารถฝังตัวได้ทันทีเช่นเดียวกับกระบวนการตามธรรมชาติ 3) โดยปกติตามธรรมชาติแล้วตัวอ่อน 30 40 % ไม่สามารถรอดชีวิตไปถึงระยะบลาสโตซิสท์ได้ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากตัวอ่อนที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมอาจไม่เจริญเติบโตไปจนถึงระยะบลาสโตซิสท์ ดังนั้นการเพาะเลี้ยงบลาสโตซิสท์จึงเปรียบเสมือนการคัดเลือกตัวอ่อนระดับหนึ่งในการย้ายกลับคืนสู่โพรงมดลูก 4) การยืดระยะเวลาเพาะเลี้ยงตัวอ่อนออกไปถึงระยะบลาสโตซิสท์ซึ่งมีเซลล์จำนวนมาก และเซลล์ของบลาสโตซิสท์ยังได้แบ่งแยกออกเป็นเซลล์ที่จะเจริญไปเป็นทารก และเซลล์ที่จะเจริญไปเป็นรกแล้ว ความจริงข้อนี้ช่วยให้เราสามารถดูดเอาเซลล์ส่วนที่จะพัฒนาไปเป็นรกของตัวอ่อนออกมาจำนวนหนึ่งเพื่อนำไปตรวจโครโมโซมได้ โดยไม่มีผลต่ออัตราการตั้งครรภ์ และการเจริญเติบโตต่อไปของตัวอ่อนในครรภ์ ซึ่งจะช่วยคัดกรองโรคทางพันธุกรรมได้อีกทางหนึ่ง 5) นอกจากนี้การเพาะเลี้ยงตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสท์ยังสามารถทำการคัดเลือกตัวอ่อนที่มีคุณภาพดี และลดจำนวนตัวอ่อนที่จะใส่กลับคืนให้ได้เพื่อลดอัตราการตั้งครรภ์แฝด ขั้นตอนของการรักษาด้วยวิธีบลาสโตซิสท์คัลเจอร์ การกระตุ้นไข่ การกระตุ้นไข่นั้นมีจุดมุ่งหมายที่จะให้มีไข่เกิดขึ้นจำนวนมาก และต้องการที่จะนำไข่ที่กระตุ้นได้ออกมาให้ได้มากที่สุด เนื่องจากความเชื่อที่ว่าโอกาสของการตั้งครรภ์จะสูงขึ้นหากมีการใส่ตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีมากกว่า 1 ตัวอ่อนกลับคืนสู่โพรงมดลูก การใช้ยากระตุ้นไข่ (Gonadotrophin) ที่ใช้ฉีดให้กับผู้ป่วยแต่ละรายนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น อายุของฝ่ายหญิง โครงสร้างของร่างกาย ขนาดยาที่เคยให้ในรอบการรักษาที่ผ่านมา เป็นซิสท์ของรังไข่หรือไม่ ประวัติในรอบการรักษาที่ผ่านมาที่เกิดภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป Ovarian hyperstimulation syndrome (OHSS) และประวัติการผ่าตัดรังไข่ ขนาดของยาอาจถูกเพิ่มขึ้นหรือถูกลดขนาดยาลงขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อยาที่ฉีดให้ในผู้ป่วยแต่ละราย การให้ยากระตุ้นไข่จะฉีดให้อย่างต่อเนื่องทุกวันจนกระทั่งขนาดของไข่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 18 22 มิลลิเมตร โดยปกติแล้วการฉีดยาจะใช้เวลาประมาณ 12 16 วัน
การกระตุ้นไข่ตก สามารถทำได้โดยการให้ Human chorionic gonadotrophin (hCG) ซึ่งจะช่วยให้เกิดการสุกสมบูรณ์ของเซลล์ไข่ โดยจะทำการฉีด hCG ให้เมื่อไข่โตได้ขนาดที่ต้องการ และจะสามารถทำการเจาะไข่ได้ภายใน 34 36 ชั่วโมงหลังนั้น
การตรวจอัลตร้าซาวด์ วิธีการหลักในการตรวจติดตามการเจริญเติบโตของไข่นั้นทำได้โดยการตรวจอัลตร้าซาวด์ การตรวจอัลตร้าซาวด์ในครั้งแรกนั้นจะกระทำภายหลังจากเริ่มฉีดยากระตุ้นไข่ไปแล้ว 7 วัน และจะทำการตรวจซ้ำขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งในแต่ละครั้งที่ทำการตรวจ แพทย์จะตรวจดูรังไข่ทั้งสองข้างรวมทั้งมดลูก จำนวนของไข่ในรังไข่แต่ละข้างจะถูกตรวจสอบและวัดขนาด
การเจาะเก็บไข่ เมื่อจะทำการเจาะเก็บไข่ จะมีการใช้ยาระงับความรู้สึกชนิดฉีดเข้าเส้นเลือดเพื่อให้หลับไปเป็นระยะเวลาสั้นๆ ก่อนจะทำการเจาะไข่ แพทย์จะทำการตรวจอัลตร้าซาวด์ทางช่องคลอดเพื่อให้มองเห็นรังไข่และอวัยวะในอุ้งเชิงกรานในระหว่างการเจาะไข่ และใช้เข็มเจาะไข่เจาะผนังช่องคลอดเข้าไปยังรังไข่ และดูดเอาเซลล์ไข่ออกมาสู่หลอดทดลอง เซลล์ไข่จะถูกนำออกมาทำความสะอาดในน้ำยาสำหรับเพาะเลี้ยง และจะถูกนำไปเก็บไว้ในตู้อบที่จะช่วยรักษาอุณหภูมิให้คงที่ที่ 37 องศาเซลเซียสตลอดเวลา การเจาะไข่ผ่านทางช่องคลอดนั้นเป็นวิธีการที่ปลอดภัย ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บแต่อย่างใดและสามารถตื่นฟื้นคืนสติได้อย่างรวดเร็วหลังจากนั้น การเจาะไข่มักใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที และอาจนอนพักเป็นเวลาเพียงหนึ่งถึงสองชั่วโมงก่อนกลับบ้านในวันนั้น
การเก็บตัวอย่างเชื้ออสุจิ สามีของผู้ป่วยจะถูกขอให้ทำการเก็บตัวอย่างเชื้ออสุจิให้ ซึ่งจะกระทำในวันเดียวกับการเจาะไข่ น้ำอสุจิที่หลั่งออกมาได้จะถูกเก็บไว้ในภาชนะพลาสติกที่ไม่เป็นพิษต่ออสุจิและสะอาดปราศจากเชื้อโรค ตัวอย่างอสุจิที่เก็บได้จะถูกนำไปวิเคราะห์ก่อนนำไปเตรียมเพื่อการปฏิสนธิ การเตรียมอสุจินั้นปัจจุบันสามารถทำได้หลายวิธี แต่ทุกวิธีมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ คัดกรองเอาน้ำอสุจิ ส่วนประกอบทางเคมี ตัวอสุจิที่ตายและผิดปกติ และเซลล์อื่นๆออกไปให้หมด ซึ่งจะคงเหลือไว้เพียงตัวอสุจิที่ปกติ มีชีวิต และเคลื่อนไหวได้ อยู่ในน้ำยาเพาะเลี้ยง การให้ฮอร์โมน Progesterone เสริม เพื่อป้องกันการสร้างฮอร์โมน Progesterone ไม่เพียงพอ จึงได้มีการให์ฮอร์โมน Progesterone เสริม โดยจะเริ่มให้ในตอนเย็นในวันที่ทำการเจาะเก็บไข่หรือในเช้าวันรุ่งขึ้น ยาที่ใช้โดยทั่วไปจะใช้เหน็บเข้าไปยังช่องคลอด ซึ่งยาจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดต่อไป การเหน็บยาฮอร์โมน Progesterone จะกระทำต่อเนื่องไปจนได้รับผลการตรวจการตั้งครรภ์ หากผลแสดงว่าไม่ตั้งครรภ์ก็จะหยุดการเหน็บยาได้ และรอบเดือนก็จะมาภายในสองสัปดาห์หลังจากนั้น แต่ถ้าหากผู้ป่วยตั้งครรภ์ ก็จะต้องทำการเหน็บยาต่อไปจนกระทั้งอายุครรภ์ได้ 12 สัปดาห์
ระยะในห้องปฏิบัติการ ในวันที่มีการเจาะเก็บไข่ สามถึงหกชั่วโมงหลังจากการเจาะเก็บไข่ Embryologist จะนำอสุจิที่เตรียมแล้วไปหยดลงบนจานเพาะเลี้ยงซึ่งมีเซลล์ไข่อยู่ โดยมีการควบคุมปริมาตรของอสุจิให้เหมาะสม จำนวนของอสุจิที่จะหยดลงไปผสมกับไข่นั้นขึ้นอยู่กับค่าที่วัดได้จากการตรวจตัวอย่างน้ำอสุจิ หากมีค่าการตรวจที่ไม่ค่อยดีนัก Embryologist จะเพิ่มจำนวนตัวอสุจิให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสในการปฏิสนธิ
ในวันรุ่งขึ้นหลังจากที่มีการเจาะเก็บไข่ จานเพาะเลี้ยงจะถูกนำออกมาจากตู้อบ เพื้อนำไปตรวจดูการปฏิสนธิ ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้วจะถูกย้ายไปไว้ในจานเลี้ยงใบใหม่ซึ่งมีน้ำยาเพาะเลี้ยงใหม่และนำกลับเข้าสู่ตู้อบไว้ดังเดิม ไข่ใบที่ไม่ได้รับการปฏิสนธิและไข่ใบที่มีการปฏิสนธิผิดปกติจะถูกทิ้งไป โดยปกติแล้วประมาณ 40 70% ของไข่จะได้รับการปฏิสนธิ
ในที่สองถึงวันที่ห้าหลังการเจาะไข่ ตัวอ่อนสามารถถูกย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูกได้ตั้งแต่วันที่สองของการเจาะไข่ หรือสามารถย้ายกลับคืนในวันที่สาม วันที่สี่ หรือวันที่ห้า หลังการเจาะไข่ก็ได้ ในการศึกษาวิจัยในปัจจุบันพบว่าการย้ายตัวอ่อนกลับคืนสู่โพรงมดลูกในวันที่ห้าจะมีอัตราการตั้งครรภ์สูงกว่าการย้ายตัวอ่อนในวันอื่นๆทั้งหมด (Gardner et al.,1998a,b) ในวันที่สองไข่ที่ปฏิสนธิแล้วแต่ละใบนั้นควรจะมีการแบ่งเซลล์เป็นสองเซลล์ หรือ สี่เซลล์แล้ว แต่ละเซลล์จะยังคงอยู่ภายในเปลือกของไข่ เมื่อไข่ที่ปฏิสนธิแล้วมีการแบ่งเซลล์จำนวนมากขึ้นจะถูกเรียกว่าตัวอ่อน (Embryo) ประมาณ 90% ของไข่ที่ปฏิสนธิได้ควรจะเจริญเติบโตไปจนถึงระยะตัวอ่อน ตัวอ่อนจำนวนหนึ่งจะถูกคัดเลือกเพื่อการย้ายกลับคืนสู่โพรงมดลูก สำหรับตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีที่เหลือจะถูกนำไปแช่แข็งเก็บไว้ ตัวอ่อนที่คุณภาพไม่ดีจะไม่สามารถรอดชีวิตจากกระบวนการแช่แข็งและละลายออกมาใช้ได้ก็จะถูกทิ้งไป
จำนวนของตัวอ่อนที่จะย้ายกลับคืนสู่โพรงมดลูก จำนวนของตัวอ่อนที่จะใส่กลับคืนสู่โพรงมดลูกส่งผลต่ออัตราการตั้งครรภ์ ยิ่งใส่ตัวอ่อนจำนวนมากกลับคืนให้อัตราการตั้งครรภ์ก็ยิ่งสูงตาม อย่างไรก็ตามการใส่ตัวอ่อนจำนวนมากยังส่งผลให้อัตราการตั้งครรภ์แฝดสูงตามขึ้นไปด้วย ซึ่งการตั้งครรภ์แฝดสามหรือมากกว่ามักก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อการตั้งครรภ์นานาประการ นอกจากจำนวนของตัวอ่อนจะส่งผลต่ออัตราการตั้งครรภ์ อายุของมารดา ระยะของตัวอ่อน และคุณภาพของตัวอ่อน ก็ส่งผลต่อการตั้งครรภ์มากเช่นเดียวกัน ดังนั้นจำนวนของตัวอ่อนที่จะใส่กลับจึงต้องพิจารณาถึงปัจจัยเหล่านี้ด้วย โดยทั่วไปหากทำการใส่ตัวอ่อนที่ระยะบลาสโตซิสท์ในผู้หญิงที่อายุน้อย (20-25 ปี) แพทย์อาจทำการใส่ตัวอ่อนกลับคืนให้เพียงหนึ่งถึงสองตัวอ่อน สำหรับผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 35 ปี ยังอาจพิจารณาใส่ตัวอ่อนให้เพียงสองตัวในรอบการรักษาแรก การใส่ตัวอ่อนครั้งละสามตัวนั้นอาจทำในรายที่อายุ 36 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่เคยประสบความล้มเหลวในการทำเด็กหลอดแก้วมาก่อน ทั้งตัวผู้ป่วยเองและทีมแพทย์ที่ให้การรักษาจะต้องร่วมกันตัดสินใจว่าจะใส่ตัวอ่อนกลับคืนจำนวนกี่ตัว ความสามารถในการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนได้นานขึ้นถึง 5 วันนั้นช่วยให้แพทย์สามารถเลือกตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีที่สุดจากบรรดาตัวอ่อนที่สามารถเจริญเติบโตไปจนถึงระยะบลาสโตซิสท์ได้ ซึ่งเป็นความหวังว่าเทคนิคอันก้าวหน้าในการทำการรักษานี้จะนำไปสู่การลดจำนวนตัวอ่อนที่จะใส่กลับคืนและคงอัตราความสำเร็จที่สูงไว้ได้
การย้ายตัวอ่อนกลับคืนสู่โพรงมดลูก การใส่ตัวอ่อนสามารถทำได้ง่ายๆโดยไม่มีความเจ็บปวด ฝ่ายหญิงจะต้องนอนบนเตียงสำหรับใส่ตัวอ่อนที่จะสามารถจัดท่าได้อย่างเหมาะสม แพทย์จะใส่เครื่องมือขยายช่องคลอดเข้าไปก่อนเพื่อให้มองเห็นปากมดลูกได้ ตัวอ่อนจะถูกดูดเข้ามาไว้ในท่อสำหรับใส่ตัวอ่อนซึ่งปลายหนึ่งต่อกับกระบอกฉีดยาเล็กๆ และส่งต่อไปให้แพทย์เพื่อนำท่อนั้นสอดผ่านปากมดลูกเข้าไปสู่ภายในโพรงมดลูกและฉีดตัวอ่อนซึ่งรวมอยู่กับน้ำยาเลี้ยงตัวอ่อนลงไปบนเยื่อบุโพรงมดลูก หลังจากนั้นแพทย์จะดึงท่อใส่ตัวอ่อนออกมา ตามด้วยอุปกรณ์อื่นๆทั้งหมด และผู้ป่วยจะได้นอนพักบนเตียงสักครู่หนึ่งก่อนที่จะลุกขึ้นและกลับบ้าน แพทย์จะสั่งฮอร์โมน Progesterone เสริมให้อย่างเพียงพอเป็นเวลาประมาณ 15 วัน หลังจากใส่ตัวอ่อนไปแล้วนั้น ผู้ป่วยมักไม่มีสิ่งอื่นใดที่ต้องกระทำเป็นพิเศษ ผู้ป่วยมักได้รับคำแนะนำให้ทำกิจกรรมต่างๆได้ตามปกติ และผู้ป่วยจะถูกขอให้เข้ามาตรวจเลือดเพื่อทดสอบการตั้งครรภ์หาก 12 วันภายหลังการใส่ตัวอ่อนผู้ป่วยยังไม่มีรอบเดือนมา
ตัวอ่อนที่ใส่กลับเข้าไปในมดลูก ไม่มีใครอาจทราบได้แน่ชัดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวอ่อนในแต่ละวันหลังจากการย้ายตัวอ่อนกลับคืนสู่โพรงมดลูก จากเวลาที่ตัวอ่อนได้ถูกวางลงบนเยื่อบุโพรงมดลูกของแม่ตัวอ่อนจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นในการเจริญเติบโตต่อไปจากของเหลวที่สร้างมาจากเซลล์ของเยื่อบุโพรงมดลูก ตัวอ่อนทำการฝังตัวลงบนเยื่อบุโพรงมดลูกโดยเจาะออกจากเปลือก และฝังตัวลงไป หลังจากนั้นจะสร้างรกขึ้นมาก่อนเพื่อนำอาหารไปเลี้ยงเซลล์ที่จะเจริญเติบโตเป็นทารกต่อไป ในระยะเวลาสองสัปดาห์หลังการใส่ตัวอ่อน ตัวอ่อนจะสามารถสร้างฮอร์โมน hCG ออกมาได้ซึ่งเป็นสัญญาณส่งไปยังอวัยวะระบบต่างๆของแม่ว่าได้มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นแล้ว ในการทดสอบการตั้งครรภ์ hCG นั้นจะสามารถตรวจพบได้จากในปัสสาวะหรือจากเลือดของแม่
การทดสอบการตั้งครรภ์ สองสัปดาห์แห่งการรอคอยเพื่อที่จะทำการทดสอบการตั้งครรภ์นั้นช่างเป็นช่วงเวลาที่นำมาซึ่งความเครียด ความวิตกกังวล การดูแลด้านจิตใจ การให้คำปรึกษา สามารถช่วยลดระดับความเครียดลงได้และช่วยให้คู่สามีภรรยาสามารถผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไปได้ดีขึ้น ตัวอย่างเลือดของฝ่ายหญิงจะถูกดูดออกมาเพื่อนำไปทำการตรวจการตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่ 14 หลังจากการใส่ตัวอ่อน การตรวจการตั้งครรภ์นั้นใช้เวลาไม่นานและสามารถทราบผลการตรวจได้ในวันนั้น ในบางครั้งผลที่ได้ชัดเจนว่ามีการตั้งครรภ์หรือไม่ตั้งครรภ์ แต่บางครั้งก็ไม่สามารถตอบได้อย่างชัดเจน ซึ่งในกรณีเช่นนี้จะทำการตรวจซ้ำใน 48 ชั่วโมงหรือในหนึ่งสัปดาห์ต่อมา
ทารกที่เกิดจากการรักษาด้วยวิธีบลาสโตซิสท์ ทารกที่คลอดจากการรักษาด้วยบลาสฌตซิสท์คัลเจอร์ และเทคโนโลยีช่วยเหลือการเจริญพันธุ์อื่นๆนั้นไม่ได้เกิดความพิการแต่กำเนิดมากไปกว่าทารกที่ตั้งครรภ์ตามธรรมชาติในประชากรทั่วไป (น้อยกว่า 5%) ในด้านพฤติกรรม เด็กเหล่านี้ก็มีพฤติกรรมคล้ายคลึงกันกับเด็กทั่วไปแม้ว่าเด็กมักจะได้รับความรักและตามใจมากกว่าเด็กทั่วไปเล็กน้อยก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานใดๆในปัจจุบันที่จะแสดงให้เห็นว่า เด็กเหล่านี้แตกต่างจากเด็กทั่วไปและวัยผู้ใหญ่ตอนต้นทั่วไป เนื่องจากเด็กหลอดแก้วคนแรกของโลกที่เกิดขึ้นในปี 1978 นั้นปัจจุบันยังดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติ
Create Date : 31 สิงหาคม 2553 |
|
2 comments |
Last Update : 31 สิงหาคม 2553 9:37:59 น. |
Counter : 7007 Pageviews. |
 |
|
|
| |
โดย: nokojang 6 กันยายน 2553 16:14:41 น. |
|
|
|
| |
|
 |
DR.TONGTIS |
|
 |
|
Location :
กรุงเทพฯ Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]

|
B.Sc. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1974-1978. M.D. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1979-1980. Diploma Board of Obstetrics and Gynecology. Chulalongkorn University, Bangkok Thailand 1981-1983. Postdocteral Fellow Training. Queen's Mother Hospital, Glasgow Scotland. Postdocteral Fellow Training.King's College Hospital, London. UK. Postdocteral Fellow Training. Department of Obstetrics and Gynecology and Department of Radiology. John Hopkins Hospital, John Hopkins University.
|
|
|
ตอนนี้ทำ IVF เหมือนกัน ใส่ตัวอ่อนเป็นวันที่ 5 แล้วยังไม่มีอาการใดๆ เลย
ไว้รอไปเช็คฮอร์โมนวันที่ 16 นี้แล้วค่ะ