ความไม่เห็นแก่ตัวเป็นบรมธรรม
โดย ท่านพุทธทาสภิกขุ
v ความไม่เห็นแก่ตัว คือมีตัวของธรรมชาติ-ของธรรมะ ของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
ไม่ใช่ของกิเลส-ตัณหา-อุปทาน ซึ่งเป็นผลิตผลของอวิชชาอีกต่อ
v ต้องการระดับทั่วไป เพียง Non Selfish (ไม่เห็นแก่ตัว) ไม่ถึง Selfless (ไม่มีตัวตน) ซึ่งเป็นพระอรหันต์ ไม่เห็นแก่ตัวแต่เห็นแก่ธรรม มีความรู้สึกเป็นตัวเดียวกันทั้งโลก
v เป็น สชญ.ที่เดินมาถูกทางของโพธิ แทนที่จะไปทางกิเลส : สร้างตัวมายาขึ้น ธรรมชาติที่เดินถูกทางของธรรมชาติ
v คำนี้กำกวม : เห็นแก่ตัว คือ อยากดี แต่ดีชนิด ทำนาบนหัวผู้อื่น ผิดจากคำว่า รักตัว ,สงวนตัว สร้างตัว ถ้าอยากดีชนิดให้ทำแต่ดี มิใช่ หกต. (เห็นแก่ตัว)
v ทุกศาสนาสอนไม่เห็นแก่ตัว : แต่ถูกนำไปใช้ในฐานะเครื่องมือหรือที่ตั้งแห่ง หกต. กระทั่งเห็นแก่ตัวระหว่างศาสนา
v ความเห็นแก่ตัวมีพิษ : กัดเจ้าของก่อน,แล้วกัดผู้อื่น,แล้วทำลายสังคม,กระทั่งโลก
v ทำไมความเห็นแก่ตัวกลับกัดตัว : เพราะมันเป็นตัวของอุปาทานที่มาจากอวิชชา ความรักตัว(ด้วยอวิชชา)กลับกัดตัว
v เห็นแก่ตัวที่ไหน มีความขัดแย้งที่นั่น : ขัดแย้ง คือ อุปัททวะ,กัดวินาศ,ขัดแย้งแม้กะตัวเอง,ของรักของตัวเอง
v เป็นที่ตั้งแก่ตัณหา-มานะ-ทิฎฐิ : ที่ประชุมแห่งวิกฤตกาล, นอก-ใน รอบด้าน, สร้างปัญหา,ไม่อาจขจัดปัญหา
v ทำให้ลืม มองไม่เห็นข้อเท็จจริง : เป็นมนุษย์ด้วยกัน ชาติเดียวกัน
v สัตว์มีเท่าเดิม : มนุษย์มีเพิ่มขึ้นตามความเจริญ(ทางวัตถุ)ที่กำลังมี ใครเห็นแก่ตัวน้อยกว่าคิดเอาเอง
v ในโลกปัจจุบัน : ทุกหนแห่งเต็มไปด้วยภาพ หรือ สัญญลักษณ์แห่ง หกต. แม้นในที่ประชุมระหว่างชาติ-แม้ศาสนา
v ให้เกิดแม้แต่อุบัติเหตุที่มิได้เจตนา, เพราะมันทำให้สะเพร่า-หยาบหวัด-ขาดสติ
v วิกฤต แม้ พอแม่/ลูก ผัว/เมีย ศิษย์/ครู ลูกจ้าง/นายจ้าง เพื่อน/เพื่อน รัฐ/ประชาชน รัฐ/ฝ่ายค้าน ผู้ปกครอง/ผู้ใต้การปกครอง
v มันทำลายความซื่อตรง จงรัก สามัคคี กตัญญู ความรับผิดชอบ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี เกลียดธรรม
v มันทำลายสาธารณะประโยชน์-ทรัพย์ส่วนรวม ทรัพยากรธรรมชาติ-ทำลายโลกของธรรมชาติ ทำลายตัวเองโดยไม่รู้สึก
v ตรงกันข้ามจากความหมายของคำอริยเมตไตรย หรือมิตรภาพ จึงมี่มีคำว่า ชาติ
v ถ้ามันจะจับกลุ่มกัน ก็มีแต่ร่วมกันปล้น ร่วมกันทำลายผู้อื่นเพื่อประโยชน์ร่วมกัน
v มันมาจาก อหังการมมังการมานานุสัย มีรากฐานอยู่บน อัสมิมานะ ที่ละแล้วสุขสูงสุด หรือเป็นอรหันต์ เราเอาแค่สัตบุรุษ-สุภาพบุรุษในความหมายธรรมดา
v ในฐานะเป็นบรมธรรม,ในความหมายของนิพพาน & อหิงสา แม้อตัมมยตา ศรีอารยเมตไตรย
v ปัจจัยหรือรากฐานแห่ง สชญ. แห่งการอยู่กันเป็นพวก รักกัน ร่วมแรงกัน ช่วยกันในสิ่งที่เพื่อนทำไม่ได้ :- ลูกไก่จิกเห็บ ลิงหาเหา ผึ้ง,ปลวก,มดไม่มีสมาชิกที่เกี่ยงงอน สุนัขแมวไม่แย่งของที่ตัวอื่นถือเอาแล้ว,เว้นไก่
v อุปสรรคที่เขาไม่เห็นด้วย :-
ก. ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ก้าวหน้า-สะสม
ข. ไม่เห็นแก่ตัว ศัตรูรุกราน
ค. ไม่เห็นแก่ตัว ผิดปรกติมนุษย์
ง. ไม่เห็นแก่ตัว ไม่รักชาติ ฯลฯ
v ธรรมิกสังคมนิยม ธรรมิกอะไรก็ตามมีรากฐานอยู่ที่ความไม่เห็นแก่ตัว
v ใจจืด-ใจแคบ เพราะเห็นแก่ตัว :-
-นอนเสียดีกว่าไปช่วยมัน
-กระทั่งนอนเสียดีกว่าช่วยตัวเอง
-ดีกว่าจะช่วยล้างถ้วยจาน ฯลฯ ถูเรือน
v การศึกษาในโลกปัจจุบัน ไม่ช่วยให้กำจัด หกต. แถมส่งเสริมหรือเป็นที่ตั้ง หกต.ไปเสียอีก.
Create Date : 10 มกราคม 2550 |
|
0 comments |
Last Update : 10 มกราคม 2550 12:56:19 น. |
Counter : 1463 Pageviews. |
|
 |
|