นานๆเขียน

ไม่มีวันสร้างหนังที่ดีได้จากบทหนังที่เลว

เป็นคำที่ได้ยินได้ฟังจากมานาน สำหรับคอหนัง เพราะบทหนังคือส่วนสำคัญที่สุดของหนังแต่ละเรื่อง ต่อให้โปรดักชั้นของหนังไม่ดี ดาราไม่ดัง เล่นได้ไม่ดีพอ แต่ถ้าบทหนังดี สื่อให้คนดูเข้าใจ แกนของหนังได้ หนังเรื่องนั้นก็จัดอยู่ในขั้นพอใช้แล้ว เพราะประสบความสำเร็จในขั้นต้น สื่อสารกับคนดูได้ การแสดงของนักแสดง โปรดักชั่นที่สวยงาม หรือเพลงประกอบอื่นๆ มันเป็นส่วนเสริมสร้างความสมจริง สร้างความประทับใจเท่านั้นมันไม่ใช่แกนหลักของหนัง บทที่ดี จึงเป็นแกนที่แท้จริง

     ถ้าหากเรากำลังสร้างหนังเรื่อง ประชาธิปไตย แล้ว

    บทหนังก็เหมือนหลักการประชาธิปไตย ถ้าหลักการดีโอกาสที่เราจะได้หนังที่ดีออกมาก็สูง แต่ถ้าองค์ประกอบอื่นๆ ไม่ดีพออย่างน้อยมันก็ออกมาเป็นหนังที่พอใช้ หนังที่สื่อสารออกมาถึงเสรีภาพของคนในสังคมประเทศที่จะแสดงออกถึงสิทธิเสียงในการเลือกตัวแทนของเขาทำงานบริหารประเทศ และออกกฏหมาย

   แต่ถ้าเราทำหลักการให้ไขว้เขว ออกไปจากหลักประชาธิปไตยแล้ว เท่ากับเรากำลังสร้างหนังจากบทห่วยๆ ต่อให้ได้นักแสดงดี โปรดักชั่นอลังการงานสร้างแค่ไหน หากแสดงออกมาถึงความไม่เท่าเทียมของคนในสังคม สิทธิเสรีภาพที่เหลื่อมล้ำกันแล้ว เราคงเรียกหนังนั้นว่าหนังที่ดี หรือพอใช้คงไม่ได้ เพราะมันสื่อสารข้อมูลที่ผิด กับเป้าหมายของตัวหนังออกมา

   นอกจากเราจะเปลี่ยนชื่อหนังนั้นเป็นชื่ออื่น ที่ไม่ใช่ ประชาธิปไตย




 

Create Date : 20 ธันวาคม 2556   
Last Update : 2 กรกฎาคม 2557 16:54:14 น.   
Counter : 855 Pageviews.  

ศาลรัฐธรรมนูญ กับมาตรา 68

"มาตรา 68 บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้

ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการ ดังกล่าว

ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสองศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้

ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองตามวรรคสาม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบในขณะที่กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งดังกล่าว"


   ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ เองได้ไหม? ถ้าอ่านตามตัวกฏหมายให้ดี จะเห็นว่าตัวรัฐธรรมนูญใช้คำว่า

"และ ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย"

ถ้าจะอ้างว่าจะใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ในรัฐธรรมนูญจะต้องเขียนเป็น

"หรือ ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย"

   การระบุให้การยื่นคำร้องต้องผ่าน อัยการสูงสุด ก็เพื่อเป็นการกลั่นกรอง ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องก่อน จึงยื่นคำร้องได้ การอ่านและตีความวรรค 2 นี้ ต้องอ่านให้ครบจะมาอ่านตีความเป็นท่อนๆ ไม่ได้

ถ้าตีความเป็นท่อนๆ ตามที่ศาลใช้อ้างในการรับคำร้องแล้ว หากมีการยื่นคำร้องไปที่ อัยการสูงสุดแล้ว อัยการสูงสุดตรวจสอบแล้วมีมูลความจริง จะต้องทำอย่างไรต่อ ถ้าเป็นไปตามนั้นก็คือ อัยการสูงสุดไม่ต้องทำอะไรต่อ เพราะหมดกระบวนการที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้แล้ว เพราะการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่กระบวนการของอัยการ ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยตัดท่อนนี้ไว้เป็นกระบวนการแยกต่างหากเป็นส่วนของผู้ทราบเรื่อง จะไปร้องต่อศาลเอง แล้วจะมีการเขียนในส่วนของอัยการสูงสุดไว้ทำไม ????

หรือจะตีความว่า ต้องทำทั้ง 2 กระบวนการไปพร้อมๆกัน คือยื่นต่ออัยการสูงสุดก่อน และยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญด้วย ก็ต้องมีการเขียนกฏหมายรองรับขั้นตอนของอัยการสูงสุดหลังตรวจสอบแล้วส่งข้อมูล ต่อเไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้อย่างไรด้วย การที่ไม่มีการระบุ กระบวนการต่อไปของอัยการ ก็เท่ากับการเขียนส่วนของ อัยการสูญเปล่าไปอยู่ดี

การอ่านข้อกฏหมายในมาตรา 68 วรรค 2 จึงต้องอ่านแบบเรียงรวดเดียวไปกันหมดไม่อาจ อ่านแบบแยกตีความเป็นท่อนๆได้

"และยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย" เป็นกระบวนการต่อเนื่องของอัยการสูงสุดที่จะต้องกระทำหลังจากตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว การรับคำร้องใดๆ ตามมาตรา 68 จึงต้องรับคำร้องผ่านอัยการสูงสุดเท่านั้น




 

Create Date : 24 พฤศจิกายน 2556   
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2556 12:58:52 น.   
Counter : 518 Pageviews.  

ปราสาทพระวิหาร เข้าใจยาก อะไรกันนักกันหนา

ก่อนคำตัดสินศาลโลก ออกมาเมื่อวันที่ 11 พ.ย. และหลังคำตัดสินออกมาแล้ว สังคมออนไลน์ ขุดข้อมูล ถกเถียงกันมากเรื่อง ปราสาทเขาพระวิหาร ฟังนักวิชาการ อาจารย์ทางกฏหมายระหว่างประเทศที่พยายาม อธิบายที่มาที่ไป และความหมายของคำตัดสินแล้ว ก็ชัดเจนพอสมควร แต่ทำไมยังมีคนไม่เข้าใจ?????

   จะเรียกการพิจารณา ครั้งนี้ว่าคำตัดสิน ก็คงจะไม่ถูกนัก เพราะคำตัดสินในเรื่องนี้ มันมีมาตั้งแต่ปี 2505 แล้ว การขอให้ศาลพิจารณาครั้งนี้ เป็นเรื่องของการขอให้ศาล ชี้ขาดขยายความในคำตัดสินเดิมมากกว่า

   หนึ่งในข้อถกเถียงกันในโลกออนไลน์ตอนนี้คือ

เราถอนตัวไม่รับรอง ธรรมนูญศาลระหว่างประเทศแล้ว ทำไมต้องไปสู้คดีในศาลอีก?? อาจารย์ทางกฏหมายได้อธิบายไว้ว่า คดีนี้เป็นคดีเดิมตั้งแต่ปี 2505 ที่ขณะนั้นไทยได้ลงนามรับรองอำนาจของศาลระหว่างประเทศ แม้ภายหลังไทยได้ถอนตัว ไม่รับรองอำนาจศาลแล้วก็ตาม แต่คดีที่เกิดขึ้นก่อน การถอนตัวย่อมมีผลผูกพัน ให้ไทยต้องปฏิบัติตาม
แต่การฟ้องร้องคดีใหม่ ไทยไม่จำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการของศาลระหว่างประเทศก็ได้

   แล้วไทยจำเป็นต้องปฏิบัติ ตามคำสั่งศาลระหว่างประเทศไหม ??  ไม่จำเป็น แต่ปฏิบัติตามดีกว่า เพราะคดีที่เข้าสู่การพิจารณา คือเกิดกรณีพิพาทขึ้นแล้ว ศาลจึงทำหน้าที่ตัดสินหรือไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การปฏิบัติตามช่วยให้ข้อพิพาทนั้นระงับไป หรือ หมดไป แต่ประเทศคู่ขัดแย้งอาจจะใช้แนวทางตามคำสั่งศาล หรือใช้แนวทางอื่นเพื่อระงับข้อพิพาทก็ได้ แต่การดื้อแพ่งไม่ปฏิบัติตาม และไม่พยานยามหาทางระงับข้อพิพาทดังกล่าว ทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่เสียหายในเวทีโลก ในฐานะประเทศที่ไม่เคารพกติกาสากล และขาดความน่าเชื่อถือในเวทีเจรจาระดับประเทศ

   ไทยเราสงวนสิทธิการเรียกร้อง เขาพระวิหารคืน กัมพูชาไม่มีสิทธิ นำเขาพระวิหารไปขึ้นเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียว จริงหรือ ?? ไทยสงวนสิทธิไว้ก็จริง แต่คำสงวนสิทธินั้น ต้องยื่นหลักฐานเพื่อขอรื้อคดีมาพิจารณาใหม่ภายใน 10 ปีหลังคำพิพากษา การสงวนสิทธิของฝ่ายไทย จึงสิ้นสุดลงในปี 2515 ปราสาทพระวิหารจึงเป็นของกัมพูชาโดยสมบูรณ์แล้ว และการชี้ขาดในครั้งนี้(2556) เป็นการตัดสินบนพื้นฐานคำตัดสินเดิมในปี 2505 ไม่ได้สามารถ ตัดสินเกินไปกว่าคำตัดสินในคดีเดิมได้ เป็นเพียงอธิบายชี้ขาด ในคำตัดสินเดิม จึงไม่สามารถสงวนสิทธิได้อีก

   ไทยได้เปรียบกัมพูชา เพราะเรายึดทางขึ้นเขาพระวิหารไว้แล้ว ?? กัมพูชาทำถนนคอนกรีต ขึ้นไปถึงตัวปราสาทแล้วในฝั่งกัมพูชา การเดินทางขึ้นไปชมสะดวกกว่าฝั่งไทย แม้จะไม่ได้อารมณ์เท่ากับการเดินขึ้นผ่านบันไดโบราณ แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรค จนทำให้กัมพูชาต้องมาง้อขอขึ้นทางฝั่งไทย

   กัมพูชา ขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก และทำแผนบริหารจัดการพื้นที่ฝ่ายเดียวได้หรือไม่ ?? ทำได้และทำไปแล้ว แต่การที่ทำร่วมกับทางการไทย น่าจะทำได้ดีกว่า เพราะพื้นที่ทับซ้อนรอบบริเวณปราสาท ถ้าพัฒนาร่วมกันจะทำให้ได้พื้นที่ในการพัฒนา มรดกโลกได้สมบูรณ์ยิ่งขี้น

  คำตัดสินในครั้งนี้ ไทย หรือ กัมพูชาได้ประโยชน์กว่ากัน ?? กัมพูชาได้ประโยชน์กว่าไทย เล็กน้อย อย่างน้อย ครั้งนี้ก็ยกตัวอย่างการแบ่งเขตแดนในทางทิศเหนือของปราสาท ว่าควรเป็นของกัมพูชา ตามลักษณะภูิมิประเทศ ทำให้กัมพูชาได้พื้นที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้กัมพูชาจัดทำแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาทได้ง่ายขึ้น แต่การยุติกรณีพิพาทระหว่าง 2 ประเทศถือว่าเป็นผลดีกับทั้ง 2 ประเทศ

   ประเด็นทั้งหมด ได้จากการฟังอาจารย์ทางกฏหมายอธิบายให้ฟัง ระหว่างนั่งฟังคำตัดสิน ทางโทรทัศน์ ซึ่งเข้าใจง่าย และตอบปัญหาข้อสงสัยทุกประเด็นที่กำลังถกเถียงกันตอนนี้ ซึ่งโทรทัศน์หลายๆช่อง ก็มีการเชิญอาจารย์ทางกฏหมายมาให้ความรู้ หรือสัมภาษณ์ สอบถามข้อสงสัยเกือบทุกช่อง ก็ให้สงสัยว่า คนไทยนอกจากอ่านหนังสืือน้อยแล้ว ความเข้าใจจากการฟังข่าวยังบกพร่องด้วยหรือเปล่า

  พื้นที่่ทับซ้อนที่ศาล ให้ทั้ง 2 ประเทศไปตกลงจัดการกันเอง จึงเป็นภาระที่ทั้ง 2 ประเทศจะต้องสร้างความชัดเจน เพื่อให้เกิดสันติภาพ ระหว่างกัน แนวโน้มที่ทั้ง ไทยและกัมพูชา จะยุติความขัดแย้งแนวชายแดนมีมากขึ้น แต่ความขัดแย้งกรณีเขาพระวิหาร กำลังทำให้ไทยกับไทยเริ่มจะรบกันเอง เพราะความคลั่งชาติ




 

Create Date : 12 พฤศจิกายน 2556   
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2556 15:33:46 น.   
Counter : 424 Pageviews.  

3 ปีผ่านไป ทำไมมันแย่กว่าเก่า

 ไม่ได้อัพบล็อกมา 3 ปีกว่าๆ สังคมโซเชียล เปลี่ยนไปจนหันมาหลบอยู่ในโลกของ เฟสบุ๊ค ย้อนกลับมาดูบล็อก ตัวเอง สำรวจความเป็นตัวเองเมื่อ 3 ปีก่อน เราเห็นความเปลี่ยนแปลงในโลกไซเบอร์ วันนี้กับวันนั้นต่างกันบ้างไหม ??????

   ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจาก เดิมเท่าไหร่ ยังคงเห็นความเชื่อผิดๆ และตรรกกะเพี้ยนๆ ในสังคมเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง สังคมแห่งการเสพสื่อ "แดกด่วน" การอ่านไม่เกิน 7 บรรทัด และความเชื่อโดยปราศจากเหตุผลรองรับ แต่มีความรุนแรงมากกว่าเมื่อ 3 ปีก่อนด้วยซ้ำไป จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสารบนโลกไซเบอร์ ย่อลงมาสู่โทรศัพท์และแท็บเล็ต การแชร์ข้อมูลผ่านปุ่มแชร์ปุ่มเดียว สำนึกต่อความรับผิดชอบในการกระจายข้อมูลลดลง

  น่าแปลกใจที่เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า คนเรากลับใช้ไม่คุ้มค่า กับความก้าวหน้านั้น การแสวงหาข้อมูล ข้อเท็จจริง ที่มีง่ายขึ้น ประสิทธิภาพของ search engine ที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความแม่นยำ การจับคู่ของขัอมูลที่คล้ายกัน หรือ การแปลภาษาที่ทำให้เราเข้าถึงข้อมูลที่หลากหลายที่มาได้ง่ายขึ้น แต่ึคนไทยกลับไม่ได้ใช้ประโยชน์ตรงจุดนี้


 กลับมาอัพบล็อก ด้วยการบ่น บ่น แล้วก็บ่น 

 คงได้กลับมาอัพ บล็อกมากขึ้น เพราะใน บล็อกยังแอบซ่อนตัวตนที่แท้จริงได้ ไม่เหมือนในเฟสบุ๊ค ที่เปิดเผยมากเกินไป เกรงใจ เพื่อนๆ คนรู้จัก ที่อาจจะรำคาญความเห็น ที่ไปกระทบใครหลายคน บล็อกก็เหมือนที่ระบาย ความอัดอั้นที่ ระเบิดใส่เฟสบุ๊คไม่ได้





 

Create Date : 12 พฤศจิกายน 2556   
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2556 1:54:35 น.   
Counter : 491 Pageviews.  

สังคมดัดจริต

หากมองการเมือง เหลืองแดง อย่างเป็นกลางแล้ว ก็รู้สึกถึง
สังคมดัดจริตที่คนไทย กำลังพยายามสร้างภาพสมานฉันท์ แบบดัดจริต
ปากบอกว่าสมานฉันท์ แต่กระทำตรงกันข้าม ไม่ว่าจะทำด้วยตัวเอง
หรือสนับสนุนให้คนอื่นทำเพื่อผลักให้คนเสื้อสีแดง ตกไปจากเวทีสังคม
และสงบปากสงบคำ เป็นคนชั้นสอง ที่ต้องยอมรับชะตากรรมในฐานะ
ผู้แพ้ทางการเมือง



ความสูญเสีย ของผู้ที่ใส่เสื้อสีแดง ไม่ว่าจะ
ทรัพย์สิน หรือชีวิต เป็นเพียงเศษขยะที่รัฐไม่เคยเอ่ยอ้างถึง ว่าจะมี
มาตรการเยียวยาใดๆ หรือแม้แต่การสืบสวนสาเหตุ ก็ทำแบบขอไปที
ซ้ำแกนนำรัฐบาลบางคนยังออกมาให้ข่าวเองด้วยซ้ำว่า คนนั้นยิง คนนี้
ยิงไม่ใช่ทหารยิง ก่อนจะมีการสอบสวน



การชุมนุมของคนเสื้อแดง ที่ผ่านมามีการทำผิกฏหมาย
ไม่ต่างจากที่คนเสื้อเหลืองจะต่างกันก็ตรงที่ บทสรุปคนเสื้อแดงโดน
ล้อมปราบจนกลายเป็นจราจล แต่คนเสื้องเหลืองเป็นม๊อบมีเส้น
ที่ทหารไม่ยอมเข้าปราบปราม แม้จะมีคำสั่งจากรัฐบาลแล้วก็ตาม
แต่ในด้านความผิดตามกฎหมายอาญาแล้วก็ไม่ต่างกันเลย ทำผิด
เหมือนๆกัน แต่สังคมไทย โดยเฉพาะในกรุงเทพดูเหมือนจะำพยายาม
ลืมเรื่องของคนเสื้อเหลือง และตอกย้ำแต่ความผิดของเสื้อแดง



เป็นสังคมที่ดัดจริต แสดงภาพของความสมานฉันท์ เสมอภาค ปรองดอง แต่ปากเท่านั้น



คดีความของคนเสื้อเหลือง กว่า 2 ปีแล้วที่ยังส่งฟ้องศาลไม่ได้
แต่คดีของคนเสื้อแดงกลับอยู่ในขั้นตอนรอส่งฟ้องศาล และจำคุก
ไปเรียบร้อยแล้ว ข่าวสาร คดีของเสื้อเหลืองไม่มีการประกาศความคืบหน้า
เหมือนจะพยายามทำให้ลืมๆกันไป แต่เสื้อแดง รัฐตีปี๊บทุกวัน



ทุกวันนี้ สังคมพยายามจะดัดจริต บอกว่าสมานฉันท์ แต่ไม่ให้
ความยุติธรรมที่เสมอภาคกัน ความสมานฉันท์ ก็จะไม่เกิด ที่มันสงบได้
ก็เพราะ เขาโดนอำนาจกดเอาไว้ไม่ได้สงบเพราะ สมานฉันท์ สามัคคี
ยอมรับในความคิดเห็นของอีกฝ่าย



        ยุติธรรมไม่มี สามัคคีไม่เกิดครับ


        อยากจะให้กฎหมายศักดิ์สิทธิจริง ต้องใช้บังคับกับทุกฝ่าย


        ไม่ใช่ใช้ทำลายคู่แข่ง แต่ละเว้นกับพวกพ้อง


ถ้ายังไม่แก้ไข ก็เหมือนกับซุกระเบิดเวลาไว้ รอว่าเมื่อไหร่ มันจะระเบิด




ปล. สังคมที่เตรียมไปโห่ไล่ นักล่าฝัน ที่คิดตรงข้ามกับรัฐบาล
คือสังคมสมานฉันท์แบบดัดจริตของแท้ ที่ไม่รู้จักแบ่งแยกเรื่อง
ความคิดเห็นทางการเมือง กับเรื่องการแสดงดนตรีออกจากกัน
การแสดงออกไม่ยอมรับอย่างสุภาพชนยังไม่มีกลับแสดงออก
ด้วยวิธีโห่ไล่ยิ่งแสดงภาพชัดเจนว่า ความสมานฉันท์ของคนพวกนี้
เป็นแค่



ลมที่ผายออกมาจากทางปาก ดมเองหอมเอง แค่นั้น 










Free TextEditor




 

Create Date : 13 กรกฎาคม 2553   
Last Update : 13 กรกฎาคม 2553 0:52:34 น.   
Counter : 573 Pageviews.  

1  2  

คนชอบเขียน
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




[Add คนชอบเขียน's blog to your web]