อุปกรณ์เสริมสำหรับ ผู้ป่วย Alz
แล้วเราก็เพิ่งรู้ว่าจริงๆๆคนดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์นี่ต้องรู้จัก ประดิษฐ์ หรือพลิกแพงของใช้ของคนปรกติให้เหมาะกับผู้ป่วยคะ
(อันนี้เราก็สอดส่ายหาของมาอำนวยความสะดวกมานานของเลยมามายพอสมควร ของที่ต้องการบางทีก็หาให้เหมาะสมไม่ได้ หรือไม่รู้จะใช้อะไรแทน อุปกรณ์อำนวยความสะดวกถ้า มีความเห็นเพิ่มเติม เรายินดีมากคะ ส่วนของที่เราคิดหรือหามาได้ ถ้าเพื่อนๆๆนำเอาไป apply ได้เราจะดีใจมากคะ) ปล. รูปเดี๋ยวไปค้นก่อนนะคะ ขอติดไว้ก่อนจ้า 1. ชุดเสื้อผ้า โจทย์คือแม่ยกแขนไม่ค่อยได้แล้วคะ แม่ค่อนข้างสะโพกใหญ่ เดิมให้ใส่เสื้อยืดกับกางเกงยืด ต่อมาไม่สามารถใส่ได้เพราะว่าหนึ่งแม่ยกแขนไม่ขึ้นเวลาใส่และถอดลำบากมาก และแม่จำวิธีใส่และถอดไม่ได้เสียแล้ว เราก็คิดว่าเอาไงดี อยากได้เสื้อที่ใส่แล้วหลวมๆๆๆ ใส่สบายๆๆๆๆ แบบสวยๆๆๆๆ .......................... ปิ๊งป่อง ชุดคลุมท้องคะ (ขอบอกว่าแต่ละชุดสวยมาก ไม่เหมือนชุดคลุมท้องเลยคะ) ![]() 2. พอหมดเรื่องชุดก็มีปัญหาว่าคนเป็นโรคนี้ ไม่สามารถกลั้นฉี่ได้ หรือว่าจะฉี่กระปิดกระปอย ดังนั้นกางเกงในไม่work คะ หรือไม่ให้ใส่ก็ไม่ได้คะ เอาคิด.................. ไปเดินซุปเปอร์คะ เห็นว่ามี แพมเพอร์ผู้ใหญ่ (ขอเรียกว่าแพมเพอร์นะคะ ติดยี่ห้อ แต่ไม่ใช่ยี่ห้อนี้หรอกคะ) ที่เป็นกางเกงใน อุแม๊ ทันสมัยจริงๆๆๆๆ หยิบมาเลยคะ เอามาลองใช้ดูว่าเป็นยังไง ราคาก็บาดเจ็บเล็กน้อย ชิ้นละประมาณ 30-45 บาทคะ วันหนึ่งใช้อย่างน้อย 5 ชิ้น (กลางวัน 3 ชิ้น กลางคืน 2 ชิ้น) พอใช้แล้วคิดว่าดี คราวนี้โทรไปทีบริษัท ขอซื้อทีละยกกล่องคะ เลยเป็นลูกค้าประจำกันตั้งแต่ตอนนั้นจนถึงปัจจุบัน ![]() 3. ที่จัดยา เป็นกล่อง มีช่องเช้า กลางวัน เย็น ของเราพิเศษหน่อยคะ วันนั้นไปเดินร้าน 60บาทเจอกล่องยา แบบจัดได้ 7 วัน วันละ3เวลา โชคดีจริงๆๆ เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะลืมเร็ว บางทีจำไม่ได้ว่ากินหรือยัง ดังนั้นเรื่องการกินยาสำคัญมาก ถ้าเราจัดยาเป็นวัน และแยกย่อยเป็ยมื้อจะรู้ได้ทันทีคะ ![]() 4.เตียงนอน เดิมทีแม่เรานอนชั้น 2 คะ แต่พอแม่เริ่มอาการไม่ค่อยดี เราเลยให้แม่มานอนชั้นล่างแทนคะต้องจัดห้องและซื้ออุปกรณ์ให้ใหม่ ห้องนั้นจะต้องที่มีห้องน้ำใกล้ๆๆ เพื่อความสะดวก ตอนแรกเตียงเราก็คิดว่าจะซื้อเป็นแบบของโรงพยาบาล ที่เป็น remote ยกขึ้นยกลง โอ้ ราคามันช่างบาดใจอะไรเช่นนี้แถมยังไม่มีความสวยงามเลย ตอนนั้นยังตัดสินใจไม่ได้ คุณป้าหมอที่แสนอารีของเราก็ขี่ม้าขาวมาช่วยอีกแล้วคะ บอกว่าป้าหมอเห็นเตียง+ที่นอน เพื่อสุขภาพมาขาย มีตั้งแต่ขนานแคบไว้ดูทีวี ไซด์3.5 ฟุตก็มี ให้แบบวิริสมหรา มากมายให้ไปดูเอาเองคะ เราก็รีบไปเลยตอนนั้นมีโชว์อยู่ที่ MBK จำได้แม่นคะ เราไปดูแล้วก็เลือกที่มัน 3.5 ฟุต เพื่อความสะดวกในการซื้อผ้าปูเตียงคะ ฟูกนิ่มดีคะ น่าจะทำมาไว้เพื่อสุขภาพ เพราะราคามันเพื่อสุขภาพมากกกกก แต่ขอบอกว่าดีคะ เตียงมันเป็น remote ไว้ปรับส่วนบน และก็ส่วนล่างเลยคt ดูสวยดี คงทน design เยี่ยม (ใช้มาต้องนานยังดีเยี่ยมเหมือนเดิมคะ) ![]() 5.รถเข็น อันนี้เราเลือกผิดมาแล้วจึงอยากจะบอกว่า ขอให้เลือกอันที่เป็นล้อเข็นขนาดเล็กนะคะ เพราะอันแรกเราดันซื้อรถเข็นอันใหญ่ กว้างขวาง แล้วก็ล้อใหญ่มากๆๆๆๆ มันไม่ได้ประโยชน์เลยคะ เพราะแม่เลยช่วยหมุนล้อเองไม่ได้อยู่แล้ว และเวลาที่พาแม่ไปเที่ยวนั้นรถเข็นขอแม่ช่างกินเนื้อที่จริงๆๆๆ ดังนั้นเราเลยจัดการเปลี่ยนมันซะไปซื้อมันใหม่ที่ขนาดย่อมลง และก็ล้อเล็กลง โอ้ชิวิตการไปเที่ยวมีความสุขจริงๆๆคะ ![]() ตัวเก่าคะ ตอนนี้เอาปบริจาคแล้วคะ ตัวใหญ่มากกกก ล้อก็ใหญ่ เกะกะ ![]() 6. รองเท้า หาค่อนข้างยากคะ เมื่อถึงจุดหนึงผู้ป่วย รวมถึงแม่เราจะเดินลำบากไม่ค่อยยกขาคะ (แต่ต้องให้เดินนะคะ อย่าท้อ ไม่อย่างนั้นจะไม่ยอมเดินตลอดไปคะ) แรกทีเดียวเราไปซื้อรองเท้าดอชมุน (รองเท้าเพื่อสุขภาพคะ) ให้แม่คะกะว่าเริด ไม่ลื่น แต่คนที่ใช้รองเท่ายี่ห้อนี้จะรู้ว่า รองเท้ามันหนักเหลือเกิน พอแม่เราใส่ปั๊ปไม่ยอมก้าวขาเลยคะ คู่นั้นเลยเป็นม้ายขันหมากคะ ไม่เป็นไรเอาใหม่ หาไปหลายคู่จนมาเจอคู่ในปัจจุบันคะ (ไม่เกี่ยวเรื่องยี่ห้อนะคะ ให้ผู้ป่วยใส่สบายเดินดีที่สุดก็พอคะ อ้อท่ำคัญรองเท้าควรมีน้ำหนักเบา ใส่สบายเท้า แล้วก็ไม่ลื่นนะคะ) เมื่อเจอแล้วกลัวจะหาไม่ได้อีก เลยซื้อแบบเดียวกัน 3 คู่ 3สีเลยคะ 7. เรื่องฟันก็สำคัญนะคะ อย่าละเลย เพราะผู้ป่วยจะเริ่แปรงฟันไม่เป็น หรือไม่สะอาดคะ ควรพาไปพบหมอฟัน (ที่รู้จักจะดีมาก) เพื่อดูว่าเป็นฟันผุหรือไม่อย่างไร ถ้าใครมีฟันปลอมที่ถอดได้แนะนำให้ไปทำเป็นแบบถาวร เพราะอันตรายสำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์มากกๆๆๆๆ ม่เราเคยไปรักษารากฟันคะ ใช้เวลาทำ 10 ครั้ง (ทรมานคนทำ ทรมานหมอฟัน เป็นที่สุด เพราะแม่ไม่สามารถเข้าใจในสิ่งที่หมอถาม แล้วก็ไม่ทำตามหมอทุกประการคะ) พอทำเสร็จคุญหมอฟันก็แนะนำให้ใช้แปรงสีฟันไฟฟ้าเพื่อความสะอาดในช่องปากคะ (อันนี้หาซื้อง่าย) ส่วนยาสีฟันเราเอาอันที่กินได้ของเด็กมาให้แม่แปรงคะ เผื่อแม่ชอบรสชาดแล้วจะกินมันลงไปก็ไม่เป็นไร 8. เรื่องตาก็สำคัญ แม่เราสายตาสั้น แต่ไม่รู้ว่าปัจจุบันสั้นเท่าไรจะได้ตัดแว่นถูก แนะนำให้ไปหาจักษุแพทย์คะ ท่ายจะตรวจตาโดยไม่ต้องถามผู้ป่วยว่าเห็นชัดไหม และถือโอกาศตรวจความดันลูกตาด้วยคะ และเผื่อเรื่องต้ออีกต่างหากคะ 9. การอึคะ เมื่อผู้ป่วยอัลไซเมอร์ไม่ค่อยได้เดิน อาหารก็ไม่ค่อยมีกาก ดังนั้นจึงไม่ค่อยอึคะ คุณหมอมักแนะนำให้กินมะระคะ หรือเพิ่มกากอาหารให้กินผักพิ่มขึ้น แต่แม่เราไปจนถึงจุดหนึ่งพี่เลี้ยงแม่ก็ ใช้ยาสวนทวารคะ อาทิตย์ละ 2 วัน ถ้าวันไหนแม่โดนสวนหละก็มีอาการหน้าบูด รมณ์บ่ จอยนานทีเดียวคะ 10. ครีมอาบน้ำ เรื่องนี้ก็สำคัญนะคะ เพราะคนแก่จะผิวค่อนข้างแห้งควรทาครีมบ่อยๆๆคะ แต่ครีมอาบน้ำก็สำคัญนะคะ ตอนนี้แม่เราใช้ ครีมอาบน้ำที่เป็น ออย คะสำหรับผิวที่แห้งมากก (ยี่ห้อนี้ดีจริงๆๆคะ ใช้แล้วผิวเนียบคะ เสียดายไม่มีขายเป็นแบบ แกนลอนยักษ์) ![]() อ้อ ยังมีหมวกอาบน้ำคะ เหมือนกับของเด็กไม่ให้น้ำเข้าตา เนื่องจากผู้ป่วยอัลไซเมอร์มักกระพริบตาไม่ทัน ทำให้เวลาอาบน้ำแล้วตาจะแดง + อาการตกใจเวลาสระผม เราก็ apply เอาหมวก plastic กันแดดมาใช้คะ โดยตัดตรงครอบศรีษะออก ที่สำคัญหมวกที่เราจะเอามา apply หรือปรับความกล้างได้ด้วยนะคะ ![]() 11. แผ่นกันลื่น เราควรระวังเรื่องล้มของผู้ป่วยโดยเฉพาะในห้องน้ำคะ อันตรายจริงๆๆๆ อันนี้เราคิดอยู่นานคะว่าจะทำอย่างไรไม่ให้ลื่น ไม่อยากให้มีน้ำขัง ตีโจทย์ไม่แกสักทีคะ เริ่มก็เอาผ้ายางกันลื่นมาปู แม่ไม่ยอมเดินคะ และที่ระหวางผืนจะไม่ต่อกันเพราะมันเป็นจุ๊บยาง ถ้าใช้แล้วไม่ล้างน้ำก็จะเป็นเมือกยิ่งลื่นไปใหญ่คะ จนเมื่อปีที่แล้วนี่เองคะ เราไปเจอไม้ปูพื้นที่เต้าไว้จัดสวนคะ เป็นแบบ 1ฟุต * 1ฟุ๊ต เราลงมือประกอบเองเลยนะคะ ภูมิใจมากคะ ไม่ลื่น ไม่มีน้ำเจิ่ง happy สุดๆๆๆคะ ![]() 12. เก้าอี้นั่งโถส้วม อันนี้ก็หามานานคะ เพราะเราพาแม่เที่ยวต่างจังหวัดบ่อยเหมือนกันตอนลูกยังไม่เข้าโรงเรียน ช่วง happy trip แม่จะมีปัญหาตอนเข้าห้องน้ำคะ ทั้งระหว่างทางที่ต้องเข้าปั๊ม (น้อยรายที่จะมีห้องให้กับคนแก่ หรือคนพิการ ห้องพวกนี้จะใหญ่หน่อย แต่ที่สำคุญเรากลัวไม่สะอาดคะ) หรือบางทีในโรงแรม (ที่เป็นอ่างอาบน้ำ แม่ไม่สามารถข้าวมไปยืนในอ่างได้) จนมาได้พบกับเก้าอี้ตัวนี้ มันพับได้พกพาสะดวกคะ แค่กางออกแล้วนำไปคล่อมกับโถส้วมเป็นอันเสร็จคะ แถมสามารถปรับความสูง ต่ำได้อีกนะคะ สุด perfect จริงๆๆ นอกจากใช้ปลดทุกข์ ยังapply ไว้นั่งอาบน้ำได้อีกด้วยคะ ตอนเก็บคะ ประหยัดที่ แล้วสามารถนำไปเที่ยวกับเราได้คะ ![]() ตอนจะใช้งาน ![]() 13. Jelly seat เป็นเยลลี่ข้างใน เอาใว้กันเวลาเป็นแผลกดทับคะ เพราะเวลาพาแม่ไปเที่ยวต่างจังหวัดต้องนั่งนานตัวนี้จะช่วยได้มากทีเดียวคะ ![]() 14. เก้าอี้ sofa เป็นพวกคล้ายๆๆ lazy boy เอาไว้ให้นอนยืดขาตอนกลางวันคะ เพราะนั่งห้องขานานๆๆขาจะปวดคะ ![]() 15. ซีดีเพลง แม่เราชอบเสียงน้ำตกคะ เราเลยไปซื้อเสียงน้ำตกมาให้แม่ฟัง พวกนี้จะเป็นแบบ healing song อะไรทำนองนั้นคะ ฟังสบายคลายกังวล นอนหลับดี และก็มีพัฒนาขึ้นมาอีกตามพี่เลี้ยงคือฟังหมอลำ แบบ ขำๆๆ ที่เป็นเพลงออกแนวตลกๆๆ หรือทำลึ่งๆๆ นิดหนึ่ง แม่จะชอบมากคะ อันนี้แล้วแต่บุคคลคะ 16. อุปกรณ์เพิ่มความงาม เครื่องแต่งหน้า + ที่ทำผมพี่เลี้ยงแม่ชอบ แต่งหน้า และ ทำผมให้แม่คะ คงเหมือนเล่ยแต่งตัวให้ตุ๊กตามั๊งคะ ขอบอกว่าผู้ป่วยก็มีจิตใจนะคะ แต่งให้สวยเถอะคะ ทั้งเราและผู้ป่วยจะสดชื่น ที่ม้วนผมไฟฟ้า กับที่นวดหน้า ![]() กระเป๋าแต่งหน้า ![]() เครื่องเพชรชุดใหญ่.... อัญมณีโคลลิ่งจงเจริญ ![]() 17. รถ + lift อันนี้ต้องขอบคุณ sponsor คุณพ่อคะ ติดแล้วทำให้แม่ขึ้นลงรถได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว เพราะมันเป็น ไฮครอลิก ยกขึ้นเลยคะ ![]() 18. ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จะมีการกิน + การกลืนที่ถดถอยลงคะ จากที่กินข้าวสวยได้ ก็ต้องเปลี่ยนเป็นข้าวต้ม จากนั้นก็พัฒนาเป็นโจ๊ก แล้วก็ปัจจุบันแม่เรากินอาหารปั่นคะ แต่ยังไม่ถึงกับใช้ feed โดยสายยางคะ แค่ปั่นแล้วก็ป้อนโดยช้อน ถ้าไม่ยอมอ้าปากบางครั้งก็ใช้ สลิงค์ดูดคะ อาหารของผู้ป่วยอัลไซเมอร์น่าจะคล้ายๆๆกันนะคะ คือรสชาดออกไปทางหวาน (แต่ถ้าเป็นขนมหวานถึงไหนถุงกันคะ เช่น โอนิแปะก๋วย (ให้กินเฉพาะเผือกกับแปะก๋วยคะ เคี้ยวไม่หยุด ไม่ต้องบดนะคะ หรือจะเป็นรังนกแปะก๋วย ของชอบจริงๆๆ) เอาหารหารมาปั่นแล้วก็ใส่ ซีรีแล็กรสผลไม้รวมคะ (หอมหวานน่ากินจริงๆๆๆ บางสูตรพี่เลี้ยงแม่บอกให้ใส่กล้วยลงไปปั่นด้วยจะได้อึง่ายๆๆ) ของแม่เราตอนนี้ใช้อาหารปั่นเป็นหลัก เหมือนทำอาหารให้เด็กคะ แล้วมีเทคนิกให้อร่อยเพิ่มขึ้นโดยใส่ซีรีแลก ลงไป โดยเฉพาะรสผลไม้รวมหอมมากกกก ![]() อุปกรณ์ 1.เก้าอี้ในห้องน้ำสีส้ม เราซื้อจาก ร้านขายยา ฟาสซิโน ค่ะ ราคาประมาณ 3 พันกว่าๆๆๆ จำไม่ได้แล้วค่ะ 2.เตียงที่ใช้ เราซื้อที่ mbk ตอนมี show อะคะ จำไม่ได้ ไม่แน่ใจว่า แต่เราเคยเห็นเค้ามาออกงาน ตามศูนย์ประชุมสิริกิต นะคะ ราคา ก็ตามขนาดค่ะ ของเราเป็นเตียง 3 ฟุต เพราะจะได้หาผ้าปูเตียงง่ายๆ ราคาจำไม่ค่อยได้แล้วค่ะ น่าจะประมาณ 30000-40000 ค่ะ เราขอให้เค้าทำที่กั้นเตียงให้ด้วย (มันเป็นเตียงเพื่อสุขภาพเลยแพงนิดหนึ่ง) เบาะทำมาจากยางพารา ค่ะ แล้วก็ สามารถ ยกได้ทั้งหัว แล้วก็ ขา ค่ะ โดยระบบ remote //www.appboard.com 3. Jelly Seat หา ซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์การแพทย์ทั่วไปคะ 4.รถตู้เรามาทำ ระบบ ไฮโดรลิกเองค่ะ มีให้เลือก 2 แบบ คือแบบที่เราทำ (เค้าว่าเป็นของ ญี่ปุ่น) กับ อีกแบบที่คนไทยทำคือ พอยกลงมาก้สามารถเข็นเป็นรถเข็นได้เลยค่ะ (ก็ดูสะดวกดีค่ะ) ค่าทำ เราจำไม่ได้แล้วค่ะ จำได้แต่ว่า 250,000 up ค่ะ แต่เราขอบอกว่า ถ้าเราสามารถที่จะทำได้ ทำเถิดค่ะ เพราะมันสะดวกจริงๆๆ เราสามารถพาท่านไปกับเราด้วยความสะดวกสบาย ท่านก็สะดวกด้วย (ถ้าเที่ยบกับท่านที่เลี้ยงดูเรามา แล้วเราสามารถทำตรงนี้ได้ มันน้อยมากกค่ะ) ที่ทำเก้าอี้ไฮโดรลิกในรถ มีหลายบริษัทคะ แต่ที่ดูครั้งที่ทำ มี 2 บริษัท นะคะ เราเลือก อันแรกคะ 1. WAKO SUPER SEAT LIFT //www.rrsk-wako.com/van/van.html 2. SC Auto Seat //scautoseats.com/welcab/TOYOTAVANTURY วิธีเลือกศูนย์ดูแลผู้ป่วย
จากที่เราต้องหาพี่เลี้ยงให้แม่นะคะ
เราหาจากหลายศูนย์คะ แต่ละศูนย์น้องๆๆ ก็มาอยู่ไม่เกิน 2 ปีคะ ไม่รู้ทำไมเหมือนกัน ![]() เราหามาเกิน 5 ศูนย์แล้วคะ มีข้อคิดดังนี้นะคะ 1 เลือกศูนย์ที่มีคนแนะนำ หรือใช้บริการมาก่อน ของเราลองเลือกจากศูนย์ที่เราจ้างเป็นพี่เลี้ยงก่อนคะ 2 เด็กในศูนย์เดียวกันไม่จำเป็นต้องดีเหมือนกันหมด ขอให้อดทนแล้วก็ค่อยๆๆเลือกจนถูกใจคะ ไม่มีควรรีบ หรือเกรงใจน้องนะคะ เพราะคนที่เค้าต้องดูแลคือ พ่อ แม่เราคะ 3 เท่าที่เราสังเกตุ ยิ่งเงินเดือนมาก แปลว่ามีประสบการณ์มาก แต่อาจเรื่องมากกกกก แต่ก็ดีคะ (มีที่ไม่ดีคือ ชั่วโมงการบินสูง อาจอู้งานได้ง่าย) 4 เราควร set ระบบตรวจสอบของเราให้ดีก่อนคะ คิดว่าคนแก่ (คุณพ่อ หรือคุณแม่) เป็นเด็กเล็กๆๆๆที่ไม่สามารถฟ้องเราได้เมื่อมีคนแกล้ง ดังนั้นเราอาจหาคนประกบ โดยอย่าให้คนป่วยอยู่ในห้องกับคนดูแล ลับตาเกินไปคะ ถ้าที่บ้านมีคนทำงานบ้าน หรือมีญาติอาศัยอยู่ให้เค้าคอยเป็นหูเป็นตาให้ ของเราโชคดีคะ เราเปิดเป็นร้านขายของ แล้วให้เอาแม่มานั่งในร้านด้วยมีคนมากมาย สบายใจคะ แต่ถึงกระนั้น น้องคนดูแลก็แอบนอนเป็นประจำ (จริงๆๆ ก็นอนให้เห็นโต้งๆๆๆ เลยคะ แต่ว่างานตอนนั้นเสร็จแล้วเลยไม่ว่าอะไร) หรือถ้าไม่มีใคร ก็ควรติดตั้งกล้องวงจรปิดคะ ไว้ตรวจสอบ และดูคะ 5 ถ้าเรื่องกินยา สำคัญ เราควรหากล่องยาที่จัดได้ อย่างน้อย 1 อาทิตย์ ให้น้องเค้าจัดเพื่อกันลืมเวลาให้ยา และถ้าคุณหมอให้ยาประเภทกล่อมประสามหรือยานอนหลับไม่ควรบิกน้องคนที่ดูแลถึง สรรพคุณตัวนี้ เพราะคุณหมอที่รักษาแม่เคยเล่าให้ฟังว่า คนดูแลฝห้ผู้ป่วยกินยาตังนี้ตลอด เพื่อที่ว่าคนป่วยจะได้หลับอยู่ตลอดเวลา แย่มากกกกคะ 6 ถ้าใน case ที่ พ่อ หรือแม่เราต้องมีพี่เลี้ยงช่วย พยุง หรือ จูงเดิน พี่เลี้ยงต้องสูง และ มี นน. ที่สามารถพยุงกันไม่ให้ ท่านล้มตอนเซได้คะ 7 พี่เลี้ยงที่อายุน้อยจะติดเที่ยวคะ มักจะขออนุญาติไปซื้อของตอนกลางคืน ถ้าเป็นคนมีอายุหน่อยจะไม่ค่อยเป็น 8 ถ้าพี่เลี้ยงสามารถทำ กายภาพอย่างง่ายๆๆใด้ ควรพิจารณาเป็นพิเศษคะ อย่างของเราพี่เลี้ยงคนเก่ามี train งานต่อให้กับพี่เลี้ยงคนใหม่ โขคดีของเราคะ 9 ควรทำตารางว่าเวลานี้ ควรทำอะไร คร่าวๆๆให้กับพี่เลี้ยงคะ เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบดูแล หรือว่าให้พี่เลี้ยงช่วยออกความคิดเห็นคะ ศูนย์ที่เราใช้ อันแรก ชื่อ เครื่องหมายตกใจ ค่ะ น้องๆๆ ที่มาก็จะเด็กๆๆหน่อยค่ะ แบบว่าเพิ่งจบ น้องคนที่เราได้นั้นทำงานดีใช้ได้ค่ะ เสียแต่ชอบเที่ยว และก็แต่งตัวโป๊ไปหน่อยค่ะ พอทำงานกับเราสักพัก น้องศูนย์นี้ก็จะขอลาออกจากศูนย์ และขอทำกับเราเองค่ะ เพราะไม่ต้องโดนศูนย์หักเปอร์เซ็น น้องคนนี้อยู่กับเราได้ 2 ปีค่ะ สาเหตุที่ออกเพราะมีแฟนแล้วชอบออกจากบ้านไปค้างกับแฟน (ศูนย์นี้เรามีจ้างเด็กดูลูกด้วยค่ะ น้องๆๆ จะจบจาก N/A ค่ะ จะค่อนข้างรู้เรื่องทีเดียว) ส่วนคนที่ 2 ที่มาเราจำศูนย์ไม่ได้แล้วค่ะ หาจากใน net เพราะคนแรกออกแบบกระทันหันเหมือนกัน ให้สามีไปสัมภาษณ์น้องๆๆ ที่ศูนย์เลย สามีบอกว่าจะได้เห็นสิ่งแวดล้อมแล้วก็คนที่จะทำงานด้วย คนที่สามีตั้งใจไปดูจริงๆๆ นั้นไม่ได้รับค่ะ เพราะสามีเหมือนติดใจบางคำตอบ (ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนสัมภาษณ์เป็นหลักค่ะ) ส่วนคนที่ได้มานั้นสามีบอกว่ามี common sense และก็ใจรักบริการดี คือว่าสามีลองให้ พี่คนนี้ไปซื้อไฟแชค ยี่ห้ออะไรจำไม่ได้แล้วค่ะ พี่เค้าออกไปซื้อแล้วบอกว่าหาไม่ได้เลยเอาอีกยี่ห้อมาให้ แลบอกสรรพคุณค่ะ คนนี้ลาออกเพราะบอกว่า อยากไปเปิดร้านอาหารกับสามี ค่ะ (คนนี้อยู่ได้ปีกว่า) ให้ศูนย์ส่งเด็กมาเปลี่ยนแต่ไม่ work เลยค่ะ พี่คนที่บอกก็ confirm ว่าน้องไม่ work เพราะพี่เค้าต้อง train เด็กว่า ตารางของแม่เป็นอย่างไรก่อนออก ส่วนที่ คน 3-4 นั้น สามีสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ปรากฎว่า คนที่ 3 เราเองเป็นคนไม่ชอบใจเพราะเวลาที่เค้าดูแลแม่ เวลาเราพาไปเที่ยว ตอนอยู่บนรถก็ใส่ หูฟังเพลงค่ะ (งงไม่เคยเจอ) ตอนที่เราไปสวนสาธารณะ เธอก็เข็นแม่เราไปเดินเล่นซะไกลเลย เรามองหาไม่เจอ (ใจหายเลยค่ะ) แบบเข็นไปม่บอกไม่กล่าว แล้วเราสังเกตุว่าแม่เรามักมีอารณ์ฉุนเฉียวไม่ค่อยยิ้ม (แม่เราไม่สามารถสื่อสารได้แล้วค่ะ) เราเลยบอกสามีว่าคนนี้เราไม่เอานะ จริงๆๆแล้วสามีบอกว่าเราคิดมากจนมี เหตุการณ์ว่า เราจะไปเที่ยวเหนื่อ 2 อาทิตย์แต่ยังไม่ได้บอกเด็กคนนี้ ตอนเช้าเราลงมาปรากฎว่าน้องเค้าไม่อยู่เราเลยถามเด็กที่ทำงานอีกคนปรากฎว่า น้องเค้ากลับศูนย์ไปเอาเสื้อหนาวและ เสื้อผ้า โดยไม่แจ้งให้เรา หรือ นายจ้างคนอีกทราบ พอน้องเค้ากลับมาเลยบอกว่า เราขอเปลี่ยนเด็กนะ สามีโทรไปเม้งกับศูนย์ ทางศูนย์เลยบอกว่าจะส่งเด็กมาให้ใหม่ น้องคนนี้เพิ่งจบ case มา สามีก็บอกว่า ok ให้มาเลยเพราะว่าจะขึ้นเหนือแล้ว น้องคนนี้ดีมากกกค่ะ เรียนจบ N/A มา รู้จักการ พยุงเดิน การ psyco แม่เราให้ทำตาม คือละเอียดอ่อนกับผู้ป่วย แต่เหมือนมีกรรมมาบัง น้องเค้ามาบอกกับเรามา เค้ามาเป็นแค่ตัวเสริมให้ ชัวคราวเพราะเค้ากำลังจะแต่งงานแล้วไปนอกกับสามี ที่สำคัญเค้าแจ้งศูนย์ไปแล้ว แต่ศูนย์ไม่แจ้งเรา ฮ้าฮ้า งานเข้า เศร้าครับ จากนั้นก็ไม่ไว้ในแล้วศูนย์นี้โกหกเป็นไฟเลย สามีเลยหาเองอีกครั้งโดยเอามาจากศูนย์ที่เคยเลี้ยงลูกเรา แต่ด้วยความที่อยากได้เร็วๆๆ สามีเลยโทรอย่างเดียว ตอนแรกก็บอกว่า แม่เป็น alz อยากได้เด็กที่มี ปสก และก็ ทำกายภาพได้ด้วย ศูนย์ก็ ok บอกว่าเด็กคนนี้ทำงานมาหลายปี บลา บลา บลา เราก็ ok ส่งมาเลย พอส่งมาสืบได้ว่า เธอทำงานเป็นแม่บ้าน แล้วก็ไม่เคยดูแลผู้ป่วยเลย ที่สำคัญต้องสูบ บุหรีหลังอาหารด้วย อุแม่ เราเลยขอโทษแล้วบอกว่าไม่รับค่ะ เพราะเรามีลูกเล็กไม่อยากให้มีตัวอย่างที่ไม่ดี แล้วที่สัญคัญเราเหม็นกลิ่นบุหรีค่ะ ส่วนน้องคนเก่ายังอยู่นะคะ น้องเค้าบอกว่าจะอยู่จนกว่าหาคนใหม่แล้ว train ให้ก่อนจึงจะไปค่ะ เมื่อหาไม่ได้จริงๆๆ เลยถามน้องเค้าค่ะ ว่าพอแนะนำศูนย์ให้ได้ไหม น้องเค้าก็แนะนำให้ค่ะ สามีก็โทรไปอีก และเค้าก็บอกว่ามีเด็กเพิ่งจบ case มาแต่น้องคนนี้กำลังเรียน สอบเทียบอยู่ จะต้องหยุดอาทิตย์ละ 1 วัน ทุกอาทิตย์ เราก็ ok มาเลย น้องคนเก่าก็ train ให้ค่ะ พอดูว่าน้องคนนี้พอไหวก็ ออกค่ะ น้องเค้ามีน้ำใจจริงๆๆ ส่วนคนใหม่ก็ดีค่ะ แต่ว่า อยู่ 1 ปีก็ขอลาออกไปแต่งงาน เศร้า แต่ว่า พี่เลี้ยงแม่คนที่ 2 หลังจากออกก็ยังมีแวะมาหา แล้วก็เปรยๆๆว่าอยากกลับมาอยู่ด้วย ถ้าน้องคนปัจจุบันออก พอน้องเค้าออก เค้าก็โทรมาของานทำค่ะ เราเลยรับ และก็ยังทำถึงปัจจุบันค่ะ อ่านยาวหน่อยนะคะ อยากจะบอกว่าทุกศูนย์เค้าก็อยากส่งเด็กออกมา ถ้ามีเด็ก แต่อยู่ที่ว่าเราจะต้องใจเย็นค่อยๆๆ สกรีนเองค่ะ อยากได้แบบไหนก็ค่อยๆๆหาค่ะ ไปสัมภาษณ์เองที่ศูนย์ work กว่า ไปคุยอย่าลืมลอง list คำถามที่สำคัญ ถามคำถามวกไปวนมา เดี๋ยวเค้าต้อง แพลมอะไรออกมาให้เราเห็นค่ะ ไม่มีศูนย์ไหนที่ดีเลิศ หรือว่า ศูนย์ไหนที่แย่เลยค่ะ (ยกเว้นศูนย์ที่ต้องการโกงเงิน) Trick ที่เจอคือ 1.เด็กคนที่เราเลือกเอง มักจะ ok ถ้ามีการหาคนแทนเช่นน้องลานานๆๆ มักส่งเด็กไม่มีคุณภาพมาให้ 2. เวลาที่เด็กของเราออก แล้วเราให้ศูนย์หาเด็กใหม่มาให้ มักจะไม่ดีค่ะ 3.อันนี้เราไม่เคยเจอแต่อ่านใน Net คือว่า ริบเงินเรา แล้วเด็กที่มาทำก็ทำเป็นขอไปที่อื่น แล้วไม่กลับมา เราเองต้อง set ระบบ ขึ้นมาให้เด็กที่มาทำงานกลัว หรือรู้ว่าจะต้องทำอะไรบ้างใน 1 วัน (เด็กบางคนคิดไม่เป็น ต้องให้เราจัดให้ค่ะ) ที่สำคัญอย่าทิ้งผู้ป่วยไว้กับพี่เลี้ยง 2 ต่อ 2 ถ้าทำไม่ได้ก็ให้ติดกล้องวงจรปิดแบบให้เด็กคนนั้นรู้ตัว เพิ่มเติมค่ะ เราอาจจะมี motivation ให้น้องเค้าอยู่กับเรานานๆๆ โดยให้วิธีของทางบริษัทคือ เราออมให้น้องเค้าคะ ชื่อบัญชีเป็นของเค้า แต่ Book อยู่กับเรา โดยปีแรก ฝากให้เดือนละ500 บาท ถ้าอยู่ปีถัดไป ฝากให้เดือนละ 1000 บาท และถ้าอยูครบในปีที่ XX (ตามที่ตกลง) จะสะสมเงินให้อีกเท่าหนึ่ง แต่ถ้าออกก่อนก็จะได้แค่เงินสะสม ส่วน bonus อีกเท่าก็จะไม่ได้ค่ะ ปรกติ เวลาน้องคนไหนที่ดีออก แล้วก็จะให้เงินก้อนแก่น้องเค้าอยู่แล้ว ทำแบบนี้ตอนน้องเค้าอกก็จะมีเงินก้อนไปด้วยค่ะ สวัสดีค่ะ มีคนถามเรื่องชื่อศูนย์มาหลายท่านค่ะ คิดอยู่นานว่าจะแจ้งดีไหม แต่ขออนุญาติไม่แจ้งชื่อนะคะ เพราะที่เล่ามานั้นทุกศูนย์ที่ใช้ก็มีทั้ง เด็กที่ ok และก็ ใช้ไม่ได้ค่ะ อยู่ที่ทุกท่าน ได้ ลองพูดคุยสอบถามค่ะ (ขอโทษจริงๆๆนะคะ) 1. เริ่มแรกทีเดียว หาศูนย์ที่ไม่ทุจริตโกงเงินก่อนค่ะ โดย search หาทาง net ค่ะ หรือใน คำตอบที่ทุกท่านช่วยแจ้งก็เป็นประโยชน์ค่ะ เชื่อในทางที่ไม่ดี (black list) ไว้ก่อนค่ะ 2. หลังจากนั้นก็โทรไปคุยสอบถามค่ะ หรือ ไปดูตัวเด็กที่ศูนย์ ว่าเราชอบเด็กคนนั้นไหม หมายถึงบุคลิก การพูดจา อ้วย ผอม ดำ ขาว ตามความชอบส่วนตัวเลยค่ะ 3. ดูว่า ทางศูนย์ หรือเด็ก ที่จะมาอยู่มีรายละเอียดอย่า งไรเช่น วันหยุดกี่วัน มีวันหยุดนักตฤกษ์กี่วัน ค่าแรงวันหยุดวันละเท่าไร เด็กคนคนนั้นต้องการหยุดแบบ รวมวันกัน หรือว่าหยุด เดือนละครั้ง จะช่วยงานบ้านอื่นๆๆ ด้วยหรือเปล่า ต้องถามให้ละเอียดและ clear ให้เสร็จก่อนจ้าง 4. ที่เหลือแล้วแต่ดวง กับ บุญของผู้ป่วยจริงๆๆค่ะ ( ต้องขอโทษที่พูดอย่างนั้นนะคะ เพราะของแม่เราก็เช่นกันค่ะ เด็กที่เราว่า ดีมากๆๆๆ ก็อยู่ได้ไม่นาน มีเหตุต้องออกไปค่ะ เด็กบางคนเราดูดีแล้ว กลับทำงานไม่ได้ดังใจ บางคนแค่เห็นหน้า เราก็ไม่ถูกชะตาค่ะ..... เหนื่อยจริงๆๆค่ะ) ![]() รู้ได้อย่างไรว่าเป็น Alz
วิธีการตรวจเบื้องต้น (ข้อมูลจาก //www.thailabonline.com/alzheimer.htm)
รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ แบบทดสอบเบื้องต้น เพื่อประเมินว่าคนที่คุณรักอาจเป็นโรคอัลไซเมอร์ ทำเครื่องหมายลง ในช่องว่าง ที่คุณพบว่าเป็นปัญหาซึ่งเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในครอบครัวของคุณ ...... อาการหลงลืม เช่น ลืมนัด จำเหตุการณ์หรือคำพูดที่เพิ่งผ่านมาไม่ได้ ...... หลงลืมสิ่งของ จำไม่ได้ว่าเก็บไว้ที่ไหนและคิดว่ามีคนขโมยไป ...... สับสนเรื่องเวลา สถานที่ กลับบ้านไม่ถูก ...... ปัญหาเรื่องการพูด ลืมหรือเรียกสิ่งของไม่ถูก พูดคำหรือประโยคซ้ำๆ ...... ไม่สนใจในสิ่งที่เคยสนใจ กิจกรรมประจำวัน งานอดิเรก ...... จำบุคคลที่เคยรู้จัก เพื่อน หรือสมาชิกในครอบครัวไม่ได้ คิดว่าเป็นคนแปลกหน้า ...... ปัญหาเรื่องการนับหรือทอนเงิน การใช้โทรศัพท์ ...... พฤติกรรมที่อาจเกิดปัญหายุ่งยาก เช่น ออกนอกบ้านเวลากลางคืน พฤติกรรมก้าวร้าว ...... ไม่สนใจดูแลความสะอาดของตัวเอง เช่น แปรงฟันไม่เป็น อาบน้ำไม่เป็น หากพบว่าผู้สูงอายุในครอบครัวมีปัญหาดังกล่าวข้อใดข้อหนึ่งหรือมากกว่า อาจเป็นไปได้ว่าผู้สูงอายุท่านนั้นกำลังเผชิญกับโรคอัลไซเมอร์หรืออาจมีปัญหาด้านสุขภาพอื่น ๆ Diary Alzheimer
Good Morning
. Alzheimer
...... เคยไหมคะที่ตื่นนอนขึ้นมาแล้วคิดว่าเมื่อคืนฝันร้ายจัง ดีจังที่ตื่นจากฝันร้ายเสียที..... ...เราเองก็ฝันอยากจะเป็นเช่นนั้น แต่ความฝันกับความจริงมักตรงข้ามกันเสมอ เราอยากให้มีปฎิหาร เกิดกับเราเหมือนกันค่ะ.... (ขอแจ้งไว้นิดนะคะ ว่าเราไม่ได้มีความรู้หรือเรียนมาทางด้านการแพทย์ ที่เขียนมาเล่านี้มาจากประสบการณ์ที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ เราอยากให้เพื่อนๆๆ พี่ๆๆ น้องๆๆ มาร่วม join ความคิดเห็น และก็วิธีการดูผู้ป่วยกัน จะได้มีเคล็บลับในการดูแลเพิ่มขึ้นนะคะ.. ขอบคุณค่ะ) เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นตั้งแต่เราเรียนจบ ป.โท จาก อเมริกา (ตอนนี้เราลูก 2 แล้ว ก็ประมาณ เกิน 10 ปี กรี๊ดทำไมนานแล้วนะ) ตอนนั้นจำได้ว่าค่าเงินบาทลอยตัวพอดี ช่วงนั้นต้องขอบคุณ (อดีต)นายกบิ๊กจิ๋ว ที่เป็นแรงส่งให้เราเฉลียวใจ เพราะช่วงนั้น สื่อต่างๆๆ ไม่ว่าจะเป็น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ จะเขียนว่า (อดีต)นายกท่านนี้เป็นอัลไซเมอร์ ทำให้สื่อต่างๆๆๆ หาบทความและ รายละเอียดเกี่ยวกับโรคนี้มาเผยแพร่ แม้จะไม่มากพอให้ความกระจ่างแต่ก็จุดความสงสัยในใจเรา (สมัยนั้น เมื่อ 10 กว่าปีก่อน โรคนี้ไม่แพร่หลายเลย บทความก็มีให้อ่านน้อยเหลือเกิน) เอ แล้วเกี่ยวกับเรายังไงหรือค่ะ..... แม่เราสมัยตอนนั้นก็อายุแค่ 50 ต้นๆๆ แต่ก็มีอาการหลงๆๆ ลืมๆๆ บ้าง จริงๆๆ แล้วแม่เรามีอาการนานกว่านั้น ต้องนับถอยหลังไปตั้งแต่เราจะเตรียมเอ็น (โห ไกลโข) แม่จะถามเราหลายครั้งว่าเราจะเลือกเอ็น อะไร คณะไหน ที่ไหน แบบว่าวันหนึ่งๆๆ น่าจะถามเกิน 10 รอบได้ (เราว่าเป็นความรักของแม่ที่มีต่อเรา.. แต่ตอนนั้นหน้ามืดตามัวมองไม่เห็น) รู้สึกรำคาญแม่เหมือนกัน (เลวจริงๆๆ แต่นี่คือความจริง) ความจริงคือเราไม่เคยรู้ว่ามีโรคนี้อยู่ในโลกอันเบี้ยวๆๆ นี้เลย (ขอโทษค่ะแม่) เราเป็นพวกประมาท ไม่น่าจะเป็นคนนับถือศาสนาพุทธเลย (พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนให้เราอยู่ในความไม่ประมาท ให้นึกถึงมรณานุสติไว้ ว่าสามารถเกิดได้ตลอดเวลา) แต่เราคิดว่า แม่เราอยู่ค้ำฟ้า ไม่มีทางตาย (สงสัยคิดว่าแม่เป็น monster) เลยดำรงอยู่ในความประมาทไม่ได้เอาใจใส่แม่เราเท่าที่ควร คิดว่า สงสัยจะเป็นโรคคนแก่ ขี้หลงขี้ลืมตามปรกติ จนเวลาผ่านเลยไปเรื่อยๆๆ........................ ....................ตัดกลับมาตอนเราเรียนจบ ป.โท เลยนะคะ (ขอบอกว่าเรา เรียนบริหารธุรกิจ ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องด้าน โรงพยาบาลแม้แต่น้อย เพียงแต่เรามี ญาติที่เป็น คุณลุงหมอ คุณป้าหมอ คุณพี่หมอ แต่เราเรียนจบด้านบริหารมา BBA , MBA ค่ะ) บุญพาวาสนาส่งให้เราได้ทำงานในโรงพยาบาลของญาติ เนื่องจากไม่มีความสามารถหางานในระยะนั้นได้เลย คงเป็นบุญเก่าสะสมแน่ๆๆๆทำให้ได้มาทำงานโรงพยาบาล ที่เล่ามาตั้งแต่ต้นจนถึงบันทัดนี้นี่ ยังไม่ได้เข้าเรื่องเลย เอาหละเข้าเรื่องซะที....... ทีนี้เราได้อ่านเรื่อง อดีตนายกบิ๊กจิ๋ว แล้วเกิดความสะกิดใจ..ว่าใช่ไหมนะ เพราะอาการเริ่มมากขึ้นเหมือนกัน แต่เรายังคิดว่าปรกติมั้ง เช่น แม่ถอดแว่นตา แล้วหาเท่าไรก็ไม่เจอ พอถามว่าวางไว้ที่ไหนแม่ก็จำไม่ได้ ปรี๊ดแตกค่ะ ขอบอกว่าช่วงนี้ได้ดำรงตนเป็นลูกชั้นเลวใกล้เคียงกับอกตัญญูทีเดียว เพราะเราจะออกอาการหงุดหงิด มือก็ช่วยหา ปากก็บ่นแม่ไปเรื่อยๆๆๆๆ เรารู้ว่าแม่เสียใจทุกครั้ง แต่ปากเรามันก็ยังพูดๆๆ บ่นๆๆ ไป (แม่... ขอโทษนะคะ) และแล้ววันหนึ่งเราก็เกิดหงุดหงิดแม่แบบปรี๊ด ขอบอกว่าจำไม่ได้ว่าเรื่องอะไร แต่คิดว่าเรื่องแม่ลืมของนี่หละ เลยบอกแม่จะพาไปตรวจมาแม่เป็นโรคอัลไซเมอร์หรือเปล่า ถ้าไม่เป็นแม่เลิกอ้างนะว่าที่ลืมบ่อยๆๆ เพราะแม่เป็นโรคนี้ (ตอนนั้น ทั้งแม่ และ เราก็พูดว่าเป็นอัลไซเมอร์หละ แต่เข้าใจไหมคะ ว่าพูดว่าเป็นแต่จริงๆๆๆ ไม่ได้คิดว่าเป็นจริง งงไหม) วันนั้นเลยจัดแจงนัดคุณหมอ อายุฯ ที่เชี่ยวชาญด้านสมองไว้ตอนเย็น พอถึงเวลาก็เลิกงานก่อนเวลาแล้วก็บึงไปรับแม่มาพบ คุณหมอท่านนี้ ขอเกริ่นเรื่องของแม่เรานิดนะคะ จะได้เห็นภาพ แม่เรานี่สมัยยังสาวถือว่าเป็นคนสวย รวยใช้ได้ เพราะคุณตาเราเป็นถึงนายห้างเลย แม่ไปเรียนต่างประเทศอยู่หลายปี จนจบป.ตรี (ไปเรียน เยรมัน แล้วก็ต่อที่อเมริกา สมัยนั้น ถือว่าเริ่ดสุดๆๆ พี่ๆๆ น้องๆๆ แม่ก็ไปเรียนเมืองนอกกันทุกคนเพราะคุณตาเราเห็นความสำคัญของการเรียน) บุคลิกของแม่ เป็นคุณหนูใช้ได้ เอาแต่ใจเหมือนกัน แต่เป็นคนคล่องแคล่ว ว่องไว เรียกง่ายๆๆว่าคิดไว ทำไว พูดภาษาอังกฤษ กับ เยอรมันปร๋อ ทำไมต้องท้าวความถึงเบื้องหลังของแม่หรือคะ เพราะแม่เป็นคนมั่นใจ แล้วก็แข็งๆๆๆ พอเจอคุณหมอเลยเป็นเรื่องซิคะ แม่ก็แสดงอาการอันแสนมั่นใจให้คุณหมอหมั่นไส้เล่น (เรื่องจริงค่ะ ตอนอยู่ในห้องไม่ตลกเลย บรรยากาศแสนมาคุ) เราไม่อยากคิดว่าคุณหมออาจจะมีอคติ หรือ หมั่นไส้กับแม่บ้างก็ได้ (อันนี้เป็นความคิดเราเองคะ ถ้าไม่ใช่ก็ต้องขอโทษคุณหมอที่เราเข้าใจผิดนะคะ) แต่เพราะคำพูดของคุณหมอทำให้แม่เราอาการแย่ลงอย่างฮวบฮาบ ...ตอนเข้าไปในห้องตรวจ คุณหมอถามเราว่าทำไมหรือคิดอย่างไรถึงพาแม่มาตรวจโรคนี้ เราเลยบอกว่าแม่มีอาการหลงๆๆ ลืมๆๆ เป็นประจำไม่แน่ใจ อยากให้ลองช่วยตรวจทีว่าใช่ไหม วิธีการตรวจเบื้องต้น จริงๆๆ ง่ายๆๆ เลย (มีวิธีตรวจสอบเองด้วย เดี๋ยวเราจะมีบทความวิชาการตอนท้ายให้อ่านนะคะ) หมอให้นับ 1-10 แม่นับได้บ้าง แต่ก็งงๆๆ เช่น 1 2 ...5 ... 4 .....8 อะไรแบบนี้ (จำไม่ค่อยได้แล้ว) หมอให้ลองนับเลขถอยหลัง 10-1 อันนี้คิดว่าแม่นับไม่ได้ หมอบอกของ 3-5 อย่าง แล้วให้แม่ทวน แม่ทำไม่ได้ จำได้ไม่ครบ หมอถามเราว่าแม่อ่านภาษาอังกฤษออกไหม เราบอกว่าออก หมอให้แม่อ่านหนังสือภาษาอังกฤษ แม่ไม่สามารถอ่านได้ แต่ตอนที่ถามคำถามให้แม่ตอบ (ในความรู้สึกของเรา) หมอไม่มีความนุ่มนวลในการใช้เสียงหรือแสดงท่าทางที่อ่อนโอน หรือเห็นอกเห็นใจคะ คือเราว่าโรคนี้ในสมัยที่แม่เราเป็นนานใช้ได้ คนธรรมดาที่ไม่ได้เกี่ยวข้องทางด้านแพทย์ไม่ค่อยมีใครเข้าใจโรคนี้ ในความคิดเราโรคนี้น่ากลัวกว่าการเป็นมะเร็งอีกนะ เพราะไม่รู้ว่าจะเป็นอย่างไร เกิดอะไรขึ้นต่อไป และแล้ว วินาทีโลกาวินาศก็มาถึง...... หลังจากตรวจเสร็จปุ๊ป คุณหมอก็บอกว่าแม่เราเป็น อัลไซเมอร์ค่ะ บอกต่อหน้าแม่เราเลย ไม่มีคำพูดปลอบประโลม หรือให้แม่เราออกไปนั่งข้างนอกก่อน (ไม่รู้ว่าปรกติที่หมอจะแจ้งเรื่องโรคให้ทราบควรจะเป็นอย่างไร แต่ถ้าในความคิดของเราที่เป็นญาติของผู้ป่วย เราอยากให้หมอบอกเราก่อน ในกรณีที่ไม่ปรกติ แล้วเราจะแจ้งให้แม่ทราบถึงโรคนั้นหรือไม่ก็อีกที เพราะเราจะคำนึงถึงความรู้สึกของแม่เราก่อน ว่าโรคนี้มันจะสะเทือนใจไหม) พอได้ยินหมอแจ้งแม่เรา shock ไปเลยคะ หลังจากนั้นก็เงียบ ถามไม่ตอบ อยากจะบอกว่าวินาทีนั้นเราก็ shock คะ ในใจปฎิเสธ ว่าไม่จริง ไม่จริงๆๆๆๆ ตอนออกจากห้องตรวจก็ยังเบลอๆๆๆ อยู่ กลับถึงบ้านแม่เราเก็บตัวอยู่ในห้องแล้วก็ร้องไห้ตลอดเวลาแต่ไม่มีเสียง มันทรมานจริงๆๆคะ บางคนคิดว่า เวอร์หรือเปล่า เป็นแค่อัลไซเมอร์ทำไมต้องเศร้าขนาดนั้น ...เราเองก็ยังโทษตัวเองอยู่ถึงตอนนี้ว่าถ้าตอนนั้นเราไม่พาแม่ไปตรวจแม่จะมีอาการที่ดีกว่านี้ไหม หรือถ้าเราหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้ให้มากกว่านี้แล้วค่อยพาแม่ไปตรวจจะดีกว่านี้ไหม (จะได้ปลอบแม่ หรือหัวเราะบอกแม่ว่าโอ้โห โชคดีจังที่แม่เป็นแค่อัลไซเมอร์นะ ... แบบโรคนี้มันจิ๊บจิ๊บ..) หรือแม้แต่ที่เรากล่าวโทษคุณหมอท่านนี้อยู่ในใจ เป็นเพราะเราอยากผลักความรู้สึกผิดออกจากใจหรือเปล่า ในใจเรามีแต่คำว่า ถ้า .... ถ้า .... ถ้า.... เต็มไปหมด ดังนั้นเราหวังว่าบทเรียนของเราและแม่คงสามารถช่วยใครที่กำลังจะมีเหตุการณ์ไม่ดีเกิดขึ้นได้บ้างนะ .... ขอบอกอีกครั้งคะ ว่าครอบครัวเรา พ่อ แม่ เรา และก็ พี่ชาย ไม่มีใครจบหมอสักคน มีแต่ญาติเราที่เป็นหมอคะ ดังนั้นถึงจะใกล้ชิดโรงพยาบาล ป่วยนิด ป่วยหน่อยก็แจ้นไปหาหมอ แต่ก็ไม่มีใครมีความรู้ว่าโรคนี้เป็นอย่างไร รู้ก็เพียงเล็กๆๆน้อยๆๆๆกระจิ๋วหลิวเท่านั้นคะเท่าที่อ่านในบทความเท่านั้น (ความจริงที่พาแม่ไปไม่ได้คิดว่าแม่เป็นคะ จึงไม่มีใครทำใจยอมรับได้สักคน) ทำให้ความกลัวในสิ่งที่ไม่รู้มากมาย รู้เพียงแต่ว่าโรคนี้เป็นแล้วไม่มีทางรักษาหาย มีแต่ทรุดไปเรื่อยๆๆๆๆ แล้วก็จะเริ่มจำได้น้อยลงจนจำใคร จำอะไรไม่ได้อีก ถ้าให้เปรียบเทียบโรคนี้เหมือนเราเข้าไปอยู่ในความฝันที่ไม่สามารถออกมาในโลกแห่งความจริงได้อีกต่อไป (ความฝันมันก็บอกอยู่แล้วว่าจะต้องเข้าไปอยู่คนเดียว ส่วนตัวละครอื่นเป็นแค่สิ่งที่ผู้ฝันสมมุติขึ้นไม่มีตัวตนอยู่จริง ดังนั้นก็เปรียบเสมือนผู้ที่ฝันจะต้องอยู่แบบโดดเดียวในใจตัวเองตลอด) แต่ไม่ใช่ฝันดีนะคะ มันเป็นฝันร้ายอันสุดขมขื่นคะ ทั้งตัวคนที่เป็นแล้วดี หรือคนที่รักที่อยู่รอบๆๆตัวคะ เพราะโรคนี้ทำร้ายและทำลายสุขภาพจิตมากจริงๆๆ ... ตัดกลับมาที่แม่เราอีกครั้งค่ะ หลังจากนั้นแม่เราก็เริ่มซึมเศร้า จริงๆๆ แล้วโรคนี้คือโรคซึมเศร้านี่ก็ร้ายกาจนะคะ แต่ว่าตอนนั้นเราไม่รู้ว่าแม่น่าจะเป็นจึงไม่ได้สนใจที่จะรักษาทางจิตใจของแม่ มัวแต่สนใจที่จะรักษาแต่ทางด้านโรคอัลไซเมอร์อย่างเดียว ถ้าคนที่คุณรู้จักเริ่มที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์นะ โปรดดูแลทางด้านจิตใจเค้าด้วยค่ะ ถ้ามีอาการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอย่ากังวล รีบพาไปหาหมอจิตแพทย์ เพื่อให้หมอช่วยรักษานะคะเพราะกว่าเราจะสำเนียก ได้ว่าแม่เป็นโรคซึมเศร้าด้วย ก็ผ่านไปหลายปีแล้วการรักษาก็ไม่มีผลมากเนื่องจากแม่ได้สะกดจิตตัวเองจนโรคอัลไซเมอร์มัน down ลงไปมากแล้ว .....หลังจากวันที่พาแม่ไปพบคุณหมอแล้วเราก็ขอนัดพบกับคุณหมอท่านนั้นอีกครั้ง เพื่อสอบถามว่าจะหาข้อมูลโรคอัลไซเมอร์จากไหนดี แล้วต้องดูแลแม่ยังไง คุณหมอก็ให้เราไปพบที่โรงพยาบาลรัฐที่คุณหมอทำงานประจำ เพราะที่นั้นมียาสำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์ (ที่โรงพยาบาลที่เราทำงานอยู่ตอนนั้นไม่มี เพราะเป็นยาเฉพาะทาง) เราจึงได้รู้อีกอย่างว่าคนเป็นโรคนี้จำเป็นต้องมีรายได้ หรือเงินเก็บที่สูงพอสมควร เพราะว่ายาที่ช่วยชะลอโรคนี้ขวดนั้น ราคาที่ตั้งขายประมาณ 4500-5000 บาทต่อขวด แต่คุณหมอบอกว่าเป็นยาที่เซลล์ให้ไว้อะไรนี่คะ (ขวดนี้เราจึงได้ความอนุเคระห์จากคุณหมอ....ฟรีคะ) .....ตอนนั้นรู้สึกว่าจะมียาที่เกี่ยวกับโรคนี้อยู่ 2 ตัว (บริษัท) คือ Exelon กับ Aricept (เท่าที่เราทราบคะ)... เพิ่มเติมนะคะ ข้อมูลจาก ฝ่ายเภสัชกรรม รพ.กรุงเทพ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2550 ยา Aricept และ ยา Exelon เป็นยาที่อยู่ในรูปแบบยารับประทานเหมือนกัน และมีข้อบ่งใช้ในการรักษาภาวะสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกถึงระยะรุนแรงปานกลางเหมือนกัน โดยจัดอยู่ในกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ acetylcholinesterase เหมือนกัน แต่ยา Exelon มีข้อบ่งใช้เพิ่มเติมในการรักษาอาการในผู้ป่วยที่มีความจำเสื่อมเนื่องจากโรคพาร์กินสัน ระยะเริ่มแรกถึงระยะปานกลางด้วย ยา Aricept หรือ Donepezil มีขนาด 5 และ 10 mg จะรับประทานวันละ 1 ครั้ง และควรใช้ยาต่อเนื่องกันไม่น้อยกว่า 1 เดือน เพื่อให้เกิดผลการรักษาทางคลินิกและรักษาระดับยาให้คงที่ ส่วนยา Exelon หรือ rivastigmine มีขนาด 1.5, 3 ,4.5 และ 6 mg นั้น ควรรับประทานวันละ 2 ครั้งพร้อมอาหาร เช้า เย็น ผลข้างเคียงของยาทั้งคู่ที่พบมาก ได้แก่ อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหารหรือน้ำหนักลด ปวด เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย หรือนอนไม่หลับ เป็นต้น ต่อจากนั้นก็เป็นนิยายเรื่องเศร้าเคล้าน้ำตาเลย เริ่มจากครอบครัวซึมเศร้า ผู้ป่วยซึมเศร้า ทุกคนแอบไปร้องไห้เงียบๆ ตามมุมอับของบ้าน แต่ถ้าครอบครัวคุณมีคนใดคนหนึ่งเป็นไม่ต้องตกใจนะ เริ่มจากให้ทำความเข้าใจของโรคค่ะ (จริงๆๆ การมีกำลังใจที่แข็มแข็งจะสามารถผ่านโรคนี้ไปได้ ทั้งของผู้ป่วยเอง และก็ผู้ดูแลผู้ป่วยก็สำคัญ แต่ตอนนั้นที่บ้านเราคงสอบตกค่ะ เพราะทุกคนแย่มากกไม่มีกำลังใจ บางคนก็หลอกตัวเองไปเรื่อยๆๆ เช่นเราเป็นต้น บางทีก็โกรธว่าทำไมต้องเป็นคนในครอบครัวเรานะ ไม่ยุติธรรมเลย และอื่นๆๆอีกมากมาย) แต่เราก็ต้องถือเป็นความโชคดีค่ะ ที่มีญาติเป็นคุณหมอ ป้าหมอเราหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้ และก็วิธีดูแลผู้ป่วยมาให้ ส่วนพี่เราที่เป็นหมอ (ลูกผู้พี่) ช่วยไปสอบถามว่ามีหมอคนไหนที่เชี่ยวชาญด้านนี้บ้าง (ต้องขอขอบคุณอย่างสูงคะ) ในที่สุดเราก็ได้ชื่อคุณหมอท่านนั้นมา ศ.นพ.กัมมันต์ พันธุมจินดา อาจารย์หมอท่านน่ารักมากค่ะ เท่าที่ทราบคุณหมอเป็นผู้เชียวชาญด้านสมองมากกกก สมัยนั้นไปพบคุณหมอที่คลินิกที่มาบุญครอง แต่จะบอกว่าวิธีพบคุณหมอนั้นยากเย็นมากคือ คุณหมอจะรับตรวจแค่ 2-3 ชม. ต่อวัน เฉพาะวันเสาร์ และก็มีวันอื่นอีก 1 วันจำไม่ได้แล้วคะนานมากแล้ว (แต่ตอนนี้ย้ายไปอยู่ที่ คลินิกแพทย์2000 ตรงทางลงบันไดรถไฟฟ้า สถานีราชเทวี) จำเวลาตรวจไม่ได้ สมมุติว่าคุณหมออกตรวจ 10.00-12.00 เราต้องโทรไปจองคิวก่อน ที่นี่เป็นที่เดียวที่สามารถโทรไปจองคิวแล้วไปวันนั้นได้เลย เอ ทำไมไม่ไปต่อคิวที่คลินิกเองหละ มันง่ายกว่าโทรจองคิวไหม ขอบอกว่าเราต้องโทรไปที่คลินิกตั้งแต่ 9.45 โทรไปเรื่อยๆๆๆๆ ติดแต่ไม่มีคนรับ อาจหมายถึง พี่เค้ายังไม่มาหรือติดอีกสายอยู่ โทรๆๆๆๆๆๆ ไปเรื่อยๆๆๆ บางทีโทรติดตอน เกือบ 10 โมง ได้คิวที่5 ที่6 หรือบางทีได้คิวที่10 ก็ยังเคยได้คะ เพราะฉะนั้นจะไปต่อคิวที่คลินิกนั้น สงสัยจะได้คิวท้ายๆๆๆ หรืออดตรวจด้วยประการฉะนี้ คิวท้ายๆๆน่าจะไม่เกิน 20 คิวนะคะ เราจำไม่ค่อยได้แล้ว แต่ตอนนี้คงไม่มีให้โทรไปแล้ว ทางคลินิกคงให้เป็นนัดจองล่วงหน้าเหมือนหลายๆๆที่ หลายๆๆโรงพยาบาล หลายๆๆๆเดือนถึงได้คิว เราเคยโทรไปหาคุณหมอท่านอื่นด้วยนะคะที่รักษาด้านสมอง ต้องมีการดูคิวว่างเพื่อให้เราสามารถแทรกได้ เราเคยได้คิวถัดจากที่โทรไปนานถึง 2-3 เดือน เศร้าค่ะ แต่ต้องเข้าใจคะว่าคนที่เป็นโรคนี้มีมากมาย ถ้าท่านเคยไปตามคลิกนิกเฉพาะทางด้านนี้จะรู้มากมายจริงๆๆๆ ก่อนจะไปพบคุณหมอพี่เราให้เตรียม ผลตรวจเลือด film x-ray (ของเราแม่เคยทำ CT-Scan ที่สมอง เมื่อนานมาแล้ว) ที่เคยตรวจล่าสุดไปให้คุณหมอท่านดู คุณหมอกัมมันต์น่ารักมาก คุณหมอดูแลและพูดจากับผู้ป่วยดีมากกจริงๆๆ ขอบอกว่าแม่เราชอบคุณหมอมาก พอคุณหมอดู film CT ก็บอกเราว่าจริงๆๆแม่มีอาการนานแล้วนะ เพราะจากใน film CT นี่ก็เริ่มที่จะมีอาการฝ่อบ้างแล้ว ตรวจเสร็จคุณหมอแจ้งว่าให้แม่เราไปทำ MRI เราก็นัดไปทำที่ รพ.จุฬา โดยคุณหมอมี ใบorder ให้มาแล้วเราไปโทรติดต่อวันนัดตรวจเอง เราก็แจ้งคุณหมอว่าตอนนี้แม่มีกินยาที่เกี่ยวโรคนี้อยู่ 1 ตัว คือ Exelon 1.5 มิลลิกรัม รู้สึกว่าถ้าจำไม่ผิดคุณหมอจะให้ Vit 1 6 12 กับ vitE 400 IU มาเพิ่ม (ถ้ากิน Exelon แล้วไม่มีอาการคลื่นไส้ เวียนหัว คุณหมอก็จะปรับตัวยาขึ้นเรื่อยๆๆๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไปคะ ตอนนี้แม่เรากิน Exelon 6.0 mg เช้าเย็นแล้ว) อ้อ แล้วก็มีเคล็ดลับของคนอยากสวยจะมาแจ้งให้ทราบด้วย เราเองไม่เคยเชื่อเรื่องการกินวิตามินแล้วจะช่วยให้สุขภาพดี หรือ ช่วยเรื่องความสวยความงามเลย แต่พอเจอเคสของแม่ที่ต้องกิน Vit E 400 IU ทุกวันวันละ 5 เม็ด รวมๆๆ 1 วันกิน 2000IU คะ ค่อนข้างมากทีเดียว (คนปรกติน่าจะกิน Vit E 200 IU ครั้งละ 1เม็ดมั๊ง... เราก็ไม่เคยกินเสียด้วย) เท่าที่เราเคยอ่านบทความเชิงวิชาการเค้าเชื่อว่าการกิน Vit E จะช่วยชะลอหรือส่งเสริมการรักษาเกี่ยวกับโรคนี้ให้ดีขึ้นคะ ถึงกินในปริมาณที่มากเช่นนั้น นอกเรื่องไปไกล แม่เรากิน Vit E เป็นเวลามากกว่า 10 ปี ทำให้ ผมก็ไม่ขาวมาก (เราว่าแทบไม่เปลี่ยนไปจากเดิมเท่าไร) ผมร่วงน้อย (หัวไม่ล้าน) ผิวพรรณเต็งตึงมาก โดยเฉพาะหน้าตายังสวยอยู่ confirm จะพี่ๆ พยาบาล กับน้องๆๆ NA คะเวลาคุณแม่ไป admit ที่โรงพยาบาลจะชมว่าแม่ผิวยังสวยเต็งตึงจริงๆๆ หลังจากที่ได้รับผล MRI แล้วก็ไปพบคุณหมออีกครั้ง คราวนี้คุณหมอดูผลตรวจที่ได้พร้อมกับจัดยาให้ ถ้าเราจำไม่ผิด คุณหมอบอกว่าแม่เราเป็น case พิเศษ (คือหาได้ค่อนข้างน้อย) คือ แม่เป็น อัลไซเมอร์และก็เป็นพาร์กินสัน ร่วมด้วยช่วยกันในคราวเดียว เท่าที่คุณหมออธิบายให้ฟังคือคนที่เป็นอัลไซเมอร์ ต่อมาเมื่อมีอาการมากขึ้นอาจจะมีพาร์กินสันร่วมได้ แต่คนที่เป็นพาร์กินสันไม่จำเป็นต้องเป็นอัลไซเมอร์ แต่แม่เราเป็นพร้อมกันเลย แจ๊กพอดแตก (จริงๆๆเศร้าคะ) แม่ก็เลยได้ยาเพิ่ม คือ มาโดป้า เม็ดสีชมพูน่ารักสดใส คนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ คุณหมอท่านรักษาตามอาการ ไม่มีสูตรตายตัว เช่นคราวนี้ไปหาคุณหมอเราแจ้งว่าแม่มีอาการสั่นมากขึ้น คุณหมอก็จะปรับยามาโดป้าเพิ่มขึ้น หรือ แจ้งว่าช่วงนี้แม่ไม่ยอมเดิน หรือ ตัวออกแข็งๆๆ หรือว่าช่วงนี้แม่กระสับกระส่ายนอนไม่หลับ (ก็จะได้ยานอนหลับมาเพิ่ม) ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยนั้นผู้ดูแลควรที่จะมีสมุดบันทึกไว้จดรายละเอียดต่างๆๆๆ เพื่อจะได้แจ้งให้คุณหมอทราบคะ และรักษาตามอาการของโรคนั้น ตอนไปพบคุณหมอคุณหมอก็จะมีการทดสอบคนไข้ คือแม่เรา ทุกครั้งเช่น คุณหมอจะถามว่า แม่มีลูกกี่คน มีหลานกี่คน เป็นยังไงบ้าง เหมือนชวนแม่พูดคุยสารทุกข์สุขดิบของแม่ แม่เลยชอบไปคุยกับคุณหมอมาก แต่ว่าคลิกนิกของคุณหมอคนมากกก เหลือเกิน เราต้องไปรอคิวนานหลายชม.มากกกว่าจะได้ตรวจ (ถึงแม้จะรู้คิวแล้วเราก็ยังต้องไปเร็วอยู่ดี) จึงพยายามหาว่านอกจากคุณหมอจะออกตรวจที่ รพ.จุฬา แล้วก็ที่คลินิกนี้มีที่ไหนอีกบ้าง ในที่สุดก็รู้ว่ามีที่โรงพยาบาลอีกแห่งใกล้ๆๆบ้าน(โชคดีอะไรจะปานนั้น) เราจัดแจงโทรนัดทันที อย่างที่รู้โทรวันนี้ได้คิวอีก 2 เดือน ไม่เป็นไรรอได้ เพราะเรายังมีนัดกับคุณหมอที่คลินิกอีก (ขอเป็นคนเหยียบเรือ 2 แคม) เราก็จัดการขอ copy ผลการตรวจรักษาที่คลินิก 2000 มาคะ เพื่อที่จะเอาไปให้คุณหมอโรงพยาบาลฯ (เพราะคุณหมอมีคนไข้มาก ท่านอาจจะจำ case แม่เราไม่ได้) ...ท่านอื่นด้วยนะคะประวัติการตรวจวินิจฉัยโรคของคุณหมอสำคัญ เราควรขอcopy ไว้บ้าง เผื่อเวลาพาคนป่วยไปเที่ยวแล้วมีปัญหาเร่งด่วนต้องไปโรงพยาบาลใหม่ๆๆ ข้อมูลการรักษาจะค่อนข้างซับซ้อนแล้วก็มีภาษาแพทย์มากมาย ถ้าเรามีประวัติก็ง่ายหน่อย ยื่นให้คุณหมอท่านอ่าน (ท่านอาจจะอ่านหรือไม่อ่านก็ไม่เป็นไรคะ) มิเช่นนั้นอาจต้องเล่าให้ฟังนานมากคะกว่าจะจบได้ (ไม่ต้องอายที่จะขอนะคะ ประวัติการรักษาผู้ป่วยนี่จริงๆๆเป็นสิทธิของผู้ป่วย เรามีสิทธิขอcopy ได้ค่ะ) เพราะการที่ต้องเล่าอาการเหมือนทวนใหม่หมดเหมือนตอกย้ำเหตุการณ์และอาการว่าผุ้ป่วยเป็นอัลไซเมอร์ อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้ามากขึ้น ถ้าผู้ป่วยยังฟังรู้เรื่อง (แม่เราเป็นมาก่อน) ช่วงนี้เป็นช่วงรันทดใจของเรา เนื่องจากคุณแม่ยังเหมือนคนปรกติ แต่เริ่มทำอะไรได้น้อยลง (เหมือนแม่แต่ไม่ใช่แม่คนเดิม) เช่น ไม่รู้ว่าจะใส่เสื้อยังไง กางเกงอย่างไง คืออยากจะทำแต่จำวิธีการใส่เสื้อไม่ได้แล้ว จะโกรธตัวเอง (เราสังเกตุเห็นแม่เราร้องไห้เงียบๆๆบ่อยๆๆ จริงๆๆถ้าตอนนั้นเราเข้าใจแม่เพิ่มอีกนิด สังเกตุมากขึ้นเราอาจจะรู้ว่าแม่เป็นโรคซึมเศร้า เราจะได้พาไปรักษาได้ทัน) เขียนหนังสือก็เริ่มไม่ได้ เราคิดว่าแม่น่าจะเริ่มรู้สึกกลัวเหมือนกัน แม้ว่าเราจะปลอบอย่างไรก็ไม่สามารถให้แม่คลายกังวลนั้นได้ ช่วงนี้เองคะ ถ้าเราพาแม่ไปหาจิตแพทย์น่าจะทำให้อาการซึมเศร้าดีขึ้น แต่เราก็ไม่ได้รู้เลยคะแย่จริงๆๆ ภายนอกของแม่เหมือนคนปรกติทุกอย่าง จนบางทีเราก็ลืมไปและก็ไปดุแม่ (อีกจนได้) แม่จะอารมณ์เสียง่ายมากกก แต่ช่วงนี้แม่ยังพอจำทางได้นะคะ แต่เราไม่ให้ขับรถยนต์แล้ว (สมัยก่อนแม่เรานี่ซิ่งสุดๆๆๆ) แต่ก็ยังบังคับให้ออกไปทำผมที่ร้านประจำใกล้บ้านเอง (โดยที่เราแอบเดินตามไป แล้วก็นั่งรอที่ตรงข้างถนน พอแม่เดินออกจากร้านเราก็เดินตามหลัง) ที่ร้านทำผมแม่มีช่างประจำ ช่างเค้ารู้ว่าแม่เป็นโรคนี้ก็จะช่วยดูให้ระดับหนึ่ง (ขอบคุณคะป้าแอ๊ด) อาการแม่ก็ดำเนินต่อไปเรื่อยๆๆๆ เราก็ไม่ได้ดูแลอะไรเป็นพิเศษมากเพราะแม่เราเป็นแม่บ้าน ส่วนตัวคนในครอบครัวก็ทำงานกันหมด ส่วนที่บ้านก็มีแม่บ้านที่อยู่ด้วยกันหลายปี อยู่ดูแม่ (อาการของแม่ยังอยู่ใน step1 ไม่มากจนเกินไป) เหตุการณ์ดำเนินไปด้วยตัวมันเองอยู่หลายปี โดยระหว่างนี้เราย้ายไปทำงานที่ธนาคารตามที่เล่าเรียนมา และก็ลาออกเพราะเราจะแต่งงาน (จริงๆๆ ขี้เกียจทำงาน ตอนนั้นอยากออกมาเปิดร้าน และจะได้ดูแลแม่ด้วย) ระหว่างเราขายของก็จะให้แม่มานั่งอยู่หน้าร้านด้วย แม่จะได้ไม่เหงาและมีเพื่อน ตอนนี้แม่เริ่มจะเห็นภาพหลอน เห็นเงาตัวเองเป็นคนอื่น เป็นผู้ชายบ้าง เป็นผู้หญิงบ้าง บางทีก็เพ้อคุยคนเดียว (เราก็แจ้งให้คุณหมอทราบ คุณหมอก็เพิ่มยาตัวใหม่ให้กิน) ตอนนี้เราจะมีเรื่องขัดใจแม่ทุกวัน วันละหลายเวลา เช่นแม่จะเข้าห้องน้ำบ่อยมาก คือจำไม่ได้แล้วว่าตัวเองเพิ่งเข้าไป แบบ 5 นาทีเข้าครั้ง และก็เรื่องไร้สาระทั่วไป (เราเป็นคนที่มี EQ ต่ำคะ เลยอารมณ์จะขึ้นลงอย่างรวดเร็ว เวลาทะเลาะกับแม่เสร็จ แม่ร้องไห้ เราก็ไปแอบร้องไห้ จะรู้สึกผิดมากทุกครั้ง ... จริงๆๆ เราไม่เหมาะกับการที่ต้องมาดูแลผู้ป่วย แต่ไม่สามารถคะ เนื่องจากเราเป็นลูกสาวคนเดียว เลยต้องเป็นคนดูแล flight บังคับ) อ้อ อยู่ครังหนึ่งจำเหตุการณ์นี้ได้แม่นมาก เราพาแม่มานอนกับเราที่บ้าน ตอนนั้นแม่ค่อนข้างดี ตอนกลางคืนตื่นขึ้นมาไม่เจอแม่บนที่นอนตกใจมาก เดินหาแม่ เราไปเจอแม่ในห้องหลัวกำลังนั่งยองๆๆอยู่เราเลยถามว่ามาทำอไร แม่ดูตกใจนิดหน่อยบอกว่าเปล่าเราเลยพาแม่กลับมานอน ตอนเช้าเราไปดูในห้องครัวพบกองฉี่กองใหญ่ เจิ่งเต็มพื้นเลย (โห แม่เอาอย่างงี้เลยนะเนี่ย) คือแม่หาห้องน้ำไม่เจอ และคิดว่าห้องครัวคือห้องน้ำเพราะมีฝาท่อระบายน้ำอยู่ด้วย อีกเหตุการณ์ เราไปนอนเป็นเพื่อนแม่ที่บ้านของแม่ (บ้านแม่กับบ้านเราอยู่บริเวณเดียวกัน) แม่เดินพาเรดสวนสนามเข้าห้องน้ำตั้งแต่ 20.00 เกือบ 22.00 เราเลยเดินไปดูว่าแม่ทำอะไร พบเหตุการณ์ แม่กำลังดึงกระดาษชำระแล้วฉีกๆๆๆ กระจายเต็มห้องน้ำ อึ้งคะตอนนั้นเริ่มตกใจว่าแม่เป็นอะไรนี่ แต่ก่อนก็ไม่เห็นเป็นไร ตอนนั้นหัวเราะไม่ออก แต่พอเล่าเรื่องนี้ตอนหลังกลายเป็นเรื่องตลกไป เพราะกระดาษกระจายเต็มห้องน้ำไปหมดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย (ข้อคิดอีกนิด ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์นั้นอาการจะไม่แน่นอน บางทีก็คงทีเป็นระยะเวลานาน หรือตอนจะทรุดกราฟก็สโลบลงอย่างรวดเร็วได้ภายในเวลาอันสั้นค่ะ) ...คนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ จะมีอาการที่ทำให้ความสามารถกลับไปเป็นเด็กๆๆ อีกครั้ง คือจะไม่สามารถช่วยตัวเองได้.... ที่น่าเศร้ามากคือจะจำคนในครอบครัวไม่ได้ จะจำได้กับภาพในอดีต ส่วนในปัจจุบันจะจำได้น้อยมากหรืออาจจำไม่ได้ ตอนนี้แม่เราก็จำเราไม่ได้ (เศร้ามาก) แต่สามาถจำลูกเราได้ เป็นความสามารถของแม่เราจริงๆๆ เวลาลูกเราเรียกหรือมาหอมแก้มแม่จะมีปฎิกิริยาตอบโต้ทันที เช่นยิ้มหรือทำมือจะกอด ส่วนของเราแม่จะจำหน้าเราไม่ได้แล้ว จะพอจำเสียงเราได้เวลาเราคุยกับแม่ แม่ก็จะมองหาคะว่าอยู่ไหน เราว่าแม่คงย้อนเวลากลับไปตอนยังสมัยยังสาวอยู่และอาจจะจำรูปลักษณ์หรือเหตุการณ์สมัยก่อนได้อย่างเดียวคะ เวลาก็ผ่านไปเรื่อยๆๆ........จนวันหนึ่งพี่ชายที่เป็นหมอก็ได้กรุณาไปหาข้อมูลของคุณหมออีกท่านมาให้เรา พี่เราทำงานอยู่ที่ รพ.รามา และทราบว่าคุณหมออีกท่านออกตรวจวันเสาร์ที่ รพ. เทพธารินทร์ (โอ้ ใกล้บ้านอีกเหมือนกัน) คุณหมอชื่อ แพทย์หญิงสิรินทร ฉันศิริกาญจน คุณหมอท่านนี้น่ารักมากคะ พูดจาและก็เวลาตรวจรักษาเหมือนพูดคุยการญาติมาก (เราให้ท่านทำใจนิดหนึ่งนะคะ เวลามาหาหมอเกี่ยวกับโรคนี้อาจจะต้องเข้าคิวนาน เนื่องจากญาติ หรือผู้ป่วยเองต้องการคำแนะนำ บางทีก็ขอวิธีการรับมือของผู้ป่วย จากคุณหมอ ดังนั้นการตรวจแต่ละครั้งเราคิดว่าประมาณ 30 นาทีเป็นอย่างน้อยคะ) หลังจากได้คุยกับคุณหมอ เลยทราบว่าเมืองไทยเรามีสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมประเทศไทย โดยที่มีคุณหมอสิรินทรนายกสมาคม เราก็ไปเป็นสมาชิก และก็ได้วารสารของสมาคมมาอ่าน การที่มีสมาคมนั้น ดีคะจะได้มีการแชร์ประสบการณ์การดูแล และรับมือผู้ป่วย ที่สำคัญเราจะได้เห็นว่ามีผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อยู่มากทำให้จิตใจเรายอมรับผู้ป่วยได้มากขึ้น .... ถ้าท่านเป็นคนดูแลผู้ป่วยเองนะคะ ไม่ต้องเสียใจคะว่าผู้ป่วยจะไม่ค่อยสนใจท่าน แต่จะรักและสนใจคนที่นานๆๆๆจะมาเยี่ยมทีคะ.... อาการนี้เราโดนมากับตัว ส่วนคุณหมอก็บอกว่าใช่เลย ผู้ป่วยส่วนมากจะเป็นอย่างนี้ ดังนั้นไม่ต้องเสียใจนะคะ ระหว่างนี้เราก็พาแม่ไปหาคุณหมอทั้ง 2ท่านสลับไปมา แต่ในที่สุดก็พาไปหาคุณหมอสิรินทรแทน ไม่ใช่คุณหมอกัมมันต์รักษาไม่ดีนะคะ คุณหมอยังน่ารักเหมือนเดิมตั้งแต่พบและรักษากับท่านครั้งแรกเลย เพียงแต่ระบบคิวนัดที่โรงพยาบาลฯของคุณหมอ ไม่ค่อยสะดวกกับแม่เราเท่าไร คือว่าถึงแม้จะมีคิวนัดแล้วก็ต้องไปก่อนเวลาเพื่อรับคิวลำดับที่ต้องตรวจอีกครั้งทำให้แม่ต้องไปรอนาน แต่ที่เทพธารินทร์ จะมีคิววันเวลาค่อนข้างชัดเจน ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เวลาตามคิวก็ตาม ในปัจจุบันเราไม่ได้เป็นคนดูแลแม่โดยตรงแล้ว เราได้จ้างคนจากศูนย์ฯ มาช่วยดูแลแม่แทนเนื่องจากมีจุดพลิกผัน เดิมทีเราคิดว่าคนในครอบครัวจะดูแลแม่ได้ดีที่สุด แต่จริงๆๆ แล้วต้องขอบอกว่าไม่ใช่ (อาจจะมีบางครอบครัวที่ทำได้ดี แต่สำหรับเราไม่ค่อยดี) เพราะคนในครอบครัว (โดยเฉพาะเรา) จะมีจุดเดือดที่ต่ำกว่าปรกติคือ อะไรนิด อะไรหน่อยก็จะมีอารมณ์ร่วม แล้วเราไม่รู้จักวิธีป้อนข้าวให้แม่กิน(ได้ทีละมากๆๆ) หรือว่าการเดิน (จูง)ที่ถูกท่าคะ มันเป็นสิ่งที่เราไม่คิดว่าต้องมีการสอนหรือมีเทคนิก จำได้ว่าวันนั้นมีคิวตรวจกับคุณหมอ แล้วคุณหมอแจ้งว่าแม่มีน้ำหนักลงค่อนข้างมาก พูดง่ายๆๆว่าผอมเกินไปคือเราไม่สามารถทำให้แม่กินอาหารได้ครบนั่นเอง มีทางเลือกที่ทำได้ถ้าไม่สามารถให้แม่น้ำหนักเพิ่มให้มากกว่านี้ แม่เราจะต้อง feed อาหารทางสายยางแทน คือมีที่จมูกหรือไม่ก็เจาะท้อง วันนั้นคุณหมอให้เราดู case ของผู้ป่วยโรคนี้แต่ต้องเจาะท้องโดยเราขออนุญาติ ญาติของผู้ป่วยก่อน คุณหมอบอกว่าไม่เจ็บการดูแลก็ไม่ยากให้เราไปตัดสินใจ ครั้งหน้าถ้าน้ำหนักแม้ยังไม่ขึ้นจะคุยเรื่องนี้จริงจัง (น้ำหนักของผู้ป่วยควรจะอยู่ในระดับกำลังดีไม่อ้วน หรือ ผอมจนเกินไป และควรจะต้องคงที เพื่อที่จะทำให้การรักษาอยู่ในระดับที่ดีคงที...อันนี้คุณหมอบอกมา) โอ้ แม่เจ้าทำอย่างไรดี ครอบครัวเราไม่อยากให้แม่โดนเจาะท้อง ในที่สุดก็คิดจะลองเด็กจากศูนย์ที่จะดูแลผู้ป่วย ตอนนั้นเรารู้จักศูนย์บ้างจากการที่จะมาเลี้ยงลูกเรา เลยติดต่อศูนย์เพื่อขอสัมภาษณ์เด็ก อุแม่เจ้า เพิ่งรู้ว่าการหาพี่เลี้ยงสำหรับดูแลผู้สูงอายุนี่ยากกว่าหาพี่เลี้ยงเด็กอีกนะคะ เพราะส่วนใหญ่เค้าจะอยู่จนจบ case เลยก็หลายปี แล้วเราอยากได้คนที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับโรคนี้อีก ก็หายากเอาการณ์อยู่ค่ะ ตอนได้น้องคนแรกมา เคสก่อนน้องเค้าดูผู้ป่วยที่เป็น อัมพาส เค้าจบเคสพอดีก่อนเราโทรไป 2-3 วัน พอสัมภาษณ์ก็ให้มาดูคุณแม่เรา น้องเค้าทำได้ดี ทำให้แม่เรากินข้าวได้มากขึ้น (เรียกได้ว่ามีน้ำมีนวลขึ้นทันตา) การจูงแม่ก็ดีนิ่มนวล ที่สำคัญน้องเค้าชอบคุย และก็เป็นคนเสียงดัง แม่เราชอบแล้วก็ติดพี่เลี้ยงมาก จนถึงตอนนี้แม่มีพี่เลี้ยงเอาแบบจริงจังก็ผ่านมาแล้ว 3 คน แบบมาแทนอีก 2 คน แต่ทุกคนน่ารักจริงๆๆ ถือว่าแม่โชคดีมาก พี่เลี้ยงผู้สูงอายุเราต้องมีการพูดคุยกันให้ถูกใจก่อนนะคะ อย่ารีบร้อนหา ขอให้ใจเย็นๆๆ ตังแต่เป็นโรคนี้มาอาการของแม่ค่อนข้างคงทีไม่ลงเร็วจนเกินไป (อันนี้คุณหมอบอก) คนที่เป็นโรคนี้จะมีอายุโดยเฉี่ลยประมาณ 5-20 ปีคะ เราภาวนาให้แม่เราทำลายสถิติ ให้เกิน 20 ปี (ไม่รู้ทรมานแม่ไปหรือเปล่า) แม่เรา admit แค่ 2 ครั้ง ครั้งแรกแม่ทานน้ำแล้วสำลัก แต่เราไม่รู้ จนมันมีติดเชื้อแม่มีไข้สูงพอควรไปโรงพยาบาล อยู่ไป 5วัน ครั้งล่าสุดแม่เราเพิ่งออกมาจากโรงพยาบาลเมื่อวานค่ะ เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีไข้ขึ้นสูงทีเดียว 38.5 อาศาคะ คราวนี้ไปอยู่ 4วัน กลับมาคราวนี้แม่ยังค่อนข้างซึม ไม่ค่อยดีเหมือนก่อนไม่สบาย เรายังหวังให้แม่ฟื้นตัวเร็วๆๆ ไม่ต้องดีเท่าเดมก็ได้ แต่ขอให้ดีกว่าตอนนี้ค่ะ ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ผู้ดูแลควรระมัดระวังไม่ให้ป่วย (หรือให้เป็นน้อยที่สุด) เพราะเมื่อป่วยแล้วอาการของโรคอัลไซเมอร์จะทรุดลงอย่างรวดเร็ว หลังจากที่โรคแทรกหาย (เช่นไข้หวัด) อาการของโรคอัลไซเมอร์ก็จะค่อยๆๆ recover กลับมาแต่ไม่ได้ดีเท่าก่อนเป็นนะคะ สมมุติว่าตอนก่อนไม่สบาย ผู้ป่วยดีอยู่ในระดับ6 พอป่วยปุ๊ปตกลงไปอยู่ที่ระดับ2 พอหายป่วยอาการอัลไซเมอร์ก็จะค่อยๆๆดีขึ้น แต่จะไม่ดีเท่า 6 แล้ว อาจจะแค่ 4 หรือ 5 เท่านั้น ดังนั้นการรักษาสุขภาพของผู้ป่วยจึงสำคัญมากค่ะ |
มิ้วมิ้ว
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() Music Playlist at MixPod.com Link |