โอกาส เป็นของทุกคน
Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2557
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
5 กรกฏาคม 2557
 
All Blogs
 
การบริหารคลื่นความถี่แห่งอนาคต

ปัจจุบันวิวัฒนาการของเทคโนโลยีโทรคมนาคมมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์บนโลกนี้ ดังนั้นความต้องการและคุณค่าของทรัพยากรความถี่ (Spectrum Resource) จึงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและน่าทึ่งเพียงใดก็ตาม ทรัพยากรด้านความถี่ ก็ยังมีอยู่อย่างจำกัด นั่นหมายความว่าจะต้องมีการใช้ทรัพยากรในด้านนี้ให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด (Optimization) เท่าที่จะทำได้ 

           ทรัพยากรความถี่แบบดั้งเดิมถูกบริหารจัดการโดยวิธีการให้สิทธิที่ผูกขาดแก่ ผู้ใช้ผู้เดียว (Exclusive) และไม่สามารถโอนให้กับผู้อื่นได้ เป็นที่ทราบกันดีว่าสิทธิที่ให้มักเป็นรูปแบบการอนุญาตระยะยาว (Long-term Licensing) โดยเป็นที่ทราบกันดีว่าการให้สิทธิในลักษณะดังกล่าวจะทำให้เกิดการผูกขาดและจะเป็นอุปสรรคในการสร้างนวัตกรรม ในขณะที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาไปเร็วมากจนข้อบังคับกฎเกณฑ์ที่พยายามสร้างขึ้น มาตามไม่ทัน ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้มีการเสนอแนะในเชิงนโยบายด้านการบริหารคลื่นความถี่ และการอภิปรายได้มีขึ้นมากมายในบรรดาผู้เชี่ยวชาญในรูปแบบเอกสารทางวิชาการ รวมทั้งจากการศึกษาของ ITU  FCC และ Ofcom ชี้ให้เห็นว่าการทำให้เกิดเสรีในด้านการบริหารความถี่นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง (Liberalization and deregulation) แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีการวิเคราะห์เปรียบเทียบ และพิสูจน์ความจริงระหว่างการบริหารจัดการที่มีความแตกต่างกันในรูปแบบต่างๆ เหล่านั้น  

           จากการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายภาครัฐฯ การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ตลอดจนการแข่งขันอย่างรุนแรงในภาคธุรกิจเอกชน ทำให้ความต้องการทรัพยากรคลื่นความถี่เป็นปัญหาที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่ง และเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ระบบโทรคมนาคมในปัจจุบัน ประสบกับปัญหาการใช้ทรัพยากรคลื่นความถี่ที่มีอย่างจำกัด จนเป็นผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการจัดสรรคลื่นความถี่ให้กับหน่วยงานภาครัฐฯ เอกชน รวมทั้งในภาคประชาชน อีกทั้งทำให้หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ได้รับแรงกดดันจากทุกทางเพื่อการจัดสรรทรัพยากรคลื่นความถี่ที่มีอยู่อย่าง จำกัดอย่างเป็นธรรม โดยต้องคำนึงถึงความมั่นคงของชาติเป็นสำคัญอีกด้วย การจัดสรรคลื่นความถี่จะมีผลกระทบโดยตรงต่อการปฏิบัติงานขององค์กรภาครัฐฯ ต่างๆ เช่น กิจการของ กทช. และกิจการของกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ส่วนในภาคประชาชนเนื่องจากมีการใช้ความถี่อย่างไม่ถูกต้องตามหลักของกฎหมาย ทำให้มีผลกระทบที่รุนแรงต่อการบริหารคลื่นความถี่และในที่สุดความมั่นคงของชาติ เช่น กรณีปัญหาการจัดสรรคลื่นความถี่ในกิจการวิทยุชุมชน และโทรทัศน์ชุมชน เป็นต้น  ซึ่งปัญหาดังกล่าวก็เกิดขึ้นกับทุกประเทศทั่วโลกเช่นกัน จนทำให้หน่วยงานที่ควบคุมดูแลการออกกฎระเบียบในการจัดสรรคลื่นความถี่ทั่วโลก พยายามหาเทคโนโลยีที่สามารถบริหารทรัพยากรความถี่ให้สามารถรองรับกับความต้องการได้ 

           แต่ด้วยความก้าวหน้าในด้านการวิจัยและพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Software) ในด้านโทรคมนาคม จึงทำให้เครื่องมือและอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมมีความชาญฉลาดมากขึ้น โดยสามารถทำให้การบริหารคลื่นความถี่ (Spectrum Management) ที่มีอยู่อย่างจำกัดในระบบโทรคมนาคม ให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น จนสามารถลดปัญหาความขาดแคลนทรัพยากรคลื่นความถี่ได้ในระดับหนึ่ง และจากการค้นคว้าในเบื้องต้นพบว่า ในปัจจุบันนี้การวิจัยและพัฒนาในสาขาโทรคมนาคมที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการ บริหารคลื่นความถี่นั้น ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะเนื่องจากจะส่งผลให้สามารถลดปัญหาที่เกิดขึ้นกับการจัดสรรคลื่นความถี่ โดยรวม โดยขณะนี้มีผู้วิจัยอยู่กลุ่มหนึ่ง ที่เริ่มค้นพบหนทางในการแก้ปัญหาความขาดแคลนทรัพยากรคลื่นความถี่และเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ด้วยการนำเสนอเทคโนโลยีบริหารคลื่นความถี่ที่มีอยู่อย่างจำกัดในระบบโทร คมนาคมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเทคโนโลยีดังกล่าวคือ Dynamic Spectrum Allocation ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้เทคนิคในการปรับเปลี่ยนหรือย้ายคลื่นความถี่ไปยัง พื้นที่ที่มีความต้องการใช้สูง ระบบจะมีกรรมวิธีในการคำนวณการปรับย้ายคลื่นความถี่แบบอัตโนมัติ และสามารถเพิ่มจำนวนช่องทางการติดต่อสื่อสารให้มากขึ้นในพื้นที่ที่มีความต้องการสูง จนเป็นที่คาดการณ์ว่า เทคโนโลยีโทรคมนาคมในอนาคตซึ่งมีความต้องการในการใช้งานเพิ่มมากขึ้นภายใต้ ทรัพยากรคลื่นความถี่ที่มีอยู่อย่างจำกัด อาจจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ อาจส่งผลกระทบต่อการจัดสรรคลื่นความถี่ในประเทศไทยในที่สุด



Create Date : 05 กรกฎาคม 2557
Last Update : 5 กรกฎาคม 2557 21:24:58 น. 0 comments
Counter : 646 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 1103881
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 1103881's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.