หนึ่งรัก...เหนือกาล/ธัญภร/พิมพ์คำ

หนึ่งรักเหนือกาล - ธัญภร สนพ.พิมพ์คำ
โปรยปกหลัง แรงอธิษฐานของคนในอดีตนำพาหญิงสาวจากอนาคต ย้อนเวลากลับไปสู่อาณาจักรโบราณในยุคศรีวิชัย เพื่อเป็นตัวแทนราชธิดาตาราผู้สาบสูญ ความรักเหนือกาลเวลาจึงเริ่มต้นขึ้น
ปลายธาร หญิงสาวผู่ไม่เคยศรัทธาในศาสนาใด มักฝันเห็นมกรสัตว์ในตำนานและได้ยินเสียงคลื่นแว่วมาในหู แม้จะรู้สึกผิดปกติแต่ก้ไม่ได้ใส่ใจอะไร จนเมื่อเธอเดินทางไปเที่ยวโบโรบูดูร์กับครอบครัวในวันพระจันทร์เต็มดวง เกิดแผ่นดินไหวขึ้นหมอกควันฟุ้งกระจาย
เธอต้องหลับตาลงเพราะทนแสบตาไม่ไหว แต่ใครจะรู้ว่าเมื่อลืมตาขึ้นมาอีกครั้ง
ทุกอย่างกลับเปลี่ยนแปลงไปเธอจะเลือกอะไร . . . ระหว่างย้อนเวลากลับไปหาครอบครัวในยุคปัจจุบันอันแสนคุ้นเคย กับอยู่เสี่ยงภัยในฐานะราชธิดาตาราเคียงข้างองศ์สะมา ชายผู้เป็นที่รัก คนอ่านเล่า หญิงสาวผู้ข้ามผ่านกาลเวลาและรายาหนุ่มแห่งอาณาจักรศรีวิชัย ผู้ก่อสร้างศาสนสถานซึ่งกลายเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ในอีกนับพันปีต่อมาความรักที่เกิดขึ้น ณ โบโรบูดูร์ นิยายอิงประวัติศาสตร์ชวาที่บอกเล่าเรื่องราวความรักของหญิงสาวจากปัจจุบันและรายาหนุ่มแห่งอาณาจักรศรีวิชัยปลายธาร หญิงสาวจากโลกปัจจุบันที่เป็นตัวแทนคนยุคใหม่ได้ดี (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนอ่านอย่างฉัน)ผู้หญิงที่เหินห่างจากวัดเรื่อยๆ แบบไม่รู้ตัว เชื่อมั่นในตัวเองมากกว่าสิ่งใดในโลกอยู่ๆ ก็โผล่ไปยังอดีต หลังจากภูเขาไฟเมราปีปะทุในคืนวันเพ็ญที่บุโรพุทโธ(ชื่อจริงๆ เรียกว่า โบโรบูดูร์ แต่ถ้าเรียกแบบไทยๆ จนคุ้นเคยก็คือ บุโรพุทโธ)ได้ไปพบกับเจ้าชายสะมา เจ้าชายแห่งชวา ตามมาด้วยเรื่องราวต่างๆที่ทำให้ทั้งคู่ได้อยู่ใกล้ชิดและเรียนรู้ซึ่งกันและกันจนเกิดเป็นความรัก ต้องบอกก่อนว่าคนอ่านเคยได้เรียนและต้องเรียนวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะชวาซึ่งเป็นวิชาสำคัญมากที่จะปูพื้นฐานมายังศิลปะไทยในทุกยุคสมัยฉะนั้นจึงค่อนข้างคุ้นเคยและสนิทสนมกับศัพท์ต่างๆ ที่อยู่ในเรื่อง แต่ก็คิดว่าคนที่ไม่เคยเรียนน่าจะเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ได้ง่ายเพราะคนเขียนไม่ได้เขียนให้มันยาก และข้อมูลที่อยู่ในนิยายก็มีประกอบเพื่อช่วยบอกเล่าให้คนอ่านได้เข้าใจเรื่องราวแต่ไม่ยัดเยียดจนเกินไปจนแยกไม่ออกว่าเป็นนิยายหรือว่า Text (ครูที่เคารพเคยบอกว่าถ้าคนอ่านอยากอ่านข้อมูล เขาก็ไปอ่านสารคดีนานแล้ว ไม่ต้องมาอ่านนิยายหรอกถ้าจะใส่ข้อมูลลงไป อย่าทำให้คนอ่านรู้สึกเหมือนถูกยัดเยียดและอย่าอวดศักดาความรู้) เจ้าชายสะมาในความรู้สึกของคนอ่านคนนี้ นิสัยขี้เล่น แต่ก็เป็นนักรบ ชวนให้คิดถึงอิเหนาที่ไม่เจ้าชู้ ซึ่งคนอ่านน่าจะรักได้ไม่ยากเพราะที่ผ่านๆ มาจากประสบการณ์เคยทำงานวิชาการด้านวรรณคดีไทยมีคนรอบตัวมากมายเกลียดอิเหนา เพราะนิสัยเจ้าชู้ของพ่อเจ้าประคุณนี่แหล่ะ ในเรื่องตัวละครอีกตัวที่สำคัญคือ “บาหยัน” เป็นตัวแทนของผู้คนที่งมงายแยกแยะถึงเรื่องศรัทธาด้วยสติปัญญาและความลุ่มหลงศรัทธาจนหน้ามืดตามัวไม่ออกคิดว่าคนแบบนั้นคงมีทุกยุคสมัย คนเขียนถ่ายทอดลักษณะนิสัย ความคิดของตัวละครนั้นออกมาตรงใจมาก หมายเหตุ...นิยายเรื่องนี้มีข้อบกพร่องแต่เราจะไม่พูดถึงแต่อย่างใด เพราะว่ามันไม่ได้ร้ายแรงหนักหนา อีกอย่างข้อดีของเราอาจจะไม่ดีสำหรับคนอื่น ข้อเสียของเรา ถ้าเราไม่ตอกย้ำหรือพยายามชี้นำคนอื่นก็อาจจะไม่รู้สึกและมองไม่เห็นด้วยซ้ำ ของแบบนี้มันอยู่ที่จริตเนอะ รวมๆก็คือชอบเรื่องนี้นั่นแหล่ะ ข้างล่างคือความเห็นส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับข้อดีข้อเสียของนิยาย ในเรื่องมีสัตว์พาหนะชนิดหนึ่งเป็นสื่อนำนางเอกไปยังอดีต คือ “มกร”ถ้าอ่านตามรูปศัพท์เดิมจากภาษาสันสกฤต คือ มะ – กะ – ระแต่แน่นอนว่าพอเป็นไทยก็เรียกกันง่ายๆ ว่า มะ-กอน มกรเป็นสัตว์ที่นิยมสลักไว้ตามศาสนสถานกำเนิดเกิดขึ้นในอินเดีย ตั้งแต่ศิลปะคุปตะ แผ่อิทธิพลมาพร้อมๆ กับศาสนา มาที่ชวาเขมร พม่า หรือแม้แต่ไทย แต่รูปร่างหน้าตาก็เปลี่ยนไป แต่มกรในศิลปะชวาหน้าตาน่าเอ็นดูที่สุดแล้วและเป็นต้นแบบของตัวมกรในศิลปะไทย ความหมายของมกร คือ เป็นสัตว์ที่คอยปกปักรักษาศาสนสถาน มกรจะคายตัวนาค ออกมาเป็นวงโค้งเหนือกรอบประตู "นาค" คือสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ เป็นตัวแทนของน้ำ หมายความว่า คนที่เข้าไปสักการะบูชาศาสนาสถาน จะกลับออกมาพบกับความอุดมสมบูรณ์ อีกประการหนึ่ง มกรเป็นพาหนะของพระแม่คงคา ในบางตำราอีกด้วย หมายเหตุ...อีกรอบ...คนอ่านกับคนเขียนรู้จักกันเป็นการส่วนตัวพอประมาณเนื่องจากเคยผ่านการอบรมเขียนนิยายรุ่นเดียวกันมาเป็นเวลานานหลายเดือน(บอกเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ เผื่อว่าใครจะใช้เป็นส่วนประกอบในการซื้อว่าเชื่อถือได้มากแค่ไหน)
Create Date : 29 ตุลาคม 2555 | | |
Last Update : 29 ตุลาคม 2555 22:03:55 น. |
Counter : 1817 Pageviews. |
| |
|
|
|