ขั้นตอนต่างๆในการผลิตเพลงประกอบโฆษณา (Part 2 การหา refference เสนอลูกค้า)

อย่างที่บอกไปใน part แรก การเริ่มต้นนั้นอาจจะเป็นการที่ผู้กำกับมาขอให้ช่วยหา refference สำหรับไปเสนอลูกค้า หรือบางทีเค้าก็จัดการกันเอาเอง เคาะกันไปเคาะกันมา จนส่งมาให้เราทำงานต่อ

ซึ่งกว่าจะตกลงเรื่องรูปแบบงาน กว่าจะมาถึงเรา จะมาประมาณนี้ครับ

ลูกค้า Product (เจ้าของสินค้า) - เอเจนซี่ - Production house - Composer

ส่วนระบบการทำงานทั้งหมดของการทำโฆษณา แนะนำให้ตามดูที่เพจ หา”เฮ้าส์” ใส่หัว นะครับ (ไม่ได้รู้จักกันเป็นการส่วนตัว หรือมีจุดประสงค์จะโปรโมตเพจ แต่มีอัลบั้มรูปนึงที่อธิบายไว้ละเอียดจริงๆ ซึ่งตัวผมจากไม่เคยรู้ระบบการทำงานทั้งหมด เพราะปกติทำแต่งานเสียง ก็เรียนรู้จากอัลบั้มนั้นครับ ลองไปหากันดู)


เอาล่ะครับ เราจะเริ่มอธิบายในส่วนของงาน โดยจะเริ่มจากการหา refference สำหรับเสนอลูกค้า ในงานโฆษณากันนะครับ


การหา refference อย่างที่บอก อาจจะเป็นหน้าที่ของ Composer หรือ จากห้อง Final Mix ก็ได้  ดูเหมือนจะไม่มีอะไร เอาจริงๆมันมีอะไรต้องคิด และยุ่บยั่บพอสมควรเลย 

กรณีที่เราต้องหาแบ่งเป็นหลายๆแบบ โดยผมจะเริ่มจาก


  1. ผู้กำกับมีรูปแบบเพลงที่ต้องการอยู่ประมาณนึงแล้ว เช่น อาจจะมีเพลงในหัวอยู่เพลงนึง และอยากให้เราช่วยหาเพลงรูปแบบประมาณนี้อีก เพื่อนำไปเป็นตัวเลือกให้กับลูกค้า ซึ่งจากที่เคยเจอมาโดยมากจะเป็นแบบนี้
  2. จาก keyword อันนี้มักจะเจอในบรีฟจากคนที่ยังมีประสบการณ์ไม่มาก หรือบางทีโดนลูกค้าขอเปลี่ยนจนหมดมุกแล้ว เช่น เท่ สนุก ดราม่า ใหญ่ ฯลฯ
  3. บางกรณีอาจจะมาแต่ board แล้วให้เราตีความว่าน่าจะเป็นเพลงแบบไหน

อาจจะมีอีกหลายกรณีนะครับ แต่เท่าที่ผมเคยเจอจะประมาณนี้ และที่เห็นบ่อยๆหน้าที่นี้จะไปตกอยู่ที่คนทำ final mix ซะมาก


ละอีกเรื่องครับ การหาเพลงนั้น อย่างที่บอกครับ ว่ามันมีความยิบย่อยอยู่

การหาเพลงยังมีแยกมาอีกครับ ซึ่งเราต้องเข้าใจจุดนึงก่อนว่า สายงานทางนี้ ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีความรู้ทางด้านดนตรีขั้น expert หรือจำแนกแนวดนตรีอะไรได้ขนาดนั้น คือเค้าอาจจะรู้ว่าเค้าต้องการอะไร แต่ไม่สามารถอธิบายออกมาได้แจ่มแจ้งมากนัก เป็นหน้าที่เราที่ต้องตีความครับ

เช่นว่า เราอาจจะได้รับบรีฟมาว่า เท่ ไอคำว่าเท่ของแต่ละคนมันไม่เหมือนกันครับ ถ้าเรารู้จัก หรือรู้ lifestyle ของผู้กำกับมาก่อน อาจจะตีความ หรือตอบโจทย์ได้ไม่ยาก แต่ถ้าไม่รู้เนี่ย ก็ต้องคิด หรือหาเผื่อไว้หลายๆแบบ สำหรับบางคน อาจจะมองว่า maroon 5 เท่ บางคนมองว่าอาจจะเป็นวงร็อคอย่าง kasabian AM หรืออิเลคโทรนิคไปเลยอย่าง daft punk, underworld อะไรก็ว่าไป และวิธีแก้ปัญหาของผมคือ โยนหินถามทางเลยครับ เอาทั้งหมดนี่แหละ ที่มันมีแนวโน้มจะเท่ได้ แนวละเพลงสองเพลงก็ว่าไป มีหลายๆ option ละถ้าลูกค้าชอบแบบไหน เราค่อยมาเจาะแนวนั้นอีกที


อีกเรื่องที่เจอบ่อยๆคือ เพลงโฆษณาเนี่ย ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ค่อยมีเนื้อร้อง แต่เพลงส่วนมากก็มีเนื้อร้องกันหมด ลูกค้าบางคนฟังละเกท บางคนไม่เกท ว่าเพลงอยู่ในหนังโฆษณาแล้วไม่มีเนื้อร้องจะเป็นยังไง ทางออกคือ 

  1. ก็หาเพลงที่มันไม่มีเนื้อร้องซะ ซึ่งมีน้อยเชียวล่ะ
  2. music library คืออีก 1 ทางออกที่มักจะเลือกใช้กัน คือ มันจะมีเวปที่ให้บริการดาวน์โหลดเพลงมาใช้ในสื่อต่างๆอยู่แล้ว แล้วก็จ่ายตังเค้าไปเท่าไหร่ๆก้ว่ากันไปตาม spec งาน แต่สาเหตุที่ลูกค้าเลือกที่จะทำเพลงขึ้นมาใหม่ แทนที่จะซื้อเพลงจากเวปเหล่านั้น คือมันแก้ไม่ได้ มันไม่ซิ้งกับภาพได้อย่างที่ต้องการ มันเน้นตรงจุดที่อยากเน้นไม่ได้ ซึ่งอันนี้เราก็ต้องมี contact กับเวป library ทั้งหลายไว้ 


สรุปนะครับ ทักษะ หรือสิ่งที่เราต้องมีในการทำหน้าที่นี้คือ

  1. เป็นคนฟังเพลงเยอะ นึกเพลงได้เร็วๆ รู้จักเพลงมากพอที่จะแนะนำลูกค้าได้
  2. ทักษะในการตีความเรื่องความต้องการของลูกค้า
  3. เป็นสมาชิกของเวป library ทั้งหลาย 


ทีนี้ก็เป็นหน้าที่ของทางฝ่ายอื่นที่จะต้องเอาเพลงไปตัดวางกับหนัง เพื่อให้ลูกค้า รวมถึงทุกคนเห็นภาพตรงกัน เพื่อที่จะง่ายแก่การทำงานของเราแล้วล่ะครับ




Create Date : 21 กันยายน 2558
Last Update : 21 กันยายน 2558 23:09:43 น.
Counter : 1372 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

LZ_Page
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



Blog นี้ตั้งขึ้นมาเพื่อแชร์/แลกเปลี่ยน ประสบการณ์การทำงานด้านดนตรีประกอบ รวมถึงแชร์เรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวกับดนตรี และ Lifestyle

ตัวผมไม่ได้มีประสบการณ์มาก เล่าได้เท่าที่รู้ หากมีข้อมูลส่วนใดที่ผมบกพร่อง หรือมีข้อแนะนำ กรุณาชี้แนะด้วยครับ
New Comments
กันยายน 2558

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
12
13
14
15
16
17
18
19
20
22
23
24
25
26
27
28
29
30