ธันวาคม 2558

 
 
1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
ผู้สูงอายุกับทางเลือก
แนวทางการพัฒนาการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุ ในภาคเหนือตอนล่าง
Guidelines for Management Development the welfare of the elderly in the lower North
โดย อาจารย์สุพจน์ อินหว่าง

รองศาสตราจารย์ ดร.กัญญามน อินหว่าง

บทคัดย่อ


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของการจัดการสวัสดิการของผู้สูงอายุ และเพื่อหาแนวทางการพัฒนาการจัดการสวัสดิการของผู้สูงอายุ ในภาคเหนือตอนล่าง ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก กลุ่มตัวอย่างได้แก่ สมาชิกและผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ภาคเหนือตอนล่าง โดยสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ภาคีเครือข่ายการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 5 จังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย จังหวัดตากและจังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดละ 10 คน รวม 50 คน และผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ จังหวัดละ 5 คน รวม 25 คน รวมทั้งสิ้น 75 คนทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลวิจัย พบว่า ความต้องการการจัดการสวัสดิการที่มากที่สุด คือ มีความต้องการด้านสุขภาพอนามัย ด้านสวัสดิการด้านความปลอดภัยในชีวิตและ ด้านนันทนาการ และพบว่า ลักษณะของการจัดสวัสดิการมี 5 ประการ คือ การมีเสรีภาพ การมีส่วนร่วม การได้รับการดูแล การบรรลุความพึงพอใจตนเอง ความมีศักดิ์ศรี สำหรับปัจจัยที่ส่งเสริมความสำเร็จ 3 ลำดับ คือ 1) ชุมชนหรือองค์กรมีความเข้มแข็งมีความเข้มแข็งของภาคี 2) ชุมชนใช้กระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ 3) องค์กรมีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดโครงการ และพบว่า แนวทางการพัฒนาระบบการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุในภาคเหนือตอนล่าง มี 6 ด้าน คือ 1) ด้านกิจกรรมของผู้สูงอายุ 2) ลักษณะของการจัดสวัสดิการ 3) ศักยภาพของชมรมผู้สูงอายุ 4) ศักยภาพขององค์กรเครือข่ายการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 5) ศักยภาพของภาคีเครือข่ายวัดและพระสงฆ์ 6) มีเป้าหมายการสร้างคุณภาพชีวิต และพัฒนาสุขภาพชุมชน
คำสำคัญ การจัดการ การจัดสวัสดิการ ผู้สูงอายุ แนวทางการพัฒนาการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุ

Guidelines for Management Development the welfare of the elderly
in the lower North

The purpose of this research was to study the characteristics of management, welfare of the elderly in the lower North and to identify for Management Development and the welfare of the elderly in the lower North. This study used qualitative research methods with a depth interviews were analyzed using content analysis method. Sample members and practitioners in the welfare of the elderly lower north by sampling a specific select network associates to promote healthy aging five provinces in the area of responsibility Phitsanulok, Phetchabun, Sukhothai, Tak and Uttaradit provinces of 10 people, including 50 persons and practitioners in the welfare of the elderly Province by 5 persons, including 25persons, totaling 75 persons.

Results showed that management needs most is the welfare of the elderly with health needs, health, life safety and recreation and found the appearance of welfare as the main five, including the freedom, participation, to be treated achieving self- satisfaction, dignity. Nature of activities and quality of life of the elderly with the goal of improving the quality of life and psychological adjustment, social behavior, savings behavior learning. For factors that promote success three sequences: 1) the community or organizations are strengthened with the strength of the party. 2 ) community participation in the development process and project implementation. 3 ) the organization has a clear policy to promote and support the project or activities for the elderly. And found that the development of the welfare system for the elderly in northern lower six areas: 1) the activities of the elderly. Process development activities from learning to behavior retired 2 ) the nature of the welfare 3 ) the potential of Elderly 4 ) the potential of networked organizations to promote healthy aging 5) potential partnership networks to measure health promotion and clergy network 6 ) The goal is to create a quality of life and improve community health. Consequently, social welfare for the elderly should be a management which offers opportunities for the elderly to participate in the administration in order to allow them to recognize their own values. Also, the community should be well strengthened in order be a solid foundation for social welfare management for the elderly.
Keywords: Management, the welfare of the elderly management, Guidelines for Management Development the welfare of the elderly

ความสำคัญและที่มาของปัญหา

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นประเด็นที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และนักวิชาการ เพราะมีผลกระทบอย่างกว้างขวางทั้งในระดับมหภาคได้แก่ ผลต่อผลผลิตรวมของประเทศ (GDP) รายได้ต่อหัวของประชากร การออม และการลงทุนงบประมาณของรัฐ และในระดับจุลภาค ได้แก่ ผลต่อตลาดผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆโดยเฉพาะด้านการเงินและสุขภาพ การเตรียมความพร้อมเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2542 มีผลทำให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต้องปรับตัวนำไปสู่การคิดริเริ่มการดำเนินงานในลักษณะใหม่ๆในหลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ได้ประกาศใช้กฎหมายฉบับดังกล่าวได้กำหนดสิทธิที่ผู้สูงอายุจะต้องได้รับตามกฎหมาย เช่น การบริการทางการแพทย์ การบริการทางการศึกษา การประกอบอาชีพการมีส่วนร่วมทางสังคมและการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆการอำนวยความสะดวกและปลอดภัยในอาคารสถานที่ ยานพาหนะ บริการสาธารณะอื่นๆ การช่วยเหลือค่าโดยสารยานพาหนะ การยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ของรัฐ ความช่วยเหลือกรณีถูกทำร้ายหรือได้รับอันตรายหรือถูกทารุณกรรมการช่วยเหลือกรณีถูกทอดทิ้ง การช่วยเหลือกรณีถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบการจัดที่พักอาศัยให้กับผู้สูงอายุที่ประสบปัญหา การจัดหาเครื่องนุ่งห่ม การสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ การจัดงานศพตามประเพณี สิทธิต่างๆ เหล่านี้ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายก็เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของสังคมไทยที่ได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

สวัสดิการสังคม (Social Welfare) เป็นระบบที่ให้บริการแก่ประชาชนเพื่อตอบสนองความต้องการที่จำเป็นด้านสังคมเศรษฐกิจการศึกษาและสุขภาพอนามัยงานสวัสดิการสังคมแบ่งประเภทบริการได้ 3 ประเภทคือ 1) การประกันสังคม (Social Insurance) 2) การช่วยเหลือสาธารณะ (Public Assistance) และ 3) การบริการสังคม (Social Services) ด้านต่างๆดังนี้สุขภาพอนามัยการศึกษาที่อยู่อาศัยการมีงานทำและการมีรายได้การบริการสังคมและนันทนาการ (ศศิพัฒน์ยอดเพชร, 2549)ประเด็นหนึ่งที่มีการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางคือ การที่ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งโดยครอบครัวมากขึ้น เพราะการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางเศรษฐกิจ และทางสังคมเป็นการเพิ่มแรงกดดันแก่สมาชิกในครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ พบว่ารูปแบบของครอบครัวเปลี่ยนแปลงจากครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ขนาดของครอบครัวเล็กลง สมาชิกของครอบครัวที่อยู่ในวัยแรงงาน ต้องไปทำงานต่างถิ่นไกลบ้าน สมาชิกในครอบครัวกระจัดกระจาย และเกิดความห่างเหินต่อผู้สูงอายุมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางสังคมดังกล่าว มีผลกระทบกับการให้บริการสวัสดิการสังคมของหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐที่ใกล้ชิดกับชุมชนมากที่สุด เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหน่วยงานภาครัฐหน่วยงานหนึ่ง ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคม ให้แก่ผู้สูงอายุในชุมชน แต่เมื่อประมวลภาพรวมเกี่ยวกับการบริการสวัสดิการสังคมที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ได้จัดทำให้แก่ผู้สูงอายุโดยทั่วไปแล้วพบว่า ไม่ว่าจะเป็นเงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ การดูแลด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล การให้ความมั่นคงทางด้านสังคม รวมถึงด้านสิทธิต่างๆที่ผู้สูงอายุพึงมีพึงได้ พบว่ายังมีข้อจำกัด และปัญหาหลายประการ ซึ่งทำให้การดำเนินงานไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการ และสามารถแก้ไขปัญหาของผู้สูงอายุในชุมชนได้อย่างครบถ้วนและทั่วถึง ทั้งยังขาดระบบการจัดการด้านสวัสดิการและการสร้างความสำคัญให้กับผู้สูงอายุ

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาเบื้องต้นของคณะผู้วิจัย พบว่า มีแนวทางการจัดสวัสดิการจากในประเทศและต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่าเป้าหมายระบบสวัสดิการผู้สูงอายุของประเทศต่างๆส่วนใหญ่ตรงกันคือ มุ่งส่งเสริมคุณภาพชีวิต (Quality of Life) ความผาสุก (Well-being) และสุขภาวะ (Health) แต่เน้นมาตรการที่แตกต่างกันไปเช่น ประเทศญี่ปุ่นเน้นการดูแลระยะยาวที่ไม่ใช่เป็นการดูแลในสถานพยาบาลหรือสถานสงเคราะห์แต่เป็นการส่งเสริมให้เกิดการดูแลที่บ้านประเทศสิงคโปร์มีความเด่นชัดในบทบาทการเป็นผู้สนับสนุนและประสานความร่วมมือจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะองค์กรเอกชนกับภาคประชาชนซึ่งทำให้งานสวัสดิการผู้สูงอายุดำเนินได้อย่างเข้มแข็ง สำหรับประเทศออสเตรเลียและอังกฤษจะมีลักษณะเหมือนกันคือ เน้นการสร้างความมั่นคงทางรายได้ของผู้สูงอายุโดยส่งเสริมการจ้างงานหลังเกษียณที่สอดคล้องตามศักยภาพและในระยะหลังนี้เกือบทุกประเทศส่งเสริมการออมรูปแบบต่างๆเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับวัยสูงอายุในขณะที่การบริการด้านสุขภาพทุกประเทศพยายามพัฒนาให้เหมาะสมสะดวกรวดเร็วและผู้สูงอายุเข้าถึงได้อย่างครอบคลุม เช่น ประเทศสิงคโปร์ ประเทศอังกฤษ ประเทศญีปุ่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีลักษณะที่ไม่แตกต่างกันในเรื่องการส่งเสริมความมั่นคงด้านการเงินหลังเกษียณส่งเสริมการจัดการกองทุนบำนาญและสนับสนุนให้มีการออมเงินที่เหมาะสมรวมทั้งช่วยให้ผู้ที่เกษียณมีรายได้หลังเกษียณที่เพียงพอ (DSS-Publications-The Changing Welfare, 2001 อ้างถึงในวรรณภาศรีธัญรัตน์และผ่องพรรณอรุณแสง, 2545a) ระบบบำนาญมี 2 ลักษณะคือ State Pension เป็นการร่วมจ่ายในอัตราที่คงที่ของผู้ทำงานทุกคนเงินบำนาญจะเป็นอัตราคงที่ (flat rate) และให้กับผู้ชายอายุ 65 ปีผู้หญิงอายุ 60 ปีไม่ว่าจะเกษียณหรือไม่ระบบบำนาญแบบที่ 2 คือ Second-retire pension เป็นการออมภาคบังคับเพื่อให้มีเงินบำนาญมากขึ้นดำเนินการโดยภาครัฐและภาคเอกชน (วรรณภา ศรีธัญรัตน์และผ่องพรรณ อรุณแสง, 2545a) สำหรับแนวคิดการดำเนินงานด้านผู้สูงอายุของประเทศสิงคโปร์ที่เด่นชัดปรากฏอยู่ใน 3 กรอบได้แก่ 1) Heart ware เน้นปรับทัศนคติของสังคมต่อการเข้าสู่วัยสูงอายุเป็นความต้องการให้บุคคลคิดและเข้าใจว่าวัยมิใช่อุปสรรคในการทำสิ่งใดผู้สูงอายุยังคงเป็นคนที่มีความรู้ ความสามารถและควรค่าแก่การส่งเสริมให้ทำกิจกรรมอันมีประโยชน์ต่อสังคม 2) Soft ware เน้นการสร้างเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุในการทำกิจกรรมต่างๆเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจการงานสังคมเช่นส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเป็นอาสาสมัครการดำเนินกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนและที่สำคัญคือการส่งเสริมให้มีศูนย์อเนกประสงค์ (multi-service center) เพื่อให้บริการที่หลากหลายในชุมชนแบบครบวงจร 3) Hard ware เน้นการสร้างที่อยู่อาศัยการจัดการคมนาคมขนส่งการสร้างสถานบริการต่างๆที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตและการเข้าร่วมกิจกรรมและการรับบริการต่างๆของผู้สูงอายุด้วยตนเองสอดคล้องตามแนวคิด Ageing in place (วรรณภา ศรีธัญรัตน์, ผ่องพรรณ อรุณแสง, เพ็ญจันทร์ เลิศรัตน์, และพรทิพา สมบัติ, 2545) จะเห็นได้ว่า แนวทางปฏิบัติของต่างประเทศนี้มีความน่าสนใจที่จะเป็นแนวทางการดำเนินงานสวัสดิการผู้สูงอายุดังกล่าวข้างต้นนี้ จะสามารถนำไปเป็นแนวทางการพัฒนาระบบการจัดสวัสดิการให้กับผู้สูงอายุของประเทศไทย ซึ่งการศึกษาครั้งนี้จะทำการศึกษาถึงความต้องการของผู้สูงอายุในภาคเหนือตอนล่างเบื้องต้นเพื่อนำมาเป็นแนวทางการร่างรูปแบบการพัฒนาการจัดสวัสดิการให้กับผู้สูงอายุต่อไป

เนื่องจากภาคเหนือตอนล่างได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดสุโขทัย จังหวัดตาก จังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดพิจิตร โดยมีพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจและการผลิตต่าง ๆ และจังหวัดตากเป็นจังหวัดชายแดนเชื่อมโยงเส้นทางที่สำคัญ มีโครงข่ายการคมนาคมทางบกที่สนับสนุนการขนส่งทั้งคนและสินค้า มีสนามบินพาณิชย์ที่พิษณุโลก สนามบินอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย และสนามบินแม่สอด เส้นทางการท่องเที่ยวภายในประเทศและกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งยังเป็นแหล่งผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลการเกษตรที่สำคัญของภาคมีการผลิตพลังงานชีวภาพเป็นแหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกเชิงประวัติศาสตร์ คือ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัวของจังหวัดเพชรบูรณ์ พิษณุโลก และตาก มีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ที่สามารถนำมาสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ ชุมชน และตลาดสินค้าที่ระลึกหรือสินค้าประจำถิ่น เช่น ผ้าทอจังหวัดอุตรดิตถ์ ทองสุโขทัยลายโบราณที่จังหวัดสุโขทัย ศิลปะประดิษฐ์และอาหารแปรรูปของจังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น

คณะผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาถึงแนวทางการจัดสวัสดิการสังคมให้แก่ผู้สูงอายุ ตลอดจนรูปแบบวิธีการในการจัดการสวัสดิการสังคมให้แก่ผู้สูงอายุ ปัญหา และอุปสรรคที่พบในการดำเนินงานการจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยนำแนวทางปฏิบัติทั้งที่มีในประเทศไทยและต่างประเทศที่เป็นการปฏิบัติที่ดีมาเป็นต้นแบบในการศึกษา โดยดำเนินการค้นคว้าจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับระบบสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศเพื่อจัดทำเครื่องมือ และแนวทางการปฏิบัติ เพื่อสำรวจความต้องการที่แท้จริง สำรวจเจาะลึกถึงแนวปฏิบัติที่มีอยู่ รวมทั้งศึกษาความต้องการและความเป็นไปได้ในการสร้างระบบการจัดการ การดำเนินงานที่ดีของระบบสวัสดิการ เพื่อนำเป็นแนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุให้กับท้องถิ่นต่างๆที่สามารถเป็นต้นแบบต่อไป


วัตถุประสงค์การวิจัย
1) เพื่อศึกษาลักษณะของการจัดการสวัสดิการของผู้สูงอายุ ในภาคเหนือตอนล่าง
2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการจัดการสวัสดิการของผู้สูงอายุ ในภาคเหนือตอนล่าง
ขอบเขตทางการศึกษา

ขอบเขตด้านประชากร

ประชากร ได้แก่ สมาชิกและผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ได้แก่ อำเภอบางขันแตก จังหวัดสมุทรสงคราม โดยเลือกเฉพาะภาคีเครือข่ายการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

ขอบเขตด้านเนื้อหา ได้แก่ แนวทางการจัดสวัสดิการ ระบบสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทยและต่างประเทศ รูปแบบการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ศักยภาพการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุ การจัดการสวัสดิการของผู้สูงอายุในชุมชน บางขันแตก จังหวัดสมุทรสงคราม

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้ข้อมูลความต้องการและความเป็นไปได้ของการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุเพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาระบบการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุ
2. ผลการวิจัยนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อเป็นฐานข้อมูลการวางแผน และตัดสินใจในการวางนโยบายด้านการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุ และเป็นแนวทางให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่รับผิดชอบในด้านผู้สูงอายุได้กำหนดทิศทางการทำงาน ตลอดจนการกำหนดสร้างมาตรฐานด้านคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุต่อไป

ขอบเขตการวิจัยและวิธีวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ทำการศึกษาด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึก กลุ่มตัวอย่างได้แก่ สมาชิกและผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ภาคเหนือตอนล่าง โดยสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ภาคีเครือข่ายการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 5 จังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย จังหวัดตากและจังหวัดอุตรดิตถ์ จังหวัดละ 10 คน รวม 50 คน และผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ จังหวัดละ 5 คน รวม 25 คน รวมทั้งสิ้น 75 คน

การเก็บรวบรวมข้อมูล

1. การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่นหนังสือรายงานวิจัยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (แผน 10) แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 - 2564) พระราชบัญญัติผู้สูงอายุพ.ศ. 2546 เอกสารและแผ่นบันทึกจากโครงการ กิจกรรมต่างๆรวมทั้งสิ่งพิมพ์สื่ออิเล็กทรอนิกส์แผ่นบันทึก (ซีดี)ของกลุ่มผู้สูงอายุ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2. การสัมภาษณ์เจาะลึก เฉพาะเจาะจง ภาคีเครือข่ายการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 5 จังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย จังหวัดตากและจังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้ปฏิบัติงานสวัสดิการผู้สูงอายุและผู้รับสวัสดิการผู้สูงอายุ
ประกอบด้วย
• ผู้ปฏิบัติงานสวัสดิการผู้สูงอายุได้แก่ ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนและภาคประชาชน
• ผู้รับสวัสดิการผู้สูงอายุ

3. สรุปแนวทางการพัฒนาระบบการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ในภาคเหนือตอนล่าง

การวิเคราะห์ข้อมูล

เนื่องจากการศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วีการสัมภาษณ์เจาะลึกกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุ ดังนั้น จึงใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเป็นหลักในการศึกษา
ผลการวิจัย
ลักษณะของการจัดการสวัสดิการของผู้สูงอายุ ในภาคเหนือตอนล่าง มี 5 ประการ คือ การมีเสรีภาพ การมีส่วนร่วม การได้รับการดูแล การบรรลุความพึงพอใจตนเอง ความมีศักดิ์ศรี ความต้องการการจัดการสวัสดิการที่มากที่สุด คือ มีความต้องการด้านสุขภาพอนามัย ด้านสวัสดิการด้านความปลอดภัยในชีวิตและ ด้านนันทนาการ สำหรับปัจจัยที่ส่งเสริมความสำเร็จ 3 ลำดับ คือ 1) ชุมชนหรือองค์กรมีความเข้มแข็งมีความเข้มแข็งของภาคี 2) ชุมชนใช้กระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ 3) องค์กรมีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดโครงการ
แนวทางการพัฒนาระบบการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุในภาคเหนือตอนล่าง มี 6 ด้าน คือ

ภาพที่ 1 แนวทางการพัฒนาระบบการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุในภาคเหนือตอนล่าง (สุพจน์ อินหว่างและคณะ, 2556)

การอภิปรายผลการวิจัย

จากผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้สูงอายุมีความต้องการด้านสุขภาพอนามัยและด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และพบว่า ลักษณะของการจัดสวัสดิการเน้นหลัก 5 ประการ คือ การมีเสรีภาพ การมีส่วนร่วม การได้รับการดูแล การบรรลุความพึงพอใจตนเอง ความมีศักดิ์ศรี ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการจัดสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้กำหนดแนวทางการจัดการบริการและสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุไว้ (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2550, หน้า 101) สำหรับผลวิจัยด้านลักษณะการจัดกิจกรรมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคเหนือตอนล่างมี และแนวทางการพัฒนาระบบการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุในภาคเหนือตอนล่าง สอดคล้องกับผลวิจัยของนารีรัตน์ จิตรมนตรีและสาวิตรี ทยานศิลป์ (2551) ที่พบว่า ศักยภาพของชุมชนกับการดำเนินงานสวัสดิการผู้สูงอายุโดยภาพรวมมีการปรับปรุงระบบสวัสดิการผู้สูงอายุทั้งในเขตเมืองและเขตชนบท และสอดคล้องกับระบบการจัดการสวัสดิการของประเทศต่างๆ ในด้านมีการจัดสวัสดิการด้านการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนและระบบการสร้างที่พักอาศัย ส่งเสริมความมั่นคงด้านการเงิน ส่งเสริมการจัดการกองทุนบำนาญและสนับสนุนให้มีการออมเงิน เน้นการทำกิจกรรม ดังตารางต่อไปนี้


ประเทศออสเตรเลีย ปะเทศญี่ปุ่น ประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสิงคโปร์ ประเทศไทย ภาคเหนือตอนล่าง
1) การช่วยให้พึ่งตนเองได้ยืดการจ้างงานให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต
2) ได้รับการดูแลด้วยการบริการรูปแบบใหม่
ระบบประกันการจ้างงานและรายได้ระบบสุขภาพและสวัสดิการสังคมระบบการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนและระบบการสร้างที่พักอาศัยและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมความมั่นคงด้านการเงินหลังเกษียณส่งเสริมการจัดการกองทุนบำนาญและสนับสนุนให้มีการออมเงินช่วยให้ผู้ที่เกษียณมีรายได้หลังเกษียณที่เพียงพอ 1) การป้องกันการตรวจ การดูแลระยะยาวและการดูแลระยะสุดท้าย
2)มีศูนย์อเนกประสงค์ดูแลกลางวัน การดูแลแบบทดแทนชั่วคราว การช่วยงานบ้าน การบริการช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉิน และอาสาสมัคร 1) เน้นปรับทัศนคติการเข้าสู่วัยสูงอายุ
2) เน้นการทำกิจกรรมต่างๆเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในกิจการงานสังคม
3) เน้นดำรงชีวิตและการรับบริการด้วยตนเอง 1) มีเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนผู้สูงอายุ
2)มีการพัฒนากิจกรรมประชุม พัฒนากิจกรรมร่วมกับเครือข่าย การกำกับติดตามและประเมินผล


ข้อเสนอแนะจากการวิจัย
จากการศึกษาพบว่าแนวทางการพัฒนาการจัดการสวัสดิการของผู้สูงอายุ ในภาคเหนือตอนล่าง มีแนวทางด้านการเสริมสร้างศักยภาพขององค์การเครือข่ายและภาคีของผู้สูงอายุ รวมทั้งการสร้างเป้าหมายของการจัดสวัสดิการที่เน้นคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุ ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องควรวางแผนด้านการพัฒนาองค์การ ชมรมผู้สูงอายุที่มีความครอบคลุมกับกิจกรรมต่างๆโดยเฉพาะการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างจังหวัดและภูมิภาคต่อไปเพื่อการพัฒนากลุ่มผู้สูงอายุให้ยั่งยืน นอกจากนี้ควรมีการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุเป็นแบบพหุภาคี ซึ่งต้องเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการมากกว่าเป็นผู้รับบริการ เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ถึงคุณค่าของตนเอง อีกทั้งควรส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชนเพื่อใช้เป็นฐานในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ
ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
วิธีการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เจาะลึกกับกลุ่มเครือข่ายภาคี 5 จังหวัด ดังนั้นหากมีการศึกษาต่อไปควรทำการศึกษาเปรียบเทียบกับกลุ่มเครือข่ายจังหวัดอื่นๆในภาคเหนือตอนบน โดยควรเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผลเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องเหมาะสมต่อไป และควรทำการศึกษารูปแบบการพัฒนาการจัดการสวัสดิการของผู้สูงอายุเพื่อให้เห็นรูปแบบที่ชัดเจนว่าควรมีลักษณะการจัดการสวัสดิการอย่างไร มีการจัดกิจกรรมใดบ้างที่เหมาะสมและควรพัฒนาในด้านใดบ้างเพื่อเป็นรูปแบบที่เหมาะสมให้กับชมรมผู้สูงอายุ องค์กรเครือข่ายผู้สูงอายุต่อไป

แหล่งอ้างอิง

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. “รายงานการศึกษาเรื่อง ทิศทางและรูปแบบการจัด สวัสดิการสังคมของประเทศไทย”, พิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนสิงหาคม 2548,ห้างหุ้นส่วนจำกัด เทพเพ็ญ วานิสย์, น. 4 - 7.
นารีรัตน์ จิตรมนตรี, สาวิตรี ทยานศิลป์และสิริวัลย์ เรืองสุรัตน์. 2551. บทสรุปจากเวทีสาธารณะ: การ เตรียมพร้อมระบบสวัสดิการสำหรับสังคมผู้สูงวัย. กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก๊อป
สุพจน์ อินหว่างและคณะ.2556. แนวทางการพัฒนาการจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุ ในภาคเหนือตอนล่าง. ทุนสนับสนุนการวิจัยของมหาวิทยาลัยพิษณุโลก.





Create Date : 07 ธันวาคม 2558
Last Update : 7 ธันวาคม 2558 8:46:56 น.
Counter : 1184 Pageviews.

0 comments

kanyamon555
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]



การเรียนรู้ คือวิถีของมนุษย์