三枚目
ผู้มีนิสัยร่าเริง ตลก มักเรียกกันว่า ซัมไมเมะ 三枚目

ในสมัยเอโดะมีการแสดงหนึ่งที่เรียกว่า คาบูกิ ถ้านึกไม่ออกให้นึกถึงการแสดงบนเวทีที่แต่งตัวอลังการ ทาหน้าสีขาวมีขีดสีแดง น้ำเงิน ฯลฯ ป้ายหน้าโรงที่ทำการแสดงนี้จะมีป้ายชื่อติดอยู่จำนวน 8 ป้าย ซึ่งในแต่ละป้ายจะมีรายชื่อของผู้แสดงที่กำหนดเอาไว้อย่างตายตัว


ป้ายแผ่นที่ 1 อิจิไมเมะ (一枚目) นับจากทางด้านขวาจะเป็นตัวละครหลัก หรือในภาษาญี่ปุ่นใช้คำว่า ชุยะกุ (主役) จะเป็นตัวละครที่มีความโดดเด่นที่สุดในเรื่องนั้น

ป้ายแผ่นที่ 2 นิไมเมะ(二枚目)นับจากทางด้านขวาจะเป็นตัวละครที่มีความหล่อเหลา งดงาม มีเสน่ห์ (色男・美男子) ซึ่งนักแสดงที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น นิไมเมะ หรือ ป้ายแผ่นที่สอง คือ ทามากิ ฮิโระชิ 玉木宏 ในปัจจุบันมักจะใช้คำนี้เรียกคนที่ดูหล่อเหลาที่เป็นค่านิยมของสมัยนั้นๆ อย่างเดียวเท่านั้น นักแสดงที่แสดงทั้งสองบทบาทคือ มีความหล่อและแสดงตลกด้วยจะเรียกว่า ป้ายที่สองครึ่ง (二枚目半)


ส่วนป้ายแผ่นที่ 3 ซัมไมเมะ (三枚目) เป็นตัวละครหน้าตาตลก อารมณ์ดี (滑稽な役・道化役) แต่การใช้ช่วงหลังจากสมัยเอโดะมีการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือในสมัยเอโดะจะแสดงถึงผู้แสดงที่มีหน้าตาตลก นิสัยตลก แต่ปัจจุบันเป็นการใช้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าตาแต่เน้นไปที่นิสัยอย่างเดียว ตัวอย่างการใช้คำนี้เช่น เขาเป็นคนนิสัยตลก (彼は三枚目です) หรือ เขาแสดงบทบาทตลกในภาพยนตร์เรื่องนั้น (彼はその映画で三枚目です)



อ้างอิง

スーパー大辞林
明鏡
類語新辞典
ブリタニカ
//zokugo-dict.com/



Create Date : 17 มิถุนายน 2557
Last Update : 17 มิถุนายน 2557 18:05:35 น.
Counter : 1493 Pageviews.

0 comment
ในภาษาญี่ปุ่นคำว่า “สุนัข” มักจะเกี่ยวกับการดูถูก

สวัสดีครับมาเจอกันอีกแล้ว หายไปนานนะครับทักไปอย่างนั้นแหละไม่รู้ว่าใครจะมาอ่านบล็อกผมหรือเปล่าก็ไม่รู้ แฮ่ะๆ อยู่ดีๆก็หัวเราะแฮ่ะๆ ออกมาทำให้นึกถึงน้องหมาน่ะครับน้องหมาหรือในภาษาญี่ปุ่นเรียกันว่า อินุ (いぬ;犬) หรือ คนญี่ปุ่นบางคนเรียกว่า วันจัง (ワンちゃん) ซึ่งเป็นการเรียกตามเสียงเห่า กล่าวคือคนญี่ปุ่นได้ยินเสียงสุนัขเห่าว่า วัง! วัง!คำว่า “สุนัข” ในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่าอย่างไรบ้างผู้เขียนจะขอหยิบยกมารวมเอาไว้พบสังเขป

คำว่า อินุ ใช้คันจิ ได้หลายตัวคือ 犬、狗เป็นต้น ในกรณีของปีจอใช้คันจิตัวนี้ เนื่องจากความหมายของสุนัขไม่ค่อยดีคล้ายในภาษาไทย กล่าวคือในภาษาญี่ปุ่นมีการใช้ในลักษณะที่เป็นการดูถูกเช่นกัน ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากคำต่อไปนี้1. 警察の犬 (けいさつのいぬ) แปลได้ว่า สุนัขของตำรวจ หมายถึง “คนที่เป็นสายให้ตำรวจ”หรือ คนที่เป็นสปายให้ตำรวจผู้เขียนมีความเห็นว่าคำนี้น่าจะมาจากการเรียกคนที่รับใช้ตำรวจในเชิงดูถูกจากผู้คนที่ไม่ชอบตำรวจนอกจากนี้คำๆ นี้ยังใช้เป็นคำประกอบคำนามได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น 2. 犬侍(いぬざむらい)ถ้าแปลตรงตัวจะได้ว่า ซามูไรหมา ซึ่งเป็นคำด่าทอซามูไรที่ประพฤติตนนอกรีตนอกกฎระเบียบ ไม่สบกับเป็นนักรบ หรือใช้ในความหมายว่าไร้ค่า ตัวอย่างเช่น 3.犬死に(いぬじに)แปลว่า “ตายอย่างเปล่าประโยชน์” หรือ “ตายฟรี”

ในสำนวนภาษาญี่ปุ่นมีการใช้ “สุนัข” ในความหมายเชิงดูถูกเช่นกันตัวอย่างเช่น 1.犬に論語(いぬにろんご)แปลได้ว่า “อ่านคำสอนให้สุนัขฟัง”เป็นการเปรียบเปรยว่า ไม่ว่าจะอธิบายให้ฟังอย่างไรก็เปล่าประโยชน์ จากสำนวนนี้ผู้เขียนมีความเห็นว่าสุนัขเป็นตัวแทนของสิ่งที่ไม่มีความรู้ ไม่มีวิจารณญาณแน่นอนอยู่แล้วว่าสุนัขฟังคำของคนไม่รู้เรื่อง แต่สำนวนนี้เป็นการเปรียบเทียบ (คน =สุนัข)ซึ่งเป็นการด่าทอคนในเชิงดูถูกว่าไม่มีความรู้หรือวิจารณญาณเช่นเดียวกันสุนัขเหมือนการอ่านคำสอนที่มีค่าให้กับสุนัขที่ไม่รู้เรื่องซึ่งเป็นการกระทำที่เปล่าประโยชน์ (มีสำนวนคล้ายกันเช่น สวดใส่หูม้า (馬の耳に念仏) ,ให้ไข่มุกกับหมู (豚に真珠)ให้เงินตรากับแมว(猫に小判) นอกเหนือจากนั้นยังมีคำที่คล้ายภาษาไทยคือ“สุนัขไม่รับประทาน” 2.犬も食わない(いぬもくわない)สำนวนนี้ไม่ได้มีความหมายเช่นเดียวกับภาษาไทยว่าไม่อร่อยจนสุนัขไม่กิน แต่มีความหมายว่า ไม่มีใครชอบ ไม่มีอยากเข้าไปยุ่งด้วยมีการใช้ว่า 夫婦喧嘩は犬も食わない。ผัวเมียทะเลาะกันไม่มีใครอยากเข้าไปยุ่งหรอกผู้เขียนมีความเห็นว่าเป็นการเปรียบเทียบสุนัขว่าเป็นสิ่งต่ำที่สุด แม้สุนัขยังไม่กินเป็นการเปรียบเปรยสิ่งตรงหน้าที่ต่ำกว่าสุนัขซึ่งเป็นการพูดเชิงดูถูก นอกจากนั้นยังมีสำนวนว่า 3. 犬も朋輩鷹も朋輩 (いぬもほうばいたかもはうばい) “ไม่ว่าจะสุนัขหรือเหยี่ยวคือพรรคพวก”หมายความว่า ถ้ารับใช้เจ้านายคนเดียวกัน แม้ชาติกำเนิดจะต่างกันก็เป็นพรรคพวกกันผู้เขียนมีความเห็นว่าการนำสุนัขและเหยี่ยวมาเปรียบเทียบกันคือการเปรียบเทียบที่ต่ำกับที่สูงซึ่งสุนัขเปรียบได้กับสิ่งที่อยู่ต่ำ เหยี่ยวเปรียบเทียบได้กับสิ่งที่อยู่สูง (หรือบางคนจะอาจคิดว่าเป็นเพียงการเปรียบเทียบสัตว์ต่างชนิดกัน)ไม่ว่าคนจะมาจากที่ต่ำหรือที่สูงเมื่อรับใช้เจ้านายคนเดียวจะอยู่ในฐานะที่เท่าเทียมและคำสุดท้ายคำว่า 4.犬の遠吠え(いぬのとおぼえ)แปลว่า “หมาหอน” หรือมักใช้ว่า 負け犬の遠吠え(まけいぬのとおぼえ)แปลว่า “หมาขี้แพ้ชอบหอน” แปลว่า คนขี้ขลาดทำเป็นปากเก่งแอบตำหนิหรือนินทาผู้อื่นจากคำนี้ผู้เขียนมีความเห็นว่า การเปรียบเทียบสุนัขเป็นผู้แพ้หรือขี้ขลาด เป็นการกล่าวดูถูกคนอื่นว่าต่ำต้อยเช่นสุนัขขี้แพ้แล้วหอนเหมือนมีอำนาจเพื่อข่มผู้อื่นจากคำที่ยกมาทั้งหมดอาจพออนุมานได้ว่าคำว่า “สุนัข” ในภาษาญี่ปุ่นหรือสำนวนญี่ปุ่นมักจะแฝงความดูถูกเอาไว้เช่นเดียวกับภาษาไทยที่เปรียบเทียบสิ่งไม่ดีกับสุนัขเช่นกัน 




Create Date : 08 เมษายน 2557
Last Update : 8 เมษายน 2557 16:15:06 น.
Counter : 5277 Pageviews.

0 comment
ปัดฝุ่น
ปัดฝุ่นหน่อยจ้า!!!!

ไม่ได้เขียนบล็อคนานมากกกกกส์ รู้สึกว่าอยากเขียนต่อก็เขียนเลยไม่มีเหตุผลพิเศษ ห้าๆ วันนี้ของ่ายๆ ละกันนะครับเริ่มง่วงนอนแล้ว ฝุ่นในภาษาญี่ปุ่นใช้คำว่า "โฮโคริ" 埃(ほこり)ครับ ถ้าจะบอกว่าปัดฝุ่นก็น่าจะเป็น โฮโคริ โอะ ฮะระอุ (埃を払う) น่าจะใช่ เหมือนผมมาปัดฝุ่นในบล็อกนี้แหละครับ

คิดดีๆ ก็รู้สึกตลกๆ อยู่อยากกราบกรานคนคิดตัวอักษรของประเทศอียิปต์เสียจริง ในภาษาญี่ปุ่นเรียกประเทศอียิปต์ว่า อีจิปุโตะ (エジプト) แล้วที่ผมบอกว่ามันตลก คือว่า ตัวอักษรคันจิที่หมายถึงประเทศอียิปต์คือ 埃及(エジプト)คันจิตัวแรกได้กล่าวไปแล้วคือหมายความว่า "ฝุ่น" แล้วคันจิตัวหลังหมายความว่า "รวมถึง, ส่งผลถึง" ประเทศอียิปต์เป็นประเทศที่มีฝุ่นที่ส่งผลถึงมนุษย์? ถ้าเราจำแบบนี้คงจะจำอักษรคันจิประเทศนี้ได้รึเปล่านะ?

และอีกอย่างหนึ่ง โฮโคริ ก็หมายถึง ความภาคภูมิใจได้ด้วยนะครับ 誇り เป็นคำต่างความหมายแต่เสียงเหมือนกันหรือเรียกว่า "โดองอิกิโกะ" (同音異義語;どうおんいぎご)  ไว้พบกันใหม่ครับ






Create Date : 18 มีนาคม 2557
Last Update : 18 มีนาคม 2557 23:41:54 น.
Counter : 874 Pageviews.

0 comment
ทักทายเป็นภาษาญี่ปุ่นกันหน่อย....


คนไทยคงได้รู้ถึงการทักทายแบบญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นเค้าไม่ได้ไหว้ตอนทักทายเหมือนคนไทย แต่ทำไมตอนเข้าไปในวัดโยนเหรียญที่เชื่อว่าจะทำให้โชคดีคือ เหรียญห้าเยน เข้าไปในกล่องแล้วตบมือ สองครั้ง ครั้งที่สามก็ไหว้ เออ แต่ทำไม่ไม่ไหว้ตอนทักทายหรือขอบคุณกันหว่า คนญี่ปุ่นบางคนไหว้ตอนขอร้องแบบสุดขีดอีกด้วย
คนญี่ปุ่นจะทักทายกันโดยก้มศีรษะลง หรือเรียกว่า โอจิกิ お辞儀 โดยจะโค้งไปเรื่อย ๆ หลายต่อหลายครั้งเวลาคุยกับคนแปลกหน้าหรือลาจาก เวลาทักทายไม่ต้องก้มหัวให้ต่ำอะไรมากมาย ก้มให้พองามพอ
ตอนเช้าพูดว่า โอะฮาโย โกะไซมัส お早うございます。เป็นการทักทายที่ใช้่บ่อยที่สุด เพราะว่าเวลาไปเรียนหรือไปทำงานก็ต้องทักทายด้วยคำนี้ทั้งนั้น โดยปกติแล้วจะทักทายถึงตอนประมาณ 10 โมงเช้าแค่นั้น ตอนกลางวันทักทายว่า คนนิจิวะ こんにちは。ถ้าท้องฟ้ามืดแล้วก็ให้ทักทายว่า คมบังวะ こんばんは ตามลำดับ ตอนจะลาไปนอนแล้ว ก็บอกว่า โอะยะสุมินะไซ お休みなさい。
   สบายดีหรือเปล่า? ถ้าอยากถามอย่างนี้ต้องพูดว่า "โอะเก้งกิเดสก๊ะ?" お元気ですか。เป็นการถามสำหรับคนที่ไม่ได้เจอกันนานหรือเป็นการทักทายในอีเมลย์กับคนที่ไม่ได้เจอกันเป็นระยะเวลานาน และเค้ายังจะใช้คำทักทายที่จะมาตามกันด้วยว่า โอะฮิสาชิบุริเดสเน่ お久しぶりですね。แปลว่าไม่ได้เจอก้นนานเลยนะ ตัวอย่างเช่น โอะฮิสาชิบุริเดสเน่ โอะเก้งกิเดสก๊ะ? มักจะมาด้วยกันคร้บ
เวลาออกจากบ้านคนญี่ปุ่นเค้าก็ทักทายกันเหมือนคนไทย อาจจะต่างออกไปนิดหน่อย คนไทยถามว่า จะไปไหนหรือค่ะ? คนญี่ปุ่นก็จะถามว่า โอะเด๊ะคาเกะเดสก๊ะ? お出かけですか?ก็แปลได้ว่าวันนี้ออกไปข้างนอกหรือคะ? และอีกอย่างหนึ่งเมื่อเดินๆ ไปเจอคนญี่ปุ่น เค้ามักจะเริ่มบทสนทนาที่บอกว่า "วันนี้อากาศดีนะ" เคียววะอี้เทงกิเดสเน่ 今日はいい天気ですね。ไม่ถามเหมือนคนไทยก็คือ "กินข้าวหรือยัง?" ซึ่งเป็นการถามที่ไม่ต้องการคำตอบ เป็นแค่การทักทายเท่านั้น
  การเรียกชื่อคนญี่ปุ่นนั้น ถ้าไม่สนิทหรือครั้งแรกที่พบให้เรียกนามสกุลก่อน แล้วเติม "ซัง" ไปข้างหลังชื่อเช่น ยะมะดะซัง 山田さん, คุโระดะซัง 黒田さん เป็นต้น ระวังอย่าใส่ "ซัง" ข้างหลังชื่อตัวเองเด็ดขาดนะคร้าาบ
การลาจาก เป็นคำที่คนไทยรู้จักดีคือคำว่า "ซาโยนะระ" さようなら ดูเหมือนว่าต่อไปนี้อาจจะไม่เจอกันอีกก็ได้ ถ้าเราบอกว่า มะตะอะชิตะ また明日。เจอกันใหม่พรุ่งนี้ อะชิตะ แปลว่า พรุ่งนี้ครับ เราอาจจะเติมคำหลายคำลงไปในนี้ก็ได้เช่น มะตะ+เวลาที่เจอกัน (คนโดะ 今度 =ครั้งหน้า ไรชู 来週 =สัปดาห์หน้า ไรเนน 来年 = ปีหน้า อะไรทำนองนี้) หรือว่าบอกว่า มะนะไอมะโช また会いましょう。ไว้เจอกันอีกนะ....





Create Date : 19 พฤษภาคม 2552
Last Update : 3 มกราคม 2553 22:08:56 น.
Counter : 787 Pageviews.

2 comment
ความเป็นญี่ปุ่น....ในไทย

คนญี่ปุ่นกับคนไทยสนิทสนมกันมากไม่เคยมีการทะเลาะกันมาก่อน ราชวงศ์ไทยกับญี่ปุ่นก็มีความสนิทสนมกันมาก ดังนั้นจึงทำให้คนญี่ปุ่นเข้ามาอยู่ในไทยมากมาย ก็เพราะว่าเค้าจะเข้ามาทำธุรกิจในไทย คนญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยนี้ส่วนมากจะอยู่ที่ อยุธยาและกรุงเทพฯ เพราะว่ามีโรงงานของเค้าอยู่มากนั่นเอง ถ้าในกรุงเทพฯละก็แถวๆสุขุมวิท นี่แหละมีแต่ร้อนอาหารญี่ปุ่นเพียบเลย ในสมัยก่อนตอนที่มีสงครามกันก็มีชาวญี่ปุ่นที่โด่งดังมากที่มีนามว่า ยะมะดะ นากามาสะ 山田長政 เป็นหัวหน้าให้กับหมู่บ้านญี่ปุ่น 日本人村 ที่อยุธยา ซึ่งมีความสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยมาก ซึ่งมีนามว่า ออกญาเสนาภิมุข
สินค้าหลายอย่างที่เกี่ยวกับญี่ปุ่นก็สามารถยอดขายให้ติดตลาดเพราะว่ามีชื่อเรียกที่ดูน่ารักเก๋ไก๋สไตล์ญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาเขียว อันนี้หละอะเมซิ่งไทยแลนด์ของจริง
ชาเขียว ที่เรากินอยู่ทุกวันนี้มีไม่กี่ยี่ห้อหรือที่ดังๆก็ โอ..ติ๊ด..ติ๊ด อะไรนั่นแหละ ทำไมจึงแปลกนะหรอ ก็เพราะว่าชาเขียวคนญี่ปุ่นเค้าไม่ใส่น้ำตาลให้หวานขนาดนี้หรือ เค้าไม่ใส่น้ำตาลกันเลยด้วยซ้ำ ชาเขียวที่เมืองไทยนี้ขายขวดละประมาณ 20 บาทซึ่งเกือบเทียบเท่ากันกับร้านร้อยเยนในญี่ปุ่น แต่ว่าประมาณชาเขียวที่ละลายอยู่ในน้ำตาลน้ั้นน้อยมาก แปลว่าเราดื่มชาเขียวหรือว่าดื่มน้ำตาลผสมน้ำผึ้งเจอจางกันแต่หว่า...
ในภาษาไทย คำว่า คิคุอะโนเนะ นั้นได้มาจากไหนไม่ทราบเหมือนกันแต่ก็สื่อถึงให้รู้ว่าญี่ปุ่นเหมือนกัน คำว่า คิคุ นั้นแปลตรง ๆ แปลว่า ฟัง หรือ ดอกเบญจมาศ แล้วอะโนเนะ นั้นน่าจะมาจากคำที่คนญี่ปุ่นเคยเรียกจนติดปาก อะโน อะโน เวลาที่นึกอะไรไม่ออกหรือเวลาเรียกคนอื่น
ซูชิ เคยเดินตามตลาดต่าง ๆ ก็จะเห็นซูชิ วางขายกันเกลื่อนเลย บางร้านช่างกล้าหาญชาญชัยเขียนว่าซูชิแท้จากญี่ปุ่น โอ้พระเจ้า ซูชิที่แดงแป๊ดนั่นคือส่วนไหนของซูชิกันหว่า...และก็ทาโกะยากิอีก ตามร้านขายทั่วไปใส่โน่นใส่นี่จนไม่เป็นทะโกะยากิอยู่แล้ว ผมไม่ได้แอนตี้เรื่องนี้นะ ผมคิดว่ามันเป็นการ "ประยุกต์" ให้เข้ากับคนไทยอย่างเรา ๆ เคยซื้อกินบางทีมันก็อร่อยดีแต่ไม่ลองกินซูชิสีแดงๆเลยสักที....
วาซาบิ นี่แหละเด็ด เป็นสิ่งที่ผมไม่ค่อยชอบที่สุดเพราะว่าเป็นคนที่ไม่ค่อยชอบกินเผ็ดสักเท่าไร วาซาบิ ได้ถูกนำไปผสมเป็นรสให้กับมันฝรั่งทอดกรอบหลายยี่ห้อ กินแล้วก็อร่อยดีเหมือนกัน ผมคิดว่าเป็นการเปิดใจให้คนไทยได้รับรู้ถึงวัฒนธรรมญี่ปุ่นว่ามีการกินของแบบนี้ด้วย วาซาบิเท่าที่ผมรู้นะ เค้าจะใส่ไว้ใต้ซูชิเพื่อช่วยไม่ให้คาวเวลากินปลาดิบ และบางทีก็ใส่ในโชยุหรือน้ำจิ้มที่ใช้โซบะไปจิ้มกิน
ร้านอาหารฟูจิ ผมไม่เคยเห็นร้านอาหารฟูจิในญี่ปุ่นนะ ทำให้ผมคิดว่าน่าจะเป็นร้านของคนไทยทำครับไม่ได้มาจากญี่ปุ่นอย่างไร ผมเคยเห็นโฆษณานะว่าคนญี่ปุ่นก็ชอบ โอ..ติ๊ด..ติ๊ด อะไรนั่นน่ะ ร้านนั้นผมก็ไม่เคยเห็นในญี่ปุ่นเหมือนกัน แล้วตกลงว่าเราโดนเค้าหลอกหรือว่าเราหลอกตัวเองว่ามันเป็นของญี่ปุ่นกันหนา...
คอร์สเพล์ คือ การแต่งตัวเลียนแบบคาเร็คเตอร์การ์ตูนที่เราชอบ คนไทยที่แต่คอร์สเพล์กันก็มีกันมากอยู่ วันดีคืนดีมีงานอะไรไม่รู้ตรงหน้ามาบุญครอง เห็นคนที่แต่งคอร์สเพล์มาเต็มเลย เข้าใจว่าร้อนแต่ว่าดูแล้วก็น่าทึ่งเหมือนกัน ให้บรรยากาศเหมือนอยู่ที่ญี่ปุ่นเล้ยย...
งานบงโอโดริ นี่แหละเด็ดอีกแล้ว เคยไปร่วมงานสองครั้งแล้ว เหมือนทะลุเข้าไปในญี่ปุ่นเลย เดินเข้าไปก็จะเห็นเวทีเต้นรำบงโอโดริอยู่ตรงกลางตระหง่ายกับสีแดงขาวสลับกัน มีโคมไฟห้อยจากเวทีไปถึงขอบสนามกีฬา ให้บรรยากาศมะทซึริ 祭り (บรรยากาศแบบเทศกาลญี่ปุ่น) มั่กๆ มีอาหารญี่ปุ่นขาย เออแพงเหมือนกันแฮะ แค่ไปชมเอาบรรยากาศก็ไม่ต้องซื้อกินก็ได้ เข้าไปแล้วก็จะแจกพัดแบบ อุจิวะ (พัดที่เป็นแบบกลมๆ ไม่ใช่พัดที่พับได้ หรือพัดที่ใช้ตีหัวกันเล่น) ตอนหลังก็จะมีการจุดพลุและจับรางวัลหางบัตร แนะนำเลยงานนี้ญี่ปุ่นมั่ก ๆ คนญี่ปุ่นเพียบ เยอะกว่าคนไทยอีก ไม่ค่อยได้ยินคนพูดภาษาไทยเท่าไร มีแต่เสียงจอแจของเด็กญี่ปุ่นที่วิ่งเล่นกับคุณป้าญี่ปุ่นเดินหน้าเด้งอยู่ บรรยากาศดีจริง ๆ
คิโนะคุนิยะ อันนี้ขอรับรองว่าของญี่ปุ่นจริง ๆ เลย เพราะว่าเคยเข้าร้านนี้ที่ญี่ปุ่นเหมือนกัน หนังสือร้อยแปดพ้นเก้า หนังสือต่างประเทศ ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือญี่ปุ่น มีมากมาย การ์ตูนญี่ปุ่นแบบเป็นภาษาญี่ปุ่นเลย นิยายญี่ปุ่นแท้ๆที่ยังไม่ได้แปล อันนี้ของเค้าดีจริง
ห้องสมุดญี่ปุ่น ณ ตึกเสริมมิตร เป็นห้องสมุดที่มีหนังสือเกี่ยวกับญี่ปุ่นมากมายบรรจุไว้ในห้อง มีหนังให้ดู (ม้วนวีดีโอ) ด้วย ถ้าอยากฝึกดูการ์ตูนหรือหนังภาษาญี่ปุ่นไปที่นี่ก็จะได้ดูได้อย่างเต็มอิ่มแน่นอน แต่การ์ตูนไม่ใช่การ์ตูนใหม่ทันสมัยวันพีช นารุโตะอะไรหรอกนะ แต่ว่าก็สนุกดี ลองไปดูละกัน




Create Date : 19 พฤษภาคม 2552
Last Update : 3 มกราคม 2553 15:27:25 น.
Counter : 559 Pageviews.

1 comment
1  2  

shikamaru_san
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]