Group Blog
 
<<
มีนาคม 2555
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
30 มีนาคม 2555
 
All Blogs
 

ฝ่าวิกฤติฉบับเจ้าสัว (มั่วๆมา)

ความล้มเหลว หรือ วิกฤติโดยเฉพาะด้านการเงิน เมื่อทำธุรกิจ เรื่องที่อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเผชิญวิกฤติ ยกตัวอย่างวิกฤติปี 40 หลายคนต้องล้มละลาย ล้มหายตายจากไป  แต่วันนี้ จากประสบการณ์ที่ได้ทราบ ได้จากการอ่านหนังสือ หรือประสบการณ์ตรงของคนรู้จัก จึงอยากจะรวมว่าในวิกฤตินั้นเราจะควรทำอย่างไร วันใดวันหนึ่งเชื่อว่าทุกคนจะต้องเจออาจจะสักครั้งในชีวิต เจ้าสัวดังๆหลายๆคนล้วนแต่ประสบพบเจอมาแล้วทั้งนั้น  จากประสบการณ์และเท่าที่สังเกตุมาเศรษฐีหรือคหบดี ทั้งต่างประเทศหรือประเทศไทยล้วนผ่านวิกฤติมาทั้งนั้น แล้วสาเหตุสำคัญที่เจ้าสัวพวกนั้นผ่านมาได้ ผมมาลองสรุปดูก็จะได้สองประเด็นใหญ่ๆ คือ (เราจะไม่พูดถึงเรื่องความสามารถของตัวบุคคล เพราะอยู่ในสมมติฐานที่จะต้องพยายามบริหารจัดการปัญหาอย่างดีที่สุด)

 

 

1) เมื่อเกิดวิกฤติมักมีคนมาช่วยอย่างไม่ได้คาดฝัน

 

 

เช่น supplier เป็นคนรู้จักกันบอกว่าค้างค่าสินค้าได้นานกว่าปกติ จู่ๆมีลูกค้ารายใหญ่สั่งซื้อของโดยนึกไม่ฝัน ญาติฝ่ายคู่สมรสช่วยส่งเงินมาให้เพื่อชำระค่าสินค้า ค่าดอกเบี้ย ตรงนี้เป็นฐานให้เจ้าสัวหลายๆคนในประเทศไทยเติบโตจนเป็นเจ้าของกิจการร้อยล้านพันล้านได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น จากสมการความสำเร็จในตอนที่แล้วจะเห็นว่า ตรงนี้เกิดโอกาสหรือเป็นข้อสังเกตุที่คนไทยอาจเรียกว่าดวง คือจะมีคนมา support ตอนยากลำบาก นั่นถึงจะผ่านไปได้ ตรงนี้อาจเป็นบุญเก่าหรืออะไรก็แล้วแต่

 

 

2) สามารถบรรลุการเจรจาขอผ่อนผันหนี้กับเจ้าหนี้ได้สำเร็จ

 

 

แต่ส่วนของการเตรียมพร้อมก็คือ ส่วนมากเจ้าสัวหลายท่านมีความน่าเชื่อถือและคุณธรรม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำการค้า อารมณ์ประมาณถึงไม่มีเงินจ่ายก็จ่ายเท่าที่มี ไม่หนีไม่โกง แสดงความจริงใจให้เห็น ทำให้ส่งผลถึงความรู้สึกการรับรู้และอารมณ์ของกลุ่มเจ้าหนี้ ตรงนี้สร้างความเชื่อมั่นความรู้สึกเป็นเหมือน partner ความจริงใจ และโดยมากมักจะเสนอแผนการ come back โดยพยายามพูดหว่านล้อม ชักแม่น้ำทั้งห้าให้กลุ่มเจ้าหนี้เข้าใจว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามประมาณการณ์ของแผน come back และเมื่อพ้นวิกฤตเจ้าหนี้ก็จะได้รับสิ่งตอบแทนทั้งหมดอย่างสมเหตุสมผล

 

 

อย่างไรก็ตาม สิ่งแรกที่เราต้องมีเมื่อทราบว่าตัวเองหรือธุรกิจของท่านประสบวิกฤติก็คือการตั้งสติ อย่าให้ถูกอารมณ์ต่างๆครอบงำ แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากแต่เป็นเรื่องหลักที่สำคัญและจำเป็นมากๆ ท่านอาจจะเสียสติไปสักพักหนึ่งบ้างไม่เป็นไร แต่ว่าต้องกลับมาให้ได้ อย่าให้เวลามันล่วงเลยไปนานนักไม่งั้นจะกลับมาแก้ไขสถานการณ์ไม่ทัน หลังจากนั้นต้องปรับอารมณ์ ทำให้เกิดทัศนคติการไม่ยอมแพ้ แล้วแยกปัญหาออกมา ระเบิดมันออก แล้วจัดการไปทีละเรื่อง เมื่อผ่านพ้นวิกฤติไปได้ตรงนี้จะทำให้ท่านและองค์กรของท่านแข็งแกร่งขึ้นและพร้อมรับกับการเติบโตอย่างก้าวกระโดดครั้งใหม่ได้อย่างสวยงาม

 

 

เข้าใจว่ายังมีปัจจัยอื่นๆอีกที่ทำให้เหล่าเจ้าสัวพวกนั้นพ้นวิกฤตมาได้ แต่จากที่ผู้เขียนลองแยกแยะดูก็เห็นจะมีแต่สองประเด็นนี่เท่านั้นที่มีนัยสำคัญมากที่สุด ต่อไปจะพูดถึงวิกฤตในเชิงปฎิบัติการมากขึ้น โดยเฉพาะสำหรับ SMEs ว่าในวิกฤตนี่พวกเราจะแก้ไขกันอย่างไร

 

 

1.บริหารสุขภาพกายและสุขภาพใจให้สมบูรณ์

 

 

ยังคงขอย้ำอีกเหมือนเดิมว่าการมีสติ การทำให้สุขภาพกายและสุขภาพใจแข็งแรงนั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะถ้าสติไม่มี ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัวจะเอาปัญญาที่ไหนไปแก้ปัญหา แล้วถ้าร่างกายไม่แข็งแรงจะเอาเรี่ยวแรงที่ไหนไปจัดการปัญหา สมมติว่าจะต้องเดินทางไปคุยกับต่างประเทศ ถ้าร่างกายไม่แข็งแรงจะไปได้อย่างไรแล้วจะแก้วิกฤตได้อย่างไร เรามักจะเห็นว่าในวิกฤตแต่ละครั้งผู้บริหารมักมีปัญหาโรคหัวใจ ไมเกรน เส้นเลือดในสมองแตกหรือความดันสูง ดังนั้นผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการต้องรักษาตัวให้มีสุขภาพมั่นคงแข็งแรงอยู่เสมอทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ อาจทำได้โดยการไปไหว้พระไหว้เจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ นั่งสมาธิรักษาสติ ออกกำลังกาย อะไรประมาณนี้

 

 

2. จัดลำดับความสำคัญในการเจรจาประนอมหนี้กับเจ้าหนี้เพื่อขอลดหนี้หรือยืดเวลาการชำระหนี้

 

 

อันนี้ก็ตรงตัวอย่างมาก แน่นอนว่าต้องเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อขอลดหนี้หรือยืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไป แต่จุดสำคัญอยู่ที่เราต้องให้ความสำคัญกับเจ้าหนี้รายใหญ่ คือยังไงก็ต้องขอลดหนี้หรือยืดระยะเวลาชำระหนี้จากเจ้าหนี้รายใหญ่ให้ได้ก่อน เมื่อเจ้าหนี้รายใหญ่ ok แล้วค่อยไปรายรองๆลงไป หรือไม่งั้นก็ต้องเริ่มจากรายเล็กๆหลายๆรายให้ได้เยอะๆแล้วค่อยคุยกับรายใหญ่ แต่หลักๆก็คือพยายามให้รายใหญ่ลดหนี้ให้ได้เพราะมูลค่าหรือปริมาณเม็ดเงินที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับรายใหญ่จะสูงมากดังนั้นหากลดหนี้จากรายใหญ่ได้ก็จะยิ่งเป็นประโยชน์กับเรามากขึ้นเป็นเงาตามตัวแต่ไม่ได้หมายความว่าเจ้าหนี้รายเล็กไม่สำคัญ แต่เราแค่ควรสละเวลาและความพยายามในการเจรจากับรายใหญ่มากเป็นพิเศษ

 

 

3. เจรจากับคู่ค้าหรือซับพลายเออร์เพื่อชะลอการชำระค่าสินค้าออกไป แต่ขอให้ยังส่งวัตถุดิบอย่างต่อเนื่อง

 

 

ตรงนี้จะได้ประโยชน์มากกรณีที่บริษัทเป็นวิกฤตในแง่ของการชำระหนี้ การให้คู่ค้าชะลอการชำระค่าสินค้านั่นหมายถึงเท่ากับยืดอายุ credit term ให้เรานั่นเอง เท่ากับจะมีกระแสเงินสดคงอยู่ในบริษัทนานขึ้นเท่ากับช่วยบริษัทหมุนเงินได้ดีขึ้น ด้านซับพลายเออร์ก็บอกเขาให้ส่งของเหมือนเดิมแต่จะจ่ายให้ช้าลง คืออย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าซับพลายเออร์จะไม่ยอมลดหนี้ให้แต่ยังไงๆก็ต้องให้เขาส่งของให้เราเหมือนเดิมไม่งั้นธุรกิจเราจะอยู่ลำบาก ตรงนี้ต้องควรจะแสดงความจริงใจให้ซัพพลายเออร์เห็นว่าเราเป็นคู่ค้ากันมานานขอให้ช่วยสนับสนุนต่อไปอีกสักหน่อยก็ยังดี เชื่อว่ายังไงซับพพลายเออร์ก็คงไม่อยากเห็นเราเจ๊งหรอกครับถ้าเค้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงก็คงจะช่วยเราเหมือนกัน คุยกับซับพลายเออร์ต้องใช้วาทะศิลป์เป็นพิเศษนะครับ

 

 

 

4. หาซับพลายเออร์ใหม่เพื่อกระจายความเสี่ยงในกรณีซับพลายเออร์เดิมไม่ส่งสินค้าให้

 

 

เป็นไปได้อย่างยิ่งเมื่อเกิดวิกฤตแล้วเพื่อนรักมักจะทรยศหักหลัง มีความเป็นไปได้สูงที่ซับพลายเออร์เดิมของเราอาจจะไม่ส่งของหรือไม่ก็เค้าเองก็เกิดปัญหาภายในเช่นแบงค์ไม่ปล่อยกู้ต่อหรือโอดีโดนตัดนั่นก็ทำให้เขาขาดสภาพคล่องเหมือนกัน ดังนั้นเพื่อเป็นการไม่ประมาทเราจึงควรเปิดหูเปิดตา คอยดูซับพลายเออร์ทั้งใหม่ทั้งเก่าในตลาด ลองไปพูดคุยติดต่อทานข้าวกันไว้เผื่อวันใดวันหนึ่งเราอาจต้องพึ่งพาเขา แม้ว่าเขาอาจคิดราคาแพงหน่อยแต่ ณ ตอนนั้นคุณของขาดมันก็อาจจะต้องยอมจ่ายแพงกันบ้าง หรืออีกทางหนึ่งคือพยายามหาโรงงานที่ผลิตของคล้ายๆของๆคุณแล้วลองถามเขาดูว่าถ้าจะให้เปลี่ยนรูปแบบไปส่งของแบบของโรงงานคุณน่ะเค้าจะทำได้มั้ย ตัวอย่างเช่น โรงงานทำท่อน้ำแต่ของๆคุณเป็นท่อเหล็ก เค้าอาจจะต้อวดัดแปลงหริอเปลี่ยน line การผลิตบ้างแต่ไม่มากเพียงแต่เขายังไม่เคยทำ ตรงนี้ก็เป็นทางออกอีกทางที่เจ้าสัวหลายคนใช้เอาตัวรอดมาแล้ว

 

 

5. ตัดใจขายสินทรัพย์เพื่อจ่ายหนี้

 

 

แน่นอนว่าในสถานการณ์ที่เจ้าหนี้บีบคั้น เราอาจมีความจำเป็นต้องสินทรัพย์ เช่น ที่ดินหรือหุ้นบางส่วนที่มีเพื่อจ่ายหนี้  เราอาจจะต้องขายธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักเพื่อนำมาจ่ายหนี้ เจ้าสัวบางท่านก็จะเน้นการขายสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เป็นหลัก ส่วนบางท่านก็จะเน้นเรื่องสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้แต่ไม่ใช่ธุรกิจที่เป็น core business หรือ ธุรกิจที่ตัวเองมีความรู้ความเข้าใจที่ดีที่สุด นั่นเป็นเพราะตอนนี้เงินสดในมือคุณมีจำกัด ถ้าคุณไม่เน้นในธุรกิจที่คุณเจ๋งที่สุดล่ะก็ อันตรายแน่ๆครับ

 

 

6. Refinance หนี้โดยหาช่องทางทางการเงินอื่น

 

 

โดยช่องทางที่ดีที่สุดสำหรับพวกเจ้าสัวพวกนี้คือใครรู้มั้ยครับ “เมีย” ครับเป็นช่องทางที่ดีที่สุด รองลงมาคืออะไรรู้มั้ยครับ “ญาติฝ่ายเมีย” ครับ ทั้งพี่น้องอากู๋อาเจ่กอาอึ้มยี่โกซาโก เยอะแยะไปหมด ญาติโกโหติกานี่แหละครับช่วยให้รอดตายกันมาเยอะแล้ว เพราะในสภาวะวิกฤตเช่นนั้นใครเล่าครับจะมีให้คุณกู้หนี้ยืมสินก็คิดดูเหอะขนาดแบงค์ยังไม่ปล่อยเลย ยังไงก็ต้องลองหาดูนะครับคนที่เค้ามีเงินและรู้จักเราดีจะได้เอาเงินเค้าไปคืนเจ้าหนี้เดิมก่อน พูดง่ายๆก็คือเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้นั่นเองแหละครับ

 

 

7. เคลียร์สต๊อกสินค้าให้เกิดการหมุนเวียนเร็วขึ้น

 

 

อันนี้เป็นเรื่องของการบริหารจัดการสต๊อกครับ อาจลองดูว่าจะทำอย่างไรไม่ให้สินค้าอยู่กับเรานาน อาจจะผลักให้ดีลเลอร์ไปเก็บไว้ก่อนเร็วขึ้นมั้ย หรือว่าจะเลือกปรับระบบโลจิสติกส์ของเราเองเป็น outsource มั้ยแทนที่จะต้องใช้รถของบริษัทไปขนเอง แล้ว outsource นี่น่าเชื่อถือมั้ย ของเราจะไม่หายแน่รึเปล่าแล้วเค้าจะส่งตรงเวลามั้ย เราใหญ่พอที่จะต่อรองกับบริษัทโลจิสติกส์มากน้อยแค่ไหน จะต้องขายของให้ได้มากขึ้นมั้ยหรือว่าส่งของให้ลูกค้าเร็วขึ้นจะได้ลดต้นทุนส่วนที่มากองอยู่กับเรา อันนี้ต้องลองคิดดูดีๆนะครับ

 

 

8. ลดการก่อหนี้เพิ่ม

 

 

ซึ่งอันนี้ในทางปฎิบัติทำได้ยากอยู่แล้ว ก็มีอย่างที่ไหนเจ้าหนี้เค้าไม่ปล่อยกู้แล้วใครจะไปให้เงินคุณเพิ่ม แต่ว่าหลักการก็คือแม้ว่าจะมีโครงการที่มีกำไรรออยู่แต่ไม่ควรจะลงทุนในโครงการใหญ่ๆ จนกว่าสถานะการณ์ทางการเงินจะผ่อนคลาย หลายๆคนคิดว่ามีโปรเจคดี มั่นใจมาก แบงค์ไม่ให้กู้ก็เลยไปกู้นอกระบบ สุดท้ายโปรเจคเจ๊งเพราะดอกเบี้ยสูงมากไม่คุ้มกับการลงทุน…ซะงั้น สรุปคือทำอะไรไม่ควรทำเกินตัวนะครับ ยิ่งวิกฤตอยู่อย่างไปเปรียวมาก

 

 

9. หาลูกค้าใหม่ หาตลาดใหม่เพื่อขยายฐานลูกค้า

 

 

ลูกค้าเก่าคุณอาจโดนภาวะวิกฤตไปด้วยเลยไม่มีเงินแล้วหรือตลาดอาจไม่เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ข้อนี้ชัดเจนมากครับเด็ก 5 ขวบยังเข้าใจ ขอข้ามไปนะครับ

 

 

10. เข้าหาหน่วยงานรัฐหน่วยงานวิจัยพัฒนาต่างๆ เพื่อดูว่ามีโครงการใดเป็นประโยชน์ต่อองค์กรบ้าง

 

 

เมื่อพูดถึง R&D แล้วล่ะก็แน่นอนว่านี่เป็นต้นทุนที่ค่อนข้างสูงสำหรับองค์กร ดังนั้นเมื่อองค์กรประสบวิกฤต แน่นอนว่าค่าใช้จ่ายส่วนนี้ย่อมเป็นเป้าที่จะต้องถูกตัดเป็นส่วนแรกๆตามแนวคิดของผู้จัดการฝ่ายบัญชีหรือฝ่ายการเงินห่วยๆ พวกเค้าไม่รู้หรอกว่าบริษัทต้องมีนวัตกรรมใหม่เพื่อจะสามารถอยู่รอดได้ พวกเขาอาจสนใจแค่เพียงตอนนี้เราไม่มีเงิน ต้องตัดงบอะไรสักอย่าง แล้วอะไรล่ะที่เป็นเหยื่อ ส่วนมากจะเป็นงบ R&D และก็งบการตลาดนี่แหละครับ ดังนั้นก่อนที่งบจะโดนตัด มันคงจะเป็นการดีถ้าเราได้เข้าหาหน่วยงานภาครัฐหรือหน่วยงานวิจัยหรือพัฒนาต่างๆเพื่อเข้าไปดูผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมอะไรก็ได้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเราเพื่อดูว่ามีอันไหนที่พอจะเอามาใช้ได้บ้าง นั่นก็เสมือนเป็นการ outsource R&D นั่นแหละครับแต่ไม่เป็นแบบ fully outsource อันนี้ผมว่าเป็นประโยชน์มาก พยายามทำก่อนโดนตัดงบนะ

 

 

วันนี้แค่นี้ก่อน ไว้มีโอกาส จะมี เขียนเพิ่มครับ :)

 




 

Create Date : 30 มีนาคม 2555
0 comments
Last Update : 30 มีนาคม 2555 23:02:25 น.
Counter : 2126 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


GuruPAUL@JBS
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เจี่ยะป้าบ่อสื่อ เป็นเรื่องราวการคุยสนุกๆกันระหว่างเพื่อน ที่หลังจากกินข้าวอื่มแล้ว ไม่มีอะไรจะทำ ซึ่งมันคงจะดีที่ได้แบ่งปันเรื่องของพวกเราในรูปแบบของรายการวิทยุใน Facebook
- กำหนดการ on air : ทุกวันอาทิตย์ ก่อนเที่ยงคืน
- จำนวนครั้งที่ on air : หนึ่งครั้งต่ออาทิตย์
- ความยาวของรายการ : ~ 1-2 ชั่วโมง
- หัวข้อในการสนทนา จะเป็นเรื่องไร้สาระทั่วไป คุยกันขำๆ ฮาๆ ไม่เครียด ไม่มีสาระใดๆทั้งสิ้น
Friends' blogs
[Add GuruPAUL@JBS's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.