ไขกฎรหัสต่อท้าย CPU และ GPU คืออะไร เหมือนกันหรือไม่?

รหัส CPU บอกอะไร


CPU Processor

รหัส CPU อ่านอย่างไร
สำหรับความแรงของซีพียู ดูจากตัวเลขมาก-น้อย ก็พอจะบอกได้ว่ารุ่นไหนแรงกว่ากัน แต่ว่ารหัสที่ต่อท้ายไปอีก (Alpha Suffix) มีไว้บอกอะไรเรา มีความหมายอะไร? จะเลือกซื้อ หรือเปรียบเทียบความแรงอย่างไร ถ้าลองเอาคำนี้ Intel Alpha Suffix ไปค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตก็จะมีข้อมูลจากเว็บ Intel บอกไว้เช่นกัน แต่ถ้าไม่อยากเสียเวลาเข้าไปอ่าน บทความนี้ก็สรุปมาให้เข้าใจง่ายๆ แล้ว และอธิบายไว้ชัดเจน สำหรับซีพียู Intel Core Processor Family จะมีรหัส Alpha Suffix ที่พบเห็นได้ในปัจจุบันมีดังนี้

 

  • K [Unlocked]

เป็นซีพียูที่สามารถปรับเพิ่มความเร็วได้อีก ผู้ที่ชื่นชอบการปรับแต่งคอมพิวเตอร์ก็จะสามารถโอเวอร์คล็อกความเร็วซีพียูให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นไปได้อีกระดับ (เมนบอร์ดบอดต้องสนับสนุนคุณสมบัตินี้) ซีพียูที่มีรหัส K ต่อท้ายจะมีในรุ่น Core i5, Core i7 และ Core i9 เช่น Intel Core i7-8700K, Intel Core i5-8600K, Intel Core i7-7700K เป็นต้น

  • U [Ultra-low power]
ก็จะเป็นหน่วยประมวลผลกลางยอดนิยมรุ่นประหยัดไฟครับ ที่มาพร้อมด้วย TDP เพียง 15W เท่านั้น พร้อมรองรับแรมประหยัดไฟแบบ LPDDR3 และซีพียูไม่สามารถที่จะถอดเปลี่ยนได้ครับ
  • T [Power-optimized lifestyle]

เป็นซีพียูรุ่นประหยัดพลังงาน ความร้อนต่ำ ใช้งานต่อเนื่องตลอดทั่งวัน เหมาะสำหรับเครื่องพีซีแบบ All in One เป็นต้น

  • G [Includes discrete graphics on package]

เป็นรุ่นที่มีกราฟิกชิป Radeon RX Vega GL มาพร้อมซีพียูรุ่นใหม่ๆ เช่น Intel Core i7-8705G

  • H [High performance graphics]

จะเป็นหน่วยประมวลผลกลางประสิทธิภาพสูงที่มีความ ซึ่งก็ไม่สามารถที่จะถอดเปลี่ยนซีพียูเพราะมาในรูปแบบของการฝังไปกับบอร์ดครับ ซึ่งมักจะได้รับความนิยมในกลุ่มโน้ตบุ๊คประสิทธิภาพสูงและเกมมิ่งโน้ตบุ๊คราคาย่อมเยาเช่น Intel Core i3-7100H มาพร้อมกราฟิกชิป Intel HD Graphics 630

  • HK [High performance graphics, unlocked]

เป็นรุ่นที่เน้นความแรงของกราฟิก และสามารถเพิ่มความเร็วของซีพียู หรือที่เรียกว่าโอวเวอร์คล็อกได้เหมือนกับซีพียูบนเครื่องเดสก์ทอป เช่น Intel Core i7-7820HK HQ

  • HQ [High performance graphics, quad core]

จะเป็นหน่วยประมวลผลกลางประสิทธิภาพสูงที่มีความแรงและความเร็วกว่าตัว MQ เป็นแบบ Quad Core เหมือนกัน แต่จะมีความเร็วซีพียูที่สูงกว่า หรือในบางรุ่นก็อาจจะมีแคชที่มากกว่าด้วย เหมาะกับผู้ที่ต้องการโน้ตบุ๊คประสิทธิภาพสูงที่สุดสำหรับทำงานหนัก ๆ หรือเล่นเกม Game และตระกูล Workstation
 



รหัส GPU บอกอะไร

GPU
รหัส GPU อ่านอย่างไร
ทุกครั้งที่เราเลือกซื้ออุปกรณ์ต่างๆเพื่อนำมาประกอบคอมพิวเตอร์ 1 ในปัญหาสำหรับคนประกอบคอมก็คือ แล้วจะเลือกการ์ดจอรุ่นไหนดีหล่ะ? ในความจริงดูจากตัวเลขมาก-น้อย ก็พอจะบอกได้ว่ารุ่นไหนแรงกว่ากัน แต่ดันมีตัวอักษรภาษาอังกฤษอะไรไม่รู้ต่อท้าย บางอันเป็น Ti บางอันเป็น Super แล้วมันบ่งบอกถึงอะไร มีความหมายอะไร?

รหัส GPU ในแบรนด์เครือ Nvidia
Nvidia

ขอเริ่มที่การ์ดจอค่ายเขียวอย่าง Nvidia กันก่อนเลย โดยเมื่อก่อนการ์ดจอ Nvidia จะมีตั้งแต่ Geforce2 , Geforce3 , Geforce4 , Geforce FX , ที่จะกำหนดชื่อรุ่นด้วยเลข 4 หลักเช่น GeForce FX 5200  ไปจนถึงยุคที่เลขหลักแรกเป็นเลขของซีรีส์นั้นๆ เช่น Geforce 8600 หรือ 8800 เป็นต้น ซึ่งเมื่อก่อนการอ่านเลขรุ่นจะแบ่งโดยเลขตัวแรกจะบอกถึงซีรีส์การ์ดจอนั้น ๆ เช่น 8600 หมายถึงการ์ดจอนี้อยู่ในซีรีส์ 8 จนกระทั่งทาง Nvidia ได้เปลี่ยนชื่อการ์ดจาอ โดยเพิ่มตัวอักษรหน้าตัวเลขรุ่นซึ่งมีทั้ง GT , GTX และ RTX นั่นคือ

  • GT : การ์ดจอระดับ Entry มีตั้งแต่ช่วงเลขซีรีส์ 1 – 10 เช่น Geforce GT 120 , Geforce GT 440
  • GTX : เป็นการ์ดจอระดับ Mid-end มีการใช้ตัว X แทนเลข 10 เพื่อแก้ปัญหาเลขรุ่นที่ยาว เช่น Geforce GTX 260 , Geforce GTX Titan X
  • RTX : เป็นการ์ดจอระดับ High-end รองรับเทคโนโลยี Ray Tracing เพื่อทำให้ภาพในเกมมีความสมจริงและสวยงาม มีในการ์ดจอซีรีส์ 20 และ 30 เช่น Geforce RTX 2060 , Geforce RTX 3080

เลขบนการ์ดจอที่เราเห็นกันเป็นประจำเช่น GTX 1650 Ti มีวิธีการอ่านโดยเลข 2 ตัวหน้า(16) คือชื่อซีรีส์ของการ์ดจอ เช่น GTX 1650 จะอยู่ในซีรีส์ 16 ส่วนเลข 2 ตัวหลังคือการแบ่งย่อยรุ่นการ์ดจอในซีรีส์นั้นๆ เช่นใน RTX 30 ซีรีส์ จะมีตั้งแต่ 3050 , 3060 , 3070 และ 3080 เป็นต้น

คราวนี้เรามาดูเรื่องของรหัสลับหลังเลขรุ่นของการ์ดจอกันดีกว่า ถ้าให้เรียงลำดับความแรงจากมากไปน้อยเมื่อเทียบคำข้างหลังเลขซีรีส์ในกรณีที่เป็นการ์ดจอซีรีส์เดียวกันจะได้ว่า Ti > Super > Max-Q โดยสามารถอธิบายความต่างได้ดังนี้

  • Ti : ย่อมาจาก Titanium หมายถึงการ์ดจอตัวนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าตัวที่ไม่มี Ti เพราะด้วยจำนวน CUDA Core ที่มากกว่า เช่น GTX 1650 Ti จะแรงกว่า GTX 1650
  • Super : คล้ายกับ Ti แต่จะเป็นการเพิ่มความเร็ว clock speed และอัปเกรด RAM ในตัวการ์ดจอ เช่น RTX 2060 Super
  • Max-Q : เป็นรุ่นประหยัดพลังงาน ส่วนใหญ่มักจะเจอในโน้ตบุ๊ก เช่น GTX 1660 with Max-Q ในโน้ตบุ๊กบางตัว

รหัส GPU ในแบรนด์เครือ AMD
AMD
 

สำหรับการ์ดจอ AMD จะมีแยกย่อยเพียง 2 ส่วนคือ AMD Radeon และ Radeon RX โดย 

  • Radeon : จะเป็นการ์ดจอที่อยู่ในโน้ตบุ๊กที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ Nvidia MX และช่วยประหยัดพลังงาน 
  • Radeon RX : จะเป็นการ์ดจอ Desktop ซะส่วนใหญ่ แต่ก็มีโน้ตบุ๊กเล่นเกมบางรุ่นที่ใส่ AMD Radeon RX เข้าไป 

โดยตัวเลขที่บอกถึงรุ่นการ์ดจอของ AMD จะมี 2 ส่วนคือ ตัวเลขหลักแรกจะเป็นตัวบอกชื่อซีรีส์การ์ดจอ เช่น  MD Radeon RX6600 นั่นหมายความว่าการ์ดจอรุ่นนี้อยู่ในซีรีส์ 6 และตัวเลขหลักที่ 2 จะเป็นตัวบอกรุ่นแยกย่อยของการ์ดจอซีรีส์นั้นๆ เช่น ในการ์ดจอ AMD Radeon RX 6000 ซีรีส์ จะมีรุ่นย่อยให้เราเลือกคือ 6700 6800 และ 6900 นั่นเอง
ส่วนของตัวอักษรที่อยู่หลังเลขรุ่นการ์ดจอนั้น ๆ ที่เราเห็นกันบ่อยๆคือ XT และ M นั่นคือ

  • XT : เป็นการ์ดจอที่มีการเพิ่มประสิทธิภาพของการ์ดจอ เนื่องจากมีจำนวน Stream Processor มากกว่า
  • M :  ย่อมาจาก Mobile หมายถึงการ์ดจอนั้น ๆ อยู่ในโน้ตบุ๊ก

สำหรับเรื่องของการอ่านรหัส CPU และ GPU ที่เราไขความลับในวันนี้ หวังว่าอย่างน้อยจะช่วยให้ทุกคนสามารถเลือกและตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ที่ตัวเองต้องการได้นะ

 



Create Date : 23 กันยายน 2566
Last Update : 23 กันยายน 2566 21:14:23 น.
Counter : 338 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 6920996
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]