นักเรียนนายร้อยตำรวจ กับ หลักสูตรการกระโดดร่ม
เรื่องเด่นเย็นนี้ ประจำวันที่ 1 เดือนเมษายน 2557

พอดีมีความรู้พอแกล้มเหล้าช่วงเย็นอยู่บ้าง เผื่อท่านใดสนใจข้อมูลก็ลองอ่านเล่นๆดูนะครับ


ข้อมูลเกี่ยวกับการกระโดดร่มอย่างเดียวนะครับ ส่วนเรื่องสาเหตุ เกี่ยวกับลวดสลิดบนเครื่องบินเป็นรอยไหม้ หรืออะไรก็แล้วแต่ให้อ่านดูข่าวเอานะครับ

ข้อมูลของการฝึกกระโดดร่ม

ก่อนที่ นรต.ปี 2 จะทำการโดดร่มใด้ ต้องฝึกหนัก 3 สัปดาห์ ภาคพื้นดิน ฝึกสภาพจิตใจ กับร่างกาย (ดูๆไปไม่ค่อยจะเกี่ยวกับการกระโดดร่มซักเท่าไหร่เน้นไปทางซ่อมซะมากกว่า)ถือว่าค่อนข้างหฤโหดพอสมควรสำหรับเด็กสมัยนี้

ร่มของ นรต.ที่กระโดดนี้ เรียกว่า ร่ม (โบราณ)T10B(ตามภาษาปาก ชาว นรต.ยุคผมเรียกว่าร่มทิ้งของ)
ร่มแบ่งตามการใช้งานได้ 2 ชนิด คือ 
1 ใช้ในการกระโดด
2 ใช้ในการทิ้งของ 
ร่มแบ่งตามการทำงานได้ 2 ชนิดคือ 
1 ทำงานด้วยสายดึงประจำที่ (แบบ สตาติกไลน์(Static Line ) ใช้ในยุทธวิธีขนส่งทางอากาศเพื่อลงพื้นที่เป้าหมายอย่างรวดเร็ว)
2 ทำงานด้วยการกระตุกเอง( แบบ สกายฯ(Skydiving)     ใช้ในยุทธวิธีขนส่งทางอากาศ เพื่อ เคลื่อนที่จากระยะไกลมายังจุดเป้าหมาย)


การกระโดดแบบสตาติกไลน์ ท้ายเครื่องบิน





ร่มโบราณ




ลำเลียงทางอากาศในสมัยก่อน

เป็นร่มทางยุทธวิธี ลงเร็วมาก ประมาณ 20 ฟุต/วินาที ใช้ในกรณีลงหาเป้าหมายในระยะเวลาสั้น ๆ คือ 12-15 วินาที จะต่างกับการกระโดดร่มแบบ สกายฯ(Skydiving) หรือร่มกระตุกเองที่แผ่นร่มจะกินลม  เพื่อลงพื้นที่เป้าหมายในระยะไกลได้พอสมควร กระโดดในที่สูงในระดับ 4,000 ฟิตขึ้นไป

ลิงค์อ้างอิง



ในการกระโดดร่มแบบ สตาติก ไลน์ (Static Line ) หรือการกระโดดร่มทางยุทธวิธีในระยะเวลาอันสั้น อันตรายกว่าการกระโดดร่มแบบสกายเพราะมีเวลาอยู่กลางอากาศจนถึงพื้นเพียง 12 วินาที (หลังจากกระโดดออกจากเครื่อง หลักสูตร นรต.จะนับ ออกเสียง 5 วินาทีคือ "1 thousand  |  2 thousand | 3 thousand |4 thousand |  check canopy  หลังจากนั้นจะกางแขนเช็กว่าร่มหลักกางหรือไม่(ต้องเทียบกรณีร่มไม่กางจะลงเร็วกว่าร่มกางอีกเวลาหนึ่ง) มีเวลาตัดสินใจประมาณ 7 วินาที บนท้องฟ้า  เพื่อที่จะสามารถดึงร่มช่วยชีวิตด้านหน้าได้ทัน )
การกระโดดร่มแบบสตาติก ไลน์ ของตำรวจนั้นมีอยู่ 2 แบบ คือ 

โมเดลแพ็คร่มแบบสตาติกไลน์(สังเกตุสายเส้นสีเหลือง(หรือStatic Line) เป็นเส้นหัวใจของการกระโดดร่มแบบกระตุกคงที่)



ตัวอย่างการยืน จะมีร่มเล็กหน้าหรือร่มช่วยฯ(เรียกว่าร่มช่วยชีวิตตอนร่มหลักไม่กาง) ด้านหลังเป็นร่มหลัก(ปล.ไม่มีรูป ร่มT10B   เอารูปT21 แทน        ลักษณะการยืนคล้ายกัน)



1.แบบ T10B ร่มโบราณ(นรต.ยุคผมเรียกกันติดปากว่าร่มทิ้งของ) ประยุกต์ดัดแปลง มาจากร่มชนิด T10 ซึ่ง เป็นร่มยุทธวิธีรุ่นเก่าที่ใช้ในสหรัฐ และไทยมากกว่า 50 ปีมาแล้ว
รองรับน้ำหนักได้ราวๆ 300 ปอนด์ ไม่มีช่องลม บังคับทิศทางของร่ม ใช้เพียงสายโยงบ่า 4 เส้นในการบังคับทิศทาง

สังเกตุร่ม ชนิด T10B ไม่มีช่องบังคับทางลม


2.แบบ MC1-1B (เหล่าทหารใช้ร่มรุ่นนี้ในการฝึกกระโดด รวมทั้งการฝึกของตำรวจหลังจากจบออกมาจากโรงเรียน นรต.หรือนักเรียนในค่ายพลร่มมาแล้ว)
ร่มบุคคลโดดแบบ MC1-1B/NS ซึ่งทหารร่มมักจะเรียกว่าร่มกลม เนื่องจากมีรูปทรงเวลากางออกแล้วเป็นวงกลมนั้นเอง เป็นแบบสายดึงประจำที สายร่มจะออกก่อนเพดานร่ม กางเป็นรูปค่อนวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 35 ฟุต ที่ขอบชายร่มเส้นผ่านศูนย์กลาง 24.5 ฟุต สามารถพาผู้โดดเคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยความเร็ว 6-8 น็อทส์ (1 น็อทส์ =0.51 ม./วินาที) มีความเร็วของลมเป็นศูนย์จะมีอัตราการตกที่ 15.37-22.7 ฟุต ต่อวินาที มีอายุการใช้งาน 10 ปี หรือใช้ทำการโดดครบ 100 ครั้ง อย่างใดอย่างหนึ่ง ร่มเมื่อพับแล้ว มีน้ำหนัก 31 ปอนด์ 
ส่วนประกอบของร่ม MC1-1B/NS แบ่งได้ 5 ส่วน ดังนี้ 
1 ส่วนเพดานร่มและสายร่ม 
2 ส่วนสายโยงบ่า 4 เส้นเหมือนกับ T10B
3 ส่วนสายรัดตัว 
4 ส่วนแผ่นหุ้มห่อ 
5 ชุดถุงบรรจุเพดานร่ม 

ข้อดี MC1-1Bคือมีช่องบังคับทางลม พร้อมสายบังคับร่มซึ่งแยกออกมา แตกต่างจากT10B ที่ใช้สายโยงบ่า 4 เส้นในการบังคับ
จะดีกว่าร่มแบบ T10B  เพราะสามารถบังคับการลงได้นิ่มกว่าT10B มาก (หรือเจ็บตัวน้อยลงนั้นเอง  ป้องกันการบาดเจ็บ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ดากจะจะ  สะเทือนซาง  หรือหัวน็อคพื้นโปกป้าก ได้ดีกว่าT10B มาก )



ร่มชนิดMC1-1B จะมีช่องบังคับทางลม และสายบังคับ สบายกว่่า T10B เยอะครับ


ร่มทิ้งของ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1. ร่มทิ้งของขนาดเบา G-13 รับ น้ำหนักไม่เกิน 500 ปอนด์(สหรัฐเลิกใช้ไปแบ้ว)
2. ร่มทิ้งของขนาดกลาง G-12 รับ น้ำหนักไม่เกิน 2200 ปอนด์
3 .ร่มทิ้งของขนาดหนัก G-11 รับ น้ำหนักไม่เกิน 3500 ปอนด์
อ้างอิง


คลิปการกระโดดร่ม ของ นรต.ชั้นปีที่ 2 รวมทั้งกระโดดร่มแบบกระตุกเอง(Skydiving)ของหลักสูตรสำนักงานตำรวจแห่งชาติ



ส่วนการกระโดดร่มแบบ กระตุกเอง หรือ สกายฯ(Skydiving) ตามลิงค์นี้นะครับ เนื้อหาเยอะหน่อย
อ้างอิงลิงค์นี้ครับข้อมูลเต็มเอียด



ครูฝึกค่ายนเรศวร ทำการสอนวิธีการบังคับการลงแบบสกายฯ


แบ็คแพ็คร่มกระโดด แบบ สกาย(Skydiving)

จากที่ผมได้เคยสัมผัสลิ้งลองมาแล้ว 16 ครั้ง T10B จำนวน 12 ครั้ง  MC1-1B จำนวน 4 ครั้ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติน่าจะเปลี่ยนให้ นรต.มาใช้MC1-1B แบบเหล่าทหารได้แล้วนะผมว่า


ขอจบการรายงานเพียงเท่านี้ครับ



Create Date : 01 เมษายน 2557
Last Update : 1 เมษายน 2557 22:17:29 น.
Counter : 10846 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 1303443
Location :
สุราษฏร์ธานี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



เมษายน 2557

 
 
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30