space
space
space
<<
ตุลาคม 2566
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
9 ตุลาคม 2566
space
space
space

งานฐานรากและเสาเข็มไอ ตัวแปรคุณภาพงานก่อสร้าง

ฐานรากถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญ ที่เหมือนกับว่าเป็นปราการในด่านสุดท้าย ที่รวบรวมน้ำหนักทั้งหมดจากโครงสร้างที่ไล่จากด้านบนสุดก็คือหลังคา ลงมายังล่างสุดกระทั่งได้ถ่ายทอดน้ำหนักทั้งหมดนั้น มาไว้ที่ส่วนของฐานรากและแน่นอนว่า เสาเข็มถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญไม่แพ้กัน กับการประสานงานเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพของการรับน้ำหนักอย่างสมบูรณ์แบบ และแน่นอนว่าเสาเข็มที่ใช้งานกันในตอนนี้ ที่แพร่หลายกับงานส่วนของฐานรากมากที่สุด เชื่อว่าทุกท่านอาจจะนึกถึงชื่อเสาเข็มไอ มาเป็นอันดับแรกที่นึกออกในตอนนี้ก็ว่าได้ เพราะนั่นคือมาตรฐานหลักของรูปแบบของงานโครงสร้างแล้ว และยิ่งถ้าเป็นงานฐานราก ที่มี Load จำนวนมากถ่ายเทลงมา และยังไม่นับน้ำหนักบรรทุกจร ที่นับว่าเป็นส่วนที่สำคัญพอสมควร ที่วิศวกรจะไม่ลืมที่จะต้องคำนวณน้ำหนักส่วนนี้ไว้ด้วย ดังนั้นความบกพร่องหรือข้อผิดพลาดเพียงน้อยที่ไม่ควรเกิดขึ้น จะสามารถป้องกันได้หากเป็นเสาเข็มไอ ที่รับหน้าที่รองลงมาจากฐานราก
 
รูปแบบของฐานรากที่วางบนเสาเข็ม
ภาษาที่เป็นสากล ที่ท่านจะทำความรู้จักกับลักษณะของฐานราก ที่เป็นประเภทที่สำคัญและให้ความสมดุลกับงานโครงสร้างเป็นอย่างมาก ก็คือ Piled Foundation หรือ ฐานรากวางบนเสาเข็ม ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่า เสาเข็มที่เหมาะสม ที่จะรองรับการทำงานของฐานรากอีกชั้นหนึ่งนั้นก็คือเสาเข็มไอ เพราะด้วยระยะของชั้นดินที่แข็งที่สุด ที่ได้ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญมาแล้วว่า เป็นชั้นดินที่ไม่มีวัตถุหรือน้ำหนักที่มากเพียงใดก็ตาม ที่จะผ่านชั้นดินนั้นไปได้ แต่แน่นอนว่าส่วนใหญ่การแบ่งความเหมาะสม ของความยาวของเสาเข็มนั้น น่าจะต้องใช้การแบ่งแยกประเภทกันตามความเหมาะสมของระยะชั้นดิน โดยจะจำแนกได้อีกหากเป็นการแบ่งโดยพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เช่นถ้าหากว่าเป็นช่วงบริเวณชั้นดินในเขตภาคกลางนั้น ระยะสูงสุดที่ส่วนใหญ่มักจะพบการติดตั้งเสาเข็มไอไว้ใต้ฐานราก จะอยู่ที่ไม่เกิน 16 เมตรเป็นระยะสูงสุด แต่ก็ยังมีระยะชั้นดินในบางจังหวัดของภาคกลาง ที่สามารถใช้เสาเข็มไอขนาด 6 เมตรได้อยู่เช่นกัน แต่ยังถือว่าเป็นส่วนน้อย หากเทียบกับการเฉลี่ยระยะชั้นดินในภาคกลางทั้งหมด
 
รับน้ำหนักจากฐานรากได้จำนวนมหาศาล
ถือว่าเป็นความสามารถ ที่เป็นการประสานร่วมกันระหว่าง ฐานรากในประเภทที่วางบนเสาเข็มไอได้อย่างลงตัว เพราะว่ากันว่าการสร้างอาคารขนาดใหญ่ หรืองานบ้านพักอาศัยที่มีเนื้อที่ใช้สอยตั้งแต่ 200 ตรม.ขึ้นไปนั้น เป็นอะไรที่ไม่เกินคุณสมบัติเสาเข็มไอแต่อย่างใด โดยเฉพาะในงานก่อสร้างที่ถือว่า อยู่ในเขตพื้นที่เมืองหลวง หรือแถบจังหวัดในภาคกลาง ที่ขึ้นชื่ออยู่แล้วกับระยะชั้นดินที่ถือว่ามากสุดต้องมีเกิน 10 เมตรอยู่แล้ว ซึ่งแม้จะเป็นเหมือนงานหินพอสมควร ที่เสาเข็มไอจะรับหน้าที่ในการรับน้ำหนักจากฐานรากให้ได้ และส่วนใหญ่ประสิทธิในด้านการรับน้ำหนักของเสาเข็มนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวลใจกับเสาเข็มบางชนิดที่แม้ว่า จะมีจุดเด่นในด้านคุณสมบัติอยู่มากพอสมควร แต่แน่นอนว่าน้ำหนักของโครงสร้างถือว่าเป็นตัวแปร ที่จะทำให้การรับน้ำหนักของฐานรากและเมื่อร่วมกับระบบการถ่ายเทน้ำหนักไปยังเสาเข็มนั้น อาจจะมีปัญหาตามมากับความมั่นคงของโครงสร้าง เพราะฉะนั้นถ้าจะให้ตัดความกังวลกับคุณภาพของโครงสร้างที่สุด กับเขตพื้นที่ดินที่ลึกกว่าทั่วไป เสาเข็มไอกับฐานรากที่วางบนเสาเข็มถือว่ามีความน่าสนใจกว่าแน่นอน
 
สรุป
คงไม่ใช่เรื่องที่ต้องตัดสินใจให้ยุ่งยาก เพราะถ้าท่านได้เห็นการออกแบบที่เกิดขึ้นโดยวิศวกรผู้ชำนาญงานทั่วประเทศ ที่เลือกใช้ประเภทของเสาเข็มกับงานก่อสร้างที่อยู่ตรงหน้า โดยทั้งหมดจะพบทันทีเลยว่าการตัดสินใจเลือกเสาเข็มไอ จะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับงานก่อสร้างเหล่านั้นทั้งหมดโดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ แน่นอน
 


Create Date : 09 ตุลาคม 2566
Last Update : 9 ตุลาคม 2566 3:34:51 น. 0 comments
Counter : 274 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

สมาชิกหมายเลข 2029665
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 2029665's blog to your web]
space
space
space
space
space