รู้จัก ‘โรคต้อกระจก’ อาการร้ายทำลายการมองเห็น


เมื่อคนเราอายุมากขึ้น อวัยวะต่างๆ ก็เริ่มเสื่อมไปตามกาลเวลา ดวงตาเองก็เช่นกัน โดยเฉพาะหากเกิดอาการเลนส์แก้วตาเสื่อม อาการ โรคต้อกระจก (Cataract) ก็มีโอกาสมาเยือนได้ ซึ่งหากใครไม่ทำการรักษาอย่างถูกต้องกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญล่ะก็ อาจส่งผลให้เลนส์ตาของเราขุ่นมัวขึ้นเรื่อยๆ ในบางรายอาจถึงขั้นตาบอดเลยทีเดียว ดังนั้นใครที่ไม่อยากให้อาการต้อมาทำลายการมองเห็นล่ะก็ ลองมารู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้นเพื่อหาทางรับมือกันดีกว่าค่ะ

อาการ

  1. ความสามารถในการมองเห็นลดลง ตาขุ่นมัวโดยเฉพาะเมื่อเจอแสงจ้า แต่หากอยู่ในที่มืดสลัวจะมองเห็นชัดขึ้น
  2. การหักเหของแสงในดวงตาผิดปกติทำให้มองเห็นภาพซ้อนเห็นภาพซ้อน
  3. เวลามองแสงไฟจะเห็นเป็นวง
  4. ต้องเปลี่ยนแว่นบ่อยๆ เวลาอ่านหนังสือต้องอาศัยแสงสว่างผิดปกติ
  5. ดวงตาเกิดภาวะเป็นฝ้าขาวบริวเณรูม่านตา

สาเหตุ

  1. เมื่อผู้ป่วยมีอายุเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เลนส์ตาขุ่นมัวและแข็ง อาการนี้อาจเริ่มเกิดได้กับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
  2. การเกิดอุบัติเหตุ สัมผัสกับสารเคมี หรือได้รับการกระทบกระเทือนที่ส่งผลกับดวงตาอย่างรุนแรง
  3. ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับการมองเห็นหรือโรคอื่นๆ บางชนิด เช่น ดวงตาติดเชื้อ โรคเบาหวาน แพ้อาหารหรือยาบางประเภท สิ่งเหล่านี้อาจกระตุ้นให้ตาขุ่นเร็วขึ้น
  4. กรรมพันธุ์หรือความผิดปกติตั้งแต่เกิด อาจเกิดขึ้นได้เมื่อเกิดการติดเชื้อหรืออักเสบตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา สาเหตุที่แท้จริงของการเกิดอาการนี้ตั้งแต่ในครรภ์นั้นยังไม่แน่ชัด

การรักษา

          สำหรับการรักษาอาการป่วยนั้นแพทย์จะพิจารณาจากสภาพของอาการ หากเพิ่งอยู่ในระยะแรกนั้นก็ต้องรอให้ต้อสุกหรือเป็นพอสมควรเสียก่อน จากนั้นจึงจะทำการนัดหมายเพื่อมาผ่าตัดต่อไป แต่ก็ต้องคอยสังเกตโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างนี้ด้วย โดยการผ่าตัดนั้นจะทำได้โดยผ่าเอาเลนส์ดวงตาส่วนที่ที่ขุ่นมัวออกไป มีวิธีการผ่า 2 วิธี ดังนี้

  1. Phacoemulsification เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมที่สุด ทำได้โดยการเจาะรูเล็กๆ จากนั้นใช้เครื่องอัลตร้าซาวน์สอดเข้าไปเพื่อทำการสลายเลนส์ส่วนที่ขุ่นและดูดออกจากดวงตา
  2. Extracapsular วิธีนี้ทำได้โดยผ่าช่องเล็กๆ ให้เกิดแผลแล้วตัดเอาเลนส์ตาส่วนที่มีปัญหาออก

          อาการข้างเคียงหลังผ่าตัดอาจรู้สึกระคายเคืองเล็กน้อย ต้องใส่เครื่องป้องกันการขยี้ตา เพราะแพทย์จะทำการสวมเลนส์ตาเทียมให้ หลังจากผ่าตัดประมาณ 4 สัปดาห์ก็จะสามารถมองเห็นได้เป็นปกติ แต่อาจต้องสวมแว่นตา แต่สิ่งสำคัญคือต้องหมั่นสังเกตร่างกายตนเอง หากเกิดอาการข้างเคียงต่อไปนี้ต้องรีบไปพบแพทย์

– ไม่สามารถมองเห็นเป็นปกติได้

– รู้สึกปวดตาตลอดเวลา

– มีอาการตาแดง เห็นแสงวาบเป็นระยะ

– รู้สึกคลื่นไส้อาเจียน มีอาการปวดศีรษะและไอ

          ดวงตาเป็นอวัยวะที่ถูกใช้งานอย่างหนักมากในแต่ละวัน โดยเฉพาะในยุคสมัยนี้ที่ใครๆ ก็จ้องแต่คอมพิวเตอร์และมือถือ รวมถึงต้องเจอกับมลภาวะต่างๆ ที่ทำร้ายตาของเรามากมาย ดังนั้นเราจึงควรเอาใจใส่และดูแลสายตาให้มากขึ้น ก่อนที่จะเกิดโรคต้อกระจกจนทำลายการมองเห็นของเราไปค่ะ


ขอบคุณที่มา //www.healthydeejung.com/



Create Date : 07 สิงหาคม 2558
Last Update : 7 สิงหาคม 2558 16:05:16 น.
Counter : 420 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 1022049
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



สิงหาคม 2558

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog