“มิวเซียมสยาม” จัดครีเอทีฟเสวนาปี 6 “ตีแผ่โลกออนไลน์” เผยเทคนิค “การสื่อสาร” ให้ “สร้างสรรค์-โดนใจ-


มิวเซียมสยามจัดเวที ครีเอทีฟเสวนา ในหัวข้อ“สื่อสารอย่างไรให้โดนใจและสร้างสรรค์” จับมือ สุดยอดครีเอทีฟของไทยหลากหลายแวดวงร่วมจุดประกายความคิดและทัศนคติเชิงบวกแก่คนรุ่นใหม่ เกี่ยวกับการใช้ website และ applicationsocial network ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม และสามารถสื่อสารข้อมูลข่าวสารได้อย่างสร้างสรรค์โดนใจกลุ่มเป้าหมายพร้อมชวนเยาวชนร่วมขบคิดกลั่นความรู้ ต่อยอดสู่ผลงาน Infographic เล่าเรื่องไทยด้วยภาพ ภายใต้โครงการ Young Muse Project ครั้งที่ 6

เวทีครีเอทีฟเสวนา“สื่อสารอย่างไรให้โดนใจและสร้างสรรค์” เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นภายใต้ โครงการปั้นนักพิพิธภัณฑ์สายพันธุ์สยามครั้งที่ 6 ในหัวข้อ “แบบนี้สิคนไทย” โดยได้รับเกียรติจาก สุดยอดนักคิดของไทยได้แก่ นายวงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ผู้ก่อตั้งนิตยสาร aday, นายพันธวิศ ลวเรืองโชค Creative Director นักออกแบบExhibition ผู้ก่อตั้ง APOSTROPHY'S รศ.ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ และ นางจิระนันท์ พิตรปรีชา กวีซีไรต์ ร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดการสื่อสาร

นายราเมศพรหมเย็น ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) เปิดเผยว่าเวทีครีเอทีฟเสวนาครั้งนี้ จัดขึ้นภายใต้โครงการปั้นนักพิพิธภัณฑ์สายพันธุ์สยามครั้งที่ 6ในหัวข้อ“แบบนี้สิคนไทย” เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ปั้นเยาวชนนักพิพิธภัณฑ์สายพันธุ์สยามเพื่อสร้างสรรค์ผลงานและต่อยอดไปสู่การพัฒนาข้อมูลพิพิธภัณฑ์ในรูปแบบ Infographicภายใต้โครงการ Young Muse Project ครั้งที่ 6ต่อไป ในการออกแบบเนื้อหาและข้อมูลให้สามารถสื่อสารสู่สังคมได้อย่างน่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อผู้รับสาร

“ในยุคดิจิตอลที่ผู้คนทั้งโลกสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้อย่างรวดเร็วผ่านสังคมออนไลน์กลยุทธ์ด้านการสื่อสารนับเป็นสิ่งสำคัญ ปรากฎการณ์ที่เห็นเด่นชัดในทุกวันนี้คือ Infographicแทรกซึมไปได้ในทุกๆ สื่อ ปัจจุบันพลังของ Infographic มีผลต่อการรับรู้ของมนุษย์โดยตรง เพราะร้อยละ 90ของข้อมูลที่เข้าสู่สมองของคนคือรูปภาพ เพราะกระตุ้นความสนใจได้ดีกว่า โครงการ YoungMuse Project ครั้งที่ 6 ที่จะจัดขึ้นนี้จึงเป็นเวทีสำคัญอีกครั้งหนึ่งที่จะสร้างการเรียนรู้รูปแบบใหม่ให้เกิดขึ้นในวงการพิพิธภัณฑ์ไทยโดยเปิดโอกาสให้นักเยาวชนคนรุ่นใหม่แสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านผลงาน Infographicเพื่อบอกเล่าความเป็นคนไทย และทดลองใช้เพื่อสร้างการเรียนรู้ที่มิวเซียมสยามเป็นแห่งแรก”ผอ.สพร.กล่าว

นายพันธวิศ ลวเรืองโชค เปิดเผยว่าระบบโซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างโอกาสให้แก่มนุษย์ทุกคนบนโลกโดยปราศจากการกีดกันทางสังคม เพศและอายุ ซึ่งเพียงคลิกเดียวเด็กรุ่นใหม่สามารถประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว

“โซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นช่องทางที่มนุษย์ทุกคนสามารถใช้นำเสนอความสามารถของตนเองให้กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ทั้งลูกค้าและนายทุน แต่เนื่องจากโลกโซเชียลหมุนไปอย่างรวดเร็วการปรับกลยุทธ์และวิธีการสื่อสารให้เหมาะสมกับช่วงเวลาจึงเป็นสิ่งสำคัญ จากการสำรวจข้อมูลพบว่าปัจจุบันเป็นยุคของการสื่อสารแบบ10 วินาที สิ่งที่ต้องการสื่อสารถึงผู้รับจึงต้องมีความกระชับและเข้าใจง่าย”นายพันธวิศกล่าว

นายวงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพิ่มเติมว่าโลกโซเชียลเน็ตเวิร์คคือห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีคนส่วนใหญ่ใช้เพื่อค้นหาความรู้และข้อมูลที่เป็นประโยชน์แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยฉวยโอกาสใช้ในทางที่ผิด โดยนำเสนอข้อมูลที่เป็นเท็จ หลอกลวงเพื่อความสนุกสนานและประสงค์ต่อทรัพย์สินการใช้สติและวิจารณญาณจึงเป็นสิ่งที่ขาดเมื่อได้เมื่อก้าวเข้าสู่สังคมออนไลน์

“คนในยุคปัจจุบันรับข่าวผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คแบบวินาทีต่อวินาทีมีข้อมูลหมุนเวียนจำนวนมหาศาล ผู้รับสารจำเป็นต้องมีตะแกรงกรองเรื่องราวต่างๆว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ในขณะที่ผู้ส่งสารต้องนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์โดยใช้เทคนิคที่น่าสนใจแม้เนื้อหาบางอย่างจะมีความยืดยาวแต่หากนำเสนอด้วยเทคนิคแปลกใหม่โดนใจกลุ่มเป้าหมายก็สามารถสร้างความสนใจและก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมได้”นายวงศ์ทนงอธิบาย

ทางด้านรศ.ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ นักสื่อสารวิทยาศาสตร์เปิดเผยถึงเทคนิคการนำเสนอข้อมูลที่สามารถเข้าถึงผู้คนในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์คได้โดยง่ายคือการใช้ภาพประกอบที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายผู้รับสารเพราะเด็กรุ่นใหม่ไม่นิยมอ่านข้อความยาวๆ

“แน่นอนว่าความรู้เชิงวิชาการเป็นสิ่งที่มีประโยชน์แต่ต้องยอมรับว่าเด็กรุ่นใหม่ไม่ชอบอ่านหนังสือ การใช้ข้อความยาวๆ อ่านเข้าใจยากจึงไม่เหมาะที่จะใช้เผยแพร่ในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ค แต่การใช้ภาพประกอบที่สวยงามสะดุดตา สามารถกระตุ้นความสนใจได้มากกว่า เมื่อเรียกความสนใจได้แล้วจึงค่อยใส่แหล่งที่มาของข้อมูลเชิงลึกให้ผู้ที่สนใจจริงๆได้ติดตามต่อ” นักสื่อสารวิทยาศาสตร์กล่าว

นางจิระนันท์ พิตรปรีชา ที่ปรึกษาสพร.กล่าวว่าการสื่อสารในยุคปัจจุบันมีโซเชียลเน็ตเวิร์คได้รับความนิยมค่อนข้างมากเพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว แต่ปัญหาสำคัญคือ ข้อมูลที่เน้นความสั้นกระชับ ฉับไว มักขาดความปราณีต ใช้ภาษาอย่างไม่ถูกต้อง ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ

“ข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่สู่สังคมนอกจากจะต้องการความรวดเร็วว่องไวสิ่งที่ขาดไม่ได้คือความถูกต้องทั้งในด้านการใช้ภาษาและเนื้อหาหากเป็นการสื่อสารที่หวังให้เกิดประโยชน์ในเชิงธุรกิจ ยิ่งต้องมีการกลั่นกรองอย่างละเอียดถี่ถ้วนเพราะทุกถ้อยคำคือภาพลักษณ์ที่สะท้อนถึงความเป็นมืออาชีพนั่นเอง”ที่ปรึกษาสพร.กล่าวสรุป




Create Date : 25 ตุลาคม 2558
Last Update : 25 ตุลาคม 2558 21:16:30 น.
Counter : 1026 Pageviews.

0 comments

ควายน้อยดีใจได้ไปโรงเรียน
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ฉันเขียนภาษาไทย
ตุลาคม 2558

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
26
27
28
29
30
31
 
All Blog