[บทที่5]มาหัดแต่งประโยคเกาหลีกันเถอะ
ประโยคเกาหลี
โครงสร้างประโยคเกาหลี

# ก่อนอื่นมาดูข้อแตกต่างระหว่างประโยคเกาหลีกับประโยคของไทยกันก่อนคะ

ข้อแตกต่างระหว่างประโยคเกาหลีกับไทย
 ข้อที่1
 โครงสร้างประโยคเกาหลีอย่างง่ายไม่เหมือนของไทย จากที่เห็น โครงสร้างประโยคของไทย คือ ประธาน + กริยา + กรรม 
ส่วนโครงสร้างของประโยคเกาหลีคือ  ประธาน + กรรม + กริยา

ข้อที่2

ภาษาไทยจะวางคำขยายไว้ด้านหลังของคำนาม แต่ภาเกาหลีจะวางไว้ข้างหน้าคำนาม

เช่น
ไทย   >>  แม่สวย
เกาหลี  >>  예뻐엄마(เยปอ ออมม่า) แม่สวย

ข้อที่3
ประโยคเกาหลีต้องมีการเติมคำชี้หน้าที่ของคำ
ที่คนเกาหลีสามารถพูดกันได้อย่างอิสระเพราะว่ามีการเติมคำชี้หน้าที่ของคำ ซึ่งการเติมคำชี้หน้าที่ของคำทำให้รู้ว่าสิ่งไหนคือประโยค สิ่งไหนคือกรรม สิ่งไหนคือกริยานั่นเอง

ประธาน/กรรม ที่

ตัวชี้ประธาน

ตัวชี้กรรม

มีตัวสะกด

(อี)

(อึน)

(อึล)

ไม่มีตัวสะกด

(กา)

(นึน)

(ลึล)


อธิบาย

ตัวชี้ประธาน มี 2 แบบ ดังนี้

แบบที่ 1

은/는
은 - ใช้กับคำนามที่มีตัวสะกด (ให้ดูที่พยางค์สุดท้ายของคำ)
는 -  ใช้กับคำนามที่ไม่มีตัวสะกด (ให้ดูที่พยางค์สุดท้ายของคำ)

_  _  _  _  _  _  _  _  _  _


แบบที่ 2

이/가
이 - ใช้กับคำนามที่มีตัวสะกด (ให้ดูที่พยางค์สุดท้ายของคำ)
가 - ใช้กับคำนามที่ไม่มีตัวสะกด (ให้ดูที่พยางค์สุดท้ายของคำ)


ตัวชี้ประธานทั้งสองตัวนี้มีการใช้ที่แตกต่างกันดังนี้

- 은/는 จะใช้ชี้หัวเรื่อง และเน้นย้ำประธาน
- 이/가 เป็นตัวชี้ประธานของประโยค

ตย.ประโยคนะค้ะ

동생(은) 책(을) 읽다.
น้อง หนังสือ อ่าน
แปลไทยคือ : น้องอ่านหนังสือ
- - - - - - -


ข้อ4
ภาษาเกาหลีมีการลงท้ายคำกริยา

การลงท้ายคำกริยา เราจะเจอกันได้2รูป คือ รูป 요 (โย) และ รูป 니다(นีดา)

ส่วนมาก รูป 요(โย) ใช้ทั่วไปในชีวิประจำวันค่ะ ส่วนรูป 니다(นีดา) ใช้ในโอกาสทางการ

ในภาษาเกาหลีนั้นจะมีการผันกริยาได้หลายแบบ แต่ในตอนนี้จะขอพูดถึงการผันกริยาแบบพื้นฐาน

1. รูปพื้นฐาน -다 และ -하다

เป็นรูปทั่วไป แต่ปกติคนเกาหลีจะผันคำกิริยาจากรูปพื้นฐานนี้ไปเป็นรูปอื่นๆ ขึ้นกับสถานการณ์ เช่น

가다 (คาดา) แปลว่า ไป

먹다 (ม่อกดา) แปลว่า กิน

하다 (ฮาดา) แปลว่า ทำ มีคำกิริยาที่ลงท้ายด้วย 하다 มากมายเช่น

공부하다 (คงบูฮาดา) แปลว่า เรียน
운동하다 (อุนทงฮาดา) แปลว่า ออกกำลัง

2. รูปทางการ -ㅂ/습니다 และ -합니다

เป็นรูปสุภาพทั่วไป ใช้กับคนที่เราเคารพ หรือคนที่เราไม่รู้จัก และใช้ในภาษาเขียนด้วย

 

วิธีการผัน

2.1) คำกิริยาที่ไม่มีตัวสะกด เช่น 가다 หรือ 하다
เติม ㅂ เป็นตัวสะกดแล้วตามด้วย 니다(นีดา) เช่น

가다(คาดา) >> 갑니다 (คัมนีดา) แปลว่า ไป

하다(ฮาดา) >> 합니다 (ฮัมนีดา) แปลว่า ทำ

쓰다(ซือดา) >> 씁니다 (ซึมนีดา) แปลว่า เขียน

공부하다(คงบูฮาดา) >> 공부합니다 (คงบูฮัมนีดา) แปลว่า ศึกษา

운동하다(อุนทงฮาดา) >> 운동합니다 (อุนทงฮัมนีดา) แปลว่า ออกกำลังกาย

2.2) คำกิริยาที่มีตัวสะกด เช่น 먹다(ม่อกดา) หรือ 읽다(อิลดา)
เติม 습니다(ซึมนีดา) ไว้ด้านท้าย เช่น

먹다 >> 먹습니다(ม่อกซึมนีดา) แปลว่า กิน

읽다 >> 읽습니다(อิลซึมนีดา) แปลว่า อ่าน

듣다 >> 듣습니다(ทึดซึมนีดา) แปลว่าฟัง

กรณีจะใช้เป็นคำถามก็เปลี่ยนจาก …니다 >> 니까? เช่น

갑니까? (คัมนีก๊า) แปลว่า ไปไหม? // 먹습니까? (ม่อกซึมนีก๊า) แปลว่า กินไหม?




Create Date : 10 มิถุนายน 2555
Last Update : 10 มิถุนายน 2555 17:00:37 น.
Counter : 1459 Pageviews.

1 comments
  
ถ้าว่างๆจะมานั่งศึกษาบทต่อๆไปนะคะ

คัมซาฮัมนีดาาา~

โดย: กะเปิ๊บกะป๊าบ วันที่: 10 มิถุนายน 2555 เวลา:19:35:51 น.
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

erezer9
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



มิถุนายน 2555

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30