<<
พฤษภาคม 2561
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
4 พฤษภาคม 2561

ถ้าอยากเรียนเวชศาสตร์ฉุกเฉินแล้ว ต้องทำอย่างไร ตอนที่ 1



คำเตือน บทวิเคราะห์ในบทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวเท่านั้น โปรดใช้วิจารณาญาณในการตัดสินใจด้วยครับ

คำถาม : ผม/หนู สามารถสมัครเป็นแพทย์ประจำบ้านได้เมื่อไหร่

คำตอบ :

ประเด็นที่ 1 การเข้ารับการอบรมในสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน มี 3 ระบบ ได้แก่

ระบบที่ 1 แพทย์ประจำบ้าน (แผน ก.) การเข้ารับการอบรมในแบบปกติ แพทย์ที่เข้ารับการอบรมระบบนี้ ต้องมีคุณสมบัติตามที่แพทยสภากำหนด และในกรณีที่สมัครขอตำแหน่งจากกระทรวงสาธารณสุขก็ต้องมีคุณสมบัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเช่นกัน มีระยะเวลาในการฝึกอบรม 3 ปี โดยในระบบนี้จะมีข้อยกเว้นพิเศษ สำหรับแพทย์ที่ได้รับวุฒิบัตรสาขาอื่นมาแล้ว โดยให้มีระยะเวลาในการฝึกอบรมลดลงเหลือ 2 ปี

ระบบที่ 2 แพทย์ปฏิบัติงานเพื่อวุฒิบัตร (แผน ข.) สำหรับสถาบันการฝึกอบรมในส่วนภูมิภาคที่มีความจำเป็นต้องมีแพทย์ที่ปฏิบัติงานชดใช้ทุน (เช่น ม.สงขลานครินทร์ ม.เชียงใหม่ ม.ขอนแก่น) หรือ โรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลักกระทรวงสาธารณสุข ที่มีศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกที่ต้องการแพทย์พี่เลี้ยงปฏิบัติงานหลังจบการเพิ่มพูนทักษะบางแห่ง จะสามารถทำการฝึกอบรมและปฏิบัติงานในสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินได้ ซึ่งหลักสูตรจะคล้ายคลึงกันกับระบบที่ 1 แต่ขั้นตอนการสมัครจะมีรายละเอียดที่แตกต่างออกไป มีระยะเวลาในการฝึกอบรม 3 ปี (4 ปีถ้ารวมช่วงเวลาของการเพิ่มพูนทักษะไปด้วย)

ระบบที่ 3 แพทย์ปฏิบัติงานเพื่ออนุมัติบัตร (แผน ค.) เป็นระบบที่ใช้สำหรับแพทย์เฉพาะทางสาขาอื่น ที่ปฏิบัติงานหลักในแผนกฉุกเฉินมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง และต้องการสมัครเพื่อขอเข้ารับการประเมินให้เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โดยไม่จำเป็นต้องเข้าระบบการฝึกอบรมเต็มเวลา แต่สั่งสมประสบการณ์แทน ใช้เวลาในการฝึกอบรม 5 ปี

ประเด็นที่ 2 ขั้นตอนการสมัคร
ระบบที่ 1 การสมัครเป็นแพทย์ประจำบ้านแผน ก. มีกระบวนการดังต่อไปนี้
1. ค้นหาตัวเอง ตรวจสอบคุณสมบัติ และแสดงเจตจำนงค์ในการสมัครเป็นแพทย์ประจำบ้าน 
          เริ่มต้นจากการค้นหาตนเอง มีความรู้สึกอย่างไรกับสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน มั่นใจแล้วหรือไม่ที่จะอบรมต่อในสาขานี้ เพราะหลังจากการอบรมไปแล้ว ก็แทบจะต้องอยู่กับสาขานี้ไปตลอดชีวิต (แม้จะมีสาขาเฉพาะทางต่อยอดที่ทำให้การทำงานแตกต่างออกไปมาก แต่ปัจจุบันในประเทศไทยก็ยังไม่มีการฝึกอบรมในสาขาต่อยอดมากนัก)
          สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ปัจจุบัน ก็ยังเป็นสาขาขาดแคลนของกระทรวงสาธารณสุข ตามประกาศของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขล่าสุด (ปีการฝึกอบรม 2562) https://drive.google.com/drive/u/2/folders/1nfhooYsc5HxCeQTZHSrBwxwew4YAznpf
         ทำให้กระทรวงมีการลดคุณสมบัติของการสมัครเป็นแพทย์ประจำบ้าน เช่น เวลาชดใช้ทุนในก่อนเข้ารับการฝึกอบรมลดลง หรือ แพทย์ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทก็สามารถสมัครขอตำแหน่งได้เร็วขึ้นจากเดิม ทั้งนี้ ไม่เพียงสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ยังมีอีก 20 สาขาที่สามารถศึกษาต่อได้เลยเช่นกัน รวมถึง บางสาขาที่จบเพิ่มพูนทักษะและใช้ทุนเพิ่มอีก 1 ปี ได้แก่ เวชศาสตร์ฟื้นฟู สูตินรีเวช และวิสัญญี ก็เป็นสาขาที่กระทรวงสาธารณสุขส่งเสริม ซึ่งประกาศดังกล่าว จะมีการเปลี่ยนแปลงทุกปี ต้องติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง
          ถ้าคิดว่าชอบคิดว่าใช่ และผ่านคุณสมบัติ ให้ดำเนินการแสดงเจตจำนงค์ไปยังโรงพยาบาลที่คิดว่าจะขอตำแหน่งโควต้า โดยปัจจุบัน ผมแนะนำว่า ให้เลือกโรงพยาบาลที่เป็นโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป เพื่อให้มีการรวมทีมทำงานของแพทย์ฉุกเฉินหลังจบการฝึกอบรม ดีกว่า การไปอยู่ รพช. เพื่อทำงานเพียงคนเดียว และจะให้ดีที่สุด ควรเป็น โรงพยาบาลที่มีการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านอยู่ด้วย การเลือกโรงพยาบาลที่ต้องการขอตำแหน่ง ขอให้เป็นดุลยพินิจของตนเอง ทั้งเรื่องของภูมิลำเนา บรรยากาศการทำงาน ครอบครัว รายได้ ตรงนี้ผมคงไม่มีสิทธิไปให้ความเห็น
          การแสดงเจตจำนงค์ ช่วยให้โรงพยาบาลสามารถดำเนินการขอตำแหน่งจากสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขได้ง่ายขึ้น ถ้าไม่ขอ คุณต้องไปเสาะหาตำแหน่งที่โรงพยาบาลขอเผื่อไว้ ซึ่งโอกาสเจอโรงพยาบาลที่ต้องการก็จะน้อยมาก 

ช่วงเวลาแสดงเจตจำนงค์ : ประมาณเดือนกรกฎาคม - กันยายน (ตั้งแต่เริ่มเป็นแพทย์เพิ่มพูนทักษะกันเลย)** รอบนโยบายพิเศษ ไม่มีประกาศรับสมัครสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

สำหรับแพทย์ที่ไม่อยากขอตำแหน่งในกระทรวงสาธารณสุข ผมขอแจ้งให้ทราบว่า โอกาสที่จะได้รับคัดเลือกเป็นแพทย์ประจำบ้านจะน้อยกว่าผู้ที่มีต้นสังกัดค่อนข้างมาก (แพทยสภาขอความร่วมมือให้ วฉท. รับแพทย์ที่มีต้นสังกัดก่อนแพทย์ที่ไม่มีต้นสังกัด โดยให้มีอัตราส่วนแพทย์ที่ไม่มีต้นสังกัดไม่เกินร้อยละ 10 เพื่อสอดรับกับความขาดแคลนของประเทศ)

2. กระทรวงสาธารณสุขประกาศโควต้า
          การประกาศโควต้าของกระทรวงสาธารณสุข จะประกาศประมาณ 2-3 รอบ ส่วนใหญ่จะเป็นไปตามรายชื่อแพทย์ที่ได้แสดงเจตจำนงค์เอาไว้

ช่วงเวลาของการประกาศโควต้า : ประมาณเดือนกันยายน ถึง ตุลาคม (ปกติถ้าถึงตุลาคม แสดงว่า การดำเนินงานช้ามาก เพราะ การสมัครคัดเลือกของแพทยสภารอบแรกจะเริ่มประมาณ ตุลาคม - พฤศจิกายน)

3. สมัครเป็นแพทย์ประจำบ้านตามโควต้าที่กำหนด และรอรับประกาศผล
          ถ้าได้ดำเนินการแสดงเจตจำนงค์ไว้แล้ว ก็ต้องดำเนินการสมัครกับทางกระทรวงสาธารณสุขในหน้า website และสอบสัมภาษณ์กับโรงพยาบาลเป็นพิธี เพื่อให้ไดัรับการอนุมัติตำแหน่ง โดยเรื่องจะถูกส่งผ่านจาก โรงพยาบาลที่ขอตำแหน่ง ไปยัง สสจ. และส่งผ่านเขตสุขภาพไปยังสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ผู้มีอำนาจสูงสุดลงนามอนุมัติ            สำหรับผู้สมัคร ขอให้ติดตามผลการคัดเลือกอย่างใกล้ชิด โดยสามารถติดตามผลการประกาศตำแหน่งได้จากหน้าเว็บไซท์ของ “ สำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท” หรือ ” สบพช.”
ในบางครั้ง แพทย์ผู้สมัคร จะได้รับหนังสือยืนยันการได้รับตำแหน่งจากผู้อำนวยการโรงพยาบาล หรือ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ว่ารับรองว่าได้ตำแหน่งแล้ว แต่เอกสารที่ยืนยันชัดเจนที่แพทยสภา  ต้องการคือ เอกสารยืนยันจาก ปลัดประทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ในการนี้ ขอให้เก็บหลักฐานการได้รับเอกสารยืนยันดังกล่าวให้ดี เพราะต้องใช้เป็นหลักฐานประกอบที่สำคัญในอนาคต

ช่วงเวลาของการสมัครและประกาศผลโควต้า : ประมาณเดือนกันยายน ถึง ตุลาคม 

4. แพทยสภาประกาศศักยภาพของสถาบันฝึกอบรม
          แพทยสภา เป็นผู้ดูแลคุณภาพของการผลิตแพทย์เฉพาะทาง ผ่านกลไกของราชวิทยาลัยต่างๆ (รวมทั้ง วฉท.) ในช่วงระหว่างเวลานี้ แพทยสภาจำดำเนินการสำรวจศักยภาพของสถาบันฝึกอบรมว่า สามารถรับแพทย์ประจำบ้านได้ในปริมาณเท่าไร ปัจจุบัน ศักยภาพของการฝึกอบรมในสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน มีประมาณ 150 ตำแหน่งต่อปี

ช่วงเวลาของประกาศศักยภาพ : ประมาณเดือน สิงหาคม ถึง กันยายน 

5. แพทยสภาประกาศรับสมัคร >>> วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย (วฉท.) ประกาศรับสมัคร
          แพทยสภาจะดำเนินการประกาศรับสมัครแพทย์ประจำบ้านกลาง เป็นแนวนโยบายให้ราชวิทยาลัยต่างๆประกาศรับสมัครแพทย์ประจำบ้านตามออกมา โดยต่อจากนี้ วฉท. จะดำเนินการประกาศรับสมัครแพทย์ประจำบ้าน
           ขั้นตอนการสมัคร และคุณสมบัติ ทาง วฉท. จะเป็นผู้กำหนด ให้ติดตามประกาศการรับสมัคร รวมถึงสถาบันที่เปิดการฝึกอบรมได้ทางเว็บไซท์ www.tcep.or.th

ช่วงเวลาของประกาศรับสมัคร: ประมาณเดือนตุลาคม 

6. รวบรวมหลักฐาน และสมัครเข้ารับการคัดเลือกตามที่ วฉท. กำหนด
          หน้าที่ของผู้สมัคร คือ ต้องดำเนินการรวบรวมหลักฐานการสมัครตามที่ วฉท. กำหนด สิ่งที่มักผิดพลาด คือ สำเนาใบอนุญาติประกอบวิชาชีพเวชกรรม ที่ผู้สมัครมักเอา สำเนาหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกแพทยสภา มาแทน

ช่วงเวลาของรวบรวมเอกสาร: สิ้นสุดการสมัคร ในเดือนตุลาคม 

7. สอบตัดเลือก
          การสอบคัดเลือก วฉท. จะเป็นผู้กำหนดกติกาในการสอบให้มีความยุติธรรมที่สุด ในปีที่แล้ว ใช้ระบบ matching program แพทย์ที่สมัครต้องเลือกสถาบันที่ตนเองต้องการสมัครไม่เกิน 3 ลำดับ และเข้ารับการสัมภาษณ์พร้อมๆกัน หากไม่ได้รับการคัดเลือก ต้องไปสัมภาษณ์ต่อในรอบที่ 2 และ 3 ตามลำดับ ติดตามได้ทางเว็บไซท์ www.tcep.or.th
          ในปีที่ผ่านมา มีผู้สมัครทั้งสิ้น 180 คน แต่ตำแหน่งที่รับได้ มีเพียง 128 ตำแหน่งเท่านั้น (ตำแหน่งที่หายไป คือ แพทย์ปฏิบัติงานเพื่อวุฒิบัตรที่จะเข้ารับการฝึกอบรมปีที่ 1 ในปีนั้น ที่ได้ใช้ศักยภาพของสถาบันไปแล้ว) แม้จะมีต้นสังกัดก็ไม่ได้การันตีว่า จะได้เรียนทุกคน

ช่วงเวลาของการสอบคัดเลือก: เดือนพฤศจิกายน - ต้นธันวาคม

8. แพทยสภาประกาศผลสอบคัดเลือก
          แพทยสภาจะประกาศผลการคัดเลือกรอบแรกอย่างเป็นทางการ และประกาศรับสมัครรอบสองสำหรับตำแหน่งที่เหลือว่าง หรือ ศักยภาพที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น หากพลาดโอกาสจะยังมีโอกาสครั้งที่ 2 

ช่วงเวลาของการประกาศผลจากแพทยสภา: เดือนมีนาคม

9. ดำเนินงานด้านธุรการ รายงานยืนยันการเป็นแพทย์ประจำบ้าน
          หลังได้รับการประกาศผล แพทย์ที่ได้รับการคัดเลือก ต้องดำเนินการทางธุรการตามที่แพทยสภากำหนด เช่น การดำเนินการร่างสัญญากับต้นสังกัด หรือ ส่งหลักฐานเพิ่มเติมที่แพทยสภาต้องการ

ช่วงเวลาของการประกาศผลจากแพทยสภา: เดือนมีนาคม - เมษายน

10 . รายงานตัวเข้าฝึกอบรม
          ประมาณเดือนมิถุนายน วฉท. อาจดำเนินการจัดงานปฐมนิเทศให้กับแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 1 และเริ่มรายงานตัวเข้ารับการฝึกอบรมในวันที่ 1 กรกฎาคม 

เขียนมายาว สำหรับขั้นตอนของการสมัครแพทย์ประจำบ้าน ถ้ามีเวลาจะนำเสนอตอนที่ 2 สำหรับแพทย์ปฏิบัติงานเพื่อวุฒิบัตร (แผน ข.) อีกครั้ง

หากมีคำถามสงสัย สามารถส่ง email มาปรึกษาได้ตลอดครับ

bhummarin@hotmail.com

ขอบคุณครับ







 

Create Date : 04 พฤษภาคม 2561
0 comments
Last Update : 4 พฤษภาคม 2561 13:38:52 น.
Counter : 2413 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Botsumu
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add Botsumu's blog to your web]