Associazione Culturale Thailandese nel Tri veneto (Italia) ชมรมวัฒนธรรมไทย ในตรีเวเนโต้ (อิตาลี่)
Group Blog
 
All blogs
 

♥ ♡ εï畤º° ☜♥☞เปิดศุนย์การเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ทั้ง 3 สาขา☜♥☞ °º¤•εïз ♡ ♥


ชมรมวัฒนธรรมไทยในตรีเวเนโต้ (อิตาลี)
เปิดศุนย์การเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทย ทั้ง 3 สาขา
สำหรับเด็กและเยาวชนทั้งสองสัญชาติ (ไทย- อิตาเลียน) ประจำปีการศึกษา 2008/2009
เริ่มตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2008 ถึง เดือนมิถุนายน 2009

เวนิส
เรียน ทุกวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 11.00 น - 18.00 น. ที่ ..
Centro Gardennia (ex asilo Sacro Cuore) Piazza del Municipio 14, Marghera, VE.
สมัครเข้าเรียนฟรีได้ที่ศุนย์ฯ ในวันที่มีการเรียนการสอน
เริ่มเปิดภาคเรียน วันที่ 25 ตุลาคม 2008
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ...
คุณทิพย์ 333 7444980 คุณไก่ 392 169272 คุณกานต์ 340 3232453
.................................................................................
อุดิเน่
เรียน ทุกวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 14.00 น. - 17.00 น. ที่..
UCAI (Unione delle Comunità e Asociazioni di Immigrati FVG)
Via Pracchiuso N° 85 Udine
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณอ้อย 320 3076232
................................................................................
วิเชนซ่า
เรียน ทุกวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 16.30 น. - 18.30 น. ที่...
ห้องสมุดของคอมมูน ซาน ดริโก้ เขต ซานดริโก้ ,วิเชนซ่า
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณอ้วน 333 6936999 คุณขวัญ 333 8416975 คุณใย 380 71455757







 

Create Date : 04 ตุลาคม 2551    
Last Update : 4 ตุลาคม 2551 22:05:51 น.
Counter : 544 Pageviews.  

รายชื่อสมาชิกชมรมวัฒนธรรมไทยในตรีเวเนโต้ (อิตาลี่)


รายชื่อสมาชิกชมรมวัฒนธรรฒไทยในตรีเวเนโต้ (อิตาลี่)

๑. สงกรานต์ บุญจรัส ๔๑. หวาน บุญสา
๒. จารี วัฒวานิส ๔๒. พยงค์ บันลือทรัพย์
๓. อุษา สงค์ประเสริฐ ๔๓. แพรว เมาลิชาติ
๔. สรัญญา รู้บุญ ๔๔. วงเดือน พานแก้ว
๕. บาหยัน ทศานนท์ ๔๕. ลัดดา มีโชค
๖. เกสร บุญรวงทอง ๔๖. อุไร จันทร์คำ
๗. มีชัย ทุมพัด ๔๗. เสาวลักษณ์ ปาอูลุสซี่
๘. นิชารี ศรีมนตรี ๔๘. ดวงเพชร ชิงโส
๙. ดิลก สันดี ๔๙. กุสุมา ทักญาติ
๑๐. วิลาวรรณ สันดี ๕๐. สำรวย สนธิสัย
๑๑. แก้วใส คำปัน ๕๑. มนธิดา ชนะศึก
๑๒. อนุสรณ์ แสงขรรค์ ๕๒. วงเดือน แก้วสาเร
๑๓. สุวคนธ์ แมร์คาลโด ๕๓. รักพงษ์ ศรีบุรินทร์
๑๔. ชาลิสา ของสันเทียะ ๕๔. วราพร กลางสุโพ
๑๕. อัตถากร สังเกตุ ๕๕. สุธีรา เลื่อนฉวี
๑๖. สำราญ อาจหาญ ๕๖. นพมาศ ลำดวน
๑๗. กุญจนาท มีกำปัง ๕๗. เพ็ญศรี สรรพศรี
๑๘. สุพัตชา คาร์เร ๕๘. ปุ๊ก กอรักเมือง
๑๙. พรพนา ปานอิน ๕๙. จุรางรัตน์ น้อยวิเศษ
๒๐. อาภรณ์ ชื่นเมือง ๖๐. ดาเนียล (เหมียว) บิซัคโก้
๒๑. อินทธิรา ชื่นเมือง ๖๑. ติเซียโน่ (แก้ว) เบอร์ตั๊กโก้
๒๒. สุปรานี จันทร์หล่ม ๖๒. ฟรังโก้ (แต๋ว) โมรานโด
๒๓. พรพนม ปาโดอาน ๖๓. จุฑาพร เพิ่มสุวรรณ
๒๔. ดวงใจ ทองลา ๖๔. วัลลยา ดาคอล
๒๕. ศิริรัตน์ ขัติศรี ๖๕. มุกดา จาเร
๒๖. วิจิตรา ชวดรัมย์ ๖๖. ลินจง เดอ ลาสเซอโร
๒๗. กุลนันท์ ใบเรือง ๖๗. หยวน โพธิ์ปลัด
๒๘. มะลิวัลย์ กันยาบุตร ๖๘ คำพอง ตาลามินิ
๒๙. ชไมพร ชวดรัมย์ ๖๙. วิภา วิริยะจเร
๓๐. รัศมี ภักดี ๗๐.. ดรุณี ซัมปารินี
๓๑. นิสา อายุคง ๗๑. บัวเรือน เต็งน้ำคำ
๓๒. ชุติมน ดนตรี ๗๒. สุนิสา ณ วิเชียร
๓๓. รัง นวนปืน ๗๓. สุภาพร รินตรักษ์
๓๔. กราเซียโน่ (แดง) คอร์ซี่ ๗๔. จินตนา เสนเผือก
๓๕. สุภาพร คาสเตเลตโต้ ๗๕. สุภาลักษณ์ พนมจันทร์
๓๖. สมรถ โรดาตี้ ๗๖. สุพรรณ แสงเป็ง
๓๗. กนกกานต์ กาหลง ๗๗. ประนอม บ้านภูมิ
๓๘. ธนวัฒน์ บุญเลิศ ๗๘. โสพัตภา สะดวก
๓๙. นฤมล ณ นคร ๗๙. ณัฐธยาพร หล้าพลทัน
๔๐. ศรีสุดา ส่งเสริม ๘๐. ขวัญฤทัย อรุณ
๘๑. เอมอัชฌา สหวัชรินทร์ ๘๒. เดือน นวมเมือง
๘๓. นงลักษณ์ สมศรี ๘๔. วรรณี วิภาตะโยธิน
๘๕. มะลิวัลย์ เพชรแสน ๘๖. จินดา คล้ายสุวรรณ
๘๖. กันยา แอนเดรียออลี่ ๘๗. สุรสิทธฺ์ ศรีมนตรี
๘๘. ชูเกียรติ์ ชื่นเมือง ๘๙. อนันต์ แกล้วกล้า
๙๐. เจนจิรา โพธิ์เจริญศรี ๙๑. จิรารัตน์ บุตรพลอย
๙๒. วีนา เจียนดุสซี่ ๙๓. ทัศนีย์ เตชะนัง
๙๔. ศิริมา ทอร์ทาโท ๙๕. สุกัญญา ดอกเตย
๙๖. มัสลิน บุญหลง ๙๗. ปานวดี พูนเพิ่ม
๙๘. ดรุณี คาปเปอร์ลาโร ๙๙. ศศิพร ชัยจิกาวณิชกุล
๑๐๐. เนย โอเสละโดเร ๑๐๑. ศาธิดา มงคลคุณแก้
๑๐๒. ลำใย ครูแก้ว ๑๐๓. สายใจ คงสันเทียะ
๑๐๔. สมจิตร แซ่เฮง ๑๐๕. อริสรา พุดสอน
๑๐๖. ธนาภรณ์ นครพันธ์ ๑๐๗. นัทสุดา โยตะพงษ์
๑๐๘. กนกพร อเนกประสงค์กิจ




 

Create Date : 12 กันยายน 2551    
Last Update : 12 กันยายน 2551 1:37:30 น.
Counter : 634 Pageviews.  

เครือข่ายหญิงไทยในยุโรป (Thai Women Network in Europe)



โครงการภาษาและวัฒนธรรมไทยในยุโรป 13 ประเทศ
ของ
เครือข่ายหญิงไทยในยุโรป (Thai Women Network in Europe)

หลักการและเหตุผล

ภาษาและวัฒนธรรมเอกลักษณ์ประจำของทุกชาตินั้น นับเป็นสมบัติอันลํ้าค่า เป็นสัญญลักษณ์หนึ่งของความเป็นเอกภาพของชาตินั้นๆ ภาษาและวัฒนธรรมจึงเป็นสมบัติที่ควรแก่การ เรียนรู้ อนุรักษ์และสืบสานให้อยู่คู่ชาติตลอดไป

ปัจจุบันนี้มีคนไทยจำนวนมากพํานักอยู่ในประเทศต่างๆทั่วโลก ชาวไทยเหล่านี้ ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาและวัฒนธรรมไทย เริ่มถ่ายทอดสอนภาษาและวัฒนธรรมไทยต่อบุตรหลานของตน ประเทศที่มีโรงเรียนสอน ภาษาไทยและ/หรือวัฒนธรรมมานานและประสบความสำเร็จมาก อาทิ สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย เป็นต้น

การสอนภาษาและวัฒนธรรมไทยในทวีปยุโรป เช่นที่ประเทศภาคีสมาชิกต่างๆของเครือข่ายฯ คือ สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี ฝรั่งเศส เบลเยียม อิตาลี ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ สวีเดน สเปน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ นอร์เวย์ และอังกฤษนั้น หลายแห่งมีข้อจำกัดคือ ไม่สามารถเปิดสอนในภาคฤดูร้อน หรือ ในช่วงปิดภาคได้ เพราะเป็นช่วงที่ครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกัน เช่น ไปพักผ่อน ทัศนศึกษา หรือเยี่ยมเยียนครอบครัว เป็นต้น การที่ไม่สามารถเปิดการสอนเป็นโรงเรียนภาคฤดูร้อนได้นี้ เป็นอุปสรรคต่อการเชิญครูอาสาสมัครจากประเทศไทยมาปฏิบัติการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าขาดปัจจัยสนับสนุนด้านเศรษฐกิจ ดังนั้นการเรียนการสอนภาษาวัฒนธรรมไทยในยุโรปจึงมักเป็นรายสัปดาห์ เช่น สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1.30 ชั่วโมง เป็นต้น และผู้สอนคือครูอาสาสมัครชาวไทยที่อยู่ในประเทศนั้นๆนั่นเอง

ครูอาสาสมัครดังกล่าว บางท่านไม่มีวุฒิการศึกษาด้านการสอน แต่ร่วมงานด้วยใจรักและประสงค์อุทิศตนให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนไทยและสังคม กอร์ปกับเล็งเห็นความสำคัญของภาษาและวัฒนธรรมที่มีต่อเยาวชนเชื้อสายไทย ดังนั้นโครงการอบรมครูอาสาสมัครจึงเป็นโครงการหนึ่งที่ควรสนับสนุนการดำเนินการ เพื่อให้การเรียนและการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทยต่อเยาวชนเชื้อสายไทยและผู้สนใจอื่นๆประสบความสำเร็จตามความมุ่งหมายและคาดหวัง

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1 เพื่อช่วยวางแนวทางและมาตรฐานของการสอน พัฒนาคุณภาพของครูผู้สอนให้มีศักยภาพ สามารถจัดการเรียน การสอนของโรงเรียนสอนภาษาและวัฒนธรรมไทยในยุโรปให้มีประสิทธิภาพ

2 ส่งเสริมให้เยาวชนไทยในยุโรปสามารถสื่อสารภาษาไทย มีเจตคติที่ดีต่อภาษาและวัฒนธรรมไทย ช่วยอนุรักษ์สืบสานภาษาและวัฒนธรรมไทย ตลอดจนมีโอกาสนำความรู้ความสามารถที่ได้รับจากการเรียนรู้ในทวีปยุโรปเข้าไปเป็นทรัพยากรความรู้ความสามารถอันมีค่าของประเทศไทยต่อไป

3 เผยแพร่ภาษาไทยให้เป็นที่รู้จักและยอมรับของประชากรโลก

4 เพื่อส่งเสริมเครือข่ายการเรียนการสอนภาษาไทยในยุโรปให้กว้างขวาง มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

5 เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ความรักและความสามัคคีแก่ชุมชนชาวไทย ส่งเสริมให้คนไทยอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี ภาคภูมิในความเป็นไทย มีความเสมอภาคเท่าเทียมประชากรในสังคมของประเทศที่ตนพำนักอยู่

กลุ่มเป้าหมาย

1 ครูอาสาสมัครจากโรงเรียนสอนภาษาไทยในประเทศภาคีของเครือข่ายฯ คือ สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนีฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อิตาลี เบลเยียม ออสเตรีย นอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก อังกฤษ ฟินแลนด์ และ สเปน

2 ผู้ที่สนใจต้องการจะสอนหรือจัดตั้งโรงเรียนสอนภาษาและวัฒนธรรมไทยในยุโรป

วิธีดำเนินโครงการ
กลุ่มเครือข่ายหญิงไทยในยุโรป เห็นความสำคัญและความจำเป็นของการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ภาษาและวัฒนธรรมไทย อันนับเป็นวัตถุประสงค์หลักข้อหนึ่งของเครือข่ายหญิงไทยในยุโรปด้านการ ส่งเสริมให้คนไทยอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและเสมอภาคเท่าเทียมกับประชากรในสังคมที่ตนพำนักอยู่ คณะกรรมการเครือข่ายฯ จึงจัดวางโครงการภาษาและวัฒนธรรมไทยขึ้น โดยครอบคลุมแขนงการปฏิบัติงานตั้งแต่ การอบรมครูอาสาสมัคร การจัดวางหลักสูตรที่เหมาะสมต่อวิถีชีวิตในยุโรป การเขียนบทเรียน และ การจัดสร้างสื่อและอุปกรณ์การสอนประกอบบทเรียน มีการขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในยุโรปและประเทศไทย

โครงการนี้นับเป็นโครงการต่อเนื่องตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 เป็นต้นมาคือ

- พฤษภาคม 2005/2548 สัมมนาประจำปี ณ กรุงเบิร์น สวิตเซอร์แลนด์“กลีบกุหลาบและหนามแหลม บนเส้นทางชีวิตของเยาวชนไทยในยุโรป”
ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับฟังข้อคิดเกี่ยวกับวิถีชีวิตของเยาวชนไทยในยุโรป และปัญหาภาษาในครอบครัว

- มิถุนายน 2006/2549 ดร. ปรียานุช จริยวิทยานนท์ รองผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก ณ กรุงปารีส ได้บรรยายแนะนำและชี้ช่องทางของการตั้งกลุ่มหรือโรงเรียนไทยในยุโรป ต่อองค์ประชุมและสัมมนาประจำปี ที่เมืองซอเรนโต อิตาลี หลังจากนั้นมีการรวมตัวกันของสมาชิกกลุ่มหนึ่งเพื่อติดตามและขยายความคิดและหลักการต่อไป และตั้งคณะทำงานโครงการขึ้นโดยมี คุณเสริมศรี บุญสุตม์ รับหน้าที่ผู้อำนวยการโครงการ

- กันยายน 2006/2549 คณะครูอาสาสมัครจาก 9 ประเทศ ทั้งหมดจำนวน 32 คน ได้รับเชิญผ่านเครือข่ายฯจาก ดร.ปรียานุช เข้าร่วมโครงการอบรมครูอาสาสมัครสอนภาษาไทย เชิงปฏิบัติการ”สร้างหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอนภาษาไทยในยุโรป”
ที่สำนักงานผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก ณ ปารีส อ.สุภาภรณ์ ปรีชาอนันต์ และ อ.ธนัญญา หม่อมสาย จาก กศน. ให้เกียรติเดินทางจากประเทศไทยมาเป็นวิทยากร โครงการอบรมครูของเครือข่ายฯนี้มีจุดประสงค์ให้ผู้เข้าร่วมอบรมซึ่งเป็นผู้แทนจากประเทศภาคีสมาชิกนำความรู้ความสามารถไปเผยแพร่ต่อครูอาสาสมัครอื่นๆในประเทศของตนต่อไป เปรียบเสมือนแม่ไก่สอนลูกไก่ เป็นที่มาของชื่อ “โครงการครูแม่ไก่”ในที่สุด

การจัดตั้งโรงเรียนหรือกลุ่มเรียน และการจัดตั้งกศน. ใน ประเทศภาคีบางประเทศ เช่นที่เมืองอาห์เรนส์บวร์ก ประเทศเยอรมนี และที่เมืองบรูกจ์ ประเทศเบลเยียม นับเป็นผลหนึ่งจากการสัมมนาและอบรมดังกล่าวมาข้างต้นนี้เช่นกัน

- มิถุนายน 2007/2550 คณะทำงานของโครงการภาษาไทยและสมาชิกเครือข่ายที่สนใจโครงการภาษาไทยทั้งหมด 17 คน จาก 9 ประเทศร่วมประชุมวางนโยบายและแผนงาน ณ กรุงบรัสเซลส์ คือการสร้างบทเรียนภาษาไทยประกอบหลักสูตรที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในยุโรป เนื่องในโอกาสนี้คณะทำงานได้มอบหมายให้ คุณสุมิตรา ซัลส์มันน์ รับหน้าที่ผู้อำนวยการโครงการต่อจาก คูณเสริมศรี บุญสุตม์ ผู้ย้ายไปทำหน้าที่กรรมการประจำประเทศไทยจึงไม่สามารถดูแลโครงการได้อย่างใกล้ชิดอีกต่อไป อย่างไรก็ตามคูณเสริมศรียังคงเป็นกำลังสมองและกำลังใจที่สำคัญของโครงการอยู่เสมอ

- กันยายน 2007/2550 ดร.ปรียานุช จริยวิทยานนท์ ได้สนับสนุนและร่วมมือกับ
เครือข่ายฯจัดการอบรม ”ผลิตสื่อการสอนภาษาไทยในยุโรป” ณ กรุงปารีส มีคณะครู
“แม่ไก่” และผู้สนใจเข้าร่วมประชุมเชิงปฎิบัติการครั้งนี้จาก 9 ประเทศ ทั้งหมด 28 คน เพื่อร่วมกันสร้างสื่อและบทเรียนที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในยุโรป

- มีนาคม 2008/2551 เครือข่ายฯร่วมกับ กศน. บรูกจ์ ประเทศเบลเยี่ยม ร่วมมือกันจัด การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสร้างและใช้อุปกรณ์ประกอบการสอน” ณ กรุงบรัสเซลส์ โดยได้รับความสนับสนุนจาก สอท. ณ กรุงบรัสเซลส์ สอท. ณ กรุงเบอร์ลิน กรมการกงสุล และผู้สนับสนุนส่วนบุคคล รวมผู้เข้ารับการอบรมทั้งหมด 38 คน จากประเทศเบลเยียม ฝรั่งเศส เนเธอแลนด์ เยอรมนี อิตาลี อังกฤษ สเปน ออสเตรีย นอรเวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์ อ.สาลี่ ศิลปสธรรม จากจังหวัดเพชรบุรี ให้เกียรติเดินทางมาเป็นวิทยากร พร้อมสาธิตการสอน อ. สาลี่นั้นเป็นผู้ทรงคุณวุฒิพร้อมประสบการณ์สอนเด็กไทยในสวิตเซอร์แลนด์มาก่อน ผู้เข้าร่วมอบรมต่างทึ่งและชื่นชมความสามารถ และ “ความเป็ฯครู” อย่างแท้จริงของ อ. สาลี่ เป็นอย่างยิ่ง

การดำเนินการต่อเนื่องหลังจากการอบรมนี้คือ

- การประเมินผลหลังจากนำความรู้ไปปฏิบัติ
- การจัดคลังข้อมูล “ห้องพักครู”
- การจัดผลิตบทเรียนและคู่มืออุปกรณ์ประกอบการสอน
- การสัมมนาและอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มพูนและประยุกต์ความรู้ความสามารถ
- การติดตามผลของการขยายความรู้ “แม่ไก่” สู่ “ลูกไก่” ในประเทศต่างๆ

งบประมาณ

1 ขอการสนับสนุนจากหน่วยงานทั้งในยุโรปและประเทศไทย
2 การสนับสนุนจากองค์กรเอกชน และเอกชน
3 ทุนส่วนบุคคลของผู้ร่วมโครงการ
4 รายได้จากกิจกรรมประกอบ



สถานที่ดำเนินโครงการ
ประเทศภาคีสมาชิกของเครือข่ายฯ

ระยะเวลา
โครงการต่อเนื่อง

ผู้รับผิดชอบโครงการ

เครือข่ายหญิงไทยในยุโรป
E-Mail: twne@hotmail.fr
นางนงลักษณ์ เทร็พพ์ ประธาน

คณะกรรมการบริหารโครงการ

1. ผู้อำนวยการ นางสุมิตรา ซัลซ์มันน์-บางอ้อ สวิตเซอร์แลนด์
2. ผู้ช่วยผู้อำนวยการ นางอำพันธ์ ชมิด เยอรมนี
3. เลขานุการ นางพัชรี คาสปาร์ ซิกเคอร์มันน์ เยอรมนี
4. ผู้ช่วยเลขานุการ นางปณิธาน ตาบูเรล ฝรั่งเศส
5. ที่ปรึกษา นางนงลักษณ์ เทร็พพ์ สวิตเซอร์แลนด์
6. การเงิน นางโสพิศ ทับทิม เบลเยี่ยม
7. กิจกรรม นายสมบัติ ศิริสุข เบลเยี่ยม

คณะที่ปรึกษา
1 ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ดร.ปรียานุช จริยวิทยานนท์ ไทย
2 ที่ปรึกษาทางวิชาการ อ. สาลี่ ศิลปสธรรม ไทย
3 ที่ปรึกษาด้านจิตวิทยา นางฉัตรวิบูลย์ โพจ์เซล เนเธอร์แลนด์
4 ที่ปรึกษาด้านจิตวิทยาเด็ก นางกมลลักษณ์ มโนกุลอนันต์-โคอิมัน เนเธอร์แลนด์

ผู้แทนประเทศของโครงการฯ

1. สวิตเซอร์แลนด์ นางสุมิตรา ซัลส์มันน์มัน -บางอ้อ
2. เยอรมนี นางพัชรี คาสปาร์ ซิกเคอร์มันน์
3. ฝรั่งเศส นางปณิธาน ตาบูเรล
4. เนเธอร์แลนด์ นางกมลลักษณ์ มโนกุลอนันต์-โคอิมัน
5. เบลเยียม นางโสพิศ ทับทิม
6. อิตาลี นางวนิชา เทานอก
7. ออสเตรีย นางศิรินทรา ลอร์เกอร์
8. อังกฤษ นางลัดดา หวังดี
9. นอร์เวย์ นางรสกร ฮาเกน
10. สวีเดน นางมานิสา ไซทซ์เบิร์ก
11. เดนมาร์ก นางอรอนงค์ พงศ์พานิช ราสมูเซ่น
12. ฟินแลนด์ นางวนิตศรี ทิร์โคเนน
13. สเปน นางดวงฤทัย เรี่ยวการ

นงลักษณ์ เทร็พพ์
รวบรวมและรายงาน
วันที่ 10 เมษายน 2008/2551







 

Create Date : 10 กันยายน 2551    
Last Update : 10 กันยายน 2551 22:35:13 น.
Counter : 633 Pageviews.  

จุลสารจาก ชมรมวัฒนธรรมไทย ในตรีเวเนโต้ (อิตาลี่)



ชมรมวัฒนธรรมไทยในตรีเวเนโต้ (อิตาลี่) ขอแจ้งข่าวถึงสมาชิกฯ และผู้ที่สนใจทุกท่านทราบถึงการปฎิบัติงานและกิจกรรมต่างๆ ของชมรมฯ ที่ผ่านมาช่วงระหว่างปี 2551 และแผนงานโครงการต่างๆ ในปีต่อไป 2552 ดังนี้.
---- มีการประชุมคณะกรรมการ ตามวาระต่าง ๆ
---- วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551 ผู้แทนชมรม ฯ (คุณอาภรณ์ ชื่นเมือง และ คุณนพมาศ ลำดวน)เข้าเยี่ยมคำนับ ฯพณฯ นายประดาป พิบูลสงคราม และคณะอุปทูต ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย กรุงโรม เพื่อรับทราบนโยบายและแผนงานต่างๆของสถานทูตเกี่ยวกับชุมชนคนไทยในอิตาลี่และเสนอแผนงานและโครงการต่าง ๆ ของชมรมฯ ร่วมกับกลุ่มผู้แทนชมรมคนไทยในอิตาลี่ (โรม ) กลุ่มผู้แทนของกลุ่มเพื่อนไทยอิตาลี่ (นาโปลี)

----- วันที่ 27 - 30 มีน าคม 2551 ผู้แทนชมรม ฯ (คุณอาภรณ์ และคุณนพมาศ ) ได้เดินทางไปเข้าร่วมการปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรการเรียนการสอนของเยาวชนไทยในยุโรปของเครือข่ายฯ และเข้าร่วมอบรม “ครูแม่ไก่” ซึ่งจัดโดยกลุ่ม กศน. เบลเยียม และการสนับสนุนจาก สอท.กรุงบรัสเซลล์ ที่มี อ.สาลี่ ศิลปสธรรม เป็นวิทยากรอบรม ณ สอท. กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม ร่วมกับคณะครูแม่ไก่ จากประเทศต่าง ๆ ๑๓ ประเทศ ในยุโรป ที่เป็นภาคีของเครือข่ายหญิงไทย ฯ

----- วันที่ 20 เมษายน 2551 สมาชิกของชมรม ฯร่วมใจกันจัดงานประชุมสัมมนาและประเพณีตรุษสงกรานต์ประจำปี ที่เมือง Povolaro ,จังหวัด Vicenza โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์กรเอกชนและหน่วยราชการต่าง ๆ ทั้งไทยและอิตาลี่มีแขกรับเชิญเป็นวิทยากรพิเศษ พลเอก เอกชัย ศรีวิลาส ในการสัมมนาเรื่อง " วิถีชีวิตสองวัฒนธรรมและการเรียนการสอนภาษาไทยให้กับบุตรหลาน " และงานในวันนั้นประสบผลสำเร็จลงด้วยดี

---- วันที่ 3 พฤษภาคม 2551 ชมรม ฯ สาขาเมืองวิเชนซ่า ได้เริ่มเปิดศูนย์การเรียนการสอนภาษาไทยและนาฏศิลป์ ให้แก่เด็กไทยสองสัญชาติและสมาชิกผู้สนใจทั่วไปที่ ห้องสมุดของคอมมูน San drico โดยทำการเปิดสอนทุกวันเสาร์มีครูอาสา จำนวน 3 ท่าน คือ คุณนฤมล ณ นคร ,คุณขวัญฤทัย อรุณ และคุณนวศร หาญภูมิ หากท่านใดสนใจที่จะส่งบุตรหลานเข้าเรียนสามารถติดต่อได้ที่บุคคลหรือสาขาดังกล่าว จะมีหนังสือเรียนและแบบฝึกหัดแจกให้ยืมเรียนจาก สอท.


---- วันที่ 30 - 31 พฤษภาคม 2551 ผู้แทนชมรม ฯ (คุณอาภรณ์ ชื่นเมือง คุณนิชารี ศรีมนตรี คุณชาลิสา กงสัน-เที๊ยะ) ได้เดินทางไปเข้าร่วมประชุมสามัญประจำปีของเครือข่ายหญิงไทย ในยุโรป และการสัมมนาเรื่อง " ร้อยใจภาษาไทยในยุโรป " ที่กรุงลอนดอน ประเทษอังกฤษ โดยมีชมรมเพื่อนหญิงไทยในสหราชอาณาจักร เป็นเจ้าภาพซึ่งได้รับความสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงลอนดอน


---- วันที่ 1 - 3 มิถุนายน 2551 ผู้แทนชมรม ฯ (คุณอาภรณ์ และ คุณชาลิสา) ได้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฎิบัติการครูอาสาสอนภาษาไทยในยุโรป ต่อเนื่องจากการประชุมและสัมมนาประจำปีของเครือข่าย ฯ ที่ สอท. กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

---- วันที่ 20 มิถุนายน 2551 ผู้แทนชมรม ฯ (คุณอาภรณ์ และคุณสงกรานต์ บุญจรัส) ได้ร่วมเข้าพบท่านอุปทูต นายพีระศักดิ์ จันทวรินทร์ และนางสาวอรณัส วัฒยานนท์ เลขานุการเอก เพื่อรับทราบแผนงานของสถานทูตและเสนอแผนงานในโครงการต่าง ๆ ของชมรม ฯ รวมทั้งได้ขอความร่วมมือและสนับสนุนในด้านต่างๆ จาก สอท. ทั้งนี้มีผู้แทนจากชมรมคนไทยในอิตาลี่ (โรม) ผู้แทนจากกลุ่มเพื่อนไทย(นาโปลี) ร่วมเข้าพบด้วย ที่ สอท. กรุงโรม

---- วันที่ 26 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2551 ผู้แทนชมรม ฯ (คุณอาภรณ์ และ คุณสงกรานต์) ได้เข้าร่วมปฎิบัติงานกับเครือข่ายหญิงไทยในยุโรป ในการส่งและดูแลเยาวชนใน "โครงการเยาวชนคืนถิ่น" ของกระทรวงวัฒนธรรม ที่กรุงเทพฯ

---- วันที่ 1 สิงหาคม 2551 ผู้แทนชมรม ฯ (คุณอาภรณ์) ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนของประเทศอิ-ตาลี่ ในนามของทั้ง ๓ เขต ( โรม,นาโปลีและเวนิส) ให้ไปรับและส่งหนังสือหลักสูตรการเรียนภาษาไทยของเยาวชนไทยในอิตาลี่ เข้ากรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อจัดส่งเข้ามาในประเทศอิตาลี่ผ่านทาง สอท. กรุงโรม ทั้งนี้ หนังสือหลักสูตรการเรียนภาษาไทย ดังกล่าว ได้รับการอนุเคราะห์ค่าใช้จ่ายทั้งหมดเป็นเงิน 900 ยูโรถ้วน จาก สอท. กรุงโรม

---- วันที่ 30 สิงหาคม 2551 ชมรม ฯ ได้ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับคณะเจ้าหน้าที่ของโครงการกงสุลสัญจร จาก สอท. กรุงโรม ซึ่งนำคณะโดย ท่านกงสุลคุณไสว ปิดเมือง ออกมาบริการให้กับประชาชนชาวไทย ณ เมืองเวนิส.

แผนงานและโครงการต่อไปของชมรม ฯ
---- ราวปลายเดือนกันยายน จะมีการเปิดศูนย์การเรียนการสอนภาษาไทย ที่ คอมมูน Marghera ,Venezia ท่านที่มีบุตรหลาน สามารถส่งบุตรหลานสมัครเข้าเรียนได้ฟรี โดยจะมีการให้ยืมหนังสือเรียนและให้คู่มือแบบฝึกหัดฟรี สำหรับนักเรียนที่เข้าเรียนประจำ เปิดเรียนเฉพาะวันเสาร์ เวลา 13.00 น ถึง 17.30 น. สำหรับผู้ปกครองและผู้ที่สนใจทั่วไป ในระยะแรกนี้ จะเปิดสอนการทำดอกไม้ประดิษฐ์ ตามวันและเวลาดังกล่าวด้วย

วันที่ 22-25 กันยายน 2551 จะมีครูนาฎศิลป์จากกระทรวงวัฒธรรม(ไทย) จำนวน 2 ท่าน มาสอนศิลปะการรำไทยและการรำเบ็ดเตล็ดทั่วไป ที่ วิเชนซ่า (22-23) และที่ เวนิส (24-25) โดยโครงการครูสอนนาฎศิลป์ 5 ประเทศ (เยอรมนี,เนเธอร์แลนด์, เบลเยี่ยม,สวิต-เซอร์แลนด์และอิตาลี่)เป็นการประสานงานของเครือข่ายหญิงไทยในยุโรปกับกระทรวงวัฒนธรรมไทย ฉะนั้น จึงขอเชิญท่านที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ตามวัน เวลา และสถานที่ ดังกล่าว

---- วันที่ 17- 20 ตุลาคม 2551 ผู้แทนของชมรม ฯ (คุณอาภรณ์)จะเดินทางไปประชุมกับคณะกรรมการบริหารของเครือข่ายฯในฐานะผู้แทนของประเทศอิตา-ลี่ ที่เมืองฮัมบวร์ก ประเทศเยอรมนี ในการประชุมเพื่อปรับปรุงและแก้ไขกฎระเบียบของเครือข่ายฯ
---- วันที่ 22 พฤศจิกายน 2551 จะมีการจัดงานประเพณีลอยกระทง ที่เวนิส
---- วันที่ 21 - 23 พฤศจิกายน 2551 จะมีคณะกรรมการบริหารและผู้แทนประเทศต่าง ๆ ในภาคีของเครือข่ายฯรวม 13 ประเทศ จะมาเข้าร่วมประชุมเตรียมงานประชุมสามัญและงานสัมมนาประจำปี 2552 ที่จะมีขึ้นที่ เวนิส ในวันที่ 22 – 23 พฤษภาคม 2552 โดยชมรมวัฒนธรรมไทย ในตรีเวเนโต้ เป็นเจ้าภาพ และคณะกรรมการชุดดังกล่าวก็จะเข้าร่วมงานประเพณีลอยกระทงกับเราด้วย
เดือนธันวาคม 2551 ร่วมงานวันยูนิเซฟ ที่ คอมมูน มอร์สาโน ,ปอร์เดโนเน่

แผนงานปี 2552
---- งานประเพณีตรุษสงกรานต์
---- วันที่ 22- 23 พฤษภาคม 2552 งานประชุมสัมมนาประจำปี ของเครือข่ายหญิงไทยในยุโรป โดย ชมรมวัฒนธรรมไทยในตรีเวเนโต้ เป็นเจ้าภาพ โดยได้รับการสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงโรม และหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐและเอกชนทั้งไทยและอิตาลี่





ข่าวสารจากบริษัทการบินไทย (มหาชน จำกัด)
ทางการบินไทย แจ้งว่า ผู้โดยสารสามารถติดต่อซื้อตั๋วการบินไทยโดยตรงจากบริษัททัวร์ที่มีอยู่ทั่วไปได้หรือหากมีข้อข้องใจสงสัยประการใด ก็สามารถติดต่อสอบถามที่ ออฟฟิศการบินไทย (มิลาน) ที่ เบอร์โทรศัทพ์ 02 8900 351 หรือส่งอีเมล์สอบถามได้ที่ helpdesk-mil@thaiair.it นอกจากนี้ท่านสามารถจองและจ่ายค่าบัตรโดยสารการบินไทยโดยใช้บัตรเครดิตผ่านทางเว็บไซด์ //www.thaiair.it ได้แล้ว




รายงานโดย..
นางอาภรณ์ ชื่นเมือง (ทิพย์ ) ( 333 7444980)
ประธานชมรมวัฒนธรรมไทย ในตรีเวนโต้ (อิตาลี่) . (29 สิงหาคม 2551 )







 

Create Date : 09 กันยายน 2551    
Last Update : 12 กันยายน 2551 1:14:35 น.
Counter : 605 Pageviews.  


triveneto
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]


ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add triveneto's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.