ปริญญานั้นสำคัญไฉน***ใครตอบได้...ต้อนรับเทศการรับปริญญา


ใกล้เทศกาลรับปริญญาเข้าไปทุกที หลังจากที่มีคนเสียน้ำตาเพราะสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ อีกไม่กี่สัปดาห์ก็จะถึงเวลาที่พ่อแม่รอคอยการชื่นชมยินดีกับความสำเร็จ เลยเอาข้อคิดเล็กน้อยที่เคยแบ่งปันให้กับเด็กปริญญาโท ในทีมงานมาเล่าสู่กันฟัง บังเอิญว่าน้องเขาขอลาไปรับปริญญา แล้วมันก็เหมือนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติไปซะแล้วที่จะต้องมีงานเลี้องฉลองรับปริญญากัน เราเองก็ไม่อยากฝืนธรรมชาติในเรื่องที่ต้องแสดงความยินดีกัน ซึ่งอีกไม่นานก็คงจะเริ่มรอบใหม่สำหรับคนที่สำเร็จการศึกษาในปี 2549

ปริญญานั้นสำคัญไฉน มักจะเกิดขึ้นในการสนทนาของสภากาแฟระหว่างพวกเราชาว HR ตอนที่เราสัมภาษณ์พนักงานเพื่อเข้าทำงานในองค์กร พอเจอกันใน networking event ก็จะ update ข้อมูลกันอยู่เป็นประจำ สิ่งที่องค์กรต้องเผชิญความท้าทายสำหรับนิสิตนักศึกษาที่จบมาก็คือ เรื่องของการสัมภาษณ์ เพื่อเข้าทำงาน โดยการอิงปริญญาที่ตัวเองจบมา และอย่างที่รู้ๆกันก็คือ ตอนนี้ "ปริญญาเกลื่อนเมือง

นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่จะได้ข้อมูลที่ไม่ค่อยจะถูกต้องนัก คือ ถ้าจบปริญญาตรี จะต้องได้เงินเดือน เท่านี้ เท่านั้น บาท ตามสาขา หรือ จบปริญญาโทมา ขั้นต่ำ ต้องได้ กี่หมื่นกี่หมื่นบาท ต่อเดือน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ทำให้บรรดาผู้เยี่ยมยุทธ์ที่จบมาทั้งลายต้องตกม้าตายตั้งแต่เริ่มสัมภาษณ์งานแล้ว เพราะคุณตั้งราคาโดยที่คุณไม่ได้บอกคุณสมบัติเลยว่า เงินที่องค์กรจะต้องจ่ายให้กับ การทำงานของคุณ นั้นมันจะได้อะไรที่เป็นผลจตอบแทนกลับมาบ้าง

หลายท่านทีอ่านอาจจะมองว่า เฮ้ย! ค้าแรงงาน แต่ช้าก่อน อย่าเพิ่งโจมตีว่าเป็นพวกนายทุนนิยม ลองมองกลับว่าถ้าเราเป็นเจ้าของเงินที่จ้างนั้น เราจะจ่ายด้วยอัตราที่เรียกมาโดยไม่คาดหวังในงาน หรือบริการที่จะได้รับเลยหรือ ถ้าอย่างงั้นเราคงต้องอยู่ในส่วนงานที่เป็นสาธารณกุศล ซึ่งไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องใช้เงิน เพี่ยงแต่แหล่งที่มาของเงินนั้นมาในวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป ไม่มีคนทำงานใน องค์กรไหนที่จะไม่ได้ผลตอบแทนในรูปของ เงินเดือน บอกได้เลยว่า NGO เงินเดือนแพงๆ ก็มีอยู่หลายสถาบันซึ่งเราขออนุญาติไม่เอ่ยนามพาดพิง (ไม่งั้นเพื่อนฝูงอาจจะตกงานได้นะ)

ถ้าถามว่า เราให้ความสำคัญกับปริญญาบัตรมั้ย เราเชื่อว่าสถาบันเป็นแหล่งความรู้ที่มีให้กับทุกคน โดยมีข้อสอบเป็นดัชนีชีวัดความเฉียบคมของคนั้นๆตามตำรา มหาวิทยาลัยผิดมั้ยที่สอนคนออกมาแบบบที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เราก็บอกว่าไม่ผิด แต่ถ้าถามว่ามีการเตรียมความพร้อมนิสิตนักศึกษาได้มากกว่าเป็นอยู่ทุกวันนี้ได้หรือไม่ เราก็ต้องตอบว่า ยิ่งกว่าได้ เพราะทุกวันนี้มันก็ไม่เหมือนในอดีต ต่างกันที่ผลที่ออกมาดีขึ้น หรือ แย่ลงในแต่ละมุมุมอง (แหมก็นะ ยังปรับการศึกษาเป็นธุรกิจได้เลย) เรายังเชื่อมั่นในเรื่อง "ระบบการเรียนรู้" หรือ Knowledge Base Learning เพราะเราโลกเราไม่เคยหยุดนิ่ง แต่ถ้าคุณหยุดเรียนรู้เมื่อไร ปริญญาที่ได้มาก็ไม่ได้การันตีว่าคุณจะดี จะเก่งเสมอไป เพราะฉะนั้น ปริญญาบัตรเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งเท่านั้นในการพิจารณา ซึ่งส่วนใหญ่ก็มีน้ำหนักไปในทาง ทักษะเฉพาะด้าน หรือที่เรียกว่า Technical Skill เท่านั้น

สิ่งซึ่งเราประสบมากับตัวเลยคืองี้ "พี่คะ พี่คิดว่าหนูน่าจะได้เงินเดือนมากกว่าที่แรกจ้างมามั้ยค่ะ...." (ตอนนั้นเพิ่งผ่านมาประมาณไม่ถึง 4 เดือนดี) เราก็เข้าใจน่ะ เราก็ถามกับว่า ....แล้วทำไมน้องถึงคิดว่าพี่ถึงจะต้องให้เงินเดือนมากกว่าที่แรกจ้างมาล่ะ" คำตอบไม่ต่างจากที่คิดไว้ คือ

ก็หนูจบตั้งปริญญาโท หนูก็ควรจะได้เงินเดือนที่เหมาะสม (ตอนจ้าง ประมาณ 23,000บาท ไม่รวมผลประโยชน์อื่นๆ ซึ่งก็เป็นมาตราฐานแรกเข้าสำหรับปริญญาโทที่ไม่มีประสบการณ์การทำงานมาก่อน วิธีการตรงนี้ เราใช้การสำรวจเงินเดือนประจำปี ที่ทำโดยบริษัทฯ คนกลาง และมีผู้ร่วมสำรวจมากกว่า 100 บริษัทฯ เอาเป็นว่า ที่จ่ายเนี่ยค่า ปริญญาล้วนๆ)

แล้วก็ เพื่อนๆ หนูก็ได้เงินเดือนมากกว่าหนูในบริษัทอื่นๆ

เราก็เลยถามว่า แล้วทำไมเพื่อนหนูเขาถึงได้เงินเดือนมากกว่ากว่าหนูละ คำตอบ คือ หนูก็ไม่ทราบค่ะ

ในฐานะที่เราเป็นผู้บริหารและจัดการเรื่องนี้ เราตอบได้คำเดียวว่า ก็ให้เรียกเพื่อนหนูมาทำงานที่นี่ แล้วหนูไปทำแทนเขาแล้วกัน เผื่อหนูจะได้รู้คำตอบที่แท้จริง ว่า ทำไม? เพราะอะไร? แต่พี่น่ะมีคำตอบว่า "เพราะหนูคิดได้แค่นี้ไง!!!" มี 3 ข้อของเหตุผลที่หนูควรจะได้เงินเดือนเพิ่มขึ้น ในขณะที่พี่มองหาว่า หนูจะสามารถทำอะไรให้กับองค์กรได้บ้าง หนูจะสร้างผลงานจากสิ่งที่เรียนมาได้ยังไงบ้าง การเรียนรู้ในองค์กรอะไรบ้างที่จะช่วยปลดปล่อยศักยภาพของหนูได้เต็มแม๊กซ์ ซึ่งเราก็ไม่ได้โทษเด็กฝ่ายเดียว เราคงจะต้องโยนภาระความรับผิดชอบส่วนนี้ไปให้กับพี่เลี้ยงเด็กด้วย หรือหัวหน้างานของเด็กนั่นเอง
เรื่องปริญญานั้นสำคัญไฉน มันขึ้นอยู่กับ มุมมอง และทัศนคติของคนมอง แต่ถ้าจะให้เราแบ่งปันความคิดเห็นในฐานะที่ต้องเจอกับเรื่องเหล่านี้แทบทุกเดือน

ปริญญาบัตรก็เป็นแค่กระดาษใบหนึ่งที่บ่งบอกว่าคุณจบอะไรมา ได้ศักดิ์และสิทธิ์ เป็นบัณฑิต มหาบัณฑิต หรือ ดุษฎีบัณฑิต มันจะแสดงค่าอะไรไม่ได้เลยถ้าคนที่ได้รับเกียรติบัตรอันนั้นไม่ได้นำสิ่งที่สู้อุตส่าห์เรียนมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับตัวเอง สังคม และ คนรอบข้าง
สุดท้ายเกียรติบัตรก็จะกลายสภาพ เป็นแค่ Wall paper อีกหนึ่งแผ่นที่ติดไว้ข้างฝา

ปริญญาไม่ได้บ่งบอกว่าคนๆนั้น เก่ง มีความสามารถเป็นเลิศ ไม่ได้บ่งบอกว่าคนๆนั้นดีสุดยอด แต่เนื้อแท้ของแต่ละคนต่างหากที่เป็นตัวบ่งบอกว่าเราเป็นคนประเภทไหน ถ้าคนทุกคนเป็นคนดี มีทัศนคติที่ดีต่องาน เปิดใจพร้อมที่จะรับสิ่งใหม่และการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้พรุ่งนี้เป็นวันที่ดีกว่า ไม่ว่าจะมีคลื่นลมแรงสักแค่ไหน เราก็จัไม่หวั่นไหวให้คนอื่นๆเห็น นั่นมันมากกว่าปริญญาบัตรของคนอีกมากมายที่ขาดซึ่งคุณสมบัติที่ดีที่อาจจะเทียบไม่ได้กับคนที่ไม่มีกระดาษซักใบ
อยากจะบอกทุกคนว่า เราเรียนรู้อยู่บนปริญญาชีวิตทุกวัน แต่การหาความรู้เพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ ก็เป็นสิ่งดี การเพิ่มพูนความรู้แล้วนำกลับมาใช้ นอกจากจะสร้างความปลาบปลื้มให้กับครอบครัว สร้างความภูมิใจให้ตัวเองนั้น เป็นเพียงขั้นแรกของถนนชีวิตนะพวกเรา แต่ก้าวต่อๆไปอย่างมั่นคง คือการที่เราคงความดีที่ ทำสิ่งที่ถูกต้อง (ซึ่งอาจจะไม่ถูกใจทุกๆคนเสมอไป) ยึดมั่นในหลักการ นั่นแหล่ะ เป็นถนนที่ยาวไกล อย่างน้อยก็เท่าอายุขัยของแต่ละคนนั่นแหล่ะ) ที่จะเป็นดัชนีบ่งบอกคุณค่าตัวเรา คงมีบ้างที่สุข เศร้า เคล้าน้ำตา เหมือนนิยายน้ำเน่า แต่นิยายมันก็มาจากชีวิตจริงบางส่วน
เราให้ความสำคัญกับการศึกษานะ แต่ที่สำคัญกว่าการศึกษา คือ ทัศนคติที่มีต่อชีวิต อันนี้มันกว้าง และครอบคลุมระยะยาว เพราะฉะนั้น เวลาที่เราจะเลือกใครซักคนเข้ามาร่วมงาน ปริญญาบัตรเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งเท่านั้นเสมือนหนึ่งใบเบิกทาง หากแต่ว่าองค์การก็มีิวิธีค้นหาความเป็นคุณ และถ้าหากเราค้นพบว่าปริญญานั้นไม่ได้หล่อหลอมความเป็นตัวคุณเลย เพียงแต่มีไว้ประดับว่า “ฉันมี” เราก็ไม่เอาบุคคลากรเหล่านี้มาประดับไว้ในองค์กรเหมือนกัน เพราะฉะนั้นปริญญากี่ใบก็ไม่ช่วยหรอกคร๊าบท่าน องค์กรต้องการคนที่ทำงานได้จริงๆ ไม่ใช่แค่ในตำรา
สำหรับคนที่บอกว่า เนี่ยก็พวกชีวิต “มนุษย์เงินเดือน” แล้วพวกเจ้าของกิจการ หรือ อาชีพอิสระคิดว่ามันต่างกันมั้ย สำหรับเรา ระเบียบวินัยในตนเอง คือ รากฐานของความสำเร็จในชีวิต ลองไปอ่านกี่ราย กี่ราย มันก็คือ การบริหารจัดการกับชีวิตตัวเอง ถ้าปริญญาสำคัญ บิลเกตต์ เลือกที่จะจบจาก Harvard University > ที่จะบริหาร Microsoft ซะจนรวยไม่มีเวลาใช้เงิน แล้วกล่อง เงิน เกียรติยศก็ตามมาไม่ขาดระยะ
เพียงแต่เราต้องรู้จักตัวเอง แล้วรู้ว่าเรากำำลังทำอะไร เพื่ออะไร แล้วมันไม่เป็นพิษเป็นภัยกับคนรอบข้าง ครอบครัว หรือ สังคมโดยรวม ก็ปลดปล่อยความคิดให้มันโลดแล่นไปเหอะ แล้วเมื่อถึงวันนั้น คุณก็จะพบคำตอบว่า ปริญญานั้นสำคัญไฉน ขอยืนยันว่าไม่มีกฎตายตัว ชะตาอาจจะเป็นเพราะฟ้าลิขิต แต่วันนี้เราคือผู้กำหนดชีวิตและความสำเร็จของตัวเราเอง

เรื่องราวที่บอกมานี้ไม่ได้ถูกใช้กับพวกที่จบมาใหมาเท่านั้น แต่ "ปริญญานั้นสำคัญไฉน" เราใช้กับทุกคนที่ทำงานอยู่ในองค์กรทุกที่ๆ เราทำงานด้วย โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มักจะเรียกตัวเองว่าเป็น "Talent" หรือ "ผู้มีพรสวรรค์" ทั้งหลาย ก็คงเพียงแต่อยากจะบอกไว้เป็นข้อคิดว่า น้ำหนักของปริญญาไม่ได้มากมายเท่ากับน้ำหนักของเรื่องราวความสำเร็จ สำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ ตรงกันข้าม บนเรื่องราวที่คุณประสบความสำเร็จ ที่ถูกทำนองคลองธรรม เป็นไปจามกติกามารยาท ได้มาด้วยฝีมือ นั่นแหล่ะ ปริญญาของคุณจะช่วยเร่งประกายสว่างไสวในตัวคุณ.........อย่างต่อเนื่องและถาวร




 

Create Date : 13 มิถุนายน 2550   
Last Update : 13 มิถุนายน 2550 21:19:00 น.   
Counter : 521 Pageviews.  


สวัสดีค่ะ


สวัสดีค่ะ และแล้วฉบับปฐมฤกษ์ก็ได้คลอดซะที จริงแล้วอยากจะ post นานแล้วค่ะ แต่ติดด้วยอุปสรรคนานา และในที่สุดก็ได้เขียนซะที ต้องขอบคุณที่มีคนแวะเวียนเข้ามา แต่ขณะเดียวกันก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ที่เข้ามาแล้วไม่เจออะไร

จุดเริ่มต้นของ blog คนอยากบอก และ นามปากกาว่า complementary นั้น คงจะเริ่มจุดประกายขึ้นมาหลายรอบ ที่ว่าหลายรอบเพราะว่ามัน จุดแล้วดับ ดับแล้วจุด เป็นอย่างเนี้ยอยู่หลายรอบ นานมากๆ รู้สึกว่ามันต้องการอะไรที่มันยิ่งการการกระตุ้นอีก ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า Passion อ่านว่า แพสชั่น เรื่องที่บอกส่วนใหญ่ก็เกิดจากการบอกกับเพื่อนสนิท มิตรสหายที่อยู่ใกล้ตัว อีกนั่นแหล่ะ ก็บ่นให้เขาฟังไปวันๆ กับเรื่องที่เจอมาไม่ซ้ำของแต่ละวันในชีวิตการทำงาน ซึ่งเป็นเรื่องราวจากประสบการณ์จริงๆที่หลายๆคนอาจจะเคยเจอสถานการณ์ใกล้เคียงกัน ก็น่าที่จะเป็น แนวทางความคิด เพื่อไปต่อยอดในสังคมคนทำงานต่อได้ แล้วเพื่อนๆ ไม่ว่าจะแก่กว่า เป็นผู้สูงวัยที่ปากแสนจะจัดจ้าน แล้วก็ละอ่อนกว่าก็พูดกันหนาหูว่า และลงความเห็นว่าเรื่องที่แกบอกเล่ามาเนี่ย ถ้าแบ่งปันชาวโลก คือ บ่นดังๆเป็นตัวหนังสือให้คนรุ่นใหม่ฟังก็น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับพวกเขานะ โดยเฉพาะ คนหนุ่มสาวในวัยทำงาน หรืออาจจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ พี่ ป้าน้าอา ของคนวัยทำงาน แต่ขอออกตัวนิดส์นึงนะว่า ไอ้คนบอกน่ะมันก็ไม่ได้แก่งั๊กหรอกนะ พอประมาณ แบบว่าเอาตัวรอดน่ะ เห็นมั้ยว่า การบ่น บ่น และ บ่น ก็ใช่เรื่องของทัศนคติเชิงลบเสมอไปหร๊อก ก็แค่นะ เป็น เจ้าหนู จาไม แล้วก็การสนทนาแบบเรงๆ เป็นประจำ เผื่อว่าคุยแบบดังจะได้หาแนวทาง หรือทีเรียกว่า Alerternative Solutions ที่ทำได้จริงๆ > จะมัวแต่จะพูดกันแต่ ทฤษฎี หลักการนะ เรามันประเภทไม่ลองไม่รู้ หนูทำได้ เพราะฉะนั้นต้องงี้เลย Practitioner vs. Principle อะไรประมาณเนี้ยะ แต่รับรองว่าไม่ใช่การทะเลาะ ถึงแม้ว่าการสนทนากันในหมู่เพื่อนฝูงต่าางวัย จะมีอาการจุกแน่น หายใจไม่ทั่วท้องอยู่บ้างก็ตาม 555 เอาเป็นว่าแบ่งปันความรู้กกัน เผื่อว่าเราจะได้เรียนอะไรเพิ่มเติม แบบว่าเรามันพวกชอบลองของน่ะ และนีคือที่มาของนามเราว่า Complementary คือ มาเพื่อที่จะเป็นมุมที่เสริมซึ่งกันและกัน มากกว่าที่จะมาให้ มาสอน แต่ปรารถนาที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อเติมเต็มซึ่งกันและกัน




 

Create Date : 13 มิถุนายน 2550   
Last Update : 13 มิถุนายน 2550 21:12:51 น.   
Counter : 243 Pageviews.  



Complementary
 
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]


ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




เราเลือกเกิดไม่ได้แต่เลือกที่จะเป็นได้ เพียงแต่เราคอยเติมเต็มชีวิตในแต่ละวันให้มีคุณค่า
[Add Complementary's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com