นิสัยนินทา มันกำลังจะกลับมา
Smiley
สวัสดีค่ะ

ไม่ได้เขียนบล็อกนานละ วันนี้ประเดิมด้วยนิสัย(ไม่ดี) เดิม ๆ ที่มันกำลังจะกลับมา ว่าด้วยอันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ ไม่ชอกช้ำเหมือนนำมีดมากรีดหิน (ยังมิใคร่เข้าใจความหมายนัก แต่คิดว่าเกี่ยวล่ะนะ)

เรื่องมีอยู่ว่า จู่ ๆ เราก็รู้สึกเหมือนนิสัยนี้มันกำลังจะกลับมา อาการมันกำลังจะกำเริบ ก่อนหน้านั้นสมัยเรียนม.ปลาย (อันนานปีผ่านไป) เราได้รับบทเรียนครั้งใหญ่เกี่ยวกับการนินทา ทำให้เกือบเสียเพื่อนรัก Smiley

ตั้งแต่นั้นมาเราเลยเข็ดหลาบมาก ไม่เคยนินทาใครเลย เป็นอันว่าไม่เคยสนใจเรื่องของคนอื่นที่ไม่ใช่คนที่เราแคร์เช่นเพื่อนในกลุ่ม ไม่ได้อัพเดทชีวิตใครก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เฉพาะคนที่แคร์จริง ๆ เท่านั้นถึงจะใส่ใจ แต่หากเขาไม่อยากให้เรารับรู้ก็ต้องให้เกียรติเขา เขาอยากให้รู้เขาก็บอกเองแหละ เราก็ใช้ชีวิตของเราไป กอรปกับตอนเรียนมหาวิทยาลัย เราก็อยู่กับกลุ่มผู้ชายซะส่วนใหญ่ รูมเมท 2 คนก็ไม่เป็นคนนินทา นิสัยค่อนข้างแมนกันทั้ง 3 คน ตอนทำงานที่แรกก็คงนิสัยเดิมไว้เพราะเพื่อนร่วมงานส่วนใหญ่ที่เป็นผู้หญิงที่จบสายงานเดียวกันก็ไม่ใช่เป็นคนนินทาอะไร...คือสาววิศวะน่ะค่ะ ไม่ได้ตั้งใจว่าสาขาอื่นนะ แต่ที่เราเจอ สาววิศวะส่วนใหญ่ไม่ใคร่จะสนใจเรื่องชาวบ้านมากนักหรอกค่ะ ก็ดีค่ะ
พอเปลี่ยนงานใหม่ มาทำออฟฟิศ ซึ่งก็มีผู้หญิงครึ่งนึง ผู้ชายครึ่งนึง ก็ดีค่ะ แต่เริ่มรู้สึกเห็นถึงความแตกต่าง...

ผู้หญิงในออฟฟิศก็จะมีบ้างมานินทากันซึ่งก็จะมีเป้าหมายหลักอยู่ที่พี่ผู้หญิงคนหนึ่ง เจ๊แก...ยังไงดีค่ะ ค่อนข้างเป็นแบบฉบับผู้หญิง oldmate น่ะค่ะ ประมาณว่ามีฉายาที่ตั้งมาว่า "ฟ้องเจ้านาย ขายลูกน้อง ทำงานเอาหน้า" อะไรประมาณนี้ (เอ๊ะ! นี่เหมือนเรานินทาเลยนะSmiley ไม่ได้ตั้งใจทำให้เสียหายนะ เป็นวิทยาทาน) ส่วนตัวก็เริ่มเห็นพ้องกับที่ได้ยินมา แต่แรก ๆ เราก็ไม่ได้แสดงความเห็นหรืออะไรมากนัก

ตอนเริ่มทำงานใหม่ ๆ ก็มีปัญหากับเจ๊แกเหมือนกัน และเราก็จะไม่พูดตรง ๆ กับเขา (เพราะตอนนั้นยังไม่ค่อยรู้อะไร) มีปัญหาเรื่องงานก็จะไปคุยกับหัวหน้า แล้วก็ถามหัวหน้าว่าเราต้องฟังคำสั่งใคร หัวหน้ายืนยันบอกว่า เราเป็นลูกน้องเขาก็ฟังเขา ก็...โอเคค่ะ อะไรที่เห็นต่างกับหัวหน้าเราก็ไม่ทำ เจ๊ แกก็ประชดมาบ้างนะคะ แต่ I don't care. you're not my boss ค่ะSmiley อารมณ์ประมาณนี้
ตอนนี้เริ่มเข้าสู่ปีที่ 3 ก็เริ่มรู้สึกว่าตัวเราเองเริ่มจะร่วมกลุ่มสนทนาวงนินทากับเขาบ้างแล้วมีการพูด แสดงความเห็น จากประสบการณ์ที่ว่ามา.....Smiley และตอนนี้ก็คิดแล้วว่า นิสัยนินทา มันกำลังจะกลับมาแล้ววววววว Smiley

ไม่รู้ว่านิยามของคำว่านินทา กับการบอกเล่ามันคืออะไร แต่สำหรับเราคิดว่าหากผ่านตัวกรองทั้ง 3 นี้ก็ไม่ถือว่าเป็นการนินทาค่ะ ซึ่งเราก็จะต้องกลับมาใช้ตัวกรองเหล่านี้เหมือนกัน

เรียกว่า ตัวกรองของ โสเครติส มีอยุ่ว่า

โซเครติสบอกเพื่อนว่า
“เพื่อนเอ๋ย รอเดี๋ยวก่อน ก่อนที่เพื่อนจะเล่าเรื่องของเพื่อนนั้น เพื่อนได้นำเรื่องของเพื่อนไปกรองกับเครื่องกรองสามชั้นมาแล้วหรือยัง”

เพื่อนของโซเครติสงงมาก ถามกลับว่า “เครื่องกรองสามชั้นอะไรหรือ”

“เป็นเครื่องกรองที่ทำให้เรารู้ว่า เรื่องของเราควรส่งต่อถึงผู้อื่นหรือไม่” โซเครติสตอบ

 “ข้าก็ยังงงๆ อยู่ดีล่ะ ไหนลองบอกส่วนประกอบของแต่ละชั้นกรองมาซิ”

โซเครติสจึงบอกว่า “เครื่องกรองชั้นแรกก็คือ ความจริง ขอถามหน่อย เรื่องที่เพื่อนจะพูดหรือเล่าออกมาเป็นความจริงหรือไม่”

  เพื่อนของโซเครติสบอกว่า “ข้าก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะฟังมาจากคนอื่นอีกที แต่เขาก็บอกมาว่าเป็นจริงนี่”

   “ถ้าเพื่อนไม่ได้ประสบเรื่องนั้นด้วยตนเอง เพื่อนอย่าเพิ่งแน่ใจเลยว่าเป็นเรื่องจริง ดังนั้นเพื่อนจะนำเรื่องที่เพื่อนก็ไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่ามาเล่าให้ข้าฟังอย่างนั้นหรือ” โซเครติสกล่าวแก่เพื่อนของเขา

“แล้วเครื่องกรองชั้นที่สองล่ะ”

เพื่อนของโซเครติสถามต่อ

“เครื่องกรองชั้นที่สองคือ ความดี ขอถามหน่อยว่า เรื่องที่เพื่อนจะเล่านั้นเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่”

โซเครติสตอบและย้อนถามกลับ

“ไม่ดีเลย เพราะที่ข้ากำลังจะเล่าให้ท่านฟังเป็นเรื่องเกี่ยวกับความไม่ดีของคนอื่น”

โซเครติสพูดว่า “ถ้าอย่างนั้นเพื่อนจะเอาทั้งเรื่องไม่จริงและขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องไม่ดีด้วยมาเล่าให้ข้าฟังอย่างนั้นหรือ” โซเครติสเงียบไปครู่หนึ่งแล้วพูดต่อว่า

“เอาล่ะเพื่อน แม้ว่าเรื่องของเพื่อนจะเป็นเรื่องไม่จริงและไม่ใช่เรื่องดี แต่เรามาดูกันก่อนก็ได้ว่า เรื่องของเพื่อนจะผ่านเครื่องกรองชั้นที่สามได้หรือไม่”

  “มันคืออะไรล่ะ” เพื่อนของโซเครติสถาม

“เครื่องกรองชั้นที่สามคือ ประโยชน์ เรื่องที่เพื่อนจะเล่าให้ข้าฟัง เมื่อฟังแล้วทำให้เกิดประโยชน์อันใดหรือไม่เล่า”

 เพื่อนของโซเครติสตอบว่า “เห็นจะไม่มีประโยชน์อันใดเลยท่าน”

 "ถ้าอย่างนั้น” โซเครติสพูด “ในเมื่อเรื่องนั้นไม่ใช่เรื่องจริง เป็นเรื่องไม่ดี และไม่มีประโยชน์ เพื่อนก็อย่าเล่าให้ข้าฟังเลย เก็บไว้ที่ตัวเพื่อนเองดีกว่า”

เพื่อนของโซเครติสอึ้งไป และใช้ความคิดเพื่อพิเคราะห์คำพูดของโซเครติสอย่างหนักหน่วง ก่อนจะลากลับโดยไม่ได้เล่าเรื่องนั้นให้เขาฟังอีกเลย

โดยสรุปคือ
  1. เรื่องที่ได้รับมานั้นเป็น ความจริง หรือไม่
  2. เรื่องที่ได้รับมานั้นเป็น เรื่องดี หรือไม่ 
  3. เรื่องที่ได้รับมานั้นเป็น เรื่องที่มีประโยชน์ หรือไม่ ได้ข้อคิดหรือบทสรุปอะไรจากเรื่องนี้ไหม
หากผ่านตัวกรองทั้งสามนี้มาได้ก็นับว่าเป็นเรื่องที่สมควรบอกต่อ แต่ต้องแยกประเด็นนะคะ อันไหนคือข้อเท็จจริง หรือได้รับฟังมา อันไหนคือความเห็นที่เราใส่เข้าไป

เอาล่ะ เราก็จะลองใช้ตัวกรองเหล่านี้เหมือนกันค่ะSmiley



Create Date : 19 ตุลาคม 2557
Last Update : 19 ตุลาคม 2557 14:43:07 น.
Counter : 1701 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

runnavee
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



ตุลาคม 2557

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31