Group Blog
 
All Blogs
 
กระจกนิรภัยเทมเปอร์ Tempered Glass

กระจกนิรภัยเทมเปอร์

กระจกเทมเปอร์(Tempered Glass) หรือ กระจกนิรภัยเทมเปอร์ ผลิตจากการนำกระจกแผ่นธรรมดาเข้ากระบวนการแปรรูปให้เป็นกระจกนิรภัยที่ผ่านกระบวนการอบด้วยความร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 500 องศาเซลเซียสและลดอุณหภูมิลงอย่างรวดเร็ว หลังจากผ่านกระบวนการแล้วกระจกเทมเปอร์จะแข็งแรงกว่ากระจกแอนนีลทั่วไปประมาณ3-5 เท่า ทำให้กระจกทนต่อแรงกด แรงกระแทก และการเปลี่ยนแปลงของความร้อนความเย็น ลักษณะของการแตกจะเป็นเม็ดเล็กคล้ายเม็ดข้าวโพด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายน้อยกว่ากระจกชนิดพื้นฐาน

คุณสมบัติ

· มีความแข็งแรงกว่ากระจก Float / Anneal 3-5 เท่า ทำให้สามารถรับแรงกระแทก แรงกด แรงบีบได้ดี

· ทนการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างฉับพลันได้ถึง 220องศาเซลเซียส โดยกระจกไม่แตก

· สามารถกำหนดขนาดและรูปทรงก่อนเข้ากระบวนการผลิตได้

· ความหนาการหักเหของแสง และการลอดผ่านของแสงมีความใกล้เคียงกับกระจกทั่วไปมากที่สุด

· กระจกที่ผ่านกระแปรูปเป็นกระจกนิรภัยเทมเปอร์แล้วจะไม่สามารถทำการตัด เจาะ หรือเปลี่ยนรูปได้อีก

· การแตกของกระจกนิรภัยเทมเปอร์ จะเป็นชิ้นเล็กๆคล้ายเม็ดข้าวโพดทั่วทั้งแผ่นไม่เป็นปากฉลาม ทำให้เป็นอันตรายน้อยกว่าการแตกของกระจกพื้นฐาน

การนำไปใช้งาน : กระจกนิรภัยเทมเปอร์สามารถใช้ได้ทั้งงานภายนอกและภายใน

· การใช้งานภายนอก สามารถใช้ได้ในงานก่อสร้างตกแต่งอาคาร เช่น กำแพงกระจก , ผนังกระจก และหลังช่อง

แสงกระจก

· กระจกนิรภัยเทมเปอร์ต้องใช้อุปกรณ์จับยึด(Fitting) สำหรับการนำไปใช้ตกแต่งหรือกั้นในส่วนต่างๆ เช่น ชุดประตูกระจกบานเปลือย กระจกตู้อาบน้ำ(ShowerDoor) ราวกันตก ห้องกระตก ที่ยึดด้วยฟิตติ้ง เป็นต้น

· การใช้งานกระจกอาคาร ที่ต้องการความแข็งแรงปลอดภัย ตามกฎหมายกำหนด

ขนาดและความหนา

ความหนาที่สามารถผลิตได้ คือ6, 8, 10, 12, 15, 19 มิลลิเมตร

ขนาดเล็กสุดที่สามารถผลิตได้ คือ 100 X 100 มิลลิเมตร

ขนาดใหญ่สุดที่สามารถผลิตได้ คือ 2,100X 3,600 มิลลิเมตร

** หรืออาจมีขนาดเล็กใหญ่กว่านี้ขึ้นอยู่กับโรงงานผู้ผลิต

ข้อควรระวังในการใช้งาน

· กระจกนิรภัยเทมเปอร์ ไม่สามารถตัดเจาะ เจีย บาก ได้ หลังผ่านกระบวนการผลิตแปรรูปเป็นกระจกนิรภัยเทมเปอร์

· ไม่ควรใช้กระจกนิรภัยเทมเปอร์เป็นหลังคา เป็นผนังภายนอกอาคารบริเวณชั้นสูงๆ เพราะหากกระจกแตกกระจกจะร่วงลงมาโดนคนที่อยู่ด้านล่างได้

· ไม่ควรใช้กระจกนิรภัยเทมเปอร์ เป็นพื้นอาคารเป็นพื้นสำหรับเดิน หรือเป็นขั้นบันได เพราะหากกระจกแตกผู้เดินอยู่จะพลัดตกลงมาได้ รวมทั้งอาจเกิดอันตรายต่อผู้อยู่ด้านล่างเช่นกัน

· ห้ามใช้กระจกนิรภัยเทมเปอร์ ทดแทนกระจกกันไฟเพราะกระจกนิรภัยเทมเปอร์ไม่สามารถกันไฟเพื่อความปลอดภัยต่อผู้อาศัยตามข้อกำหนดของการกันไฟได้

ข้อสังเกตในการเลือกซื้อสำหรับการใช้งาน

· การตรวจสอบที่แน่นอนโดยทั่วไปคือการทุบให้กระจกแตกเพื่อดูว่ากระจกแตกเป็นเม็ดเล็กหรือไม่

· เลือกผู้ผลิตที่มีความน่าเชื่อถือราคาเหมาะสม เพราะถ้าราคาถูกเกินไปอาจไม่ใช่กระจกนิรภัย

· สังเกตจากสัญลักษณ์ของผู้ผลิตบนกระจกเพื่อความมั่นใจในคุณภาพ

ข้อมูลอ้างอิงจาก www.bsgglass.com




Create Date : 18 มีนาคม 2559
Last Update : 18 มีนาคม 2559 15:18:52 น. 0 comments
Counter : 1323 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กระจก กูรู
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ผู้ผลิต และ ให้คำปรึกษาด้านกระจกตกแต่ง อุตสาหกรรมกระจก
Friends' blogs
[Add กระจก กูรู's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.