ฮักนะกู่กาสิงห์...ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่เรามาเจอกันที่ปราสาทกู่กาสิงห์ อ.เกษตรวิสัย จ..ร้อยเอ็ด





เป็นการมาเยือนปราสาทกู่กาสิงห์ อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด ของอุ้มสีเป็นครั้งที่สอง
ครั้งแรกเมื่อปี 2562
เมื่อคราวคาราวานที่ผอ.สมชาย ชมภูน้อย ผอ.ภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ททท.
แล้วก็มารู้จักกับ ดร.อำคา แสงงาม
ล็อคคิวน้าเสริฐ-ประเสริฐ เทพศรี ไว้เป็นเดือน
น้าเกือบถอดใจไปจังหวัดอื่นซะแล้วเอาที่น้าสบายใจ
แต่พี่อุ้มสีเดินหน้าต่อมากู่กาสิงห์แน่นอนแม้จะมาคนเดียว
เพราะความดันทุรังนางสูงอยู่แล้ว คริคริ
แต่สรุปเลือดสุพรรณเราไม่ทิ้งกันทริปเราไปด้วยกันเหมือนเดิม
ต้องขอขอบคุณ นายสมคิด วาสนาม นายกเทศมนตรีตำบลกู่กาสิงห์ด้วยนะคะ
ทำให้เกิดทริปวันที่ 16-17 เมษายน 2565 ขึ้น



ต้องขอขอบคุณ ผอ.สมชาย ชมภูน้อย
ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ที่ทำให้อุ้มสีรู้จักแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจที่
อเมซิ่งยิ่งกว่าเดิม





น้องน้ำหวานและน้องแดน ตัวแทนของกู่กาสิงห์ยินดีต้อนรับทุกท่าน



ดร.อำคา แสงงาม
ป่ระธานสภาวัฒนธรรมตำบลกู่กาสิงห์
และประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวตำบลกู่กาสิงห์
เปิดเผยว่า
ปราสาทกู่กาสิงห์ เป็นโบราณสถานที่ได้รับอิทธิพลจากศิลป์แบบเขมร
สร้างขึ้นตามคติความเชื่อทางศาสนาฮินดู ลัทธิไศวะนิกาย
โดยนับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุดจากการศึกษาลวดลายหน้าบัน
ทับหลังและลวดลายอื่นๆ ทราบว่าตรงกับสมัยศิลปะเขมรแบบบาปวน
อายุราว พ.ศ. 1550-1630
การเรียกชื่อ โดยทั่วไปยังไม่มีหลักฐานว่าขอมเรียกโบราณสถานนี้ว่าอย่างไร แ
ต่ภาษาที่ใช้เรียกชื่อเป็นภาษาไทย
จึงเชื่อว่าคำว่า "กู่กาสิงห์”เป็นคำที่คนไทยลาวได้ตั้งชื่อขึ้นใหม่

คำว่า "กู่" เป็นคำที่ใช้เรียกโบราณสถาน
ที่มีลักษณะคล้ายสถูปหรือเจดีย์เก่าแก่ในอีสานตอนกลาง

คำว่า "กา" น่าจะมาจากรูปพระยาครุฑหรือนกอินทรีย์
ที่เคยปรากฏอยู่ที่กู่
นอกจากนี้คำว่ากายังเป็นคำในภาษาถิ่นตรงกับคำในภาษาไทยกลางคือคำว่าตราซึ่งแปลว่าเครื่องหมาย

ส่วนคำว่า "สิงห์" เป็นคำใช้เรียกรูปประติมากรรมสิงห์
ที่เคยมีตั้งไว้ประตูทางเข้ากู่
ดังนั้น "กู่กาสิงห์" จึงหมายถึงโบราณสถานที่มีรูปกาและสิงห์เป็นเครื่องหมาย

ขอขอบคุณ ท่าน ผอ.สมชาย ชมภูน้อยผอ.ททท.ภูมิภาคภาคอีสาน
ที่ชวน คุณอุ้มสี ธีรมา วิเสโส มาออกทริปตามเส้นทางท่องเที่ยวภาคอีสาน
และมาพบกันที่ชุมชนกู่กาสิงห์
หลังจากนั้นได้ให้คำแนะนำแลกเปลี่ยนการเรียนรู้
เพิ่อพัฒนาการท่องเที่ยวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ให้กำลังใจ กระตุ้นการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชน
เมื่อมาร้อยเอ็ดที่กู่กาสิงห์พร้อม
และยังให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน
ได้รับสาระดีๆ มากมาย
จนเกิดเป็นพลังขับเคลื่อนงานบุญสรงกู่บูฃาเทพเทวาลัย กลุ่มปราสาทกู่กาสิงห์
(กู่กาสิงห์ กู่โพนวิจ กู่โพนระฆัง)
เกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 5 (วันที่ 16 เมษายน 2565)
ซึ่งเป็นการเปิดตัวการท่องเที่ยวชุมชนไปด้วย
ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้ครับ



กู่กาสิงห์ ตั้งอยู่ในวัดบูรพากู่กาสิงห์ ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
เป็นโบราณสถานสถาปัตยกรรมแบบเขมร
ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่และยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ดี
ปัจจุบันอยู่ในความดูแลสำนักงานโบราณคดี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 8 อุบลราชธานี
สังกัดกรมศิลปากร
กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่งและบูรณะกู่กาสิงห์ให้สวยงาม
เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งในภาคอีสาน



กู่กาสิงห์ ประกอบด้วย ปรางค์ 3 องค์
ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกันในแนวเหนือ-ใต้
แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
ปรางค์องค์กลางมีขนาดใหญ่กว่าอีก 2 องค์ที่ขนาบข้าง
และมีมุขยื่นทางด้านหน้าเป็นห้องยาว
ส่วนฐานขององค์ปรางค์ก่อด้วยศิลาทรายยังคงปรากฏลวดลายสลักเป็นชั้นเป็นแนว
อาทิ ลายกลีบบัวและลายกนก ได้ค้นพบศิวลึงค์
ซึ่งเป็นตัวแทนของเทพสูงสุด (พระอิศวร)
และความอุดมสมบูรณ์ตามลัทธิความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย

และมีวิหารหรืออาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เรียกว่าบรรณาลัย
อยู่ทางด้านหน้าทั้งสองข้าง
ทั้งหมดล้อมรอบด้วยกำแพงซึ่งมีซุ้มประตูทั้ง 4 ทิศ
ถัดออกไปเป็นคูน้ำรูปเกือกม้าล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง
นอกจากนี้ยังพบทับหลังอีกหลายชิ้น
ชิ้นหนึ่งสลักเป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณในซุ้มเรือนแก้ว
และยังพบซุ้มหน้าบันสลัก
เป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณท่ามกลางลายก้านขดอีกด้วย

ส่วนปรางค์อีก 2 องค์ที่ขนาบนั้นมีขนาดและลักษณะเดียวกัน
ฐานก่อด้วยศิลาทราย ผนังก่ออิฐมีประตูเพียงด้านหน้า
ภายในมีแท่นรูปเคารพวางอยู่จากลวดลายของศิลปกรรม
ดังนั้น จากแบบแผนผังและโบราณวัตถุที่พบ
แสดงให้เห็นว่า "กู่กาสิงห์" สร้างขึ้นในแบบศิลปะเขมรที่เรียกว่า "แบบบาปวน"
ในราวช่วง พ.ศ. 1560-1630
เพื่อเป็นเทวสถานอุทิศถวายแด่พระอิศวร เทพเจ้าสูงสุดองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์











วิถีชีวิตชาวพุทธที่งดงามของชาวกู่กาสิงห์ ณ วัดบูรพากู่กาสิงห์น้อย
วัดนี้ตั้งอยู่ที่ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2472
ชาวบ้านเรียกว่า "วัดบูรพา"
เพราะตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านกู่กาสิงห์ อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด
ซึ่งเป็นที่ตั้งของปราสาทหรือเทวาลัยในศาสนาพราหมณ์
ที่สร้างในพุทธศตวรรษที่ 16 ตามแบบอิทธิพลวัฒนธรรมเชมร
บนพื้นที่ชุมชนโบราณ































ชาวกู่กาสิงห์พร้อมยินดีต้อนรับทุกๆ ท่าน
ดั่งคำขวัญอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ดที่ว่า
“เมืองเกษพัฒนา ทุ่งกุลาสดใส ผ้าไหมสวยยิ่ง
กู่กาสิงห์บ้านปลา โสภานารี มากมีข้าวหอมมะลิ”





ของดีเมืองกู่กาสิงห์ ตะกรุดท้าวเวสสุวรรณ
กราบขอบพระคุณหลวงพ่อไพฑูรย์ จากวัดบูรพากู่กาสิงห์ อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด ที่กรุณามอบให้



นายสมคิด วาสนาม
นายกเทศมนตรีตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
เปิดเผยว่า
กู่กาสิงห์ของเรามีแหล่งท่องเที่ยวมีจุดเด่นหลักๆ มี 3 ปราสาทด้วยกันคือ
ปราสาทกู่กาสิงห์, ปราสาทกู่โพระฆัง,ปราสาทกู่โพนวิจ เป็นปราสาทหินทรายทั้ง 3 หลัง
สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ซึ่งทั้งสามปราสาทนี้อยู่ใกล้เคียงกัน ระยะห่างกันเพียง 400 เมตร

วันนี้วันที่ 16 เมษายน 2565 ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 5
เป็น "วันสรงกู่บูชาเทพ" ที่ชาวตำบลกู่กาสิงห์นิยมาสักการะ
นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์ที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านของสภาวัฒนธรรมของตำบลกู่กาสิงห์
ที่ดูแลและให้ความรู้ให้แก่นักท่องเที่ยว นอกจากนี้เรามีโฮมสเตย์ที่มีคุณภาพและยังมีโฮมลอร์ด
ซึ่งเป็นที่พักนักเดินทาง ที่มีมาตรฐาน SHA ด้านสุขภาพ
ตามกระทรวงสาธารณสุขและราคาย่อมเยา

ที่นี่มีกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรที่ทอผ้าไหม
ที่หลังจากเสร็จจากการเก็บเกี่ยวแล้วจะมาทอผ้าไหม
ซึ่งผ้าไหมของเราจะสวยงามและมีเอกลักษณ์ของชุมชนของเรา มีลายพื้นถิ่นนั่นก็คือ
"ลายเต่าทอง" เป็นลายท้องถิ่นที่เป็นอัตตลักษณ์ของเรา
ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน
ผู้เฒ่าผู้แก่จะนิยมใส่เพราะเชื่อกันว่าจะมีอายุยืนยาวเหมือนกับเต่า
มีความเชื่อว่าอย่างนั้นซึ่งเป็นลายท้องถิ่นที่มีอัตตลักษณ์ของชุมชนกู่กาสิงห์

ผ้าไหมของชุมชนกู่กาสิงห์มีลาย "เต่าทอง" และ "ลายสาเกตนคร"
เป็นลายประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
ซึ่งเสื้อที่ผมสวมใส่อยู่นี้ก็เป็นลาย "สาเกตนคร" ซึ่งเป็นลายประจำจังหวัดร้อยเอ็ด

วันนี้ผมรู้สึกยินดีที่นายอำเภอเกษตรวิสัย นายอภิชาต อารีย์พัฒนไพบูลย์
มาเป็นประธานในพิธีเปิด
ท่านนายอำเภอได้ปรารภเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอเกษตรวิสัย
จะส่งเสริมสนับสนุนให้ "กู่กาสิงห์"
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวประจำอำเภอและประจำจังหวัดในลำดับต่อไป

ผมขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวที่สนใจในโบราณสถาน
ขอเชิญมาเยี่ยมชมโบราณที่กู่กาสิงห์
เราขาวตำบลกู่กาสิงห์ยินดีต้อนรับทุกๆ ท่านครับ



จากนั้นได้เวลา 14.00 น. ของวันเสาร์ที่ 16 เมษายน 2565
กำหนดการเปิดงานประเพณี "สรงกู่" ก็ได้เริ่มขึ้น
โดยได้รับเกียรติจากนายอภิชาต อารีย์พัฒนไพบูลย์ นายอำเภอเกษตรวิสัย
มาเป็นประธานในพิธีเปิดงานบุญสรงกู่บูชาเทพเทวาลัย
สักการะขอพรภูมิบ้านภูมิเมืองอันเก่าแก่และอันศักดิ์มาแต่โบราณ
และยังเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพชน
ในการรักษามรดกทางวัฒนธรรมให้คงอยู่คู่เมืองกู่กาสิงห์ต่อไป

















ภายในงานมีเวทีเรื่องเล่า บุญสรงกู่บูชาเทพเทวาลัยฯ
โดยปราชญ์ชาวบ้านเป็นคนในชุมชนกู่กาสิงห์
และมีการเสวนา "อนาคตบุญสกู่ควรเป็นอย่างไร"
โดยคนนอกมอง



จากนั้นเวลา 15.00 น.ขบวนแห่งานประเพณี "สรงกู่"
รอบปราสาทกู่กาสิงห์, ปราสาทกู่โพระฆัง,ปราสาทกู่โพนวิจ
มีชาวบ้านชาวชุมชนร่วมขบวนกันอย่างคับคั่งบรรยากาศอบอุ่น
มีการเว้นระยะห่าง ทุกคนใส่แมส ปฏิบัติตามหลักของกระทรวงสาธารณสุข





ประเพณีสรงกู่ จัดทำขึ้นเป็นประจำทุกปีในทุกวันเพ็ญเดือน 5
หรือบุญสรงน้ำตามฮีตสิบสองของคภาคนอีสาน
จะเป็นกิจกรรมการประกอบพิธีกรรมกันภายในพื้นที่โบราณสถานที่แสดงถึงวัฒนธรรมของคนในชุมชน
เชื่อกันว่าเป็นอโรคยาศาล ตามที่ปรากฏ ในจารึกปราสาทขอม
ถือเป็นสถานที่ใช้สำหรับการบูชาและการประกอบพิธีกรรมเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บ

โดยในวันนั้นชาวบ้านจะได้อัญเชิญพระพุทธรูป
มาประดิษฐานบนรถยนต์แล้วแห่รอบกู่ทั้ง 3 กู่
เพื่อให้ประชาชนภายในชุมชนได้มาสักการะบูชา และสรงน้ำพระพุทธรูป
โดยได้ยึดถือเอาวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี
เป็นวันประกอบพิธีสรงกู่ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อย่างต่อเนื่อง
เพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น
เป็นการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามให้คงอยู่
อีกทั้งเป็นการแสดงออกถึงความภาคภูมิใจ
ความเคารพศรัทธาความกตัญญูความผูกพันต่อผู้มีพระคุณ
และตระหนักถึงคุณค่าของโบราณสถานในชุมชน

ดังนั้น มื่อถึงวันเพ็ญเดือน 5 วันที่ 16 เมษายน 2565
ประเพณี "บุญสรงกู่"บูชาเทพเทวาลัย
ซึ่งภายในขุมชนกู่กาสิงห์มี 3 ปราสาทด้วยกันคือ
ปราสาทกู่กาสิงห์, ปราสาทกู่โพระฆัง,ปราสาทกู่โพนวิจ
ซึ่งเป็นปราสาทหินทรายทั้ง 3 หลังที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
และทั้งสามปราสาทนี้อยู่ใกล้เคียงกันมีระยะห่างกันเพียง 400 เมตร
ชาวบ้านจะมาร่วมขบวนแห่เพื่อเป็นถวายการสักการะ
และเป็นขอพรภูมิบ้านภูมิเมืองอันเก่าแก่และอันศักดิ์มาแต่โบราณ
อีกทั้งยังเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพชน
ในการรักษามรดกทางวัฒนธรรมไว้ให้คงอยู่
ตลอดจนเป็นส่งเสริมการท่องเที่ยวโบราณสถานคู่บ้านคู่เมืองชาวกู่กาสิงห์
อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
และนับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดร้อยเอ็ดอีกด้วย



และขอขอบคุณ นายสมคิด วาสนาม นายกเทศมนตรีตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด
ที่ทำให้ประเพณี "สรงกู่" ได้พลิกฟื้นกลับมาคีนสู่ชุมชนกู่กาสิงห์อีกครั้งหนึ่ง
บังเกิดเป็นงานประเพณีสรงกู่
ที่มีชาวบ้านมาร่วมขบวนอย่างคับคั่ง















































ดร.อำคา แสงงาม
ป่ระธานสภาวัฒนธรรมตำบลกู่กาสิงห์
และประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวตำบลกู่กาสิงห์
เปิดเผยว่า
สำหรับพิธีบุญสรงกู่ที่กู่กาสิงห์ เป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาแต่โบราณกาล
ชาวบ้านเชื่อกันว่า กู่หรือปราสาทขอมเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน
เป็นศูนย์กลางคติความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม มีเทพศักดิ์สิทธิ์ดูแลรักษา
เพราะฉะนั้นในวันเพ็ญดือน 5 ซึ่งเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ในรอบปี
ที่กู่กาสิงห์จะทำพิธีสรงน้ำโบราณสถานกู่เหล่านี้
เพื่อให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข โดยเฉพาะปีนี้เพื่อให้ปลอดภัยจากโรคโควิดด้วย
เราจึงปฏิบัติเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ
เป็นเอกลักษณ์เป็นอัตตลักษณ์ของชุมชนกู่กาสิงห์ครับ

โดยที่พวกเราจะผลักดันกู่กาสิงห์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว
เราจึงได้นำประเพณีสรงกู่ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจร้อยรักความเชื่อของชุมชน
ร่วมแรงร่วมใจนำเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
ดังนั้นงานในวันนี้ได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลตำบลกู่กาสิงห์ ตลอดทั้งผู้ใหญ่บ้านและกำนัน กลุ่มแม่บ้าน
ตลอดทั้งเด็กและเยาวชนและคนทุกเพศทุกวัยในชุมชนเป็นอย่างดี
ส่งผลทำให้งานเทศกาล "บูชาเทพเทวา" ที่กู่เหล่านี้
ได้รับความร่วมมือและสำเร็จลงด้วยดี

สำหรับวันนี้ในความรู้สึกของผม มีความปิติน้ำตาแทบจะซึมออกมา
เพราะได้เห็นความร่วมไม้ร่วมมือขอวคนในขุมชนออกมาช่วยกันสนับสนุน
ขับเคลื่อนงานบุญสรงกู่บูชาเทพเทวาลัยจนประสบความสำเร็จ
มีการจัดกิจกรรมประดับไฟ มีการจัดนิทรรศการเทวาเทพต่างๆ
ตามคติความเชื่อของศาสนาพุทธ, ศาสนาพราหมณ์
ซึ่งเป็นมิติใหม่ของคนในชุมชนที่นี่
โดยเฉพาะเทศบาลตำบลกู่กาสิงห์ได้นำเรื่องนี้เข้าสู่แผนในปี พ.ศ.2566 ต่อไป
เพื่อจัดงานสืบทอด "บุญสรงกู่" ซึ่งเป็นอัตตลักษณ์ของชุมชนให้ยั่งยืนต่อไปครับ



กู่โพนระฆัง บ้านกู่กาสิงห์ ตำบลกู่กาสิงห์ จังหวัดร้อยเอ็ด
ปรางค์ประธานก่อด้วยศิลาแลง ล้อมรอบด้วยกำแพงสี่เหลี่ยม
ซึ่งมีซุ้มประตู หรือโคปุระอยู่ด้านหน้าเพียงด้านเดียว
มีบรรณาลัยอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
มีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกรุด้วยศิลาแลงอยู่นอกกำแพง
ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนืออยู่หนึ่งสระสร้างขึ้นราวศตวรรษที่ ๑๘
ตามคติความเชื่อพุทธศาสนา ลัทธิมหายาน จัดอยู่ในกลุ่มศิลปะแบบบายนมี
ที่มีลักษณะเป็นอโรคยาศาลหรือวัดในพระพุทธศาสนา

โพนระฆัง คือ "อโรคยาศาล" หรือศาสนสถานประจำโรงพยาบาล
รูปแบบศิลปะบายน สร้างในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
แห่งราชอาณาจักรขอมโบราณ
ซึ่งเห็นถึงการเปลี่ยนมายอมรับนับถือพุทธศาสนาตามแบบอย่างราชสำนักในเมืองพระนครแทนที่ศาสนาฮินดู

กู่โพนระฆังสร้างจากหินลัย 1 หลัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธานมีกำแพงแก้วก่อล้อมเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ที่กึ่งกลางกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกซึ่งตรงกับด้านหน้าของปราสาทประธานเจาะ
เป็นรูปกากบาทเป็นซุ้มประตูทางเข้าที่เรียกว่าโคปุระ
และมีลานทางเดินหินทรายเชื่อมจากหน้าปราสาทประธานถึงโคปุระ
ซึ่งถือว่าต้องมาสัมผัสได้ด้วยตาคุณเอง















ใครบอกน้องมิ้นนิ้มเห็นฟันแล้วไม่สวยดูจากภาพนี้เลยน้อง











น้องน้ำหวาน





น้องพิม



น้องมิ้ง-มิ่งขวัญ









จำได้ว่าเมื่อสัก 10 ปีที่ผ่านมานอนบ้านคุณลุงบัวภา
ไปตลาดตอนเข้าจะมีขายข้าวจี่
แต่อุ้มสังเกตว่าและเห็นมีจังหวัดเดียวว่าจะกินข้าวจี่
แม่ค้าจะถามว่าจะเอาแบบไหนข้าวจี่หวานหรือข้าวจี่เค็ม
แต่จานนี้ข้าวจี่ธรรมดา ดร.อำคา แสงงาม ซื้อมาให้กินกับกาแฟตอนเช้าค่ะ



ได้ยินเพลงลอยมาจากรถสองแถวที่ร้องว่า "ย้อนบุญผลาเด้เนาะที่ทำให่เรามาพบกัน"
เข้ากับบรรยากาศที่กู่กาสิงห์ใน blog นี้
ขอบคุณความดันทุรังของอุ้มที่ทำให้เกิดภาพในวันนี้
"ถ้าเราไม่ทำวันนี้ก็ไม่เกิด"
ยังขำตรงประโยคหนึ่งที่อาจารย์ถามอุ้มว่า
คุณอุ้มเป็นเจ้าหน้าที่ ททท.หรือว่าเป็นสื่อ..
คริคริ อุ้มตอบว่า เป็นสื่อ
อุ้มสีชีรู้ทุกเรื่องยกเว้นเรื่องของตัวเองค่ะ 555
ขอขอบคุณพ่อแม่พี่น้องชาวกู่กาสิงห์ (แม้แต่พระสงฆ์)
ที่อุ้มรีเควสแบบฉ.ก.ให้ทำอะไรทำได้หมดทุกอย่าง เป็นการถ่ายภาพที่เจ็บคอแต่มีความสุข
ขอบคุณจากใจของผู้ปิดทองหลังพระ

























ขอขอบคุณ

นายสมคิด วาสนาม
นายกเทศมนตรีตำบลกู่กาสิงห์

ดร.อำคา แสงงาม
ป่ระธานสภาวัฒนธรรมตำบลกู่กาสิงห์
และประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวตำบลกู่กาสิงห์

ครูแอ๋ว-นางสุทารี สมสุข
ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนทุ่งกุลาประชารัฐ
สำกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 2

น้องแดน- วัชรพงษ์ สีเที่ยง

และชาวกู่กาสิงห์ อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด ทุกท่านนะคะ

เพลง : ฟ้าฮ้องโหย่น : ศิลปิน : อมรรัตน์ ลาวเวียง
BG : คุณลักกี้ / กล่องเขียนคอมเม้นท์ : คุณ lozocat
ของแต่ง BLOG : ป้ามด-ดอกหญ้าเมืองเลย-ชมพร-ญามี่-เนยสีฟ้า



ฮักนะกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด





Create Date : 19 เมษายน 2565
Last Update : 3 เมษายน 2566 17:13:08 น. 26 comments
Counter : 2047 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณKavanich96, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณกะว่าก๋า, คุณคนผ่านทางมาเจอ, คุณInsignia_Museum, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณตะลีกีปัส, คุณSleepless Sea, คุณTui Laksi, คุณทนายอ้วน, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณสองแผ่นดิน, คุณhaiku, คุณnewyorknurse, คุณmultiple, คุณtoor36, คุณกิ่งฟ้า, คุณเริงฤดีนะ, คุณปรศุราม, คุณkae+aoe, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณpeaceplay, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณJohnV


 
ขอบคุณที่แบ่งปัน


โดย: Kavanich96 วันที่: 19 เมษายน 2565 เวลา:5:16:55 น.  

 
ขลังและงดงาม


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 19 เมษายน 2565 เวลา:6:13:09 น.  

 
จ.ร้อยเอ็ด ยังไม่เคยไปเลยจ้า


โดย: โอน่าจอมซ่าส์ วันที่: 19 เมษายน 2565 เวลา:8:01:48 น.  

 
คำว่ากู่ในภาคเหนือก็มีครับพี่อุ้ม
ความหมายก็มใกล้เคียงกันเลยกับภาษาอิสาน



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 เมษายน 2565 เวลา:9:11:15 น.  

 
ทักทายสวัสดีครับ

ชมภาพบรรยากาศที่ดูงดงามของวิถีชีวิตชาวพุทธชาวกู่กาสิงห์ วัดบูรพากู่กาสิงห์น้อย ได้บรรยากาศไปสุด ๆ เลยครับ น่าไปเที่ยวชมครับ


โดย: ถปรร วันที่: 19 เมษายน 2565 เวลา:12:00:41 น.  

 
สวัสดีค่ะ..

น่าไปเที่ยวร้อยเอ็ดจัง..



โดย: คนผ่านทางมาเจอ วันที่: 19 เมษายน 2565 เวลา:13:30:36 น.  

 
ผ้าไทยกับร้อยเอ็ดที่มีชื่อเสียมากครับพี่อุ้ม


โดย: จันทราน็อคเทิร์น วันที่: 19 เมษายน 2565 เวลา:15:41:45 น.  

 
สวัสดีมีสุขค่ะ

ดูก้อนอิฐแดงสลักที่เกลื่อนบนพื้น แล้วน่าสนใจค่ะ
สายตาเพิ่งไปมองซิ่นไหมตีนแดงของหญิงที่มาร่วมงานไม่วางตา
บางลายละเอียดสวยมากค่ะ


โดย: ตะลีกีปัส วันที่: 19 เมษายน 2565 เวลา:17:18:00 น.  

 
สวัสดีครับ มาเที่ยวด้วยครับ



โดย: Sleepless Sea วันที่: 19 เมษายน 2565 เวลา:17:28:34 น.  

 
ภาพสวยมาก ข้อมูลแน่น
ยังไม่มีโอกาสได้ไปเที่ยวที่นี่สักครั้งเลย
ชอบมากค่ะ...ขอบคุณค่ะคุณอุ้ม

ปล.คุณอุ้มขยันอัพบล็อกได้รวดเร็วมากเลยคร้า...


โดย: Tui Laksi วันที่: 19 เมษายน 2565 เวลา:20:40:10 น.  

 
ตามมาเที่ยวด้วยครับ


โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 19 เมษายน 2565 เวลา:23:37:56 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่อุ้ม



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 20 เมษายน 2565 เวลา:6:11:15 น.  

 
โอ้ เป็นประเพณีที่งดงามมากเลยนะครับ
ทั้งภาครัฐ ทั้งชาวบ้านร่วมมือ ร่วมใจกัน จัดงานบุญ งานกุศลแบบนี้

ร้อยเอ็ดนี่ รู้แต่ว่าข้าวดีข้าวหอมมะลิ สุดยอด พึ่งจะรู้ว่า
ผ้าไหมก็งามมากๆด้วย

กู่กาสิงห์ นี่สภาพยังดีอยู่มาก น่าจะผ่านการอนุรักษ์มาแล้ว
ทับหลังนี่งามสุดๆ ถ้ามีโอกาส น่าแวะไปเทียวมากเลยนะครับนี่





โดย: multiple วันที่: 20 เมษายน 2565 เวลา:19:40:26 น.  

 
แต่งตัวเข้ากับบรรยากาศนะครับ เหมือนย้อนยุคเลย


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 20 เมษายน 2565 เวลา:20:42:27 น.  

 
หนังสือเล่มนี้พิมพ์ออกมานานมากครับพี่อุ้ม
ถ้าจะอ่านต้องหาจากร้านหนังสือเก่ามือสองแบบออนไลน์ครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 20 เมษายน 2565 เวลา:22:20:15 น.  

 
สวัสดียามดึกค่ะน้องอุ้ม ขอบคุณไปเจิมให้บล็อกพี่กิ่งคนแรกเลยค่ะ อิอิ

ตามมสเที่ยวร้อยเอ็ดด้วยค่ะยังไม่เคยไปเลยค่ะ

น้องอุ้มเก่งจังไปได้ทุกที่เกือบทั่วไทยแล้วนะคะ
งานประเพณี "สรงกู่"ของวัดกู่กาสิงห์น่าไปชมนะคะชอบประเพณีพื้นบ้านแบบนี้สวยงามจริงๆค่ะ

โหวตท่องเที่ยวค่ะ




โดย: กิ่งฟ้า วันที่: 20 เมษายน 2565 เวลา:22:46:55 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับพี่อุ้ม



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 21 เมษายน 2565 เวลา:6:13:20 น.  

 
สวยและขลังมากๆ
ส่งกำลังใจ


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 21 เมษายน 2565 เวลา:8:49:21 น.  

 
เดี๋ยวนี้คนทำหนังสือ
ทำหนังสือได้สวยขึ้นมากเลยครับพี่อุ้ม



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 21 เมษายน 2565 เวลา:16:25:01 น.  

 
ดูภาพจุใจ แหะ ๆ เลื่อนดูจน
เมื่อยมืออย่างว่าเนาะ ของเขาสวย.. ดูไปฟังเพลงเสียงดนตรีไพเราะ..
..
ภาพขี่มอไซค์ผมน่าจะไม่ได้ถ่ายไว้เลย เนื้อตัวมอมแมม.. อีกอย่างตอนนั้นใช้กล้องฟิล์มม้วนละ 12 ภาพคิดแล้วคิดอีกว่าจะถ่าย
ให้คุ้ม 555 ไม่เหมือนสมัยนี้..
มีที่เพื่อนถ่ายให้ ตอนที่ผมขี่มอไซค์กลับระยองรถไถลเกือบถึง 10 ล้อ.. สลบไปนานรู้ตัวอีกครั้งเขายกไปไว้ร้านกาแฟตรงทางแยกไปอ่างศิลา..นานมากแล้วแต่ค้นหาภาพไม่เจอ


โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 21 เมษายน 2565 เวลา:17:01:51 น.  

 
ขอบคุณที่แวะไปนะครับ



โดย: Sleepless Sea วันที่: 21 เมษายน 2565 เวลา:17:48:15 น.  

 
ขอตามไปเที่ยวร้อยเอ็ดด้วยคนนะคะ พระปรางค์งามมากๆค่ะ


โดย: peaceplay วันที่: 21 เมษายน 2565 เวลา:20:58:09 น.  

 
ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมนะครับคุณอุ้ม


โดย: มาช้ายังดีกว่าไม่มา วันที่: 21 เมษายน 2565 เวลา:21:27:23 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับพี่อุ้ม



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 22 เมษายน 2565 เวลา:6:11:49 น.  

 
ขอบพระคุณสำหรับกำลังใจให้บล็อก - ไส้อั่วแม่อำพรรณสาขา 1 ตลาดทุ่งเกวียน + พี่ต้อม ลำปาง ด้วยนะคราบ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 22 เมษายน 2565 เวลา:21:15:52 น.  

 
น่าเที่ยวมากครับคุณอุ้ม


โดย: JohnV วันที่: 23 เมษายน 2565 เวลา:17:36:29 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

อุ้มสี
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 118 คน [?]






ผล BlogGang Popular Award #16
จากวันที่ 1 ม.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63
ขอบคุณนะคะที่โหวตให้อุ้มสี


ผล BlogGang Popular Award #15
จากวันที่ 1 ม.ค. 62 - 31 ธ.ค. 62
ขอบคุณนะคะที่โหวตให้อุ้มสี



ขอบคุณหัวใจ 266 ดวง
ที่แปะให้อุ้มตลอดเดือน ก.พ.60





ขอบคุณผลโหวต
BlogGang Popular Award # 12
ปี พ.ศ.2560


ขอบคุณหัวใจ 499 ดวง
ที่แปะให้อุ้มตลอดเดือน ก.พ.59


ขอบคุณผลโหวต
BlogGang Popular Award # 11
5 มีนาคม 2559



กิจกรรมในเดือนแห่งความรัก
ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2558
กราบขอบพระคุณทุกท่าน
แปะหัวใจให้ถึง 351 ดวง


ปี พ.ศ. 2558
BlogGang Popular Award # 10


ขอบคุณทุกคะแนนโหวตค่ะ
ซาบซึ้ง อบอุ่น ตื้นตัน



กิจกรรมในเดือนแห่งความรัก
ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2557
กราบขอบพระคุณทุกท่านค่ะ

คลิกที่นี่:: Interview .. the Blogger :: ~ อุ้มสี ~



ปี พ.ศ.2557
BlogGang Popular Award # 9
ขอบคุณทุกคะแนนโหวตค่ะ
ซาบซึ้ง อบอุ่น ตื้นตัน




ปี พ.ศ.2556
BlogGang Popular Award # 8
ขอบคุณทุกคะแนนโหวตค่ะ
ซาบซึ้ง อบอุ่น ตื้นตัน




Group Blog
 
<<
เมษายน 2565
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
19 เมษายน 2565
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add อุ้มสี's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.