Group Blog
 
All blogs
 

เทคนิคแก้ White Balance แบบแม่นเป๊ะๆ ด้วย Photoshop Lab Color

วิธีการแก้ White Balance โดยการใช้โปรแกรม Photoshop นั้น จริงๆ แล้วมีหลากหลายวิธี แล้วแต่คนจะถนัด
แต่สาเหตุที่ผมเลือกใช้วิธีการแก้ White Balance ด้วย Lab Color เนื่องจากมันมีข้อดีหลัก ซึ่งช่วยรักษาข้อมูลของภาพได้อย่างสูง นั่นคือเรื่องของสภาพแสง (Luminance) และ ความอิ่มตัวของสี (Saturation)


การปรับ White Balance ด้วย Lab Color เป็นการรักษา "แสง" ของภาพให้คงเดิม - การใช้พวก Color Balance หรือเทคนิคอื่นๆ ในโหมด RGB นั้น มีผลกระทบโดยตรงกับ "แสง" ของภาพ เนื่องจากโหมด RGB นั้นแบ่งแยกสีสรรในภาพออกเป็น3 Channel คือ แดง (R) เขียว (G) และฟ้า (B) และทั้งสาม Channel นั้นมีการเก็บค่าความสว่าง (Lightness) เอาไว้ด้วย


การแก้ White Balance ในโหมด RGB นั้น จะกระทบโดยตรงกับ "ปริมาณแสง" ในสาม Channel ไม่มากก็น้อย


แต่ภาพในโหมด Lab Color นั้น แบ่งแยก "แสง (Lightness)" ออกจาก "สี (Color)" อย่างชัดเจน
ก่อนอื่นลองเข้าใจพื้นฐานของ Lab Color กันก่อนซักนิด เริ่มจากลองเปิดภาพอะไรมาซักภาพหนึ่ง


ก่อนอื่นลองเข้าใจพื้นฐานของ Lab Color กันก่อนซักนิด เริ่มจากลองเปิดภาพอะไรมาซักภาพหนึ่ง


แล้วเลือก Image > Mode > Convert to Profile... > Lab Color (หรือจะใช้ Image > Mode > Lab Color ก็ได้ แต่แนะนำแบบแรกมากกว่า)


แล้วเลือก Image > Mode > Convert to Profile... > Lab Color (หรือจะใช้ Image > Mode > Lab Color ก็ได้ แต่แนะนำแบบแรกมากกว่า)


ลองดูที่ Channels จะเห็น Channel ทั้งสามเปลี่ยนไป ไม่ใช่ Red/Green/Blue แล้ว


Lab Color นั้นคงมี 3 Channel เช่นเดียวกับ RGB แต่ 3 Channel ของ Lab Color นั้นแบ่งออกเป็น แสง (Luminance หรือ Lightness) 1 Channel และ สี (Chromatic Components) 2 Channel


L - Lightness เก็บข้อมูลสภาพแสง (ไม่เก็บสี หรือก็คือขาวดำนั่นเอง)
a - เก็บสภาพคู่สีร้อน/เย็น Magenta/Green (ม่วง/เขียว)
b - เก็บสภาพคู่สีร้อน/เย็น Yellow/Blue (เหลือง/ฟ้า)


(ส่วน Cyan/Red ก็เกิดจากการผสมกันของ Chromatic Components a และ b นั่นเอง เช่น Magenta + Yellow = Red, Green + Blue = Cyan ความรู้นี้ไว้จะได้ใช้ประโยชน์ตอนท้ายๆ)


Lab Color นั้นคงมี 3 Channel เช่นเดียวกับ RGB แต่ 3 Channel ของ Lab Color นั้นแบ่งออกเป็น แสง (Luminance หรือ Lightness) 1 Channel และ สี (Chromatic Components) 2 Channel


ซึ่ง Chromatic Component ทั้ง a และ b นี้ ก็เหมือนการปรับ Color Correction ในพวกกล้อง SLR นั่นเอง
ผมใช้ Canon เลยเอาหน้าจอของ 400D มาให้ดู


ต่างกันแค่ว่า Canon เรียก Yellow ว่า Amber (สีอำพัน) ตัวย่อที่ออกมาเลยกลายเป็น A/B และ G/M


เหมือน Color Correction ใน Canon ต่างกันแค่ว่า Canon เรียก Yellow ว่า Amber (สีอำพัน) ตัวย่อที่ออกมาเลยกลายเป็น A/B และ G/M


การแก้ White Balance ใน Lab Color นั้น เราจะยุ่งแต่กับ Channel a และ b โดยไม่ไปแตะต้อง L เลย ดังนั้นมั่นใจได้ว่า สีเท่านั้นที่จะเปลี่ยน แต่สภาพแสงทั้งหมดจะยังคงเดิม


วิธีการก็ง่ายๆ ครับ หลังจากอยู่ที่โหมด Lab Color ให้หา Palette Info จิ้มที่ยาหยอดตา เปลี่ยนเป็นแสดงข้อมูลแบบ Lab Color ซะด้วย Info แบบ Lab Color เราจะสามารถเช็ค White Balance ของภาพได้แบบแม่นยำพอสมควร


ให้หา Palette Info จิ้มที่ยาหยอดตา เปลี่ยนเป็นแสดงข้อมูลแบบ Lab Color ซะด้วย Info แบบ Lab Color เราจะสามารถเช็ค White Balance ของภาพได้แบบแม่นยำพอสมควร


ลองเอาเมาส์ไปวางบนภาพ แล้วสังเกตที่ Info นะครับ เราจะเห็นตัวเลขสามตัวของ L, a และ b
L เราไม่ต้องสนใจ สนใจแค่ a กับ b


ถ้าเลขเป็น + แปลว่าสีใน Channel นั้นๆ เอนเอียงไปในทางสีโทนร้อน (a = Magenta/b = Yellow)
ถ้าเลขเป็น - แปลว่าสีใน Channel นั้นๆ เอนเอียงไปในทางสีโทนเย็น (a = Green/b = Blue)


ทีนี้ลองเลือกตำแหน่งที่ควรจะเป็นสีขาว แล้วสังเกตที่ Info ดู
a = -6 แปลว่า ภาพนี้ Chromatic Component ในส่วน Magenta/Green นั้น หนักไปทาง Green
b = 17 แปลว่า ภาพนี้ Chromatic Component ในส่วน Yellow/Blue นั้น หนักไปทาง Yellow


พูดภาษาคนก็คือ ภาพนี้ติดเหลืองมาก (17) และติดเขียวนิดหน่อย (-6)


ภาพที่ WB ถูกต้องคือ ในตำแหน่งที่ควรจะเป็นสีขาว เหรือเทากลาง จะมี a = 0 และ b = 0
เป้าหมายของการปรับ WB ด้วย Lab Color ก็คือสิ่งนี้นี่เอง


ลองเอาเมาส์ไปวางบนภาพ แล้วสังเกตที่ Info นะครับ เราจะเห็นตัวเลขสามตัวของ L, a และ b -- L เราไม่ต้องสนใจ สนใจแค่ a กับ b -- ถ้าเลขเป็น + แปลว่าสีใน Channel นั้นๆ เอนเอียงไปในทางสีโทนร้อน (a = Magenta/b = Yellow) -- ถ้าเลขเป็น - แปลว่าสีใน Channel นั้นๆ เอนเอียงไปในทางสีโทนเย็น (a = Green/b = Blue) -- ทีนี้ลองเลือกตำแหน่งที่ควรจะเป็นสีขาว แล้วสังเกตที่ Info ดู -- a = -6 แปลว่า ภาพนี้ Chromatic Component ในส่วน Magenta/Green นั้น หนักไปทาง Green -- b = 17 แปลว่า ภาพนี้ Chromatic Component ในส่วน Yellow/Blue นั้น หนักไปทาง Yellow -- <br>พูดภาษาคนก็คือ ภาพนี้ติดเหลืองมาก (17) และติดเขียวนิดหน่อย (-6) -- ภาพที่ WB ถูกต้องคือ ในตำแหน่งที่ควรจะเป็นสีขาว เหรือเทากลาง จะมี a = 0 และ b = 0<br>เป้าหมายของการปรับ WB ด้วย Lab Color ก็คือสิ่งนี้นี่เอง


ทีนี้กด Ctrl+M เพื่อเข้าสู่การปรับ Curve
ฝั่งขวา คือส่วนสีโทนร้อน (a = Magenta/b = Yellow)
ฝั่งซ้าย คือส่วนสีโทนเย็น (a = Green/b = Blue)
(Photoshop บางตัวอาจจะสลับซ้ายขวากัน ก็ไม่เป็นไรนะครับ ก็ทำสลับกันกับของผมซะ)


ทีนี้กด Ctrl+M เพื่อเข้าสู่การปรับ Curv -- ฝั่งขวา คือส่วนสีโทนร้อน (a = Magenta/b = Yellow) -- ฝั่งซ้าย คือส่วนสีโทนเย็น (a = Green/b = Blue) -- (Photoshop บางตัวอาจจะสลับซ้ายขวากัน ก็ไม่เป็นไรนะครับ ก็ทำสลับกันกับของผมซะ)


เริ่มจากแก้ a ก่อน เลือก Channel a แล้วขยับ Curve ให้ไปทาง Magenta ซักนิดหน่อย (นิดเดียวจริงๆ) แล้วเช็ค Info ดูว่าเป็น a = 0 หรือยัง (อาจจะ 0, +1, -1 นิดหน่อยๆ ไม่ว่ากัน)


เริ่มจากแก้ a ก่อน เลือก Channel a แล้วขยับ Curve ให้ไปทาง Magenta ซักนิดหน่อย (นิดเดียวจริงๆ) แล้วเช็ค Info ดูว่าเป็น a = 0 หรือยัง (อาจจะ 0, +1, -1 นิดหน่อยๆ ไม่ว่ากัน)


แล้วก็แก้ b โดยเลือก Channel b แล้วขยับ Curve ให้ไปทาง Blue จนกระทั่ง b = 0


แล้วก็แก้ b โดยเลือก Channel b แล้วขยับ Curve ให้ไปทาง Blue จนกระทั่ง b = 0


เพียงแค่นี้ คุณจะได้รูปที่ White Balance ถูกต้องเป๊ะๆ แบบ 100% ครับ


เพียงแค่นี้ คุณจะได้รูปที่ White Balance ถูกต้องเป๊ะๆ แบบ 100% ครับ


ถ้าภาพติดแดง เราก็ปรับลดทั้ง Yellow และ Magenta (ปรับเพิ่ม Cyan = ปรับเพิ่ม Blue และ Green)
เปรียบเทียบ Output ท้ายสุดกันอีกหน่อย :-)


เปรียบเทียบ Output ท้ายสุดกันอีกหน่อย :-)


จบแล้วครับ ^^' ขอบคุณที่ติดตาม


Lab Color ยังมีเทคนิคและลูกเล่นอีกมาก ไม่เพียงแต่การปรับ White Balance ซึ่งเป็นเทคนิคพื้นฐาน แต่ Lab Color ยังสามารถทำ Color Correction ระดับเทพได้อีกด้วย
ไว้ผมจะเอามาฝากกันอีกครับ ^^'


PS. ใครใช้ Lightroom ก็มีฟังก์ชั่นนี้ให้ใช้ใน Color Temperature
PSS. ผมใช้แต่ Photoshop 7.0 ไม่แน่ใจว่าพวกตระกูล CS มีฟังก์ชั่นนี้แล้วหรือเปล่า ถ้ามีแล้วก็ต้องขอโทษด้วยที่เอามะพร้าวห้าวมาขายสวนครับ
PSSS. RAW ยิ่งสบายใหญ่ ไม่จำเป็นต้องมาปรับ Lab Color ให้วุ่นวาย




 

Create Date : 26 กรกฎาคม 2551    
Last Update : 26 กรกฎาคม 2551 15:06:23 น.
Counter : 7838 Pageviews.  


Angos
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ให้ทิปเจ้าของ Blog [?]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Angos's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.