"ยินดีต้อนรับสู่ บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ" มีหลายหัวข้อเรื่องให้คุณอ่าน .. ขอบคุณที่มาเยี่ยมบล็อกค่ะ .. ขอจงมีแต่ความสุขกายสบายใจตลอดไปนะคะ
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2552
 
12 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 
ปีกธรรมพระอริยเจ้า...

หลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม เขียน
พระมหายาจินต์ ธมฺมธโร ป.ธ.๙,สส.ม. แปล


จันทรวารสิริสวัสดิ์-โสมนัสปรีดิ์เขษม ที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ ค่ะ


๖. สมาธิสัมโพชฌังคะ ซึ่งมาจากคำว่า

สมาธิ - ความตั้งมั่น
สัมโพชฌังคะ - การบรรลุมรรคผล
อังคะ - เตรื่องมือ

หมายถึง สมาธิ อันเป็นเครื่องมือแห่งการบรรลุมรรคผล

คำว่า "สมาธิ" มี ๒ ประเภท คือ โลกิยสมาธิและโลกุตรสมาธิ
โลกิยสมาธินี้ มี ๓ ระดับ คือ บริกรรมสมาธิ อุคคหสมาธิ และอัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิที่อาฬารดาบสและอุทกดาบสเคยประพฤติมาก่อน ซึ่งเป็นการฝึกจิตให้จดจ่ออยู่ในอารมณ์เดียวจนจิตตั้งมั่น เกิดเป็นฌานขึ้นมา

โลกิยะสมาธินี้ เป็นสมาธิที่เปลี่ยนแปลงได้ ไม่มั่นคง และไม่ทำให้พ้นจากวัฏสงสาร ส่วนสมาธิในโพชฌงค์เป็นสมาธิที่ประกอบร่วมกับสัมมาสังกัปปะ เรียกว่า เป็นสมาธิของอาจาระมรรคอริยะ (ผู้เตรียมจะเป็นพระอริยเจ้า) เป็นจอมพลแห่งสมาธิทั้งหลาย

ดังพุทธพจน์ที่ว่า "ยัมพุทธเสฏโฐ ปริวัณณยี สุจิง" ซึ่งหมายถึงสมาธิที่ประกอบร่วมกับอนาคามิผล อรหัตมรรค และอรหัตผล และเป็นสิ่งที่น่าสรรเสริญยิ่ง

๗. อุเปกขาสัมโพชฌังคะ มาจากคำว่า

อุเปกขา - วางเฉย
สัมโพชฌะ - การบรรลุมรรคผล
อังคะ - เครื่องมือ

เมื่อรวมกันจึงหมายถึง ความวางเฉยเป็นเครื่องมือแห่งการบรรลุมรรคผล

อุเบกขาอันเป็นเครื่องมือของพระอริยเจ้านี้มี ๓ ประเภท

๑. อุเบกขาทุกขเวทนา ความวางเฉยในความทุกข์
๒. อุเบกขาสุขเวทนา ความวางเฉยในความสุข
๓. อุเบกขาเวทนา ความวางเฉยในอารมณ์ไม่สุขไม่ทุกข์

คำว่า "ทุกข์" นี้ เป็นโทสเจตสิก เรียกว่า "ใจโทสะ" อัตตาเป็นเหตุแห่งโทสะ โทสะเป็นเหตุแห่งทุกข์ หากว่าทุกข์หรือทุกขเวทนาเกิดขึ้นมาเวลาใด จงพิจารณาว่าเป็นอนัตตา วางเหตุเสียในทันที ณ เวลานั้น

คำว่า "สุข" นี้เป็นโสมนัสที่ประกอบด้วยโลภะ สุขนี้มีโลภะเป็นเหตุ เมื่อสุขหรือสุขเวทนาเกิดขึ้นมาเวลาใด จงพิจารณาว่าเป็นอนัตตา วางเหตุเสียในทันที ณ เวลานั้น

คำว่า "อุเบกขา" หมายถึงอารมณ์ความรู้สึกที่เป็นสุขก็มิใช่ เป็นทุกข์ก็มิใช่ หรือเรียกว่าอารมณ์เฉย หากว่าอุเบกขาเวทนานี้เกิดขึ้นมา ณ เวลาใด จงพิจารณาว่าเป็นอนัตตา วางเหตุเสียในทันที ในเวลานั้น

อนึ่ง คำว่า "อุเบกขา" ความวางเฉย หรือความว่างนี้ มีหลายประเภท กล่าวคือ

๑. การที่สังขารคือการปรุงแต่ง "อนิจจัง" คือการเกิดดับ "ทุกขัง" คือความแปรปรวนเป็นทุกข์ เข้าถึงจุดเงียบเฉย ว่าง สงบเย็นอยู่ และปัญญาก็รู้ถึงสภาวะอนัตตาที่เป็นปรมัตถ์อยู่อย่างนี้ เรียกว่า "สังขารเปกขาญาณ" เป็นอุเบกขาของรองพระอริยเจ้า คือผู้กำลังเจริญวิปัสสนาภาวนาอยู่

๒. อุเบกขาของพระอริยเจ้าผู้กำลังเจริญมรรคขั้นสูงต่อไป

๓. อุเบกขาของพระอริยเจ้าผู้เสวยผล คือผู้เข้าผลสมาบัติอยู่ อุเบกขาชนิดนี้เรียกว่า "ผลสมาบัติ" และมีลักษณะ ๔ ประการ

...๓.๑ มีอยู่ (มีสภาวะปรมัตถ์อยู่)
...๓.๒ รู้อยู่ (รู้สภาวะปรมัตถ์อยู่)
...๓.๓ เห็นอยู่ (เห็นสภาวะปรมัตถ์อยู่)
...๓.๔ เงียบสงบอยู่ (รูป จิต และเจตสิก เป็นอสังขตะ คือไม่ปรุงแต่ง ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ เงียบเฉยอยู่)

อุเบกขาที่มีลักษณะ ๔ ประการดังกล่าวนี้ เป็นการเสวยผล หรือการเข้าผลสมาบัติของพระอริยเจ้าประเภทปกติสามัญ คำว่า "ผลสมาบัติ" ประกอบด้วย ศัพท์ ๓ คำ ได้แก่

ผล - ใจผลทั้ง ๔ ประการ
สมะ - สงบเย็น
อาปัตติ - บรรลุถึง

เมื่อรวมกันจึงได้ความว่า "เข้าถึงใจผลทั้ง ๔ ที่สงบเย็นอยู่"

ส่วนผลสมาบัติประเภทพิเศษเรียกว่า "นิโรธสมาบัติ" ซึ่งมีลักษณะ ๕ ประการ ดังนี้

๑. ดับลมหายใจ
๒. ดับวิญญาณ
๓. ดับเจตสิกและสัมผัสต่างๆ
๔. ดับจิตสังขาร การนึกคิดปรุงแต่ง
๕. ดับทุกขเวทนา สุขเวทนา และอุเบกขาเวทนา

เพราะฉะนั้น "นิโรธสมาบัติ" นี้ หมายถึงการที่ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งหมดเงียบสงบเย็นอยู่ ผู้สามารถเข้านิโรธสมาบัติได้นั้น มีพระอัครสาวกและพระมหาสาวกบางองค์เท่านั้น การเข้านิโรธสมาบัติแต่ละครั้ง สามารถเข้าได้นานที่สุดไม่เกิน ๗ วัน


กราบนมัสการมาด้วยความเคารพ


จันทรวารสิริสวัสดิ์-โสมนัสสวัสดิ์ปรีดิ์ที่มาอ่านอุดมมงคลนี้ค่ะ


Create Date : 12 ตุลาคม 2552
Last Update : 12 ตุลาคม 2552 0:01:19 น. 0 comments
Counter : 676 Pageviews.

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]





/



2558

2556

2555

น้ำใจจากคุณ krittut 2554

2553


สิริสวัสดิ์วรวาร
เปรมปรีดิ์มานรื่นรมณีย์นะคะ ยินดีต้อนรับ
สู่บล็อกของคนใฝ่รู้ สำหรับผู้ใส่ใจใฝ่รู้ค่ะ

เชิญอ่านตามสบายนะคะ
มีดีๆให้คุณได้ทราบหลากหลายค่ะ

๑ - ๑/๑ ฉันรักในหลวง
๒.๓.๑๐.๑๕.๓๐.๒๔.๕๙.๖๓.๙๐.ธรรมะ
๔ - ๔/๑ รวมพลคนดัง
๕. ศาสนาพุทธสุดประเสริฐ
๖. ความรู้ทั่วไปในศาสนาพุทธ
๗. ๑๖. ประวัติศาสตร์
๘ - ๙/๑ ไม้ดอก ไม้ใบ
๑๑ - ๑๑/๑ เกม
๑๒.๓๗.๔๐-๔๓.๕๓.๗๕.๘๖.ศิลปะเทศ
๑๔ - ๑๔/๑. ๒๐๘. ข่าวคนดังเทศ
๑๘. ๑๙. ๒๒. ราชวงศ์ไทย
๒๐.๑๑๖-๑๑๖/๒ ๑๙๐-๑๙๐/๘ ละคร ทีวี
๒๑. ๓๑. ๒๐๘. ราชวงศ์เทศ
๒๔. นักเขียนไทย
๒๔/๑. กลอนชั้นบรมครู
๒๙/๑-๒๙/๔โปสการ์ดจากเพื่อนบล็อก
๓๓. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
๓๙.๑๘๑-๑๘๑/๗ สุธาโภชน์รสเลิศล้ำ
๔๑.๔๒.๕๐.๕๘.๖๐.๖๑.๘๖.มหาวิหาร
๕๗. ปราสาท พระราชวัง คฤหาสน์เทศ
๖๒. วัด
๖๕ - ๖๕/๑ การ์ตูน
๖๕/๒. นิทานเซน
๖๗. ความตายมาพรากให้จากไป
๖๙ - ๖๙/๒ สารพัดสัตว์
๗๔. สุนัข
๗๖. อุทยานสวรรค์
๗๗. ซูเปอร์แมน - แบทแมน
๗๘ - ๘๓. แสตมป์สะสม
๘๕-๘๕/๑ หนังสือสะสม
๘๗ - ๘๗/๒ ๒๑๕ ข่าวกีฬา
๘๙. ๘๙/๑ จีนแผ่นดินใหญ่
๙๐/๑ .ทิเบต
๙๑. จันทร์สูริย์ดารา
๙๒. สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า
๙๓ - ๙๓/๒ ภาพยนตร์
๙๔ - ๙๔/๓ ยานยนต์
๙๕ - ๙๕/๑ ดูดวง
๙๖ - ๙๖/๑ . ๒๑๑ วิทยาศาสตร์
๙๗ - ๙๗/๑.๒๐๙ แวดวงวรรณกรรม
๙๘. ภาพพุทธประวัติ
๙๙. ๑๒๗ - ๑๒๗/๑ ดนตรี
๑๐๑. ป้าย R สะสม
๑๐๒. บัตรภาพตราไปรฯสะสม
๑๐๓. DIY
๑๐๗/๑ เล่าเรื่องเมืองญี่ปุ่น
๑๐๘ - ๑๐๘/๑ หนังสือ
๑๑๓ - ๑๑๓/๑ บ้านสวย
๑๑๕. พระเครื่อง
๑๒๐. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
๑๒๓. เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ
๑๒๕. เหรียญที่ระลึก
๑๒๕/๑ เหรียญสะสมต่างประเทศ
๑๒๕/๒ เหรียญที่ระลึกจังหวัด
๑๒๕/๓ ธนบัตรที่ระลึก
๑๒๕/๔ บัตรโทรศัพท์
๑๒๕/๕ กล่องไม้ขีด และอื่นๆ
๑๓๑.เรื่องสั้นชั้นครู"เจียวต้าย"
๑๖๔.บล็อกพิเศษ วันเดียวอั๊พ 100
เอนทรี่ ให้คุณป้า"ร่มไม้เย็น"ชม
๑๙๐/๓ เรื่องย่อละคร
๑๙๓. คดีเขาพระวิหาร
๒๑๒. ศิลปะ
๒๑๗. วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน
๒๑๗/๑.วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน
๒๑๗/๒.วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง
๒๑๗/๓.วิถีแห่งอำนาจ ซูสีไทเฮา
๒๑๗/๔.วิถีแห่งอำนาจ หงซิ่วฉวน
๒๑๗/๕.วิถีแห่งอำนาจ แฮรี่ พอตเตอร์

ข่าวทั่วไปล่าสุด บล็อกล่างสุดค่ะ

เปิดบล็อก 1 มกราคม 2552



free counters
08.27 - 250811

207 flags collected 300316



Friends' blogs
[Add sirivinit's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.