การสร้างตารางและการประยุกต์ใช้ การสร้างตาราง เราสามารถสร้างตารางได้โดยใช้แท็ก <table> เป็นจุดเริ่มต้นของตาราง และใช้แท็กปิด </table> เป็นจุดสิ้นสุดของตาราง การกำหนดจำนวนแถว กำหนดโดยใช้แท็ก <tr> ... </tr> ถ้าต้องการสร้างกี่แถวก็สร้าง <tr> ให้เท่ากับจำนวนแถว การกำหนดจำนวนคอลัมน์ กำหนดโดยใช้แท็ก <td>...</td> ถ้าต้องการกี่คอลัมน์ก็สร้าง <td> ให้เท่ากับจำนวนคอลัมน์ ตัวอย่างการสร้างตารางที่มี 3 แถว 2 คอลัมน์ <table > <tr> <td>คอลัมน์ 1 แถว 1</td> <td>คอลัมน์ 2 แถว 1</td> </tr> <tr> <td>คอลัมน์ 1 แถว 2</td> <td>คอลัมน์ 2 แถว 2</td> </tr> <tr> <td>คอลัมน์ 1 แถว 3</td> <td>คอลัมน์ 2 แถว 3</td> </tr> </table> จากการสร้างตารางที่ผ่านมาเราไม่ได้กำหนดค่าแอตทริบิวต์ให้แก่ตาราง ดังนั้นตารางที่ได้จะไม่มีเส้นของ ไม่มีพื้นหลัง ค่าต่างๆจะเป็นค่าพื้นฐาน การกำหนดรูปแบบของตาราง สามารถกำหนดโดยการเพิ่ม style เข้าไปในแท็ก <table>และกำหนดค่าแอตทริบิวต์ต่างๆ แอตทริบิวต์ต่างๆจะอยู่ภายในเครื่องหมาย " " และมี ; คั่นระหว่างแอตทริบิวต์ต่างๆ เช่น style="width: 100%; float: none; text-align: left; vertical-align: baseline; border-style: outset; background-image: none; border-width: 1px; height: 100%; border-collapse: collapse;border: 2px solid #DEB9ff;" width ความกว้างของตาราง เป็น % หรือ พิกเซล float อันนี้ไม่รู้กำหนดอะไร ค่าที่เป็นไปได้คือ none left right text-align การจัดวางตัวอักษรในแนวนอน ค่าที่เป็นไปได้คือ left center right justify vertical-align การจัดวางตัวอักษรในแนวตั้ง ค่าที่เป็นไปได้คือ baseline top middle bottom border-style รูปแบบของเส้นขอบ ค่าที่เป็นไปได้คือ none solid dotted dashed double groove ridge inset outset background-image รูปพื้นหลัง border-width ความกว้างของเส้นขอบ เป็นพิกเซล height ความสูงของตาราง เป็น % หรือ พิกเซล border-collapse อันนี้ไม่รู้กำหนดอะไร ค่าที่เป็นไปได้คือ none ollapse border มีการกำหนดค่า3 อย่างคือ ขนาดเส้น รูปแบบเส้น สีเส้น border: 2px solid #DEB9ff; การกำหนดให้มีการขีดเส้นของตาราง ทำได้โดย เพิ่มแอตทริบิวต์ต่างๆ ดังนี้ เข้าไปในแท็ก <table> border="1" cellspacing="1" cellpadding="1" frame="hsides" rules="rows" border คือ ขนาดของเส้นขอบ cellspacing คือ ระยะห่างระหว่างขอบด้านซ้ายกับข้อความในตาราง cellpadding คือระยะห่างระหว่างขอบด้านบนกับข้อความในตาราง frame การกำหนดให้มีการขีดเส้นขอบของตาราง void เป็นค่าปกติ ไม่มีการขีดเส้นขอบ above เส้นขอบมีเฉพาะด้านบน below เส้นขอบมีเฉพาะด้านล่าง hsides มีเส้นขอบเฉพาะแนวนอน vsides มีเส้นขอบเฉพาะแนวตั้ง lhs มีเส้นขอบเฉพาะด้านซ้าย rhs มีเส้นขอบเฉพาะด้านขวา border มีเส้นขอบทั้งสี่ด้าน rules การกำหนดให้มีการขีดเส้นของช่องตาราง none ไม่ให้มีเส้นตาราง rows ให้มีเฉพาะเส้นแนวนอน cols ให้มีเฉพาะเส้นแนวตั้ง all ให้มีทั้งเส้นแนวตั้งและแนวนอน ถ้าต้องการกำหนดตำแหน่งแสดงผลของตารางก็เพิ่ม align = "ตำแหน่งที่ต้องการแสดงผล" เข้าไปในแท็ก <table> ครับ การประยุกต์ใช้ตารางในการทำกรอบข้อความ การทำกรอบโดยใช้แท็ก <table> จะเป็นการสร้างตารางที่มีคอลัมน์ 1 คอลัมน์ แถว 1 แถว เช่น
จากตัวอย่างเป็นรูปแบบพื้นฐานที่ควรทดลองทำก่อนเพื่อความเข้าใจ ค่าต่างๆที่กำหนดจะมี 1. style="border: 1px solid #DFA1A4;" กำหนดรูปแบบของเส้นตารางโดยกำหนด ขนาดเส้นขอบ ลักษณะเส้นขอบ สีเส้นขอบ 2. cellpadding="0" กำหนดระยะห่างจากขอบบน ถ้ามีค่าเป็นศูนย์เนื้อหาหรือตารางที่จะทำซ้อนจะติดกัน 3. cellspacing="0" กำหนดระยะห่างจากขอบ การสร้างตารางซ้อนกัน ทำโดยแทรกแท็ก table เข้าไปในตารางแรกในส่วนของ td
ถ้าต้องการสร้างตารางซ้อนกันหลายๆชั้นก็ทำแบบเดียวกันแต่ระวังสับสนนะครับค่อยๆเพิ่มทีละชั้นดู อยากได้ค้างคาวบินง่ะ - -
บอกโค้ดหน่อยจิ โดย: ไม่ระบุ IP: 180.183.103.143 วันที่: 17 พฤศจิกายน 2556 เวลา:10:54:57 น.
ขอบใจมากๆจ้าสำหรับค้างคาวบิน
พอดีว่า เรา...กลับมาจิ๊กของอ่าา อิอิ โดย: ไม่ระบุ IP: 180.183.116.8 วันที่: 2 ธันวาคม 2556 เวลา:18:37:33 น.
อืมมม แต่งบล็อคน่ารักดีนะค่ะ แวะมาเยี่ยมมจ้าา
โดย: ไม่ระบุ IP: 110.77.182.112 วันที่: 23 ธันวาคม 2556 เวลา:16:54:30 น.
|
บทความทั้งหมด
|
ขอบคุณสำหรับความรู้จ้า