การรับรองคำแปล ใครรับรอง รับรองทำไม






วันที่ 6 ส.ค. 59 ที่ผ่านมา สมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย (ส.ป.ล.ท.)ได้จัดประชุมสามัญประจำปี 2558 ขึ้นที่นานมีบุ๊คส์โดยในงานนี้มีการจัดสัมมนาหัวข้อ “การรับรองคำแปล ใครรับรอง รับรองทำไม” วิทยากรคือ คุณธาตรี เชาวชตา  ผู้อำนวยการกองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ (อดีตผู้อำนวยการกองนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ)

ในการประชุมครั้งนี้เราก็เป็นวิทยากรในฐานะนักแปลที่ได้รับการรับรอง NAATI แต่จะเขียนให้อ่านเฉพาะส่วนของผ.อ.ธาตรี โดยเขียนเป็นข้อๆ ดังนี้

การรับรองเอกสารในประเทศไทย ให้อ้างอิงกับระเบียบกระทรวงต่างประเทศว่าด้วยการรับรองเอกสาร พ.ศ. 2539 ที่ต้องรับรองเอกสารก็เพื่อความน่าเชื่อถือ

การรับรองเอกสาร ในหลายๆ กรณี ต้องใช้ Chain Legalization ดังนี้

กรณีเอกสารต่างประเทศที่จะนำมาใช้ในประเทศไทย (เช่นจดทะเบียนสมรสในประเทศไทย) (1) นำเอกสารต้นฉบับไปรับรองสำเนาถูกต้องที่สถานทูตของประเทศนั้นๆที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย (2) นำสำเนาฉบับที่สถานทูตประทับตราแล้วไปยื่นขอรับรอง (legalized) ที่กรมการกงสุลกระทรวงต่างประเทศ (3) นำเอกสารไปใช้ที่หน่วยงานราชการใดๆในประเทศไทยได้

กรณีมอบอำนาจเพื่อให้กระทำการในประเทศไทย (power of attorney) เช่นชาวต่างชาติต้องการซื้อขายคอนโดในประเทศไทย (1) ทำหนังสือมอบอำนาจ(2) ส่งไปรับรองโนตารีที่สำนักงานโนตารีในประเทศของตนเอง (3)ส่งไปรับรองอีกครั้งหนึ่งที่ กระทรวงการต่างประเทศของประเทศของตนเอง(เช่น ในออสเตรเลีย กรณีมอบอำนาจจัดการมรดก เอกสารแปลโดยนักแปล NAATI ต้องส่งไปรับรอง (legalized) ที่ Departmentof Foreign Affairs & Trade (DFAT Australia) ซึ่ง DFAT จะมีฐานข้อมูลลายมือชื่อของนักแปล NAATI เพื่อใช้เทียบ (4)ส่งเอกสารไปประทับตราที่สถานทูตไทยในประเทศของตนเอง (5) นำเอกสารไปใช้ในประเทศไทย (แต่ถ้าเป็นเอกสารของคนไทยกระบวนการจะสั้นกว่า คือ ถือแบบฟอร์มมอบอำนาจ (ท.ด.21) พร้อมเอกสารประจำตัวเช่นหนังสือเดินทางที่มีตัวอย่างลายเซ็น ไปเซ็นที่สถานทูตเลยแล้วส่งกลับไปใช้ที่ไทย)

กรณีเอกสารของไทยที่จะนำไปใช้ในต่างประเทศ (ที่ปฏิบัติทั่วไปของกรมการกงสุล)(1) นำต้นฉบับเอกสารและสำเนาไปกรมการกงสุลกระทรวงต่างประเทศเพื่อของรับรอง (2) กรมการกงสุล รับรองเอกสารเพียง3 รูปแบบเท่านั้นคือ รับรองลายมือชื่อ (witnesssignature) หรือรับทราบ (seen at) (แต่ไม่รับรองลายมือชื่อ)(ซึ่งเป็นกรณีคำแปล) หรือรับรองสำเนาถูกต้อง (certified true copy) เท่านั้น (3) นำเอกสารไปใช้ในต่างประเทศหรือยื่นกับสถานทูตของต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยเช่น กรณีขอวีซ่า

ทั้งนี้เงื่อนไขในการรับรองสำเนาถูกต้องคือกรมการกงสุลจะต้องมีตัวอย่างลายเซ็น (specimen signature) ของผู้มีอำนาจเซ็นเอกสารนั้นๆอยู่ในฐานข้อมูลเพื่อใช้เทียบลายมือชื่อ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา36 ของ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และเอกสารที่ขอรับรองสำเนาต้องเป็นเอกสารที่ออกโดยหน่วยงานราชการเท่านั้น ไม่รับเอกสารของเอกชน(เพราะไม่มีตัวอย่างลายมือชื่อ)

สาเหตุที่กรมการกงสุลไม่ใช้คำว่า รับรองคำแปลถูกต้อง (certified correct translation) เนื่องจากเอกสารแปลที่ส่งรับรองมีปริมาณมหาศาลในแต่ละวัน กรมฯไม่สามารถรับผิดชอบคำแปลได้ทุกฉบับ

คำแปลจัดเตรียมโดยใครก็ได้ แม้แต่เจ้าของเอกสารเอง โดยกรมฯอำนวยความสะดวกด้วยการให้ตัวอย่างคำแปลเอกสาร 40 ชุดไว้ในเว็บไซต์ www.mfa.go.th และในคู่มือการแปลเอกสาร แต่ขอให้แปลถูกต้องครบถ้วน สะกดชื่ออำเภอตามคู่มือราชบัณฑิตกรมฯ ก็ประทับตรารับรองให้ (เมื่อเร็วๆ นี้ ก็มีคนบ่นในหน้า ส.ป.ล.ท.เรื่องนำเอกสารที่แปลเองไปรับรองที่กรมฯ ปรากฏว่าโดนตีกลับทำให้เสียเวลาทำงานหลายวัน ส่วนหนึ่งเพราะสะกดชื่ออำเภอไม่ตรงตามคู่มือ ก็เข้าใจอ่ะนะว่าคนทั่วไปไม่รู้หรอกว่ามันมีคู่มือกำกับการสะกดชื่ออำเภอชื่อจังหวัดที่หน่วยงานราชการใช้อ้างอิงอยู่)

กรมการกงสุลรับรองคำแปลถูกต้อง (certified correct translation) กรณีเดียวคือคำแปลนั้นจัดทำโดยหน่วยงานราชการเช่น กรมสนธิสัญญาเป็นผู้จัดทำ

กรมการกงสุลมีรายชื่อบริษัทแปลที่แปลผิดบ่อยครั้งไว้ด้วย (ใครที่ส่งแปลกับบริษทเหล่านี้มีแนวโน้มจะไม่ได้รับการประทับตรารับรองจากกรมฯ)

ขณะนี้กำลังมีการร่างพระราชบัญญัติโนตารี พ.ศ. 2559 หลังจากที่ระงับมาตั้งแต่ปี2540 เนื่องจากวิกฤติการณณ์บ้านเมือง ในระหว่างที่รอ พ.ร.บ. ตัวนี้บังคับใช้ สภาทนายความก็มีบริการรับรองเอกสารแบบโนตารี (notarialservice) แต่เอกสารที่รับรองโนตารีแล้วยังต้องส่งไปประทับตราที่กรมการกงสุลอยู่ดีก่อนจะนำไปใช้ในต่างประเทศได้

ประชาคมอาเซียน หรือ AEC กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องจัดทำฉบับแปลภาษาอังกฤษของกฎหมายทุกตัวดังนั้นกระทรวงการต่างประเทศอยู่ในระหว่างจัดเตรียมแบบฟอร์มราชการต่างๆ เป็นแบบ 2ภาษาเพื่อใช้ในสถานทูตทั่วโลก

ในส่วนของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (Thailand Professional Qualification Institute (PublicOrganization)) หรือ TPQI นั้น กำลังจัดทำมาตรฐานหลายสาขารวมถึงมาตรฐานนักแปล ซึ่งเป็นสาขาย่อยภายใต้ความรับผิดชอบของสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย(The Publishers And Booksellers Association of Thailand) หรือPUBAT โดย PUBAT มอบหมายให้ ส.ป.ล.ท.นำไปดำเนินการจัดทำมาตรฐานนักแปล

สาเหตุที่ ส.ป.ล.ท. ไม่รับดำเนินการในฐานะหน่วยงานหลักแต่ต้องไปอยู่ภายใต้PUBAT ก็เพราะ ส.ป.ล.ท.ไม่มีสำนักงานถาวร และไม่มีพนักงานประจำ

ข่าวดี วันที่ 9 ธ.ค. 2559 กระทรวงการต่างประเทศจะเปิดให้บริการรับรองเอกสารณ หน่วยงานสาขา MRT คลองเตย ใกล้ท่าเรือ

สิ่งหนึ่งที่เราบอกนักแปลที่มาฟังสัมมนาคือถ้านักแปลทำงานแปลหนังสือหรือสิ่งพิมพ์อยู่แล้วแทนที่จะไปหาสอบขอรับรองคุณวุฒิจากต่างประเทศ นักแปลควรสอบของ TPQI ซึ่งดำเนินการโดยส.ป.ล.ท. ก่อน เนื่องจากข้อสอบนั้นเกี่ยวข้องกับเนื้องานสิ่งพิมพ์โดยเฉพาะและข้อสอบไม่ได้ยากเกินไป (ดูจากมุมคนที่เรียนการแปลมาและมีประสบการณ์ทำงานแปล)

ส่วนที่คนทำงานแปลเอกสารเทคนิค เช่น วิศวกรรมกฎหมาย การแพทย์ วิทยาศาสตร์ ที่คิดว่ายังไงก็ต้องมีใบรับรองคุณวุฒิและอยากสอบเพื่อรับคุณวุฒิต่างประเทศ นอกจาก NAATI ออสเตรเลียแล้ว ก็ยังมีสอบของ ATA U.S. และมีสอบ Diploma of Translation ของ CIOLU.K. (อันหลังนี่เราว่ายากใช้ได้ ถ้าสอบผ่านนี่เหมือนเรียนจบปริญญาด้านการแปลเลย)

ก่อนจะสอบขอใบรับรองคุณวุฒิจากต่างประเทศ ให้นักแปลพิจารณาเรื่องความคุ้มค่าด้วยคือมีเงินค่าสอบไหม เพราะค่าสอบก็ไม่ได้ถูก อย่างสอบ NAATI ค่าสอบ $900(ประมาณ 24,300 บาท) สอบผ่านแล้ว จะได้งานที่ต้องใช้ใบนี้เยอะแค่ไหน ถ้าประจำอยู่ในไทย งานแปลที่ต้องการรับรอง NAATIอาจจะไม่ได้เยอะเท่านั่งประจำอยู่ออสเตรเลีย ที่สำคัญอัตราการสอบผ่านอยู่ที่ร้อยละ 10-15 (Dave Deck: NAATI examining panel) เพราะนักแปลส่วนใหญ่คิดว่ารู้ภาษาที่สองดีแล้วจะแปลได้ (เป็นความเข้าใจที่ผิด)หลายคนไม่สามารถสื่อสารใจความของต้นฉบับมาเป็นภาษาปลายทางได้ บางคนตีความผิดบางคนใช้เทคนิคการแปลที่ไม่เหมาะสม เช่น paraphrase โดยไม่จำเป็นแปลตรงตัวเกินไป เป็นต้น

สรุปว่า ในความเห็นของเรา คนที่ไม่ได้เรียนการแปลและประสบการณ์ทำงานด้านการแปลน้อย(ไม่ถึง 5 ปี) ถ้าไปสอบมีแนวโน้มจะสอบตก เสียเงินเปล่า แต่ถ้าสอบผ่าน ก็ไม่รู้จะได้งานคุ้มค่าสอบมั้ย

อ่านหัวข้อที่เกี่ยวข้องได้ที่บล็อก“การรับรองคำแปลในประเทศไทย” ในบล็อกวันที่ 26 พ.ค. 2559

******************

ทรัพยากรอื่นๆ

Australian Standard Classification ofOccupations (ASCO) Second Edition, 1997 
2529-15 Translator, 2529-13 Interpreter, AustralianBureau of Statistics 
//www.abs.gov.au/ausstats/abs@.nsf/0/ECB55F6FC50FBCA1CA25697E00184E0E?opendocument

Standard for Translators and Revisers, United Nations InternationalCivil Service Commission 

//icsc.un.org/resources/hrpd/je/TR.pdf

Accreditation by OverseasQualification, Professional Association Membership or Advanced Standing NAATI 
https://www.naati.com.au/media/1103/accreditation_by_assessment_osqualifcation_professionalassociationmembership_advancedstanding_booklet.pdf

Criteria of Membership, Chartered Institute of Linguists

https://www.ciol.org.uk/images/Membership/CriteriaforMembership.pdf


Criteria of Membership, The Australian Institute of Interpretersand Translators (AUSIT) 

//ausit.org/AUSIT/Join_AUSIT/Membership_Categories/AUSIT/Join_AUSIT/Membership_Categories.aspx


Certification, American Translators Association

https://www.atanet.org/certification/landing_about_exam.php


IoLET Level 7 Diploma in Translation (QCF), Chartered Institute ofLinguists

https://www.ciol.org.uk/index.php?option=com_content&view=article&layout=coil:norelated&id=205&Itemid=672


https://www.ciol.org.uk/images/Qualifications/DipTrans/DipTransHandbook.pdf

M.A. in Translation, Ramkhamhaeng University 
//www.human.ru.ac.th/images/document/masterofarts57.pdf

M.A. in English > Thai Translation, Thammasat University 
https://web.reg.tu.ac.th/registrar/_link/_8_knowledge/curric_cd/curric_ma/56/MA53_EX_06_TP.pdf

M.A. in Translation for Education and Business, King Mongkut'sUniversity of Technology North Bangkok 
//www.grad.kmutnb.ac.th/cal58/file/art/MTEB.pdf

M.A. in Language & Culture for Communication & Development,Mahidol University 
//www.grad.mahidol.ac.th/th/prospective-students/view.php?id=7302M01G#Course

NAATI Test in Adelaide, Natchaon C., 2011
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=workingwoman&month=09-2011&date=23&group=1&gblog=6

ไปสอบการแปล จุฬา 
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=flowerylife&month=06-05-2009&group=22&gblog=6


แนวทางการเตรียมตัวสอบคัดเลือกเข้าเรียนป.โท หลักสูตรการแปล จุฬาฯ 
//www.bloggang.com/mainblog.php?id=joechou&month=18-10-2009&group=4&gblog=4

Best Practice for the Translation of Official and Legal Documents, AUSIT 
//ausit.org/AUSIT/Documents/Best_Practices_2014.pdf

Thought on Translation, Corrine McKay 
//thoughtsontranslation.com/2011/03/07/how-much-do-freelance-translators-earn-is-it-enough/

ประมวลจริยธรรมล่ามในศาลยุติธรรม, สราวุธ เบญจกุล รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม 
//www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000048920

จริยธรรมผู้เชี่ยวชาญของศาลยุติธรรม 
//www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000120864




Create Date : 31 สิงหาคม 2559
Last Update : 6 กันยายน 2559 10:20:04 น.
Counter : 5442 Pageviews.

0 comments
โรงงานผลิตอาหารเสริมผู้ชาย ตัวเลือกสำหรับคนที่ต้องการเป็นเจ้าของแบรนด์ที่ได้คุณภาพ สมาชิกหมายเลข 7213059
(3 เม.ย. 2567 00:10:02 น.)
วิธีถามราคาสินค้าเป็นภาษาอังกฤษ khatha0808
(2 เม.ย. 2567 00:05:26 น.)
9 แนวคิดที่ทำให้เรามีชีวิตประจำวันที่ดีกว่าเดิม peaceplay
(31 มี.ค. 2567 09:18:27 น.)
เอื้องชมพูไพร สมาชิกหมายเลข 4313444
(21 มี.ค. 2567 02:45:05 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Workingwoman.BlogGang.com

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]

บทความทั้งหมด