Working with Translation


วันนี้จะมาชวนคนที่ลังเลว่าเรียนการแปลดีไหมให้มาลองเรียนคอร์สสั้นเกี่ยวกับการแปล

ขณะนี้ Future Learn เปิดคอร์ส Working with Translation โดยผู้เรียนสามารถเรียนออนไลน์ฟรีและรับใบรับรอง (ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมออกใบรับรอง) สถาบันที่สอนคือ Cardiff University คอร์สนี้เปิดเรียนได้ 2 สัปดาห์แล้ว และเรียนต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง เรียนตอนไหนก็ได้ ไม่ได้กำหนดเวลาตายตัว

เราเรียนออนไลน์ผ่าน Future Learn หลายคอร์สแล้ว ทั้ง Corporate Lawyers: Ethics (University of Birmingham) คอร์ส Law for Non-lawyers (Monash University) คอร์ส Military Ethics (เคยเอ่ยถึงในบล็อกเก่า) คอร์ส English in Early Childhood (British Council)

ที่เราเรียนโน่นนี่เยอะแยะ แรงจูงใจแรกคือเราเป็นคนชอบเรียน และพอดีกับสามารถใช้เคลมคะแนน continuing professional development (CPD) เมื่อต้องต่ออายุใบรับรอง NAATI ด้วย

มาเข้าเรื่องคอร์ส Working with Translation เราเรียนไปแล้ว 2 สัปดาห์ จะบอกว่าไม่เหมือนกับที่เรียนปริญญาโท คอร์สนี้ไม่ได้เน้นทฤษฎี แต่เอาหลักการมาสอนประกอบกับตัวอย่างในชีวิตจริง ทำให้เข้าใจง่าย เหมาะกับคนที่ไม่มีพื้นฐาน

อาจารย์ที่สอนสำเนียงภาษาอังกฤษจะเป็นเอกลักษณ์เพราะ Cardiff อยู่ Wales เป็นถิ่นที่คนใช้ภาษาเวลส์

หัวข้อที่เรียน เช่น การแปลคืออะไร  ความเป็นกลางในการแปลและล่าม  งานแปลยุคแรก (ไบเบิล) การแปลวัฒนธรรม สัมภาษณ์ล่ามศาล  ข้อจำกัดในการทำงานแปลและล่าม การจัดเรียงเนื้อหาตามทฤษฎีช่องว่าง เป็นต้น

แนวการเรียนการสอนคือมีเนื้อหาให้อ่าน แล้วให้ผู้เรียนอภิปรายโดยเขียนคอมเมนท์ไว้ด้านล่างบทเรียน แต่ละสัปดาห์จะมีคลิปสัมภาษณ์อาจารย์ ผู้ประกอบวิชาชีพให้ดูด้วย มีให้ทดลองตอบคำถามเพื่อเช็คความเข้าใจ ไม่ได้ยาก แต่ถ้าภาษาอังกฤษอ่อน อาจจะเรียนไม่รู้เรื่อง

ด้านล่างนี้ตัดส่วนหนึ่งของคอร์สมาให้อ่าน

************************

ความเป็นกลาง

สิรวดี ชูเชิดศักดิ์ แปลจากหัวข้อ Neutrality

คอร์สนี้เน้นการแปลและการล่ามวิชาชีพซึ่งคาดหวังในเรื่องความเป็นกลาง ซึ่งให้ภาพคร่าวๆและเน้นย้ำว่าล่ามและนักแปลทำงานในบริบทที่ขนบเรื่องความเป็นกลางอาจนำมาใช้ไม่ได้ หนึ่งบริบทที่สำคัญคือการล่ามในพื้นที่ที่มีความขัดแย้งซึ่งล่ามมีแนวโน้มที่จะทำงานให้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ

ล่ามไม่ได้กระโดดร่มลงมาจากอีกโลกหนึ่งเพื่อทำหน้าที่คนกลาง แต่ล่ามมักจะมีความเชื่อมโยงในด้านภาษาศาสตร์ที่ซับซ้อนวัฒนธรรม การศึกษา และลักษณะส่วนตัว กับฝ่ายตรงข้าม นี่ทำให้การทำตัวเป็นกลางเป็นปัญหา

บทความของมอยราอิงกิลเลรี (2012) เกี่ยวกับเรื่องล่ามที่ทำงานให้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาในอิรักแสดงให้เห็นว่าล่ามในเขตสงครามพบว่าพวกเขาอยู่ในสถานะที่ไม่ปลอดภัย ล่ามชาวอิรักในพื้นที่ผู้แบกรับความเหนื่อยล้าของกองทัพบ่อยครั้งมีความเกี่ยวข้องกับผู้ครอบครองพื้นที่ ไม่ว่าล่ามจะมีความเชื่อส่วนตัวว่าสหรัฐอเมริกากำลังปลดปล่อยอิรักจากผู้นำจอมเผด็จการหรือพยายามลดความเสียหายจากการบุกรุกโดยการอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร หรือล่ามมีความต้องการงานในระหว่างช่วงส่งครามถึงอย่างไร ล่ามก็ไม่ได้อยู่นอกเหนือความขัดแย้งเลย

ยิ่งไปกว่านั้นล่ามมักถูกมองว่าเป็นผู้ร่วมมือและตกเป็นเป้าของฝ่ายตรงข้าม ในหลายๆ กรณี สหรัฐอเมริกาและพันธมิตรไม่สามารถปกป้องล่ามในตะวันออกกลางและทิ้งล่ามไว้โดยไม่ให้โอกาสที่เพียงพอในการโยกย้ายสถานปฏิบัติงานเมื่อตระหนักถึงความเสี่ยงที่ล่ามเผชิญแล้ว บางสมาคมจึงมีการรณรงค์เพื่อการปกป้องที่ดีขึ้นสำหรับล่ามในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง

อีกตัวอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการล่ามเอกสารเกี่ยวกับความขัดแย้งในค่ายสงครามอันสุดโต่ง เช่น งานวิจัยของมาลโกร์ซาตา ทริยุก (2015) เน้นล่ามในค่ายกักกันนาซี หลักๆ คือ เอาชวิตส์ เบิร์กเกโน นักโทษที่พูดภาษาเยอรมันซึ่งถูกใช้ให้เป็นล่ามจำเป็นต้องถ่ายทอดคำสั่งที่โหดร้ายโทษที่สาหัสสากรรจ์และคำเหยียดหยามที่เลวทราม ผู้รอดชีวิตหลายคนยังจดจำได้ถึง “คำกล่าวต้อนรับ” เมื่อนักโทษที่มาใหม่ได้เรียนรู้ว่ามีวิธีเดียวที่จะไปสู่อิสรภาพได้นั่นคือการผ่านไปทางปล่องไฟ (ศพถูกเผาในที่เผาศพที่ค่าย) ล่ามที่ถ่ายทอดถ้อยคำเหล่านี้รู้ว่าพวกเขาเองก็ต้องถูกปฏิบัติอย่างนั้นด้วยเช่นกันซึ่งทำให้เกิดความคิดที่ว่าการแยกตัวออกจากสถานการณ์ย่อมเป็นไปไม่ได้

บทบาทของล่ามไม่ได้รับประกันการรอดตายแต่อย่างใดแม้ว่าในบางครั้งพวกเขาเสนอจะช่วยให้เข้าถึงข้อมูลที่ช่วยชีวิตได้ก็ตาม มีบันทึกชี้ว่าล่ามบางคนช่วยเหลือนักโทษคนอื่น เช่น เอกเบิร์ก สโกรอน ช่วยผู้ถูกคุมขังที่ป่วยให้หลีกเลี่ยงการใช้แรงงานที่ยากลำบากที่สุดและสาหัสจนถึงตายได้ (ทริยุก 2015:81) ในขณะที่ ล่ามคนอื่นได้รับการจดจำว่าซ้อมเพื่อนนักโทษด้วยกันหรือล่ามมุขตลกที่น่ารังเกียจเดียดฉันท์อย่างสนุกปาก (ทริยุก 2015: 78;64)

อีกตัวอย่างหนึ่งแสดงให้เห็นว่าล่ามได้รับการปฏิบัติอย่างไรหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คะโยะโกะ ทาเคะดะ (2016) วิจัยเกี่ยวกับบทบาทล่ามในนักโทษชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในค่ายสงคราม หนึ่งในการค้นพบของทะเคะดะคือล่าม 40 คนถูกตัดสินว่ามีความผิดในอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีหลังสงครามอย่างต่อเนื่องในเอเชียแปซิฟิกและ 9 คนถูกตัดสินประหารชีวิต (มีการพิพากษาลงโทษประมาณ 1,850ครั้ง)

ในบางคดี มีคำเบิกความพยานระบุว่าล่ามบางคนมีส่วนร่วมโดยตรงในการทรมานและการทุบตีผู้อื่นและจึงถูกลงโทษหนักว่า ล่ามคนอื่นๆ ไม่ได้ถูกกล่าวหาว่าใช้ความรุนแรงทางร่างกายแต่ถูกกล่าวหาว่าใช้เสียงสร้างความทุกข์ทรมาน ฉะนั้นจึงยังคงถูกตัดสินว่าได้ทำการสมรู้ร่วมคิดและมีความผิด ล่ามบางคนโต้แย้งว่าตน “แค่” ทำการล่ามและการปฏิเสธที่จะล่ามก็จะเป็นการฆ่าตัวตายแต่นั่นไม่ทำให้กลายเป็นข้อต่อสู้ที่เพียงพอ ล่ามเหล่านี้ถือว่าไม่ได้วางตนเป็นกลาง

อีกประการที่ควรกล่าวถึงคือตัวอย่างร่วมสมัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับสงคราม นั่นคือการแปลและการล่ามสำหรับนักรณรงค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหรือทางสังคม (activist) ซึ่งก็คืออาสาสมัครที่เข้าร่วมในโครงการต่างๆ ที่ตนสนใจ การถ่ายทอดทางภาษาศาสตร์ที่เกิดขึ้นอาจถูกต้องก็จริงแต่นักแปลและล่ามก็ร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในฐานะผู้ร่วมกิจกรรมโดยมีนัยยะของตนแฝงไว้ด้วย เช่น โครงการ Babels ซึ่งระบุว่าเป็น “เครือข่ายของล่ามและนักแปล” และเป็น “ผู้เล่นคนหนึ่งในการอภิปรายเรื่อง “การต่อต้านระบบทุนนิยม”" การแปลสำหรับนักรณรงค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหรือทางสังคมเป็นการแปลสาขาหนึ่งที่น่าสนใจโดยนักแปลและล่ามอาจมีบทบาทในลักษณะกระตือรือร้นและเป็นอิสระกว่าการแปลและล่ามในสาขาที่มีกฎเกณฑ์เคร่งครัดและการแปลและล่ามเชิงพาณิชย์บางสาขา

หมายเหตุ: ไม่ว่าคุณจะปฏิบัติงานเป็นนักแปลหรือล่ามหรือกำลังทำงานกับนักแปลหรือล่ามโปรดจำไว้ว่าอารมณ์ความรู้สึกสามารถมีบทบาทที่สำคัญได้ในการแปล แม้ว่าทุกคนที่เกี่ยวข้องจะเป็นมืออาชีพที่มีประสบการณ์ก็ตาม




Create Date : 27 กันยายน 2560
Last Update : 28 กันยายน 2560 7:27:50 น.
Counter : 1354 Pageviews.

0 comments
ติดโคมไฟ LED 3สี ด้วยตัวเองง่ายๆ ไม่เกิน 200 บาท ฟ้าใสทะเลคราม
(17 มี.ค. 2567 00:08:48 น.)
มินิรีวิวที่รองแก้วน้องเพี้ยน ฌบี้
(6 มี.ค. 2567 11:17:28 น.)
พิธีไหว้ครู ครอบครูนาฏศิลป์ไทย โขน-ละคร ปี2567 ณ หอประชุมศูนย์วัฒนธรรม นายแว่นขยันเที่ยว
(4 มี.ค. 2567 01:33:31 น.)
เข็นเด๊กขี้นภูเชา : 12ข้อ เพื่อความเข้มแข็งทางใจให้เด็กๆ newyorknurse
(18 มี.ค. 2567 04:29:26 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Workingwoman.BlogGang.com

Natchaon
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 314 คน [?]

บทความทั้งหมด