ทุนกาญจนาภิเษก
โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก ทุนปัญญาของชาติที่ถูกละเลย
ประเทศจะได้ประโยชน์มหาศาล หาก คปก.ได้รับงบประมาณเพิ่มจำนวน นศ. เป็น ๕๐๐ - ๘๐๐ คนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก ทุนปัญญาของชาติที่ถูกละเลย

นานๆ ประเทศไทยจะมีโครงการสร้างปัญญาของชาติที่ได้ผลดีเยี่ยม และลดค่าใช้จ่ายในการสร้างคนระดับปริญญาเอก โครงการ คปก. ผ่านการประเมินจากหลากหลายทาง และได้รับการยอมรับสูงยิ่ง แต่น่าเสียดาย รัฐบาลทักษิณคงจะเห็นว่าไม่ใช่ผลงานที่ตนจะได้คะแนนเสียง จึงไม่สนับสนุน ทำให้โครงการนี้ไม่โตตามแผน แต่ก็ไม่ตาย เพราะผลงานดีมาก
ต่อไปนี้เป็นราบงานที่ คปก. นำออกเผยแพร่


ผลของการที่ประเทศไทยประสบปัญหาการขาดแคลนนักวิจัยระดับปริญญาเอกอย่างรุนแรง เป็นเหตุให้ระบบวิจัยของประเทศอ่อนแอและไม่มีเทคโนโลยีใหม่เพื่อพัฒนาประเทศเท่าที่ควร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ทบวงมหาวิทยาลัย) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงได้ร่วมกันริเริ่ม โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนานักวิจัยและผลิตงานวิจัยเพื่อสร้าง ความเข้มแข็งให้แก่ระบบวิจัย และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมีเป้าหมายที่จะผลิตนักวิจัยระดับปริญญาเอกในระยะแรกจำนวน 5,000 คน ภายในเวลา 15 ปี (2540-2554)

เพื่อให้ได้บุคลากรระดับปริญญาเอกที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล คปก. จึงมีมาตรการควบคุมคุณภาพ 3 ด้าน คือ (1) คัดเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยสูงและมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีความร่วมมือกับอาจารย์ในสถาบันชั้นนำในต่างประเทศ (2) คัดเลือกนักศึกษาที่มีความสามารถสูง โดยผู้มีวุฒิ ปริญญาตรีจะต้องได้เกียรตินิยม และ/หรืออยู่ใน 10% แรกของชั้น ผู้มีวุฒิปริญญาโทจะต้องมีผลการเรียนระดับดีและมีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ และ (3) นักศึกษาผู้ได้รับทุน คปก. จะต้องตีพิมพ์ผลงานวิจัยอันเนื่องจากวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกในวารสารวิชาการนานาชาติหรือได้รับการยื่นขอจดสิทธิบัตรก่อนสำเร็จการศึกษา ซึ่งระหว่างการศึกษาวิจัยปริญญาเอกนักศึกษา คปก. จะมีโอกาสไปทำวิจัยในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันในต่างประเทศเพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ด้านการวิจัยด้วย
ปัจจุบัน คปก. ได้ให้ทุนผู้ช่วยวิจัยแก่นักศึกษาไปแล้วประมาณ 1,700 คน มีจำนวนโครงการความร่วมมือกับต่างประเทศทั้งหมด 1,570 โครงการ มีอาจารย์ที่ปรึกษาต่างประเทศทั้งหมด 1,338 คน จากมหาวิทยาลัยและสถาบันชั้นนำกว่า 300 แห่ง ใน 37 ประเทศทั่วโลก และสามารถผลิตบุคลากรระดับปริญญาเอกได้แล้วจำนวน 500 คน ซึ่งดุษฎีบัณฑิตเหล่านี้มีบทบาทอย่างชัดเจนในการพัฒนาประเทศ โดยกว่า 360 คน หรือ 72% ทำงานเป็นอาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการ ซึ่งได้ช่วยสร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัยให้ระบบมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภาครัฐ กว่า 43 คน หรือ 9% ไปทำวิจัยในต่างประเทศซึ่งจะมีบทบาทในการนำความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ กลับมาพัฒนาประเทศไทยในอนาคต

ทั้งนี้ การผลิตดุษฎีบัณฑิตคุณภาพสูงด้วย ทุน คปก. มีค่าใช้จ่ายเพียง 1.7 ล้านบาท/คน ซึ่งจัดว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับการส่งนักศึกษาไปเรียนต่างประเทศซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายสูงถึงประมาณ 6 ล้านบาท/คน หาก คปก. สามารถผลิตดุษฎีบัณฑิตได้ตามเป้าหมาย คือ 5,000 คน จะประหยัดงบประมาณได้ถึง 21,500 ล้านบาท ในส่วนของงานวิจัย คปก. มีส่วนในการเพิ่มผลงานวิจัยให้กับประเทศเป็นอย่างมาก โดยสามารถผลิตผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติกว่า 1,195 เรื่อง และมีสิทธิบัตรที่ได้ยื่นจดถึง 27 เรื่อง

การผลิตบัณฑิตระดับปริญญาเอกของโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ถือเป็นการยิงกระสุนนัดเดียวแต่ประโยชน์หลายทาง ทั้งผลงานทางวิชาการที่มีคุณภาพสูง มีประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศแล้วยังได้นักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพให้กับประเทศ เพราะโครงการ คปก.มีข้อดีคือ การส่งนักศึกษาไปทำวิจัยในต่างประเทศ เพราะทำให้มองเห็นวิธีคิดของประเทศนั้นๆได้ และนักศึกษาที่ส่งไปส่วนใหญ่จะเป็นในสาขาวิชาที่ประเทศไทยขาดแคลนเช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ที่เป็นวิทยาการสมัยใหม่ ยังไม่ค่อยแพร่หลายมากในเมืองไทย ซึ่งในอนาคตเชื่อว่านักศึกษาเหล่านี้คงกลับมาทำประโยชน์ให้กับประเทศได้เป็นอย่างมาก

โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ไม่เพียงเป็นโครงการที่สนับสนุนให้ทุนการศึกษาในระดับปริญญาเอกเท่านั้น หากแต่โครงการได้มีส่วนช่วยในการยกระดับการศึกษา และเสริมสร้างความเข้มแข็งในระดับบัณฑิตศึกษาของประเทศไทย ด้วย คปก. มีกลไกที่ช่วยสนับสนุนการวิจัยในระบบมหาวิทยาลัยไทย ซึ่งแสดงให้เห็นจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในระดับบัณฑิตศึกษา คือ

การเพิ่มขึ้นของจำนวนนักศึกษา และหลักสูตรปริญญาเอกอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่าในอนาคตจะมีบุคลากรที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกออกมาพัฒนาประเทศได้อย่างต่อเนื่อง

เงื่อนไขในการขอจบที่ต้องมีผลงานวิจัยที่เผยแพร่สู่สาธารณะ ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของทั้งบทความในวารสารนานาชาติ และสิทธิบัตร จากมหาวิทยาลัย ทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้มหาวิทยาลัยหลายแห่งมีการปรับมาตรฐานของบัณฑิตศึกษาให้สูงขึ้น โดยในมหาวิทยาลัยหลายแห่งเริ่มมีการกำหนดให้บัณฑิตปริญญาเอกมีการตีพิมพ์ผลงานจากวิทยานิพนธ์

(.) () (.) (.) 5,000 15 (2540-2554) . 3 (1) (2) / 10% (3) . . . 1,700 1,570 1,338 300 37 500 360 72% 43 9% . 1.7 / 6 /. 5,000 21,500 . 1,195 27 (.) . (.) .

ในสายตาของผม คปก. มีคุณูปการต่อสังคมไทยในระดับรากฐานดังนี้
1. สร้างความมั่นใจตนเอง ให้แก่วงการอุดมศึกษาไทย ว่าเราสร้างบัณฑิตระดับปริญญาเอกในมาตรฐานสากลได้ หากมีการสนับสนุนจริงจัง และมีการจัดการที่ชาญฉลาด
2. เป็นกลไกขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งไปสู่มหาวิทยาลัยวิจัย
3. เป็นกลไกขับเคลื่อนให้นักวิจัยระดับยอดของประเทศได้สร้างทีมวิจัย และอาชีพนักวิจัย – นักวิจัยอาชีพ
4. เปลี่ยนความสัมพันธ์กับวงการวิจัยต่างประเทศ ให้เป็นความสัมพันธ์ในระดับที่เท่าเทียม โดยเราคุมโจทย์วิจัยของเราเอง เป็นโจทย์วิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองของเรา
5. ลดค่าใช้จ่ายในการส่งคนไปทำปริญญาเอกในต่างประเทศ เราผลิตได้ในคุณภาพเท่าเทียมกันในค่าใช้จ่ายเพียง ๑/๓


น่าเสียดายที่ผู้บริหาร/นักการเมือง ไทย ไม่รู้จักการทำประโยชน์ให้แก่ประเทศโดยการต่อยอดความสำเร็จ หันไปสร้างโครงการใหม่ๆ เพื่อให้ได้ตราของตนเอง (เป็นโรค NIH) โดยที่โครงการใหม่ๆ เหล่านั้นล้มแล้วล้มอีก แล้วก็เกิดใหม่ ตามโรค NIH
วงการอุดมศึกษา และวงการวิจัย ควรออกมาเรียกร้องให้มีการจัดสรรงบประมาณให้แก่ คปก. เพิ่มขึ้น ๒ – ๓ เท่า เวลานี้วงการอุดมศึกษา – วิจัย ไทย มีความสามารถผลิตปริญญาเอกระดับคุณภาพได้ปีละ ๖๐๐ – ๘๐๐ คน ซึ่งจริงๆ แล้วยังไม่พอใช้ ถ้าไม่เอาจริงเอาจังในเรื่องนี้ ประเทศของเราจะก้าวเข้าสู่ “สังคมอุดมปัญญา” (Knowledge-based Society) ได้แบบสังคมสมองลีบ
วิจารณ์ พานิช
๑๖ เมย. ๔๙


คำหลัก: อุดมศึกษา การวิจัย สังคมอุดมปัญญา มหาวิทยาลัย การบริหารงานวิจัย
โดย Prof. Vicharn Panich ลิงค์ที่อยู่ถาวร ความคิดเห็น (5)
สร้าง: อา. 16 เม.ย. 2549 @ 09:06 แก้ไข: พ. 08 ส.ค. 2550 @ 02:42
« เก่ากว่า ใหม่กว่า »
ความคิดเห็น

ptk
เมื่อ อา. 16 เม.ย. 2549 @ 18:39 [22498] [ลบ]
Fulbright is happy to play a modest role as a partner of RGJ ka. Direct exposure to international settings could help widen researchers' perspectives and create networks for their future joint cooperation.

We only wish we could have more funding to allow us to offer some grants in actual $ terms and for RGJ students so they can stay in the US longer, in addition to our in-kind contribution like health insurance, placements and others.

However, I'd also like to point out that we could potentially lead to wider networks of academics from around the world as RGJ students on our Fulbright program are entitled to attend an academic seminar to meet with Fulbrighters from around the world. Thus, its value could be much higher than the actual $ itself ka.

Ptk


มองไม่เหมือน แต่ไม่ขอแย้งในเป้าหมาย
เมื่อ อ. 18 เม.ย. 2549 @ 15:14 [22906] [ลบ]
ผมไม่มั่นใจในปริมาณ ดร.ว่าจะมีคุณภาพที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศมากนัก เพราะเท่าที่เคยทราบว่ามีระดับ ดร.ที่ได้สร้างผลงานสาธารณะประโยชน์จริงๆนั้นมีเพียงไม่กี่ท่าน ส่วนมากเมื่อเป็น ดร.แล้วก็เลิกทำวิจัย และหยุดพัฒนาตนเอง รวมทั้งความรู้ที่ถ่ายทอดในหน้าที่การสอน ประเภทเรียนมาแค่ไหน ก็สอนแค่นั้น หรือไม่ก็ไม่ได้ทำงานในสายที่เรียนมา ซึ่งเป็นภาพสะท้อนเดิมๆของการศึกษาไทยในระดับปริญญาที่สูญเปล่ามานานเพราะไม่สามารถตอบสนองงานที่ทำด้วยความรู้ในสาขาวิชาที่เรียนมา งานแทบทุกสาขาอาชีพต้องมาเรียนรู้กับงานจริงกันใหม่เสมอ
ส่วนโครงการ ป.โท ในขณะนี้ส่วนมากไร้คุณภาพมากๆ มันเป็นค่านิยมแบบผิดๆที่ใครๆมีเงินก็จบได้ ถ้าจ่ายค่าเทอมครบ ลอกงานส่งครบ โผล่ให้ อจ.เห็นหน้าบ้างก็พอ อีกทั้งไม่สนับสนุนให้ทำวิทยานิพนธ์และงานวิจัย เพราะโครงการหลายแห่งไม่มี อจ.ที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติครบเพียงพอ อีกทั้งยังรับเด็กด้อยคุณภาพมาเรียน จะเข้มปกติก็อาจจะมีคนจบเพียงไม่กี่คนและทำให้หลักสูตรขายยากขึ้นไปอีก และในบางแห่งก็ทำเพื่อจะได้ค่าหน่วยกิตเพิ่มอีก ถ้าไปเรียนใน ป.เอกต่อ๖ ( ตามระเบียบของ สกอ.ถ้าจบ ป.โทแบบไม่ทำวิทยานิพนธ์ ก็จะต้องลงทะเบียนเพิ่ม 20-30 หน่วยกิต ค่าเรียนพอๆกับลงเรียน ป.โทอีกครั้ง ) โครงการส่วนมากพยายามให้ นศ.จบทั้งหมดโดยเร็วเพื่อลดต้นทุนและให้เหลือกำไรเยอะๆมากกว่าจะคำนึกถึงคุณภาพ มีการทำตลาดแบบตีหัวเข้าบ้าน ด้วยการไปเปิดวิทยาเขตไปทั่วทุกแห่ง พอแนวโน้มไม่มีคนเรียนก็ปิดโครงการ บางวิทยาเขตมีจบได้รุ่นเดียวก็ปิดแล้ว ส่วนเรื่องการสอนของ อจ.ก็จะมีการใช้ระดับที่มีชื่อเสียงมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ช่วยขาย และเมื่อเข้ามาเรียน ท่าน อจ.เหล่านี้ก็จะแปลงร่างเป็นนินจา โผล่มาสอนไม่กี่ครั้ง ทุกวันนี้เป็นสงครามแย่งชิงตลาดกันแบบสุดๆ ค่าเรียนทั้งหลักสูตรมีตั้งแต่สองหมื่นกว่าจนถึงห้าหกแสนบาท มหาลัยในกรุงเทพหลายแห่งก็จะเดินสายไปเปิดวิทยาเขตใหม่ในต่างจังหวัดทุกเดือน และมหาลัยจากต่างจังหวัดก็แห่มาเปิดวิทยาเขตในกรุงเทพเกือบทุกมหาลัย ส่วนการเรียนการสอนนั้นไม่ต่างกับระดับ ป.ตรี และในบางวิชาแย่กว่าเสียอีก ส่วนตัวมหาบัณฑิตที่จบหลายคนนำวุฒิ ป.โท ของมหาลัยที่เรียนไปสมัครงาน ส่วนมากจะไม่มีใครกล้ารับเพราะกลัวจะต้องจ้างแพงไม่คุ้มกับคุณภาพที่ได้รับ จึงทำพวกเขาต้องนำวุฒิ ป.ตรีไปสมัครแทน ไม่งั้นพวกเขาก็จะต้องตกงานไปอีกนาน
ส่วนโครงการ ป.เอกนั้นมีหลายมหาลัยที่เปิดสอน มีคนไปสมัครเรียนมากมาย แต่เท่าที่รู้มีโอกาสจบกันน้อยมาก เพราะ หลายมหาลัยขาดความพร้อมและไม่มีการสอบคัดเลือกอย่างจริงจัง มีแต่คนเรียนที่ขาดคุณภาพเสียส่วนมาก บางมหาลัยก็มุ่งแต่เปิดเพื่อเป็นหน้าเป็นตาและสร้างรายได้เท่านั้น บางแห่งคนที่จบได้นั้นอาจจะต้องมีอิทธิพลมาสนับสนุน ถึงจะจบได้ ดังนั้นคุณภาพไม่ต้องไปพูดถึงหรือคาดหวังมากนัก ดูจากหัวข้อและเนื้อหาที่ทำวิจัยกัน ส่วนมากก็แทบจะลอกมาจากวิทยานิพนธ์ของ ป.โท แตกต่างเพียงยัดและขยายวรรณกรรมซ้ำซากให้ดูใหญ่โตกว่าเท่านั้น และมักจะเป็นเรื่องของการทบทวนวรรณกรรมมากกว่าที่จะสร้างนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมา ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาทั้งขั้นของเมืองไทยที่ไม่ได้สร้างระบบความคิดสร้างสรรค์ให้เลย แถมยังเข้าใจผิดๆเสียอีกว่า ความคิดสร้างสรรค์นั้นเป็นเรื่องของงานทางด้านศิลปะเท่านั้น จึงไม่แปลกที่ประเทศของเรายังเป็นได้เพียงผู้บริโภคสินค้าลิขสิทธ์ของต่างชาติมาแต่โบราณและอาจจะตลอดไป ซึ่งตรงนี้ผมจึงเห็นแย้งกับท่านว่า ปริมาณของ ดร.ไทยที่มากขึ้นนั้นไม่สามารถชี้วัดโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของประเทศได้มากเท่าใดนัก ตราบใดที่พวกเขาเหล่านั้นมีทั้งความรู้และความเชี่ยวชาญแต่ไม่สามารถนำไปสร้างสรรค์และพัฒนาใช้ได้มากกว่าเดิม




เกษตรชายแดน
เมื่อ อา. 23 เม.ย. 2549 @ 19:19 [24260] [ลบ]
เห็นด้วยกับข้อคิดเห็นคุณ"มองไม่เหมือน..."โดยเฉพาะการเข้าใจความหมายของคำ"ความคิดสร้างสรรค์"ของคนในสังคมสมัยนี้ อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมการศึกษาวิจัยในระดับ ป.เอกสาขาที่ขาดแคลนดังกล่าวข้างต้นโดยวิธีประหยัดแต่มีประสิทธิภาพ เป็นภารกิจของรัฐบาล(ที่ดี)ที่ต้องเร่งดำเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรม.


รักเมืองไทย
เมื่อ อา. 28 พฤษภาคม 2549 @ 09:04 [35614] [ลบ]
Sometimes, we need to give people a chance. However, two most important things that all graduate need to possess are knowledge contribution and leadership (a die heart for learning, studying, sharing, and the most important one, being responsible for our beloved country beyond themselves).

เปมิช
เมื่อ อา. 28 พฤษภาคม 2549 @ 15:56 [35742] [ลบ]
เช่นกันครับ
มี ดร.มากไม่แน่ว่าประเทศจะพัฒนาขึ้นมาจริงๆ
คนจบ ดร.มา ไม่รู้ว่าจะอุทิศตัวทำวิจัยเพื่อพัฒนาชาติหรือปล่าว หรือเพื่อผลประโยชน์แห่งตนเป็นหลัก
หลาย ดร. แทบไม่ทำวิจัยอะไรเลย
หลาย ดร. ต้องการเพียงแค่ มี ดร.นำหน้า คนจะได้นับหน้าถือตา แค่นั้นเอง
หลายคนต้องการ ดร. มานำหน้าก็เพื่อให้เงินเดือนขึ้น หรือเพื่อเปลี่ยนงาน สู่งานที่รายได้ดีกว่า
อย่างไรก็ตามผมก็เห็นด้วยกับโครงการนี้ครับ
อย่างน้อยก็ช่วยชาติลดการเสียดุลไปบ้างไม่มากก็น้อย
คนเรียนเก่งที่สุดไม่ได้แปลว่าจะเป็นคนดีที่สุดครับ
อยากจะฝากว่า ถ้ามีใครสักคนตั้งใจแน่วแน่ที่จะเข้าศึกษาตามโครงการนี้ ก็รับเข้าไว้เถอะครับ
เพราะจากประสบการณ์พบว่ามี ดร.หลายคน ที่สมัยเรียน ป.ตรี ผลการเรียนก็ไม่โดดเด่นนัก คือมีต่ำกว่า 2 บ้างในบางเทอม และบางคนก็เคยติด E ในวิชาเอก มาแล้ว แต่ ณ วันนี้ก็เป็น ดร.ไปมากแล้ว
คนที่เก่งไม่มาก (เรียนจบแบบเกรดไม่สูง) แต่ถ้าเป็นคนดี และตั้งใจรับใช้ชาติ ก็น่าจะรับไว้พิจารณานะครับ
การรับแต่คนเรียนเยี่ยม นี่ก็นับว่าชาติขาดโอกาสที่จะได้คนดีไปบ้างไม่มากก็น้อย
รับไปก่อน ถ้าไม่ได้มาตรฐาน ก็ไม่ให้ผ่าน ยังดีเสียกว่าให้เขาด้องขนเงินไปเรียนเมืองนอก ซึ่งจบมาแล้วได้มาตรฐาน (ตามที่เราจินตนาการไว้) หรือปล่าวเราก็ไม่ทราบ
การรับเฉพาะคนเรียนเยี่ยมทำให้ชาติเสียดุลย์ไปไม่น้อย เพราะมีหลายคนที่บ้านฐานะดี (แต่ไม่เกียรตินิยม) ก็ส่งลูกไปชุบตัวยังต่างประเทศกันมากมายในแต่ละปี
คนอยากเรียน (ป.เอก) แต่ไม่เกียรตินิยม และไม่รวย ก็ได้แต่มองตาปริบๆ
มี ดร.ท่านหนึ่งกล่าวว่า "ทุนเรียนดี แต่ยากจน" ไม่ make sense เพราะคนรวยเท่านั้นถึงเรียนดี (มีโอกาสน้อยมากที่คนจนจะเรียนดีกว่าคนรวย)

เพราะอะไรหรือครับ

ลูกคนจนโหนรถเมล์ไปเรียน ในขณะที่ลูกคนรวยนั่งรถเก๋ง มีคนขับให้ มีคนป้อนอาหารให้ ในขณะที่นักเรียนก็ท่องหนังสือไปในรถ
เลิกเรียนก็มีรถมารับไปเรียนพิเศษ
ได้มีโอกาสเรียนพิเศษกับอาจารย์เก่งๆ
สามารถซื้อหนังสือมาอ่านได้มากมาย
มี Internet ไว้ค้นคว้า
มี Cable TV ไว้ดูสารคดี
ฯลฯ
ดังนั้นทุนเรียนดีแต่ยากจน ควรตัดคำว่าเรียนดีออกไป หรือเปลี่ยนเป็น "ทุนคนอยากเรียนแต่ยากจน"

กลับมาที่โครงการป.เอก กาญจนาภิเษก ก็ควรดำเนินไปในทำนองนี้บ้างคือ เพื่อ คนอยากเรียนแต่ยากจน

ไม่ทราบว่ามีการวิจัยสัมฤทธิผลของโครงการ ป.เอกกาญจนาภิเษกนี้บ้างหรือไม่ว่า

ตั้งแต่เริ่มโครงการมีคนจบดร.ไปแล้วกี่คน
และคนเหล่านี้มีผลงงานวิจัยต่อคนต่อปี เป็นจำนวนกี่เรื่อง
ตรงตามที่เจ้าของโครงการจินตนาการไว้หรือไม่
งานวิจัยมีคุณภาพแค่ไหน
ใช้ประโยชน์ได้หรือไม่
หรือสำหรับขึ้นหิ้งได้อย่งเดียว
ถ้ายังไม่ตรงตามที่คิดไว้ก็ควรมีการทบทวนกันใหม่

ที่มา gotoknow
-----------------------------------------------------------------------------------

สำหรับทุนนี้น่ะครับผมมีความเห็นว่าสำคัญสำหรับชาติมากมากเลย แต่ผมชอบคนที่แสดงความคิดว่า "อยากให้มีทุนสำหรับผู้อยากเรียนมากกว่าแบบว่าอยากเรียนแต่อยากจน "



Create Date : 19 สิงหาคม 2550
Last Update : 19 สิงหาคม 2550 21:02:50 น.
Counter : 932 Pageviews.

5 comments
อย่ามาบ้ง!นะ peaceplay
(5 เม.ย. 2567 15:53:18 น.)
วิธีถามราคาสินค้าเป็นภาษาอังกฤษ khatha0808
(2 เม.ย. 2567 00:05:26 น.)
สรุปวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.5) เรื่องเอกซ์โพเนนเชียล & ลอการิทึม นายแว่นขยันเที่ยว
(27 มี.ค. 2567 00:52:25 น.)
AI คืออะไร ? ข้อดีของ AI Technology Robotic เข้ามาช่วยในการผ่าตัด newyorknurse
(19 เม.ย. 2567 02:45:03 น.)
  
สวัสดีค่ะ เพื่อนชาว bloggang ยินดีที่ได้รู้จักนะค่ะ
โดย: กระแต.com (whitejass417 ) วันที่: 24 สิงหาคม 2550 เวลา:20:00:34 น.
  
ยินดีที่ได้รู้จักเช่นกันน่ะครับผม
โดย: werton วันที่: 26 สิงหาคม 2550 เวลา:17:31:15 น.
  
การที่มีคนเรียนจบปริญญาเอกจำนวนมากไม่ได้แปลว่า้ระบบวิจัยของประเทศจะเข้มแข็งขึ้นนะคะ
และไม่ได้แปลว่าจะมีเทคโนโลยีใหม่เพื่อมาพัฒนาประเทศด้วย

งานวิจัยเท่าที่เห็นก็เพื่อได้ตีพิมพ์ ซึ่งผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เราก็รู้ๆกันอยู่แล้วว่า มีไม่ถึงยี่สิบเปอร์เซ็นต์ที่เป็นผลงานที่มีค่า ทั้งนี้คำว่ามีค่าไม่ได้วัดจากจำนวนคน reference ผลงานของเรา แต่ขึ้นอยู่กับคุณค่าของมันจริงๆต่างหาก มีนักวิจัยอยู่จำนวนมากที่พอทำวิจัยได้เล็กน้อยแต่เขียนตีพิมพ์เก่ง เรียกว่าขายของเก่งว่างั้นเถอะ อ่านงานวิจัยเขาเถอะ ทั้งสิบ paper ์ในหนึ่งปี ไม่มีเรื่องใหม่ๆเลย เขียนแบบนู้นที แบบนี้ที แล้วก็ชื่นชมยกย่องกันดูแค่จากจำนวนว่าได้ผลิตผลงานออกมาปีละกี่ฉบับ ได้ยินคนเขาชื่นชมกันทุกครั้ง ดิฉันรู้สึกคลื่นไส้ ที่เห็นอยู่มีสักกี่คนที่ละอายกับสิ่งที่ทำอยู่บ้าง หรือรู้ตัว หรือแค่รู้ ว่าสิ่งที่ทำอยู่ไม่ใช่การทำงานวิจัย ควรไปเขียนหนังสือขายมากกว่า เพราะเก่งในการเขียนของหนึ่งอย่างให้เป็นหลายๆแบบได้ ผลงานที่ออกมา มันควรจะมีค่าอะไร

งานวิจัยที่เกี่ยวกับทางเทคโนโลยีก็เช่นกัน เห็นมีแต่ซื้อเครื่องจักรจากต่าง
ประเทศ งานวิจัยที่ต้องการวิจัยผลิตเครื่องจักรเอง กลับไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร ไอ้ที่เห็นว่าสร้างๆเครื่องจักร คุณต้องดูให้ดีๆ แทบไม่มีที่สร้างจริงๆเลย ส่วนใหญ่จะซื้อของคนอื่นเข้ามาประกอบค่ะ แล้วหน้าด้านบอกว่าสร้างเครื่องจักร

เท่าที่อ่านดูเห็นว่าคุณยังมีศรัทธากับระบบการศึกษาไทยพอสมควร แต่ดิฉันใกล้หมดศรัทธาแล้วค่ะ นักศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับบัณฑิตมีความรับผิดชอบต่ำมาก ให้ทำอะไรไม่เคยทำได้ ไม่มีความมานะพยายาม ส่วนใหญ่ที่เรียนต่อ คงเป็นเพราะหางานทำไม่ได้ หรือได้ทุนเรียนต่อ ด้วยความเข้าใจแบบผิดๆว่า การจบปริญญาเอกเป็นสิ่งที่โก้หรู

อาจารย์ส่วนใหญ่ก็เห็นนักศึกษาเป็นเครื่องมือ เอาไว้ปั๊ม paper สอนก็ไม่ตั้งใจสอย เพราะมีจำนวน paper ที่ปั๊มออกมาเอาไว้หลอกตัวเองว่าข้านี้เก่ง ไม่เข้าใจว่าทนตัวเองได้อย่างไร และหลอกนักศึกษาของตนเองให้หลงผิดมาในทางเดียวกัน เรียกว่ามีพวก ว่างั้นเถอะ การที่มีคนคิดและทำเหมือนๆกัน ไม่ได้แปลว่าของที่คิดและทำต้องเป็นสิ่งที่ถูกเสมอไปนะคะ อย่าบอกว่าก็เขาทำกันอย่างนี้ อันนี้ไม่เรียกว่านักวิชาการค่ะ

มีเรื่องอีกมากที่อยากเล่าสู่กันฟัง เช่นงานสายอาชีพที่กำลังใกล้หมดจากสังคมไทย ช่างฝีมือไม่มีแล้ว เพราะคนแห่แหนมาเรียนปริญญาตรีกันหมด เพราะค่านิยมว่าเรียนเก่ง โง่ติดกระดานแบบสมัยก่อนยังเรียนไม่จบประถมหกเลย สมัยนี้จบปริญญาตรี นักศึกษาเป็นที่หาเงินจริงๆนะคุณ พ่อแม่ก็ยินดีจ่าย หาเงินตัวเป็นเกลียวเพื่อมาเจอค่าเล่าเรียนเทอมละแสน แต่เรียนจบแล้วไม่รู้อะไรเลย แถมโง่ลงกว่าเดิม

ลูกศิษย์ดิฉันจบ ปวส ยังมาเรียนให้จบตรี เพราะไม่งั้นหางานทำแล้วได้เงินเดือนน้อยกว่าคนจบปริญญาตรี ทั้งที่คนเรียนจบ ป ตรี ทำอะไรได้น้อยกว่าเขาเยอะ น่าสงสารมากๆ และไม่ทราบว่าระบบการศึกษาไทย (รวมไปถึงออสเตรเลีย ซึ่งเห็นชัดว่าตั้งใจบุกตลาดมาเมืองไทย เพราะจะเอาสตางค์เหมือนกัน เพราะค่านิยมคนเรียนจบนอกเก่งนี่อีก)

ถ้าเราไม่ลืมตามายอมรับความจริง เราก็จะเป็นควายถูกสนตะพายไปเรื่อยๆค่ะ โดนหลอกขูดรีดเงินทองหมดเนื้อหมดตัว ทรัพยากรหมดประเทศ แล้วก็ยังไม่รู้ตัว
โดย: พี่หมูน้อย วันที่: 27 สิงหาคม 2550 เวลา:23:19:13 น.
  
ตอบ: คุณพี่หมูน้อย

ผมคิดว่าแค่ ป.ตรี บางคนน่ะครับ อย่าเหมารวมว่าทุกคนทำงานได้น้อยกว่าคนเรียนต่อเนื่องน่ะครับ เพราะว่าคนเรียน บริษัทที่รับทำงานก็ต้องเห็นว่าคุณสมบัติเหมาะสมแล้ว ตอนผมเรียนป.ตรี งานPROJECT ของอาจารย์ เขียนวงจร เขียนโปรแกรมเอง ผมก็ทำเอง บัดกรีวงจรเอง ทำเองหมด ถึงจะไม่เก่งเท่าพวกที่จบ จากต่อเนื่องมาแต่ก็ทำได้สำเร็จเช่นกัน เรื่องเทคโนยี เรื่องบางเรืองเราต้องยอมรับว่าเรายังตามหลังต่างประเทศอยู่หลายขุมเหมือนกัน อย่างเช่น ตัว IC นี้มันทำมาจาก โรง นิวเคลียร์ แต่ที่ประเทศไทยไม่มี อันนี้ต้องยอมรับ ที่เราทำได้ตอนนี้ก็เพียงแต่สร้างทฤษฏี ขี้นมานั้น คือ paper นั้นแหละครับ ทุกอย่างในโลกนี้ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี ก็มาจาก paper ต่างที่ทำซ้ำๆนี้แหละครับ ผมเห็นว่ามันดีด้วยซ้ำ



ระบบศึกษาประเทศไทยมันก็มีจุดไม่ดีจุดดีของมันเอง ผมยังชื่มชมถึงจะมีแค่กระดาน แต่อย่างน้อยก็เขียน ไม่ใช่ว่าไม่ทำอะไรเลย ผมคิดที่จะศึกษาที่ประเทศไทยนี้แหละครับตามใดที่ยังดูดความรู้จากอาจารย์ไม่หมดคงไม่ไปไหนหรอก


อีกอย่างน่ะครับผมชือ่ชมงานกระดาษมากกว่างานฝีมือ

เพราะงานกระดาษสร้างโลกมาเยอะแล้ว ....
โดย: werton วันที่: 29 สิงหาคม 2550 เวลา:0:08:13 น.
  
ดีจัง
โดย: จอย IP: 203.151.241.119 วันที่: 10 กันยายน 2550 เวลา:21:40:04 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Werton.BlogGang.com

werton
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]