ประเทศภูฏาน (Kingdom of Bhutan)

Druk Yul







Druk Yul ดรุก ยูล
Kingdom of Bhutan
ราชอาณาจักรภูฏาน
คำขวัญ: หนึ่งชาติ,หนึ่งประชาชน
เพลงชาติ: ดรุก เซนเดน

เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด) ทิมพู
27°28′N 89°38′E
ภาษาราชการ ภาษาซองคาและภาษาอังกฤษ
รัฐบาล ประชาธิปไตย ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
- ประมุข สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก
- นายกรัฐมนตรี เลียนโป คันดู วังชุก
การสร้างชาติ
ราชวงศ์วังชุก
17 ธันวาคม พ.ศ. 2450
เนื้อที่
- ทั้งหมด 47,500 กม.² (ลำดับที่ 132)
- พื้นน้ำ (%) น้อยมาก
ประชากร
- 2552 ประมาณ 4,598,556 (อันดับที่ 117)
- 2550 สำรวจ 672,425
- ความหนาแน่น 45/กม.² (อันดับที่ 149)
GDP (PPP) 2550 ประมาณ
- รวม 3.181 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 152)
- ต่อประชากร 3,330 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 124)
HDI (2546) 0.536 (กลาง) (อันดับที่ 134)
สกุลเงิน งุลตรัม (BTN)
เขตเวลา BTT (UTC+6:00)
- ฤดูร้อน (DST) not observed (UTC+6:00)
รหัสอินเทอร์เน็ต .bt
รหัสโทรศัพท์ +975

ภูฏาน (Bhutan) (อ่านว่า พู-ตาน /buː'tɑːn/ (ข้อมูล)) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรภูฏาน (Kingdom of Bhutan) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ที่มีขนาดเล็ก และมีภูเขาเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยระหว่างประเทศอินเดียกับจีน

ชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศคือ Druk Yul (อ่านว่า ดรุก ยุล) แปลว่า "ดินแดนของมังกรสายฟ้า (Land of the Thunder Dragon) " นอกจากนี้ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen เนื่องจากที่ภูฏาน เสียงสายฟ้าฟาดถือเป็นเสียงของมังกร

ส่วนชื่อ ภูฏาน (Bhutan) มาจากคำสมาสในภาษาสันสกฤต ภู-อุฏฺฏาน อันมีความหมายว่า "แผ่นดินบนที่สูง" (ในภาษาฮินดี สะกด भूटान ถอดเป็นตัวอักษรคือ ภูฏาน)

ประเทศภูฏาน เป็นประเทศที่ประกาศว่า จะไม่สนใจ GDP (GDP - Gross Domestic Product หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) แต่จะสนใจ GDH แทน (GDH - Gross Domestic Happiness หรือ ความสุขรวมภายในประเทศ)

ประวัติศาสตร์

ในปี พ.ศ. 2173 ดรุกปา ลามะ ลี้ภัยจากทิเบตสู่ภูฏาน ต่อมาได้ตั้งตัวขึ้นเป็น ธรรมราชา ปกครองครองดินแดนด้วยระบบศาสนเทวราช มีคณะรัฐมนตรีช่วย 4 ตำแหน่ง แม้ภูฏานจะพยายามแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยว

แต่ต่อมาก็ถูกรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะทิเบตอยู่หลายครั้งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 ถึง 23 ในระยะต่อมาก็ยังถูกรุกรานโดยอังกฤษซึ่งมีอำนาจอยู่ในอินเดียก่อนที่จะได้เจรจาสงบศึกกัน ในปี พ.ศ. 2453

การเมือง

มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ภายใต้การปกครองโดย สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 5 ของราชวงศ์วังชุก

ทรงปกครองประเทศโดยมีคณะองคมนตรีเป็นที่ปรึกษา และสภาแห่งชาติที่เรียกว่า ซงดู (Tsongdu) ทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย ประกอบด้วยสมาชิก 161 คน

สมาชิก 106 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
สมาชิก 55 คน มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์

ในสมัยศตวรรษที่ 17 นักบวช ซับดุง นาวัง นำเยล (Zhabdrung Ngawang Namgyal) ได้รวบรวมภูฏานให้เป็นปึกแผ่นและก่อตั้งเป็นประเทศขึ้น และในปี 2194 นักบวชซับดุงได้ริเริ่มการบริหารประเทศแบบสองระบบ คือ แยกเป็นฝ่ายฆราวาสและฝ่ายสงฆ์

ภูฏานใช้ระบบการปกครองดังกล่าวมาเป็นเวลากว่าสองศตวรรษ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2450 พระคณะที่ปรึกษาแห่งรัฐ ผู้ปกครองจากมณฑลต่าง ๆ ตลอดจนตัวแทนประชาชนได้มารวมตัวกันที่เมืองพูนาคา

และทำการเลือกอย่างเป็นเอกฉันท์ให้ อูเก็น วังชุก (Ugyen Wangchuck) ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ปกครองเมืองตองซา (Trongsa) ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรกของภูฏาน

โดยดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์แรกแห่งราชวงศ์วังชุก (Wangchuck) เนื่องจากคุณสมบัติที่โดดเด่นของพระองค์ตั้งแต่ครั้งยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้ปกครองเมืองตองซา ทรงมีลักษณะความเป็นผู้นำและเป็นผู้นำที่เคร่งศาสนา และมีความตั้งพระทัยแน่วแน่ที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น

ราชวงศ์วังชุกปกครองประเทศภูฏานมาจนถึงปัจจุบันสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก (Jigme Khesar Namgyal Wangchuck) ขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2549 เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก

ภูฏานจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นครั้งแรกในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2551 มีพรรคการเมืองสองพรรค

การแบ่งเขตการปกครอง

ประเทศภูฏานแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 เขตบริหาร (administrative zones - dzongdey) แต่ละเขตบริหารแบ่งย่อยลงไปอีกเป็น มณฑล (districts - dzongkhag) รวมทั้งหมด 20 มณฑล ได้แก่


แผนที่แสดงมณฑลของประเทศภูฏาน
1.มณฑลบุมทัง
2.มณฑลชูคา
3.มณฑลดากานา
4.มณฑลกาซา
5.มณฑลฮา

6.มณฑลลฮุนต์ชิ
7.มณฑลมองการ์
8.มณฑลพาโร
9.มณฑลเปมากัตเซล
10.มณฑลพูนาคา

11.มณฑลซัมดรุปจงคาร์
12.มณฑลซัมชิ
13.มณฑลซาร์ปัง
14.มณฑลทิมพู
15.มณฑลตาชิกัง

16.เขตตาชิยังต์ซี
17.มณฑลตงซา
18.มณฑลชิรัง
19.มณฑลวังดีโพดรัง
20.มณฑลเชมกัง

สัญลักษณ์ประจำชาติ

วัดป่าทักชัง - Taktshang Goemba หรือ "รังเสือ - Tiger Nest" อันเป็นที่เคารพสักการะยิ่งของชาวพุทธในภูฏาน ตั้งอยู่บนหน้าผาสูง 900 เมตรชายเขตเมืองปาโร

สัตว์ประจำชาติ : ทาคิน เป็นสัตว์ที่หายาก เพราะมีอยู่ในดินแดนภูฏานเพียงแห่งเดียว และอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ มีลักษณะคล้ายวัวผสมแพะตัวใหญ่ มีเขา ขนตามตัวมีสีดำ มักจะอาศัยอยู่กันเป็นฝูงในป่าโปร่ง บนความสูงกว่า 4,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป ชอบกินไม้ไผ่เป็นอาหาร

ต้นไม้ : ต้นสนไซปรัสนิยมปลูกตามวัด

ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกป๊อปปี้สีฟ้า เป็นดอกไม้ป่าที่พบตามเขตภูเขาในภูฏาน

อาหารประจำชาติ : อาหารพื้นบ้านเป็นอาหารเรียบง่าย อาหารหลักเป็นทั้งข้าว บะหมี่ ข้าวโพด ยังนิยมเคี้ยวหมากอยู่ อาหารส่วนใหญ่ประกอบด้วยพริก ผักและมันหมู อาหารประจำชาติคือ emadate ซึ่งประกอบด้วยพริกสดกับซอสเนยต้มกับหัวไชเท้า มันหมูและหนังหมู

ชาวภูฏานนิยมอาหารรสจัด เครื่องดื่มมักเป็นชาใส่นมหรือน้ำตาล ในฤดูหนาวนิยมดื่มเหล้าหมักที่ผสมข้าวและไข่ ไม่นิยมสูบบุหรี่ นอกจากนั้นมีอาหารจากทิเบต เข่นซาลาเปาไส้เนื้อ ชาใส่เนยและเกลือ และอาหารแบบเนปาลในภาคใต้ที่กินข้าวเป็นหลัก

ธงชาติภูฏาน

สีเหลือง ครึ่งบนของธงชาติ หมายถึง อำนาจของพระมหากษัตริย์ เป็นสีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม

สีส้ม ครึ่งล่างของธงชาติ หมายถึง การปฏิบัติธรรมและความเลื่อมใสและศรัทธาของชาวภูฏานที่มีต่อศาสนาพุทธ

มังกรที่อยู่ตรงกลางของธงชาติ หมายถึง ประเทศดรุกยุล มีความหมายว่าดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า ตัวมังกรมีสีขาวบริสุทธิ์ อันเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีของคนทุกเชื้อชาติ ทุกภาษาที่อยู่ในประเทศ ท่าทีที่มังกรกำลังอ้าปากคำรามนั้น แสดงออกถึงความมีอำนาจน่าเกรงขามของเหล่าพระผู้เป็นเจ้าทั้งชายและหญิงที่ปกป้องภูฏาน

ภูมิประเทศ

สภาพภูมิประเทศมีลักษณะเป็นเทือกเขาประเทศภูฏานเป็นประเทศที่มีขนาดเล็ก มีพื้นที่ประมาณ 38,394 ตารางกิโลเมตร (ขนาดใกล้เคียงกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์) ตั้งอยู่เหนือรัฐอัสสัมของประเทศอินเดีย ภูฏานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ปรากฏภูมิประเทศ 3 ลักษณะ

1. เทือกเขาสูงตอนเหนือ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย
2. ที่ลาดเชิงเขา พบตอนกลางของประเทศ
3. ที่ราบ พบตอนใต้ของประเทศ มีแม่น้ำพรหมบุตรพาดผ่าน

ภูมิอากาศ

เนื่องจากภูฏานเป็นประเทศขนาดเล็ก ลักษณะภูมิอากาศจึงไม่แตกต่างกันมากนัก โดยมากเป็นภูมิอากาศแบบกึ่งร้อนมีฝนชุก ยกเว้นตอนเหนือซึ่งเป็นภูเขาสูง ทำให้มีอากาศแบบหนาวเทือกเขา

อากาศ กลางวัน 25 - 15 องศาเซลเซียส กลางคืน 10 - 5 องศาเซลเซียส มี 4 ฤดู คือ

ฤดูใบไม้ผลิ จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ช่วงนี้อากาศจะอบอุ่นและอาจมีฝนประปราย

ฤดูร้อน จะอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม ช่วงนี้จะมีพายุฝน ตามเทือกเขาจะเขียวชอุ่ม

ฤดูใบไม้ร่วง จะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน - พฤศจิกายน ช่วงนี้อากาศจะเย็น ท้องฟ้าแจ่มใส เหมาะแก่การเดินเขา

ฤดูหนาว จะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์ อากาศจัดเย็นจัดตอนกลางคืนและรุ่งเช้า และจะมีหมอกหนา บางครั้งโดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม อาจมีหิมะตกบ้าง

เศรษฐกิจ

สกุลเงินของภูฏานคืองุลตรัมซึ่งผูกค่าเงินเป็นอัตราคงที่กับรูปีอินเดีย และเงินรูปียังสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายอีกด้วย

แม้ว่าภูฏานจะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็กที่สุดในโลก แต่ก็มีอัตราการเติบโตที่สูงมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา (ร้อยละ 8 ในปี 2005 และร้อยละ 14 ในปี 2006) ในปี 2007 ภูฏานเป็นประเทศที่มีอัตราเติบโตสูงเป็นอันดับสองของโลกโดยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึงร้อยละ 22.4ซึ่งเป็นผลจากการเริ่มใช้เขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าทาลา

รายได้หลักของประเทศ มากกว่าร้อยละ 33 ของจีดีพี มาจากการเกษตร และประชากรกว่าร้อยละ 70 มีวิถีชีวิตขึ้นอยู่กับผลิตผลทางการเกษตรด้วย สินค้าส่งออกสำคัญคือไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ ซึ่งส่งออกไปยังอินเดีย

ทรัพยากรธรรมชาติ

ในภูฏานมีพื้นที่ป่าถึง 60% มีอุทยานแห่งชาติ 4 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 4 แห่ง และเขตสงวนธรรมชาติ 1 แห่ง คิดเป็น 35% ของพื้นที่ประเทศ ในพื้นที่ดังกล่าวมีสัตว์และพืชหายากมากกว่า 7,000 ชนิด มีกล้วยไม้เฉพาะถิ่น 300 เขต และพันธุ์ไม้หายากอีกราว 500 ชนิด และมีสมุนไพรหายากราว 150 ชนิด

ประชากร
จำนวนประชากร 752,700 คน (เมื่อปี พ.ศ. 2547) เป็นชาย 380,090 คน และหญิง 372,610 คน

อัตราการเพิ่มของประชากรร้อยละ 2.14 (เมื่อปี พ.ศ. 2546)

เชื้อชาติ ประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ ได้แก่

ชาร์คอป (Sharchops) ชนพื้นเมืองดั้งเดิม ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออก

งาลอบ (Ngalops) ชนเชื้อสายธิเบต ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันตก

โลซาม (Lhotshams) ชนเชื้อสายเนปาล ส่วนใหญ่อยู่ทางใต้

กลุ่มประชากรของภูฏาน แบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ คือ
กลุ่มดรุกปา ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มเชื้อสายธิเบต

กลุ่มซังลา ที่ถือว่ามีจำนวนมากที่สุด เนื่องจากจะแยกออกตามภาษาท้องถิ่นที่ใช้ที่มีประมาณ 11 ภาษา กลุ่มนี้จะอาศัยทางทิศตะวันออกของประเทศ

กลุ่ม เนปาล คือส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ แต่ปัจจุบันนี้ทางรัฐบาลของประเทศภูฏาน ได้พยายามผลักดันให้ประชากรเหล่านี้กลับไปยังถิ่นฐานเดิมคือประเทศเนปาล

กลุ่มชนอื่น ๆ อีก 13% คือชาวธิเบต ชาวสิกขิม และชาวอินเดีย

วัฒนธรรม

การแข่งขันธนู เป็นการแข่งขันกีฬาที่สำคัญของชาวภูฏาน

ภาษาประจำชาติ คือภาษาซองคา ซึ่งแต่เดิมเป็นภาษาท้องถิ่นแถบตะวันตกของภูฏาน ต่อมาได้กลายเป็นภาษาประจำชาติ เขียนด้วยอักษรทิเบต นอกจากนั้นมีการใช้ภาษาถิ่นที่ต่างไปในแต่ละพื้นที่ ภาษาของชาวภูฏานคล้ายภาษาทิเบตชาวเนปาลทางภาคใต้พูดภาษาเนปาลี ทางตะวันออกพูดภาษาชาชฮอป ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ทั่วไป

เครื่องแต่งกายประจำชาติ ผู้ชายเรียกว่า โฆ (Kho) ส่วนของผู้หญิงเรียกว่า ฆีระ (Khira)

วันหยุดและเทศกาล

วันหยุดที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ได้แก่วันเฉลิมพระชนมพรรษา และวันฉัตรมงคล

วันชาติ ตรงกับวันที่ 17 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันที่กษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์วังชุกขึ้นครองราชย์

วันขึ้นปีใหม่ ขึ้นกับปฏิทินทางจันทรคติและแตกต่างไปในแต่ละท้องถิ่นโดยทั่วไปในงานจะมีการแข่งขันยิงธนู ไหว้พระ บูชาเทพเจ้า และรับประทานอาหารร่วมกันภายในครอบครัว

ศาสนา

ประชาชนชาวภูฏานนับถือ ศาสนาพุทธนิกายมหายาน (ตันตรยาน หรือบ้างก็เรียกว่า วัชรยาน) 75% ศาสนาฮินดู 24% ศาสนาอิสลาม 0.7% และ ศาสนาคริสต์ 0.3%


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ภุมวารสิริสวัสดิ์ - มานมนัสสวัสดิ์สิริ ที่มาอ่านค่ะ



Create Date : 26 ตุลาคม 2552
Last Update : 6 ธันวาคม 2552 14:03:53 น.
Counter : 2121 Pageviews.

0 comments
เข็นเด๊กขี้นภูเชา : 12ข้อ เพื่อความเข้มแข็งทางใจให้เด็กๆ newyorknurse
(18 มี.ค. 2567 04:29:26 น.)
ฉลากยา คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร มีแบบไหนบ้าง เพนกิ้นของคุณไข่
(1 มี.ค. 2567 10:15:53 น.)
ริเน็น ปรัชญาการทำธุรกิจของญี่ปุ่น peaceplay
(19 ก.พ. 2567 05:58:41 น.)
การเลี้ยงดูและคำพูดแบบไหนทำให้เด็กๆเติบโตไปมีแนวโน้มไม่มั่นใจตัวเอง newyorknurse
(9 ก.พ. 2567 07:25:36 น.)

Vinitsiri.BlogGang.com

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]

บทความทั้งหมด