ไรน์แลนด์ (ภาษาเยอรมัน: Rheinland)






อาณาเขตของแคว้นไรน์แลนด์ แสดงเป็นสีเหลือง





ไรน์แลนด์ (ภาษาเยอรมัน: Rheinland) เป็นชื่อทั่วไปที่ใช้เรียกดินแดนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไรน์ ในเยอรมนีตะวันตก หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิฝรั่งเศสในตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 19

แคว้นไรน์แลนด์เป็นแคว้นที่มีประชากร พูดภาษาเยอรมันเป็นส่วนใหญ่ ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนล่างของแม่น้ำไรน์ ซึ่งเคยถึงผนวกเข้ากับอาณาจักรปรัสเซีย กษัตริย์แห่งปรัสเซียได้เปลี่ยนชื่อแคว้นใหม่ว่า มณฑลไรน์ (หรือ Rhenish Prussia)

หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ภาคตะวันตกของแคว้นไรน์แลนด์ถูกยึดครอง โดยกองทัพมหาอำนาจไตรภาคียึดครอง ตามข้อตกลงในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เยอรมนีได้รับแคว้นไรน์แลนด์คืนเมื่อปี 1936


ภูมิศาสตร์

แคว้นไรน์แลนด์นั้นตั้งอยู่ในภาคตะวันตกของเยอรมนี และมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยี่ยมและเนเธอร์แลนด์ ลักษณะภูมิประเทศทางด้านใต้ และด้านตะวันออกเป็นเขตเนินเขา และมีแม่น้ำไหลผ่าน แม่น้ำสองสายที่มีความสำคัญ คือ แม่น้ำไรน์และแม่น้ำโมเซล และทางเหนือมีอาณาเขตติดต่อกับแคว้นรูร์

ความเกี่ยวข้องกับการเมือง

มณฑลไรน์ได้ถูกจัดตั้งเมื่อปี 1824 โดยการรวมตัวกันของแคว้นไรน์ตอนล่างกับแคว้นจวูลิช-คลีฟส์-เบิร์ก มีเมืองหลวงอยู่ที่โคเบรนซ์ มีประชากรอยู่อาศัยประมาณ 8 ล้านคนในปี 1939

ในปี 1920 แคว้นซาร์ได้ถูกแยกออกมาจากมณฑลไรน์ และอยู่ใต้การกำกับดูแลของสันนิบาตชาติ จนกระทั่งกองกำลังสันนิบาติชาติถอนกำลังออกไปเมื่อปี 1935


ประวัติศาสตร์

หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

หลังจากเยอรมนียอมจำนนในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง กองทัพพันธมิตรได้ทำการยึดครองแคว้นไรน์แลนด์ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์ ภายใต้บัญญัติของสนธิสัญญาแวร์ซายส์ การเข้ายึดครองจึงดำเนินต่อไป

สนธิสัญญาดังกล่าวได้กำหนดให้แบ่งแคว้นไรน์แลนด์ ออกเป็นสามส่วน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น พื้นที่ที่จะคืนให้แก่เยอรมนีภายในห้าปี สิบปี และสิบห้าปีตามลำดับ หลังจากการอนุมัติสนธิสัญญาดังกล่าว ซึ่งได้ทำการลงนามเมื่อปี 1920

ซึ่งหมายความว่าเยอรมนีจะได้รับดินแดนทั้งหมดคืนเมื่อปี 1935 แต่ในความเป็นจริงแล้ว กองทัพพันธมิตรได้ถอนตัวออกไปทั้งหมดก่อนปี 1930 ด้วยความปรารถนาดีต่อสาธารณรัฐไวมาร์ ซึ่งได้มีนโยบายประนีประนอมด้วย และเพื่อสนธิสัญญาโลคาร์โน

ทหารฝรั่งเศสซึ่งเข้ามายึดครองแคว้นไรน์แลนด์นั้น ขึ้นชื่อในเรื่องของความรุนแรงกับพลเรือนท้องถิ่น ฝรั่งเศสได้หาช่องโหว่ของสนธิสัญญาแวร์ซายส์ และพยายามที่จะแยกแคว้นไรน์แลนด์ออกจากเยอรมนีตลอดกาล

โดยพยายามสร้างสาธารณรัฐไรน์ และทำการปกครองโดยรัฐบาลหุ่นเชิดของฝรั่งเศส รัฐบาลฝรั่งเศสยังได้สนับสนุน กลุ่มผู้ประท้วงแบ่งแยกดินแดนและการก่อจลาจล ซึ่งพยายามที่จะแยกตัวออกมาจากเยอรมนี ด้วยเหตุผลทางศาสนาและความคิดต่อต้านพวกปรัสเซีย

แต่ว่าก็ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีกลุ่มผู้เข้าร่วมจำนวนน้อย

สนธิสัญญาแวร์ซายส์ยังได้กำหนดเขตปลอดทหาร ซึ่งใช้เป็นรัฐกันชนระหว่างเยอรมนีฝ่ายหนึ่ง ฝรั่งเศส เบลเยี่ยมและลักเซมเบิร์ก (อาจรวมไปถึงเนเธอร์แลนด์ด้วย) อีกฝ่ายหนึ่ง

ซึ่งหมายความว่า ห้ามมิให้มีกองทหารเยอรมันอยู่ในแคว้นไรนด์แลนด์ภายหลังจากที่กองทัพพันธมิตรถอนตัวไปแล้ว นอกเหนือจากนั้น สนธิสัญญายังให้อนุญาตกองทัพพันธมิตร สามารถกลับเข้ามายึดครองได้อีก ถ้าหากพบว่าเยอรมนีไม่รับผิดชอบต่อข้อตกลงในสนธิสัญญา

ในวันที่ 7 มีนาคม 1936 นาซีเยอรมนีทำการฝ่าฝืนสนธิสัญญาโลคาร์โน ด้วยการเข้ายึดครองแคว้นไรน์แลนด์ การรุกรานประสบความสำเร็จและใช้กำลังทหารเพียงเล็กน้อย (เป็นเพียงทหารขี่จักรยานเท่านั้น)

ฝรั่งเศสไม่อาจตอบโต้การกระทำนี้ได้ เนื่องจากความไร้เสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศ ฮิตเลอร์นั้นเสี่ยงอย่างมาก ต่อการส่งทหารเข้าไปยังแคว้นไรน์แลนด์ เขาถึงขนาดออกคำสั่งให้เตรียมถอยทัพในทันทีถ้าหากกองทัพฝรั่งเศสต่อต้าน

แต่ด้านฝรั่งเศสนั้นก็ไม่ได้ตอบโต้แต่อย่างใด เนื่องจากอยู่ระหว่างช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ และยังไม่ต้องการทำสงครามกับเยอรมนีในขณะนั้น

การเข้ามาของทหารเยอรมันนั้นได้รับการสนับสนุน จากประชากรพื้นเมืองบางส่วน เนื่องจากมีความรักชาติเยอรมัน และได้รับความขมขื่นจากการตกอยู่ใต้การยึดครองของฝ่ายพันธมิตรจนกระทั่งถึงปี 1930 (จนถึงปี 1935 ในซาร์แลนด์)

ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างปี 1944-1945 ได้มีการทัพสองครั้งได้เกิดขึ้นในแคว้นไรน์แลนด์แห่งนี้

เป็นเวลาห้าเดือน ตั้งแต่เดือนกันยายน 1944 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 1945 กองทัพสหรัฐอเมริกาพยายามอย่างหนัก ที่จะยึดครองป่า Hurtgen ป่าหน้าทึบและพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นหุบเขาลึกของป่า

ทำให้เหล่าทหารราบจำเป็นต้องต่อสู้ โดยปราศจากการสนับสนุนทางอากาศ ยานเกราะและปืนใหญ่ นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่าทหารอเมริกันเสียชีวิตไปประมาณ 24,000 นาย

ต้นปี 1945 หลังจากการหยุดพักรบในช่วงฤดูหนาว กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรในยุโรปตะวันตก ได้กลับเข้าสู่การทำการรบอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะเจาะผ่านแนวเยอรมันไปยังแม่น้ำไรน์

กองทัพแคนาดาสามารถเข้าสมทบกับกองทัพอังกฤษ และสามารถเจาะผ่านแคว้นไรน์แลนด์ได้ ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 1945 หลังจากเวลาผ่านไป กองทัพเยอรมันก็ถูกกวาดล้างออกไปจากฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์

ในวันที่ 7 มีนาคม 1945 กองพลยานเกราะที่ 9 ของสหรัฐอเมริกา ได้ยึดสะพานสุดท้าย ที่สามารถข้ามแม่น้ำไรน์ได้ที่ Remagen กองทัพที่สามของสหรัฐอเมริกา ก็ได้ข้ามสะพานไปยังฝั่งตะวันออก ก่อนที่กองทัพส่วนที่เหลือจะตามมา ในสัปดาห์ที่สามของเดือนมีนาคม

จนกระทั่งถึงเดือนเมษายน แม่น้ำไรน์ได้ถูกยึดครองโดยฝ่ายสัมพันธมิตร และการรบในแคว้นไรน์แลนด์ก็สิ้นสุดลง


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สวัสดิ์สิริธีววาร สิริมานรมเยศค่ะ



Create Date : 25 สิงหาคม 2553
Last Update : 26 สิงหาคม 2553 7:05:20 น.
Counter : 2009 Pageviews.

0 comments
TBC peaceplay
(9 มี.ค. 2567 09:51:54 น.)
เข็นเด๊กขี้นภูเชา : 12ข้อ เพื่อความเข้มแข็งทางใจให้เด็กๆ newyorknurse
(18 มี.ค. 2567 04:29:26 น.)
个 เก้อไม่ได้ใช้ได้ทุกที่ toor36
(29 ก.พ. 2567 00:10:26 น.)
Dragonfly: แอปที่เกษตรกรควรรู้จัก peaceplay
(6 ก.พ. 2567 07:41:20 น.)

Vinitsiri.BlogGang.com

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]

บทความทั้งหมด