พญาลิไท หรือ พระยาลิไท






"พญาลิไท"





พญาลิไท หรือ พระยาลิไท หรือ พระศรีสุริยพงศ์รามมหาราชาธิราช หรือพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ครองราชย์ พ.ศ. 1897 - พ.ศ. 1919) พระมหากษัตริย์อาณาจักรสุโขทัยราชวงศ์พระร่วงลำดับที่ 5

ทรงเป็นพระโอรสพระยาเลอไท และพระราชนัดดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช


พระราชประวัติ

พระยาลิไทเป็นกษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งกรุงสุโขทัย ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระยางั่วนำถม เดิมทรงปกครองเมืองศรีสัชนาลัย ในฐานะองค์อุปราชหรือรัชทายาทเมืองสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 1882

ต่อมาเมื่อพระยาเลอไทเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 1884 พระยางั่วนำถมได้ขึ้นครองราชย์จนเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 1890 พระยาลิไทโดยต้องใช้กำลังทหารเข้ามายึดอำนาจ เพราะที่สุโขทัยเกิดการกบฏการสืบราชบัลลังก์ ไม่เป็นไปตามครรลองครองธรรม

พระยาลิไทยกทัพมาแย่งชิงราชสมบัติได้ และขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 1890 ทรงพระนามว่า พระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช ในศิลาจารึกมักเรียกพระนามเดิมว่า "พญาลิไท" หรือเรียกย่อว่า พระมหาธรรมราชาที่ 1

1. พระมหาธรรมราชาลิไทพระองค์นี้ ได้ทรงทราบพระไตรปิฎกแตกฉาน (ข้อนี้มีหนังสือไตรภูมิพระร่วง ที่ได้พิมพ์แล้วเป็นพยาน เป็นของพระมหาธรรมราชาลิไทให้แต่งขึ้น)

2. ทรงชำนาญโหราศาสตร์ อาจจะถอนจะยกจะลงปีเดือนมิได้เคลื่อนคลาด (ที่พงศาวดารเหนือว่าพระร่วงลบศักราช จะเป็นพระร่วงลิไทพระองค์นี้ดอกกระมัง ศักราชที่ลงไว้ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง ว่าแต่งเมื่อปีระกา ศักราช 23 ปี ดูเป็นพยานอยุ่ พระเจ้าแผ่นดินสุโขทัยพระองค์อื่น ไม่ได้ยินกล่าวว่าลบศักราชเลย)

3. ทรงชำนาญทางไสยศาสตร์ ได้บัญญัติคัมภีร์สาสตราคม เป็นประถมธรรมเนียม (จะตรงกับแบบพิธี 12 เดือน ที่กล่าวไว้ในหนังสือนางนพมาศ ว่ามีครั้งกรุงสุโขทัยนั้นดอกกระมัง)


พระราชกรณียกิจ

พระยาลิไททรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก นโยบายการปกครองที่ใช้ศาสนา เป็นหลักรวมความเป็นปึกแผ่น จึงเป็นนโยบายหลักในรัชสมัยนี้

ทรงสร้างเจดีย์ที่เมืองนครชุม (กำแพงเพชร) ทรงผนวชในพระพุทธศาสนาเมื่อ พ.ศ. 1905 ที่วัดป่ามะม่วง การที่ทรงออกผนวช นับว่าทำความมั่นคงให้พุทธศาสนามากขึ้น

ดังกล่าวแล้วว่า หลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว บ้านเมืองแตกแยก วงการสงฆ์เองก็แตกแยก แต่ละสำนักแต่ละเมืองก็ปฏิบัติแตกต่างกันออกไป เมื่อผู้นำทรงมีศรัทธาแรงกล้าถึงขั้นออกบวช พสกนิกรทั้งหลายก็คล้อยตาม หันมาเลื่อมใสตามแบบอย่างพระองค์

กิตติศัพท์ของพระพุทธศาสนาในสุโขทัย จึงเลื่องลือไปไกล พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่หลายรูปได้ออกไปเผยแพร่ธรรมในแคว้นต่าง ๆ เช่น อโยธยา หลวงพระบาง เมืองน่าน พระเจ้ากือนา แห่งล้านนาไทย ได้นิมนต์พระสมณะเถระไปจากสุโขทัย เพื่อเผยแพร่ธรรม

นอกเมืองสุโขทัยทางทิศตะวันตก ทรงอาราธนาพระสามิสังฆราชจากลังกา เข้ามาเป็นสังฆราชในกรุงสุโขทัย เผยแพร่เพิ่มความเจริญให้แก่พระศาสนามากยิ่งขึ้น ทรงสร้างและบูรณะวัดมากมายหลายแห่ง

รวมทั้งการสร้างพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก เช่น พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระพุทธรูปองค์สำคัญองค์หนึ่งของประเทศคือ พระพุทธชินราช ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

พระยาลิไท ทรงปราดเปรื่องในความรู้ในพระพุทธศาสนา ทรงมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก พระองค์ได้ทรงแบ่งพระสงฆ์ออกเป็น 2 ฝ่ายคือฝ่าย "คามวาสี" และฝ่าย "อรัญวาสี"

โดยให้ฝ่ายคามวาสีเน้นหนักการสั่งสอนราษฎรในเมือง และเน้นการศึกษาพระไตรปิฎก ส่วนฝ่ายอรัญวาสีเน้นให้หนักด้านการวิปัสนาและประจำอยู่ตามป่าหรือชนบท

ด้วยทรงเป็นองค์อุปถัมภ์พระศาสนาตลอดพระชนม์ชีพ ราษฎรจึงถวายพระนามว่า "พระมหาธรรมราชา"

นอกจากศาสนาพุทธแล้ว พญาลิไทยังทรงอุปถัมภ์ศาสนาพราหมณ์ด้วยโดยทรงสร้างเทวรูปขนาดใหญ่หลายองค์ ซึ่งยังเหลือปรากฏให้ศึกษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ในกรุงเทพมหานคร และที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดพิษณุโลก

ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญหลายประการ เช่น สร้างถนนพระร่วงตั้งแต่เมืองศรีสัชนาลัย ผ่านกรุงสุโขทัยไปถึงเมืองนครชุม (กำแพงเพชร) บูรณะเมืองนครชุม สร้างเมืองสองแคว (พิษณุโลก) เป็นเมืองลูกหลวง

ด้านอักษรศาสตร์ ทรงพระปรีชาสามารถนิพนธ์หนังสือไตรภูมิพระร่วง ที่นับเป็นงานนิพนธ์ที่เก่าแก่ที่สุด เรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สิริสวัสดิ์ภุมวาร มานอวลบุษปคันธาลดามาศนะคะ



Create Date : 20 กันยายน 2553
Last Update : 21 กันยายน 2553 19:24:07 น.
Counter : 3467 Pageviews.

0 comments
สุริยุปราคา อเมริกา /นิวยอร์ก อินเดียน่า เทกซัส newyorknurse
(9 เม.ย. 2567 04:13:31 น.)
แคดเมียม Cadmium ความอันตรายของมัน สมาชิกหมายเลข 4149951
(8 เม.ย. 2567 07:11:22 น.)
วิธีถามราคาสินค้าเป็นภาษาอังกฤษ khatha0808
(2 เม.ย. 2567 00:05:26 น.)
9 แนวคิดที่ทำให้เรามีชีวิตประจำวันที่ดีกว่าเดิม peaceplay
(31 มี.ค. 2567 09:18:27 น.)

Vinitsiri.BlogGang.com

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]

บทความทั้งหมด