รัฐฉาน (ไทใหญ่: เมิ้งไต๊)
รัฐฉาน








รัฐฉาน(ไทใหญ่: เมิ้งไต๊) หรือ รัฐไทใหญ่ เป็นรัฐหนึ่งในสหภาพพม่า

สภาพภูมิศาสตร์

ลักษณะภูมิประเทศของรัฐฉานเต็มไปด้วยภูเขาสูงและผืนป่า พื้นที่เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า สินค้าส่งออกที่สำคัญของรัฐฉานจึงเป็นจำพวกแร่ธาตุและไม้ชนิดต่างๆ

รัฐฉานมีตำแหน่งที่ตั้ง ดังนี้

ทิศเหนือ ติดกับ รัฐคะฉิ่น และมณฑลยูนนาน (เขตเต๋อหง เขตเป่าซาน เขตหลินซาง เขตซือเหมา และเขตสิบสองปันนา) ประเทศจีน

ทิศใต้ ติดกับ จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเทศไทย รัฐคะยา และรัฐกะเหรี่ยง

ทิศตะวันออก ติดกับ แขวงหลวงน้ำทา และ แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว

ทิศตะวันตก ติดกับ ภาคสะกาย และ ภาคมัณฑะเลย์

ประวัติ

ลักษณะภูมิประเทศของรัฐฉานเต็มไปด้วยภูเขาสูงและผืนป่า รัฐฉานจึงเต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า สินค้าส่งออกที่สำคัญของรัฐฉานจึงเป็นจำพวกแร่ธาตุและไม้ชนิดต่างๆ ปัจจุบันรัฐฉานเป็นส่วนหนึ่งของประเทศพม่า มีชายแดนติดกับประเทศไทยด้านตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐ

รัฐฉาน ในอดีตกาลมีชื่อเรียกว่า “ไต” หรือที่เรียกกันว่า เมืองไต มีประชากรหลายชนชาติและอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยมีชนชาติไทยใหญ่อาศัยอยู่มากที่สุด

เมืองไตเคยมีเอกราชในการปกครองตนเองมาเป็นเวลาหลายพันปี ก่อนที่อังกฤษจะขยายอิทธิพลเข้ามาถึง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมืองไตกับพม่าในอดีตนั้นจัดเป็นอิสระต่อกัน หรือกล่าวได้ว่าเป็นคนละอาณาจักรกัน เหมือนดั่งอาณาจักรอยุธยากับอาณาจักรเขมร

อาณาเขตของเมืองไตประกอบด้วยเมืองรวมทั้งหมด 33 เมืองแต่ละเมือง ปกครองด้วยระบบเจ้าฟ้าสืบต่อเนื่องกันมาตั้งแต่อดีต และถึงแม้จะมีเจ้าฟ้าปกครองหลายเมือง แต่ทุกเมืองก็รวมกันเป็นแผ่นดินชนชาติไต เนื่องมาจากที่ตั้งของเมืองไตอยู่ใกล้กับประเทศพม่า

เมืองไตกับประเทศพม่ามีการติดต่อค้าขายช่วยเหลือ และให้ความเคารพซึ่งกันและกันมาโดยตลอด เห็นได้จากในช่วงที่เจ้าฟ้าเมืองไตปกครองประเทศพม่าประมาณเกือบ 300 ปีไม่เคยมีการสู้รบกันเกิดขึ้น และยังมีการติดต่อค้าขายยังดำเนินไปอย่างสันติสุขเช่นกัน

จนกระทั่งมาถึงสมัยบุเรงนอง ได้มีการสู้รบกันกับเจ้าฟ้าเมืองไตกับกษัตริย์พม่าเกิดขึ้น โดยฝ่ายเจ้าฟ้าเมืองไตเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ จึงทำให้ราชวงศ์เจ้าฟ้าบางเมือง ต้องจบสิ้นไปดังเช่นราชวงศ์เจ้าฟ้าเมืองนายซึ่งเป็นราชวงศ์ของกษัตริย์มังราย นอกจากนี้ยังมีอีกหลายราชวงศ์ที่ต้องสูญสิ้น ไปเพราะการสู้รบกับบุเรงนอง

จนมาถึงในสมัยพระเจ้าอลองพญา (พ.ศ. 2305 – 2428) ซึ่งเป็นสมัยที่อยุธยาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า กษัตริย์พม่าได้ทำการปราบปรามราชวงศ์ หรือผู้สืบเชื้อสายของเจ้าฟ้าไทใหญ่จนหมดสิ้นไปเป็นจำนวนมาก

อาจกล่าวได้ว่าไตได้เป็นเมืองขึ้นของพม่าไปแล้ว และในช่วงเวลานี้ทหารพม่าได้เริ่มการกดขี่ข่มเหงทำร้ายคนไต ทำให้คนไตรู้สึกเกลียดชังคนพม่านับตั้งแต่นั้น

เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2428 อังกฤษได้ทำการจับกุมและยึดอำนาจกษัตริย์พม่า และขยายอาณาเขตไปยังเมืองเชียงตุงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองไตในปีเป็นเมืองขึ้น พ.ศ. 2433 และได้ประกาศว่า"อังกฤษได้ยึดเอาเมืองไตเรียบร้อยแล้ว"

เนื่องจากประเทศพม่าซึ่งตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มและเมืองไต ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาไม่ใช่ประเทศเดียวกัน อังกฤษจึงไม่ได้ทำการเข้ายึดพร้อมกันและถึงแม้อังกฤษ จะยึดทั้งสองเมืองเป็นเมืองขึ้นของต้นแต่อังกฤษก็ไม่ได้ปกครองทั้งสองเมืองในลักษณะเดียวกัน

หากแบ่งการปกครองออกเป็นสองลักษณะ
คือประเทศพม่าเป็นเมืองใต้อาณานิคม
ส่วนเมืองไตเป็นเมืองใต้การอารักขา

และอังกฤษยัง ได้ทำการจับกุมกษัตริย์พม่าและกำจัดราชวงศ์ทั้งหมดของกษัตริย์พม่า

ส่วนเมืองไตอังกฤษไม่ได้ทำลายราชวงศ์เจ้าฟ้า อีกทั้งยังสนับสนุนให้เจ้าฟ้าแต่ละเมือง มีอำนาจปกครองบ้านเมืองของตนเอง และได้สถาปนาให้เมืองทั้งหมดเป็นสหพันธรัฐฉานขึ้นกับอังกฤษ มิได้เป็นส่วนหนึ่งของพม่าแต่อย่างใด

ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางการพม่าพยายามโน้มน้าวเหล่าบรรดาเจ้าฟ้าไต ให้เข้าร่วมเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ เจ้าฟ้าไตจึงได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาปางโหลง เมื่อปี พ.ศ. 2490 กับชาวพม่าและกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อขอเอกราชจากอังกฤษ

โดยสัญญาดังกล่าวได้นำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งระบุให้ชนชาติที่ร่วมลงนามในสัญญา สามารถแยกตัวเป็นอิสระได้หลังจากอยู่ร่วมกันครบสิบปี

แต่เมื่ออังกฤษได้ให้เอกราชกับพม่าและไตแล้ว รัฐบาลกลางพม่าไม่ยอมทำตามสัญญา และพยายามการรวมดินแดนให้เป็นของประเทศพม่า เหตุนี้จึงทำให้ชาวไตหรือไทยใหญ่ จึงก่อตั้งกองกำลังกู้ชาติของตนเองขึ้นในปี พ.ศ. 2491

ทางรัฐบาลทหารพม่าได้ใช้ระบอบเผด็จการทหารกับชาวไต อีกทั้งยังได้ทำลายพระราชวังของไทยใหญ่ ในเมืองเชียงตุงและอีกหลายเมือง และเข้ามาจัดการศึกษาเกี่ยวกับพม่าให้แก่เด็กในพื้นที่

รัฐบาลทหารพม่าได้บังคับให้ประชาชนกว่า 3 แสนคนย้ายที่อยู่ ประชาชนมักถูกเกณฑ์ไปบังคับใช้แรงงาน ทั้งโครงการก่อสร้างและเป็นลูกหาบอาวุธให้ทหาร ทำให้มีผู้ลี้ภัยจำนวนมากหนีเข้ามายังประเทศไทย

ปัจจุบันสถานการณ์ภายในรัฐฉานก็ยังไม่มีเสถียรภาพทางความมั่นคงเท่าใดนัก และก็ยังมีกองกำลังกู้ชาติของตนเองอยู่ หากในช่วงที่ไม่มีการปะทะกับฝ่ายรัฐบาลทหารพม่า รัฐฉานก็จะมีความเงียบสงบซึ่ง

เป็นพื้นฐานความต้องการที่แท้จริงของ ชาวไตหรือไทใหญ่ และพวกเขายังหวังลึกๆว่าสักวันหนึ่งรัฐฉานจะได้เป็นเอกราชของตนเอง ไม่ขึ้นกับทางพม่าอีกต่อไป

การปกครอง

แผนที่รัฐฉาน แสดงเขตรัฐกิจระดับแขวงพื้นที่ 60,155 ตารางไมล์ แบ่งการปกครองเป็น 11 แขวง 54 เมือง 193 ตำบล

1.แขวงตองยี
2.แขวงลอยแหลม
3.แขวงจ๊อกแม
4.แขวงหมู่แจ้

5.แขวงเล่าก์ก่าย
6.แขวงกุนโหลง
7.แขวงล่าเสี้ยว
8.แขวงเชียงตุง

9.แขวงเมืองสาด
10.แขวงเมืองพยาค
11.แขวงท่าขี้เหล็ก

ประชากร

ประชากร 4.7 ล้านคน
ความหนาแน่น 75 คน/ตารางไมล์

เชื้อชาติ

ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของไทใหญ่นอกจากนั้นก็จะมีชาวพม่า ชาวจีน ชาวกะฉิน ชาวดนู ชาวอินทา ชาวปะหล่อง ชาวปะโอ ชาวพม่าเชื้อสายอินเดีย ชาวกะเหรี่ยง ชาวไทลื้อ ชาวคำตี่ ชาวไทดอย เป็นต้น

ศาสนา

ประชากรส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ
รองลงมาจะเป็นศาสนาคริสต์ซึ่งมีอิทธิพลมากในหมู่ชาวเขา
ศาสนาอิสลามในหมู่ชาวอินเดีย และฮ่อ
ศาสนาฮินดูในหมู่ชาวอินเดีย
และศาสนาพื้นเมืองเดิมดั้งเดิมในหมู่ชาวเขาที่ล้าหลัง


ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


จันทรวารสิริสวัสดิ์ มานมนัสรมณีย์ค่ะ



Create Date : 07 ธันวาคม 2552
Last Update : 30 มกราคม 2553 1:29:53 น.
Counter : 1901 Pageviews.

0 comments
อย่ามาบ้ง!นะ peaceplay
(5 เม.ย. 2567 15:53:18 น.)
ถนนสายนี้ ... ... มีตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 348 "ฉุกละหุก" toor36
(24 มี.ค. 2567 10:27:24 น.)
เอื้องชมพูไพร สมาชิกหมายเลข 4313444
(21 มี.ค. 2567 02:45:05 น.)
แนวข้อสอบเข้า มัธยมศึกษาปีที่1 วิชาภาษาไทย เรื่องเสียงของภาษา นายแว่นขยันเที่ยว
(13 มี.ค. 2567 23:29:54 น.)

Vinitsiri.BlogGang.com

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]

บทความทั้งหมด