จังหวัดบาหลี เป็น 1 ใน 33 จังหวัดของประเทศอินโดนีเซีย

จังหวัดบาหลี เป็น 1 ใน 33 จังหวัดของประเทศอินโดนีเซีย เมืองสำคัญคือเดนปาซาร์ พื้นที่ทั้งหมด 5,634.40 ตารางกิโลเมตร มีประชาการทั้งสิ้น 3,422,600 คน ความหนาแน่นของประชากร 607 คน/ตารางกิโลเมตร ภาษาที่ใช้คือภาษาอินโดนีเซียและภาษาบาหลี


ประวัติศาสตร์
ยุคเริ่มต้น



หินสลักบริเวณภูเขากุนุง คาวี



บาหลีเป็นถิ่นที่อยู่ของชนเผ่าออสโตรนีเชียน (Austronesian) ที่อพยพมาจากถิ่นฐานเดิมบนเกาะไต้หวัน โดยใช้เส้นทางทางทะเลผ่านภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล

วัฒนธรรมและภาษาของชาวบาหลี จึงเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดกับผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณหมู่เกาะอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และโอเชียเนีย (Oceania)

มีการขุดพบเครื่องมือที่ทำจากหินมีอายุกว่า 3,000 ปีได้ที่หมู่บ้านเจะเก๊ะ (Cekik) ที่อยู่ทางตะวันตก รวมทั้งที่ตั้งถิ่นฐานและหลุมฝังศพของมนุษย์ในยุคหินใหม่ (Neolithic) ถึงยุคสำริด และโครงกระดูกมนุษย์โบราณอายุกว่า 4,000 ปี จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ซิตุส ปุรบา ลากา (Museum Situs Purbalaka) ที่เมืองกิลิมานุ (Gilimanuk) อีกด้วย

ประวัติของบาหลี ก่อนการเผยแผ่ศาสนาฮินดูเข้ามายังหมู่เกาะอินโดนีเซียโดยพ่อค้าชาวอินเดียในช่วงศตวรรษที่ 7 เป็นที่รู้กันน้อยมาก อย่างไรก็ตามบาหลีเริ่มเป็นเมืองค้าขายที่คึกคักตั้งแต่ 200 ปีก่อนคริสตกาล

การบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับบาหลีที่เป็นลายลักษณ์อักษร ปรากฏในศิลาจารึกที่ขุดค้นพบใกล้หาดซานูร์ (Sanur) รวมทั้งจารึกบนแผ่นโลหะ เทวรูปสำริด และหินสลักที่แสดงถึงอิทธิพลของศาสนาพุทธและฮินดู บริเวณรอบๆภูเขากุนุง คาวี (Gunung Kawi) และถ้ำกัว กะจะห์ (Goa Gajah)

อิทธิพลของศาสนาฮินดู




ประตูพระราชวังอูบุด




วัดปุรา ตานะห์ ล็อต


ในช่วงศตวรรษที่ 9 สังคมของชาวบาหลีเริ่มเฟื่องฟูขึ้น ราว ค.ศ. 900 ชาวบาหลีเริ่มพัฒนาระบบชลประทาน การปลูกข้าว รวมทั้งวัฒนธรรมและศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง หลักฐานเกี่ยวกับราชวงศ์บาหลีเริ่มปรากฏในเวลานั้นเช่นกัน

โดยมีภาพแกะสลักหินแสดงพิธีอภิเษกสมรสของกษัตริย์บาหลี พระนามว่าพระเจ้าอุดายานา (Udayana) กับ เจ้าหญิงชวาตะวันออกพระนามว่าเจ้าหญิงมเหนธรัตตะ (Mahendratta) ที่วัดปุรา โคระห์ เตกิปัน (Pura Korah Tegipan) ที่อยู่บริเวณภูเขากุนุง บาตูร์ (Gunung Batur)

ทั้งสองพระองค์มีโอรสพระนามว่าเจ้าชายไอร์ลังกา (Airlangga) ประสูติเมื่อ ค.ศ. 991 ในเวลาเดียวกัน ชวาเริ่มแผ่อิทธิพลเข้ามายังบาหลี เมื่อพระองค์อายุได้ 16 ปี ทรงหนีไปยังชวาตะวันตกและทรงได้รับการสนับสนุนจากชาวชวาในเวลาต่อมา

เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ชวา จึงทรงรวมบาหลีและชวาให้เป็นปึกแผ่นจนกระทั่งสิ้นพระชนม์เมื่อ ค.ศ.1049 ภาษาชวาที่เรียกว่าภาษากาวี (Kawi) ได้นำมาใช้ในหมู่ราชวงค์บาหลี หลักฐานความสัมพันธ์ระหว่างบาหลีกับเกาะชวาในช่วงศตวรรษที่ 11 อยู่ที่หินสลักที่ภูเขากุนุง คาวี ใกล้กับเมืองตัมปักสิริง (Tampaksiring)

หลังจากนั้นบาหลีอยู่ในสถานภาพกึ่งเอกราช จนกระทั่ง ค.ศ. 1284 พระเจ้าเกอรตานาการาหรือเกียรตินคร (Kertanagara) กษัตริย์ชวาแห่งอาณาจักรสิงหะส่าหรี (Singasari) ได้รุกรานบาหลี แต่หลังจากนั้น 8 ปี อาณาจักรสิงหะส่าหรีล่มสลาย

โอรสของพระเจ้าเกอรตานาการา พระนามว่าเจ้าชายวิจายาหรือวิชัย (Vijaya) ได้ตั้งอาณาจักรมัชปาหิต (Majapahit) ซึ่งนับถือศาสนาฮินดูขึ้น ช่วงเวลานี้เอง บาหลีถือโอกาสแยกตัวเป็นเอกราช ปกครองโดยราชวงศ์ปาเจ็ง (Pajeng) มีศูนย์กลางใกล้กับเมืองอูบุด (Ubud)

แต่กะจะห์ มาดา (Gajah Mada) เสนาบดีแห่งอาณาจักรมัชปาหิตเข้ารุกรานบาหลีในรัชสมัยของพระเจ้าดาเล็ม เบอะเดาลู (Dalem Bedaulu) แห่งราชวงศ์ปาเจ็งในปี ค.ศ.1343 และได้รวมบาหลีเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมัชปาหิต

หลังจากนั้นบาหลีได้ย้ายศูนย์กลางไปอยู่ที่เกลเกล (Gelgel) ใกล้กับเมืองเสมาระปุระ (Semarapura) ในช่วงปลายศตวรรษที่ 14 โดยมีกษัตริย์ปกครองชึ่งชาวบาหลีเรียกว่าเทวะ อากุง (Dewa Agung) พระนามว่าพระเจ้าบาตูร์ เร็งก็อง (Batur Renggong) ครองราชย์ในปี ค.ศ.1550

ก่อนหน้านั้นไม่นานอาณาจักรมัชปาหิตได้ล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1515 ลงจากการขยายอิทธิพลของชาวมุสลิม บรรดานักปราชญ์ซึ่งหนึ่งในนั้นคือนักบวชฮินดูชื่อนิราร์ธา (Nirartha) ได้อพยพข้ามมายังบาหลี โดยนำศิลปวัตถุ ช่างศิลป์ นางรำ นักดนตรี และนักแสดงประจำราชสำนักมัชปาหิตเข้ามาด้วย และได้สร้างวัดปุรา ลุฮูร์ อูลู วาตู (Pura Luhur Ulu Watu) และวัดปุรา ตานะห์ ล็อต (Pura Tanah Lot) ขึ้น

การอพยพครั้งใหญ่ของชาวฮินดูจากชวา ได้สิ้นสุดลงราวศตวรรษที่ 16 การอพยพครั้งนี้ ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อสังคมบาหลี สังคมฮินดูในบาหลีเริ่มซับซ้อนขึ้น มีการนำระบบวรรณะเข้ามาใช้ ชาวบาหลีที่อยู่ดั้งเดิม จึงอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณภูเขาทางตอนใน

ซึงปัจจุบันนี้ผู้สืบเชื้อสายของคนเหล่านี้เรียกว่าบาหลี อะกา (Bali Aga) หรือบาหลี มูลา (Bali Mula) ยังคงอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านเติงงะนัน (Tenganan) ใกล้กับวัดปุรา ดาซา (Pura Dasa) และหมู่บ้านตรุนยัน (Trunyan) บริเวณทะเลสาบบาตูร์


การยึดครองของฮอลันดา

ชาวยุโรปกลุ่มแรกที่เดินทางมายังบาหลีคือชาวฮอลันดา ซึ่งนำโดยกัปตันคอเลอนิยุส เดอะ ฮุทมัน (Colenius de Houtman) เมื่อ ค.ศ.1597 และเริ่มเจริญความสัมพันธ์กับราชวงค์บาหลี ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 อีกทางฝากหนึงของบาหลี ชาวฮอลันดาได้ทำสนธิสัญญาการค้าหลายฉบับกับชวา และเส้นทางการค้าเครื่องเทศส่วนใหญ่ได้ตกอยู่ในความควบคุมของชาวฮอลันดาแล้ว

เมื่อ ค.ศ.1710 ศูนย์กลางของบาหลีได้ย้ายไปอยู่ที่กลุงกุง (Klungkung) ปัจจุบันคือเมืองเสมาระปุระ เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ชนชั้นปกครองในบาหลีเริ่มแตกแยกและแบ่งออกเป็นอาณาจักรย่อยๆ ส่วนชาวฮอลันดาเริ่มเข้ามามีอิทธิพล โดยใช้วิธีแบ่งแยกและปกครอง

การเข้าควบคุมบาหลีทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจเริ่มต้นเมื่อราว ค.ศ.1840 โดยในปี ค.ศ.1846 ชาวฮอลันดาได้อ้างการกู้เรือจมบริเวณชายฝั้งทางด้านเหนือ ใกล้กับเมืองสิงงะราจา (Singaraja) ในปัจจุบัน นำกำลังทหารเข้ามาและยึดอาณาจักรบูเลเล็ง (Buleleng) และเจ็มบรานา (Jembrana) ไว้ได้

เมื่อยึดอาณาจักรทางตอนเหนือได้แล้ว จึงเริ่มเข้ารุกรานอาณาจักรทางตอนใต้ ในปี ค.ศ.1904 ฮอลันดาได้อ้างการร่วมกู้ซากเรือจีนนอกชายฝั่งหาดซานูร์ เรียกร้องให้อาณาจักรบาดุงจ่ายค่าชดเชยเป็นจำนวนเงิน 3,000 เหรียญเงิน แต่ได้รับการปฏิเสธ ในปี ค.ศ.1906 ฮอลันดาจึงได้

เมืองเดนปาซาร์ในปัจจุบันยกกำลังทหารเข้ามาบริเวณหาดซานูร์ โดย 4 วันหลังจากนั้น ได้บุกเข้ามาถึงชานเมืองเดนปาซาร์ (Denpasar) วันที่ 20 กันยายน ค.ศ.1906 ฮอลันดาจึงเริ่มยิงถล่มเมืองเดนปาซาร์ แต่ฝ่ายบาดุงใช้วิธีการพลีชีพของนักรบที่เรียกว่าปูปูตัน (Puputan)

โดยบรรดาเชื้อพระวงค์ทรงเผาพระราชวังและแต่งพระองค์เต็มพระยศพร้อมทรงกริช ทรงดำเนินพร้อมกับเหล่านักบวชและข้าราชบริพารเข้าต่อสู้ แต่ทั้งหมดไม่ยอมจำนน กลับแทงตัวตายด้วยกริชแทน เหตุการณ์ในครั้งนั้นมีชาวบาหลีเสียชีวิตประมาณ 4,000 คน เมื่อยึดอาณาจักรบาดุงได้แล้ว ฮอลันดาจึงเข้ายึดอาณาจักรตาบานัน (Tabanan) จับกษัตริย์เป็นเชลย

แต่ทรงไม่ยอมจำนนและทรงกระทำอัตนิวิบาตกรรม จากนั้นฮอลันดาได้เข้ายึดครองอาณาจักรการังอะเซ็ม (Karangasem) และเกียนยัร (Gianyar) แต่อนุญาตให้ราชวงค์ยังทรงปกครองได้ต่อไป ส่วนอาณาจักรอื่นๆ ฮอลันดาได้ขับไล่เจ้าเมืองออกทั้งหมด

ในเดือนเมษายน ค.ศ.1908 เมื่อฮอลันดาบุกยึดอาณาจักรเสมาระปุระ เช่นเดียวกับกษัตริย์ตาบานัน กษัตริย์เสมาระปุระทรงไม่ยอมจำนน และทรงกระทำอัตนิวิบาตกรรมเช่นกัน การบุกยึดครั้งนั้นทำให้พระราชวังตามัน เกอร์ธา โกซา (Taman Gertha Gosa) ได้รับความเสียหายเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้ตั้งแต่ ค.ศ.1911 ฮอลันดาได้ครอบครองดินแดนของบาหลีได้ทั้งหมด และได้รวมบาหลีเข้าเป็นส่วนหนึงของอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (Dutch East Indies)

สงครามโลกครั้งที่สองและการประกาศเอกราช

อิ กุสตี งูระห์ ไร กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่หาดซานูร์ ในปี ค.ศ.1942 และได้ตั้งกองบัญชาการที่เมืองเดนปาซาร์ และเมืองสิงงะราจา และขับไล่ชาวฮอลันดาออกไป เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่สองเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ.1945 เมื่อฮอลันดาต้องการกลับเข้ามายึดครองบาหลีอีก ขบวนการต่อต้านฮอลันดาเริ่มก่อตั้งขึ้น

วันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ.1945 นายซูการ์โน (Soekarno) ถือโอกาสประกาศเอกราช แก่ดินแดนที่เคยอยู่ภายใต้การยึดครองของฮอลันดาทั้งหมด และก่อตั้งสาธารณรัฐอินโดนีเซียขึ้น แต่ฝ่ายฮอลันดาไม่รับรอง ขบวนการต่อต้านฮอลันดาในบาหลีชื่อเต็นตรา เกอะอะมานัน รัคยัต (Tentra Keamanan Rakyat) หรือกองกำลังความมั่นคงแห่งประชาชน (People's Security Force) ลุกฮือขึ้นต่อต้านฮอลันดาที่เมืองมาร์กา (Marga) เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ.1946

นำโดยอิ กุสตี งูระห์ ไร (I Gusti Ngurah Rai) โดยเป็นการต่อสู้เพื่อพลีชีพของนักรบ หรือปูปูตันอีกครั้ง ในที่สุดฮอลันดาประกาศรับรองเอกราชของอินโดนีเซียเมื่อปี ค.ศ.1949 และบาหลีจึงเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซียในปัจจุบัน

การปกครอง

แผนที่จังหวัดบาหลีหลังจากได้รับเอกราช บาหลีได้รวมเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดนูซา เต็งการา (Nusa Tenggara) จนกระทั่ง ค.ศ.1958 รัฐบาลกลางได้ประกาศแยกบาหลีออกเป็นจังหวัดหนึ่งของอินโดนีเซีย[4]

การปกครองของจังหวัดบาหลี แบ่งเป็น 8 เขต (Districts หรือในยุคอาณานิคมเรียกว่า Regencies) โดยภาษาอินโดนีเซียเรียกว่ากาบูปาเต็น (Kabupaten)[10]

เขต --------------- เมืองหลัก -------- ----------พื้นที่   (ตารางกิโลเมตร)
บาดุง (Badung) -- เดนปาซาร์ (Denpasar) -- 420.09
บางลี (Bangli) ----บางลี (Bangli) -------------520.81
บูเลเล็ง (Buleleng) -สิงงะราจา (Singaraja) ---1,365.88
เกียนยัร (Gianyar) --อูบุด (Udud) -------------368.00
เจ็มบรานา (Jembrana) --เนการา (Negara) ---841.80
การังอะเซ็ม (Karangasem)-- อัมลาปุระ (Amlapura)--- 839.54
กลุงกุง (Klungkung) --เสมาระปุระ (Semarapura) ---315.00
ตาบานัน (Tabanan) ---ตาบานัน (Tabanan) ---------839.30



ประชากรเชื้อชาติ เป็นชาวบาหลี 89% ที่เหลือเป็นชาวชวาและอื่นๆ ส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู 93.18% ศาสนาอิสลาม 4.79% ศาสนาคริสต์ 1.38% ศาสนาพุทธ 0.64%

วัฒนธรรมส่วนใหญ่ชาวบาหลีได้รับวัฒนธรรมจากอินเดียเป็นอันมาก เช่นศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธ รามายณะ ตลอดจนอักษร ภาษา ฯลฯ นั้นล้วนมาจากอินเดีย และนำมารวมกับวัฒนธรรมประจำท้องถิ่น และนำใช้อย่างแพร่หลาย



ขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


ศุกรวารสิริสวัสดิ์ค่ะ




Create Date : 01 มีนาคม 2556
Last Update : 1 มีนาคม 2556 13:46:18 น.
Counter : 2602 Pageviews.

0 comments
หนังสือและอุปกรณ์การเรียนสำหรับเด็ก ป.1 ของโรงเรียนประถมที่ญี่ปุ่น SN_monchan
(7 เม.ย. 2567 05:39:08 น.)
โรงงานผลิตอาหารเสริมผู้ชาย ตัวเลือกสำหรับคนที่ต้องการเป็นเจ้าของแบรนด์ที่ได้คุณภาพ สมาชิกหมายเลข 7213059
(3 เม.ย. 2567 00:10:02 น.)
กาแฟคั่วเข้ม เหมาะกับเมนูไหนดี สมาชิกหมายเลข 7983004
(29 มี.ค. 2567 02:14:10 น.)
ติดโคมไฟ LED 3สี ด้วยตัวเองง่ายๆ ไม่เกิน 200 บาท ฟ้าใสทะเลคราม
(17 มี.ค. 2567 00:08:48 น.)

Vinitsiri.BlogGang.com

sirivinit
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 224 คน [?]

บทความทั้งหมด