แนะแนวหลักสูตร วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สาขาสื่อมวลชนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (BJM TU)
แนะแนวหลักสูตร วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
สาขาสื่อมวลชนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
(BJM TU)
 
Faculty of Journalism and Communication, Thammasat University

    หลังจากที่จากที่เราแนะนำหลักสูตรในด้านของวิชาทางภาษามาแล้วหลายๆหลักสูตรขออนุญาตเปลี่ยนแนวมาเป็นเรื่องราวที่อยู่ในส่วนของคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กันบ้าง คนส่วนใหญ่อาจจะรู้จัก แต่คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ภาคภาษาไทย หรือที่เรียกกันอย่างติดปากว่า JC  แต่จะมีคนรู้บ้างหรือไม่ว่าทางธรรมศาสตร์เองก็มีการเปิดสอนหลักสูตรในส่วนของภาคภาษาอังกฤษด้วยเช่นกัน

     โดยหลักสูตรที่ว่านี้คือ หลักสูตรสาขาสื่อสารมวลชน  ภาคภาษาอังกฤษ หรือจะเรียกสั้นๆว่า BJM ก็ได้ ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวนั้นเปิดการเรียนการสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ภายใต้การเรียนการสอนแบบภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี และมีการเปิดรับนักศึกษาทั้งชาวไทย และ ชาวต่างชาติ มีการใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค  โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์ 

โดยการเรียนสี่ปีของนักศึกษาโครงการBJM นั้นจะมีหน่วยกิตตลอดระยะเวลาการศึกษาทั้งหมด 132 หน่วยกิต โดยนักศึกษาต้องใช้ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร อย่างน้อย 7 ภาคการศึกษาปกติ และอย่างมากไม่เกิน 14 ภาคการศึกษาปกติ ซึ่งในแต่ละปีจะมีการรับนักศึกษาจำนวน 80 คน โดยตัวหลักสูตรนั้นจะเป็นการเรียนรวมแบบสหวิทยาการ ไม่มีแบ่งแยกเอก

แต่จะเป็นการรวมเอา6 เอกจากภาคปกติ อันได้แก่ สิ่งพิมพ์(สาขาหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์) : เอกนี้จะเรียนตั้งแต่เขียนข่าวจนถึงออกแบบสิ่งพิมพ์ คนที่เรียนเอกนี้นอกจากจะได้จัดทำหนังสือพิมพ์แล้วยังได้ทำนิตยสารอีกด้วย

ฟิล์ม(สาขาภาพยนตร์และภาพถ่าย) : เอกนี้ก็เรียนในเรื่องของการถ่ายภาพนิ่ง-ภาพเคลื่อนไหว ได้จับกล้องจริง ถ่ายจริง กำกับจริง จัดไฟจริง ตัดต่อจริง จบเอกนี้มาทำได้ทั้งกำกับ โปรดิวเซอร์ จัดการกอง ตัดต่อ ทำCG ฯลฯ

โฆษณา : เอกนี้จะเป็นการวางแผนการสร้างแบรนด์ สร้างอย่างไรให้คนจดจำแล้วซื้อ การเลือกใช้ช่องทางสื่อ การสร้างสรรค์สื่อโฆษณา โฆษณานี่เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้คนจดจำ     แบรนด์และสำคัญมากทีเดียว

ประชาสัมพันธ์ : เอกนี้ไม่ใช่แค่เรียนจบไปแล้วเป็นพนักงานหน้าเคาเตอร์อย่างเดียว เพราะเอกPRจะได้รู้หลักวิธีการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์ วางแผนงานประชาสัมพันธ์ให้กับทั้งองค์กรหรือบุคคล ได้คิดว่าควรจัดแผนการอะไรให้เหมาะสมกับสถานการณ์และเพื่อให้องค์กรมีภาพลักษณ์ที่ดี รักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างองค์กรและกลุ่มเป้าหมาย

วิทยุและโทรทัศน์ : เรียนเกี่ยวกับการผลิต การจัดรายการ ทำรายการ การเขียนบท วิทยุและโทรทัศน์ โดยจะได้มีทักษะในห้องจัดจริงทั้งในส่วนของวิทยุและโทรทัศน์ด้วยเช่นกัน

บริหารการสื่อสาร :  เรียนศาสตร์ต่างๆเกี่ยวกับการสื่อสาร(เรียนสื่อของทุกเอกโดยรวม) ดังนั้นเอกบริหารสื่อจะมีความรู้ของทุกสื่อในภาพรวม เพื่อนำไปใช้บริหารการสื่อสารในองค์กรหรือวิจัยและวางแผน

  ซึ่งตัวหลักสูตร BJM นั้น จะเรียนทุกอย่างครอบคลุมหมดทุกเอก และไม่ใช่แค่ท่องทฤษฎีแล้วจบ แต่ยังได้ปรับมาเรียนเป็นปฏิบัติมากขึ้นเฉกเช่นกับหลักสูตรภาษาไทยเช่นกัน เพราะ ความต้องการของหลักสูตรนั้นมีขึ้นเพื่อให้การศึกษา อบรม ฝึกฝนและวิจัยทางวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ โฆษณา
และการประชาสัมพันธ์แก่นักศึกษาให้มีความรู้ความชำนาญสามารถวินิจฉัยและตัดสินปัญหาในสังคมในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพอันจะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพด้านสื่อสารมวลชนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม

รวมทั้งเป็นผู้นำสังคม เข้าใจปรัชญาวิชาชีพ
วารสารศาสตร์ มีจริยธรรมและสำนึกต่อสังคม มีความรอบรู้และทักษะในวิชาชีพ รวมไปถึงต้องการให้นักศึกษาที่จบไปมีความสามารถในการใช้ภาษาติดต่อสื่อสารโดยเฉพาะภาษาอังกฤษที่ใช้เป็นภาษาหลักในการเรียนการสอนของโครงการ  รวมทั้งมีความคิดสร้างสรรค์ กล้าแสดงออก ช่างสังเกต มีบุคลิกดี มีมนุษยสัมพันธ์

หลักสูตรBJM มธเป็นอย่างไร และเรียนอะไรบ้าง

   สื่บเนื่องจากความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนซึ่งมีการขยายตัวประกอบกับนวัตกรรมการสื่อสารใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในวิชาชีพด้านนี้อย่างต่อเนื่องได้นำสังคมมาสู่ยุคสังคมความรู้และการหลอมรวมสื่อ (Synergy) การสื่อสารแบบโครงข่ายที่ไร้ขีดจำกัดในเรื่องเวลา พื้นที่ และสถานที่ การพัฒนาหลักสูตรการสอนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์สื่อที่เปลี่ยนแปลงเพื่อสนองตอบความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในสื่อสารมวลชนและให้เข้ากับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่ต้องปรับตัวเพื่อสอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนั้นรูปแบบของหลักสูตรจึงเน้นการพัฒนาผ่านปัจจัยสองทิศทางนั่นก็คือ

1 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
    งานด้านการสื่อสารมวลชนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาโครงสร้างของเศรษฐกิจและสังคมไทย  ด้วยคุณลักษณะเฉพาะของสื่อสารมวลชนบวกกับเทคโนโลยีการสื่อสารที่ขยายพรมแดน ที่เอื้อต่อการการเรียนรู้และสร้างการมีส่วนร่วมภาคประชาชน  ประกอบกับการรวมโครงสร้างของการบริหารจัดการสื่อที่ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันเสรีทางการค้าและกิจการโทรคมนาคม  การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนำไปสู่การพัฒนาประเทศในหลายมิติ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ  สังคม การเมือง และวัฒนธรรม ภาพการเปลี่ยนแปลงนี้นำมาสู่ความจำเป็นในการปรับตัวด้านวิชาการสื่อสารมวลชนที่จะต้องแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆ เผยแพร่ความเข้าใจและปรับตัวให้เท่าทันต่อความซับซ้อนของการเปลี่ยนแปลงด้านสื่อสารมวลชน ความรู้ความเข้าใจทั้งในระดับโครงสร้างและการปฏิบัติการอย่างถ่องแท้ จึงเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อการผลิตบุคลากรด้านสื่อสารมวลชนที่มีคุณภาพเพื่อเข้าสู่กระบวนการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่กล่าวมาทั้งในระดับชาติ  ภูมิภาคและระดับอาเซียนต่อไป 

2 สถานการณ์หรือการพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม
  จากสภาพแวดล้อมในด้านสื่อมวลชนที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจึงเกิดการปรากฏตัวของสื่อใหม่ที่มีความหลากหลายทางด้านเทคโนโลยีมากขึ้น อาทิ เฟซบุ๊ค (Facebook),ทวิตเตอร์ (Twitter), https://www. และความพร้อมในด้านระบบพื้นฐานสารสนเทศของประเทศ (IT  infrastructure) เช่น ระบบ 5G  ฯลฯ  การก่อตั้งของสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่ที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลให้เกิดการพัฒนางานสื่อสารมวลชนอย่างกว้างขวาง  ในขณะเดียวกันก็แฝงไว้ซึ่งผลกระทบต่อโครงสร้างเชิงสังคมและวัฒนธรรม  ดังนั้นเพื่อสนองตอบความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและต่อตลาดงานสื่อสารมวลชนเพื่อการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์  จึงจำเป็นต้องมีการปรับการเรียนการสอนในวิชาการด้านนี้เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว  เพื่อผลิตตลอดจนพัฒนานักสื่อสารมวลชนที่มีศักยภาพและคุณภาพ  เพื่อเข้าสู่งานด้านสื่อสารมวลชนในระดับประเทศและภูมิภาคอาเซียน

1. วิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
2. วิชาเฉพาะ 96 หน่วยกิต
      2.1 วิชาบังคับ 84 หน่วยกิต
            2.1.1 วิชาบังคับในคณะ 75 หน่วยกิต
             2.1.2 วิชาบังคับนอกคณะ 9 หน่วยกิต
      2.2 วิชาบังคับเลือก 12 หน่วยกิต

3. วิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต


จบมาแล้วเป็นอะไรได้บ้าง

สำหรับการเรียนในวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนการประกอบอาชีพ ด้าน นักวารสารศาสตร์  นักข่าว นักเขียน นักวิจารณ์ นักวิเคราะห์ การพิมพ์และออกแบบสิ่งพิมพ์ งานบริหารงานพิมพ์ งานบรรณาธิการข่าว ผู้ผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์  ภาพยนตร์ งานบรรณาธิการ ผู้กำกับแสง เสียง การแสดง ออกแบบงานโฆษณา นักประชาสัมพันธ์ในองค์กรรัฐและเอกชนนักการสื่อสารที่สามารถทำงานให้องค์กรต่างๆ เช่น องค์กรภาครัฐ  ภาคเอกเชน  NGO และ องค์กรระหว่างประเทศ โดยเฉพาะสาขาวิชาสื่อมวลชนศึกษา(หลักสูตรภาษาอังกฤษ)สามารถประยุกต์ในด้านภาษาต่อยอดทางอาชีพไปในตัวอีกด้วย  


เรียนโครงการBJM ใช้ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่
รวมเบ็ดเสร็จ ประมาณ70,000บาทต่อเทอม

ถ้าอยากเข้าโครงการBJM TUต้องทำอย่างไร

1. สําเร็จการศึกษาหรือศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า

2. มีผลการเรียนเฉลี่ยระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า (เช่น GCE, GCSE, IGCSE, IB
 และ GED) ในระดับ 2.5 ขึ้นไป หรือเทียบเท่าโดยที่
1) ผู้ที่ใช้ผลสอบ IGCSE , GCSE หรือ GCE ‘O’ level สอบได้ไม่ต่ํากว่า 5 วิชา ไม่ซ้ํากัน
แต่ละวิชาได้กรดไม่ต่ํากว่า C

และวุฒิประกาศนียบัตร GCE ‘AS’ สอบได้ไม่ต่ํากว่า 3วิชา แต่ละวิชาได้เกรดไม่ต่ํากว่า C

หรือ GCE ‘A’ level สอบได้ไม่ต่ํากว่า 3 วิชา แต่ละวิชาได้เกรดไม่ต่ํากว่า C โดย GCE ‘AS’สามารถนับรวมกับ GCE ‘A’ level ได้ โดย สอบได้ไม่ต่ํากว่า 3 วิชา วิชาในแต่ละระดับ ‘AS’ และ ‘A’ ซ้ํากับระดับอื่นได้ยกเว้นระดับ ‘AS’ ไม่ซ้ํากับระดับ ‘A’

2) ผู้สมัครที่ใช้ผลการสอบ IB ต้องสอบผ่านอย่างต่ํา 5 รายวิชาไม่ซ้ํากัน แต่ละวิชาได้
เกรดไม่ต่ํากว่า 4.00

3) ผู้สมัครที่ใช้ผลสอบ OLD GED ต้องสอบผ่านอย่างต่ํา 5 รายวิชาไม่ซ้ํากัน แต่ละวิชา
ไม่ต่ํากว่า 500 คะแนน หรือผู้สมัครที่ใช้ผลสอบ NEW GED ต้องสอบผ่านอย่างต่ํา 4 
รายวิชาไม่ซ้ํากัน แต่ละวิชาไม่ต่ํากว่า 160 คะแนน และต้องยื่น Transcript ของเกรด 10
และ 11 ประกอบ

4) ผู้สมัครซึ่งสถานศึกษาในระดับมัธยมปลายไม่ได้คํานวณผลการเรียนเฉลี่ยไว้ ต้องนําใบ
รายงานผลการศึกษาและบันทึกผลการเรียนและหลักฐานการศึกษาอื่นๆ ที่แสดง
ผลสัมฤทธิ์การศึกษาของผู้สมัครมายื่นให้โครงการฯ

3. มีคะแนนสอบความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ซึ่งมีอายุ
 ไม่เกิน 2 ปี นับจนถึงวันที่ยื่นใบสมัคร

1) ผลการสอบ IELTS (Academic) ระดับ 6 ขึ้นไป หรือ

2) ผลการสอบ TOEFL แบบ CBT (computer-based test) 173 คะแนนขึ้นไป หรือ
แบบPBT (paper-based test) 500 คะแนนขึ้นไป หรือ แบบ internet-based test 61
คะแนน ขึ้นไป หรือ

3) ผลการสอบ TU-GET 500 คะแนนขึ้นไป หรือ

4) ผลสอบ NEW SAT (Evidence Based Reading and Writing) 400 คะแนนขึ้นไป

กรณีเป็นนักศึกษาที่ศึกษาจากต่างประเทศ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

1. สําเร็จการศึกษาหรือศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
2. มีผลการเรียนเฉลี่ยระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า (เช่น GCE, GCSE, IGCSE, IB และ
GED) ในระดับ 2.5 ขึ้นไปหรือเทียบเท่าโดยที่

 1) ผู้ที่ใช้ผลสอบ IGCSE , GCSE หรือ GCE ‘O’ level สอบได้ไม้ต่ํากว่า 5 วิชา ไม่ซ้ํากัน แต่
ละวิชาได้เกรดไม่ต่ํากว่า C และวุฒิประกาศนียบัตร GCE ‘AS’ สอบได้ไม่ต่ํากว่า 3 วิชา แต่ละ
วิชาได้เกรดไม่ต่ํากว่า C หรือ GCE ‘A’ level สอบได้ไม่ต่ํากว่า 3 วิชา แต่ละวิชาได้เกรดไม่ต่ํากว่า C โดย GCE ‘AS’สามารถนับรวมกับ GCE ‘A’ level ได้ สอบได้ไม่ต่ํากว่า 3 วิชา วิชาในแต่ละระดับ ‘AS’ และ ‘A’ ซ้ํากับระดับอื่นได้ยกเว้นระดับ ‘AS’ ไม่ซ้ํากับระดับ ‘A’

2) ผู้สมัครที่ใช้ผลการสอบ IB ต้องสอบผ่านอย่างต่ํา 5 รายวิชาไม่ซ้ํากัน แต่ละวิชาได้เกรดไม่ต่ํากว่า 4.00

3) ผู้สมัครที่ใช้ผลสอบ OLD GED ต้องสอบผ่านอย่างต่ํา 5 รายวิชาไม่ซ้ํากัน แต่ละวิชาไม่ต่ํา
กว่า 500 คะแนน หรือผู้สมัครที่ใชผลสอบ NEW GED ต้องสอบผ่านอย่างต่ํา 4 รายวิชาไม่ซ้ํากัน

แต่ละวิชาไม่ต่ํากว่า 160 คะแนน และต้องยื่น Transcript ของเกรด 10 และ 11 ประกอบ

4) ผู้สมัครที่จบการศึกษาจากประเทศนิวซีแลนด์ จะต้องได้ประกาศนียบัตร NCEA Level 2
ซึ่งจะต้องได้ 60 เครดิตในระดับ Level 2 และ 20 เครดิตในระดับ 1,2 หรือ 3

5) ผู้สมัครซึ่งสถานศึกษาในระดับมัธยมปลายไม่ได้คํานวณผลการเรียนเฉลี่ยไว้ ต้องนําใบ
รายงานผลการศึกษาและบันทึกผลการเรียนและหลักฐานการศึกษาอื่นๆ ที่แสดงผลสัมฤทธิ์
การศึกษาของผู้สมัครมายื่นให้โครงการฯมีคะแนนสอบความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ
อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ซึ่งมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับจนถึงวันที่ยื่นใบสมัคร

1) ผลการสอบ IELTS (Academic) ระดับ 6 ขึ้นไป หรือ

2) ผลการสอบ TOEFL แบบ CBT (computer-based test) 173 คะแนนขึ้นไป หรือ
แบบ PBT (paper-based test) 500 คะแนนขึ้นไป หรือ แบบ IBT (internet-based test) 61
คะแนนขึ้นไป หรือ

3) ผลการสอบ TU-GET 500 คะแนนขึ้นไป หรือ

4) ผลสอบ SAT (3 PARTS : Math, Critical Reading และ Writing) 1,100 คะแนน
ขึ้นไป

3. มีจดหมายรับรองจากสถาบันการศึกษาที่ผู้สมัครสําเร็จการศึกษา จํานวน 2 ฉบับ


โครงการBJM เปิดรับสมัครช่วงไหน
ส่วนมากโครงการนี้จะ เปิดรับสมัครช่วง ต้นพฤศจิกายน – ต้นมกราคม โดยต้องยื่นผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษ ตัวจริงด้วย และเริ่มสอบข้อเขียนปลายมกราคม โดยจะมีการคัดเลือก 2รูปแบบ

.1 รอบ Inter Portfolio 1
      เน้นการน าเสนอ Portfolio ของผู้สมัคร ซึ่งต้องแสดงให้เห็นถึง- การทำกิจกรรม และการผ่านการเข้าร่วมการแข่งขันและ/หรือทำการผลิตสื่อและเผยแพร่ผลงานด้านสื่อสารมวลชนอย่างต่อเนื่องสู่สาธารณะเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี และ/หรือ

- ทำกิจกรรมหรือเข้าร่วมการแข่งขันและได้รับรางวัลที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสื่อสารมวลชนในระดับภูมิภาค/ชาติ/นานาชาติ

2) Statement of Purpose

3) การสอบสัมภาษณ์

2 รอบ Inter Program-admission 1 และ Inter Program-admission 2

1) การสอบข้อเขียน เกี่ยวกับความรู้ด้านสื่อสารมวลชน เหตุการณ์ปัจจุบัน เป็นภาษาอังกฤษ

2) การสอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ (เฉพาะผู้ผ่านการสอบข้อเขียน) ตามเกณฑ์ที่คณะ/มหาวิทยาลัยกำาหนด โดยคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ซึ่งแต่งตั้งโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โดยสอบการเขียนเรียงความ หรือการสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ    แนวข้อสอบเน้นถามเหตุการณ์ปัจจุบัน และเรื่องที่เกี่ยวกับเรื่องของสื่อสารมวลชน  อ่านข่าวมากๆแล้วจับประเด็น ทำความเข้าใจกับศัพท์เฉพาะ เช่นพวก new media  soft media  hard media คืออะไร ตัวอย่างข้อสอบ เช่น 

     1) What is the most important code of ethics in news media? 
     2) Freedom of speech is consider essential to functioning democracy. Does Thailand has freedom of                       
                   speech and a functioning democracy? 
      3) How was the communication in ten years ago and how will be in the next ten years ?
      4) Which the problems does Thailand face now? How could journalist help those problems?
       5) How important of mass communication for current situation?
       6) How does the mass communication play the role in economy and political issues?
       7) What is your opinion toward the communication via internet?
        8) How the different aspect between television and newspaper? 
     9) According the cited news, what is your opinion toward the etiquette of mass   communication?
     10) What is the role of the mass mediators in the political issue?
      11) What do u think about news media in Thailand? What are some flaws that should be fixed?
      12). Describe 5 important news around the world from 2012 until today from different countries. Describe the news by showing your understanding and explain why they are significant. Remember that each news must be from different countries.

      สำหรับการตอบคำถามนี้มันไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิดหรอก โดยเขาจะดูเหตุผลและไอเดียมากกว่า โดยให้เวลาเขียนสามชั่วโมงจะมีแบบนี้ 2 ข้อ ดังนั้น 1 ข้อใช้ 90 นาที เทคนิคคือว่า เอาให้ได้ซักประมาณ 1.5-2 หน้ากระดาษน่าจะเพียงพอกับเวลาที่กำหนดให้ แต่ว่าการตอบไม่ควรเป็นเรื่องแบนๆ ควรมีการเปรียบเทียบยกตัวอย่าง ลิสต์ประเด็นและผลกระทบนั้นถ้าเกิดสิ่งที่โจทย์ถาม กับสิ่งที่จะเกิดในทิศทางตรงกันข้ามและควรใช้ภาษาและรูปแบบประโยคให้หลากหลาย

ยกตัวอย่างเช่น

ปกติแล้วคนมักใช้ประโยคที่ขึ้นด้วย ประธานตามด้วยกริยา หากเราสามารถเขียนให้ประโยคขึ้นต้นด้วยอย่างอื่นเช่น adv. หรือ conjunction บ้างก็จะทำให้น่าสนใจ และควรมีคลังคำศัพท์เอาบ้างเก็งความหมายละ5-6คำ เพื่อให้เรียงความดูสละสลวย ไม่ใช่มีแต่ เขาๆๆๆ เธอๆๆๆ เต็มไปหมด  และที่สำคัญที่สุด ฝึกเขียนเยอะๆ ลองเขียนมากๆเพราะยังไงถ้าเข้าไปได้แล้วเราก็ต้องเขียนตอบเป็นภาษาอังกฤษอยู่ดี

 สอบสัมภาษณ์  ส่วนมากจะสอบสัมภาษณ์ภาษาอังกฤษจะถามเรื่องทั่วไป ทำถึงอยากเข้า แบล็คกาวน์เป็นอย่างไร จนไปถึงเรื่องสถานการณ์ปัจจุบัน การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ถามเชิงเสนอความคิดเห็นพวกเสนอแนะต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมหรือไม่ก็เรื่องสื่อ เช่นการ censor สื่อ นโยบายสื่อของนักสื่อสารมวลชนกับ การดำเนินนโยบายในช่วงรัฐบาลทหาร  หรือให้เปรียบเทียบระหว่างงานเขียนในอินเตอร์เน็ตกับในหนังสือ มันต่างกันยังไง อันไหนดีกว่ากัน  ตรงนี้ควรอ่านข่าว เยอะๆและถ้าจะแสดงความเห็นควรเน้นเหตุผลตัวเองชัดๆไปเลย แต่ว่าต้องมีข้อมูลประกอบรองรับที่หนักแน่นพอที่จะทำให้กรรมการเชื่อและคล้อยตามในความเห็นเราได้

ส่วนการสมัครสอบแบ่งเป็น

รอบ Inter Portfolio 1

1. สมัครในระบบออนไลน์ ทางเว็บไซต์www.jc.tu.ac.th/bjm ตามวันที่ที่ก าหนดในก าหนดการรับสมัคร

2. ผู้สมัครพิมพ์แบบฟอร์มใบสมัครที่กรอกข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตเรียบร้อยแล้วและตรวจสอบข้อมูลการสมัครให้ถูกต้อง

3. ผู้สมัครไปยื่นชำระเงินค่าสมัครที่เคาน์เตอร์ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ ตามวันที่ที่กำหนดจำนวนเงิน 1,000 บาท พร้อมค่าธรรมเนียมธนาคาร 30 บาท (เฉพาะนอกพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล) หากผู้สมัครรายใดมิได้ชำระเงินค่าสมัครผ่านเคาน์เตอร์ของธนาคารไทยพาณิชย์ ตามวันที่ที่กำหนดจะถือว่ากเป็นโมฆะ

4. ธนาคารรับชำระเงินค่าสมัครและบันทึกข้อมูลการชำระเงินของผู้สมัคร บันทึกข้อมูลเรียบร้อยแล้วธนาคารจะออกหลักฐานการชำระเงินค่าสมัครโดยผู้สมัครจะต้องนำหลักฐานส่งไปรษณีย์ลงถึงโครงการฯ 

 โดยส่งมาพร้อมกับ

1) Portfolio และ Statement of Purpose ของผู้สมัคร 

2) ใบสมัครพร้อมประวัติที่พิมพ์ทางอินเทอร์เน็ตที่ //www.jc.tu.ac.th/bjm พร้อมติดรูปถ่ายหน้าตรง
ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ ขนาด 1 นิ้ว

3) สำเนาบัตรประชาชน (ผู้สมัครลงนามรับรองส าเนาถูกต้อง) จำนวน 1 ชุด หรือสำเนาหนังสือเดินทาง (กรณีผู้สมัครชาวต่างชาติเท่านั้น)

4) สำเนาหลักฐานการศึกษา

5) หนังสือแสดงผลการศึกษาของผู้สมัคร(Transcript)

6) สำเนาหนังสือแสดงผลการสอบภาษาอังกฤษที่ออกให้โดยสถาบันผู้จัดสอบ  จำนวน 1 ชุด

นำหลักฐานดังกล่าวข้างต้น ใส่ซองเอกสารปิดผนึกส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนจ่าหน้าซองถึงโครงการฯ โดยมหาวิทยาลัยจะถือวันที่ลงตราประทับของที่ทำการไปรษณีย์บนซองใส่เอกสารที่ผู้สมัคร
ส่งให้มหาวิทยาลัย

6. ผู้สมัครตรวจสอบรายชื่อผู้สมัครและสถานะการชำระเงินค่าสมัครได้หลังจาก 5 วัน
(ไม่นับรวมวันหยุดราชการ) ทางอินเทอร์เน็ตที่ //www.jc.tu.ac.th/bjm และตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิสอบสัมภาษณ์ตามวันที่ที่กำหนด


รอบ Inter Program-admission 1 และ Inter Program-admission 2

1. สมัครในระบบออนไลน์ทางเว็บไซต์www.jc.tu.ac.th/bjm ตามวันที่ที่กำหนด

2. ผู้สมัครพิมพ์แบบฟอร์มใบสมัครที่กรอกข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตเรียบร้อยแล้วและตรวจสอบข้อมูลการสมัครให้ถูกต้อง

3. ผู้สมัครไปยื่นชำระเงินค่าสมัครที่เคาน์เตอร์ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ ตามวันที่ที่กำหนด

4. ผู้สมัครตรวจสอบรายชื่อผู้สมัครและสถานะการชำระเงินที่นั่งสอบหรือรายชื่อผู้มีสิทธิ์สัมภาษณ์ได้ตามวันที่ที่กำหนด

6. ผู้สมัครจะต้องมาสอบข้อเขียนในวัน และเวลาตามที่กำหนด โดยผู้สมัครจะต้องนำหลักฐานที่ก าหนดมายื่นต่อเจ้าหน้าที่ในวันสอบข้อเขียน ซึ่งได้แก่

1) ใบสมัครพร้อมประวัติที่พิมพ์ทางอินเทอร์เน็ตที่ //www.jc.tu.ac.th/bjm พร้อมติดรูปถ่ายหน้าตรง
ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาด า ขนาด 1 นิ้ว

2) บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับจริงพร้อมส าเนาที่ผู้สมัครลงนามรับรองส าเนาถูกต้อง) จำนวน 1 ชุด หรือหนังสือเดินทาง (กรณีผู้สมัครชาวต่างชาติเท่านั้น)

3) สำเนาหลักฐานการศึกษา

    3.1 กรณีสำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จะต้องส่งหลักฐานซึ่งแสดงว่าสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า พร้อมรับรองส าเนาถูกต้อง จ านวน 1 ชุด

   3.2 กรณีกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จะต้องส่งหลักฐานใบรับรองการเป็นนักเรียนฉบับจริง ซึ่งมีอายุไม่เกิน 1 เดือนนับจากวันสมัคร จำนวน 1 ชุด

4) หนังสือแสดงผลการศึกษาของผู้สมัครที่สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญหรือเทียบเท่า(Transcript) (ฉบับจริงพร้อมสำเนาที่ผู้สมัครลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง) จำนวน 1 ชุด

5) หนังสือแสดงผลการสอบภาษาอังกฤษที่ออกให้โดยสถาบันผู้จัดสอบ (ฉบับจริงพร้อมสำเนาที่ผู้สมัครลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง) จำนวน 1 ชุด

สามารถปรึกษาเรื่องการแนะแนวการศึกษาต่อในหลักสูตรอินเตอร์ได้ที่ 

แนะแนวเรื่องการศึกษาต่อ และged by pure

https://1ab.in/PC2



Create Date : 29 มกราคม 2564
Last Update : 31 มกราคม 2564 21:12:20 น.
Counter : 6009 Pageviews.

0 comments
“ สเปรย์ฉีดยุง ” dansivilai
(17 เม.ย. 2567 21:04:34 น.)
บัตรทอง -รายชื่อหน่วยบริการเอกชนบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ newyorknurse
(16 เม.ย. 2567 04:04:52 น.)
อย่ามาบ้ง!นะ peaceplay
(5 เม.ย. 2567 15:53:18 น.)
กาแฟคั่วเข้ม เหมาะกับเมนูไหนดี สมาชิกหมายเลข 7983004
(29 มี.ค. 2567 02:14:10 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Tutorbypuri.BlogGang.com

ทากิ
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]

บทความทั้งหมด