การหาเทรนแนวโน้มของราคา
ในตอนนี้ จะเรียกว่า การหา "เทรน" แต่ก่อนที่จะไปหา "เทรน" ต้องมาดูพื้นฐานกันก่อน

การขีดเส้นเทรน ไม่ใช่ว่าจะขีดมั่วๆได้นะ เพราะมีหลักการขีดอยู่ เส้นเทรนพวกนี้ จะใช้คาดการณ์แนวโน้มได้



รูปแบบของเส้นแนวโน้มมี 2 รูปแบบ คือ

1. รูปแบบการเปลี่ยนแนวโน้ม (Reversal Trend)

2. รูปแบบตามแนวโน้มเดิม (Continuous Trend)




การสร้างเทรนขึ้นมา เพื่อให้เราสามารถหาจุดซื้อจุดขาย นักลงทุนส่วนใหญ่ ขึ้นแล้วไม่ขาย รอไปรอมามันก็ขาดทุน เพราะฉนั้นควรจะมีจุด หยุดกำไร หรือตัดขาดทุนไว้








...............................


เรามาดูรูปแบบที่ 1 ก่อน ที่เรียกว่า รูปแบบการเปลี่ยนแนวโน้ม (Reversal Trend)




รูปข้างบน เราจะลากเส้นสีแดง จากจุดต่ำสุด ยิ่งลากผ่านสุดต่ำสุดได้หลายๆอัน ความแม่นย่ำจะยิ่งสูง จากรูป เราจะเห็น L1 และ L2 ถ้ากร๊าฟนี้ มี L3 จุดต่ำส่วนของ L3 จะมีแนวโน้มที่จะไม่เกิน เส้น สีแดง และเส้นสีแดงเราจะเรียกว่า "เส้นแนวรับ" และรูปนี้ เส้นสีแดง เฉียงขึ้น เราจะเรียกว่า "เทรนขึ้น"





รูปข้างบน เราจะเห็นยอด H1 และ H2 และถ้ามี H3 มีโอกาสที่จะไม่พ้นแนวเส้นสีแดง ดังนั้น เราจะเรียก เส้นสีแดงนี้ว่า "เส้นแนวต้าน" และเส้นสีแดงเฉียงลง เราจะเรียกว่า "เทรนลง"




...............................



รูปนี้เรียกว่า หัวและไหล่ (ไม่มีตูด) หรือ Head and Shoulder

จากรูปเราจะเห็นราคามันขึ้นมา จากนั้น มันก็ปรับตัวลงมา จากรูปเราจะเห็นว่า ราคาสูงสุดมีลักษณะ เป็นหัว และยอก 2 ยอดข้างๆ มีลักษณะเป็นหัวไหล่

จากนั้น เราก็สร้างเส้น Neck Line ขึ้นมา ถ้าราคาหลุดเส้น Neck line ก็จะเป็นการเปลี่ยนเทรน เราควรจะไปรับตรงไหน แต่โดยทั่วๆไปเขาจะกะระยะจากเส้นหัว จนถึง เนกไลน์

เราจะเห็นยอดของราคาสุดท้าย ถ้ามันไม่ผ่านเส้น Neck Line มันก็จะดิ่งหัวลงยาวเลย


..................................



อันนี้เรียกว่า หัว และไหล กลับด้าน หรือ (Reversal Head and Shoulder)

เหมือนกับ อันข้างบน เเบยงแค่กลับด้านแค่นั้นเอง ดูลักษณะหลุม อันสุดท้าย หากมันไม่สามารถ ผ่านเส้น Neck Line ลงมาได้ มันจะดีดกลับขึ้นไป



.................................



รูปแบบต่อไปเรียกว่า Triple Top รูปบบนี้ในตลาดต่างประเทศจะไม่ค่อยเห็นแล้ว เพราะ "เจ็บแล้วจำ" สวนมากจะเป็น ดับเบิ้ลเท๊ป

แต่ในตลาดหุ้นไทย ยังมีรูปแบบนี้อยู่ ถ้าสมมุติมันได้ 2 ยอด หรือ 3 ยอดแล้ว หากมันหลุดเส้น Neck Line ลงมา เราะจะไปรับที่ Target

ความจริง รูปแบบนี้จะเหมือนกับ รูปแบบ "หัว และ ไหล่" มาก แต่เพียงว่า ไหล่ซ้าย และไหลขวา มันมีขนาดใหญ่ เขาจึงไม่เรียกหัวและไหล่



............................


ต่อไปเป็นรูปแบบ Triples Bottorm เหมือนรูปแบบ Triple Top เพียงแค่กลับหัวแค่นั้น คือ ราคา ลงมาทำจุดต่ำสุด 3 ครั้ง เมื่อมันผ่านเส้น Neck Line ได้ เราก็จะไปรับ ราคาที่ Target

แต่ยังมีอีกว่า หากว่า เกิดรูปแบบ นี้โอกาส ที่มันจะปรับราคาขึ้นไปเลยก็มีสูง โดยเฉพาะ จุดหยุดกำไร หากมันไม่สามารถทะลุเส้น Neck Line ลงมาได้ โอกาส ที่มันจะปรับราคาขึ้นมีสูงมาก




............................





รูปแบบรูปข้างบนเรียกว่า Doubles Top หลักการเหมือน Triple Top เลย แค่มี 2 ยอดเท่านั้น

เขาบอกว่า เราต้องพยายามหาเส้น Neck Line ให้ได้ เพราะถ้าหลุดเส้น Neck Line ลงมา แล้วดีดกลับไม่ผ่านเส้น Neck Line ก็จะเป็นเรื่องใหญ่ มันจะดึงหวัลงไปเลย เขาว่างั้นนะ


.......................



ต่อไปเป็น Doubles Bottorn หลักการก้เหมือนกันเลย เกิดจุดต่ำสุด 2 ครั้ง และกร๊าฟขึ้นทะลุผ่านเส้น Neck Line และไม่สามารถกลับลงมาได้อีก นั้นเป็นสัญญาณเปลี่ยนเทรน



..........................

ต่อไปเป็นเรื่องรูปแบบตามแนวโน้มเดิม (Continuous Trend)

ที่ผ่านมาทั้งหมดเป็นการกลับตัวของแนวโน้ม ต่อไปเรามาศึกษารูปแบบตามแนวโน้มเดิม ส่วนใหญ่จะฟอร์มตัวเป็นรูป 3 เหลี่ยม ซึ่งจะมีอยู่ หลายแบบ

1.รูปแบบ 3 เหลี่ยม Triangles Formation เช่น
1.1 Symmetry Triangle หรือ สามเหลี่ยมสมมาตร
1.2 Ascending Triangle หรือ สามเหลี่ยมฐานสูงขึ้น
1.3 Decending Triangle หรือ สามเหลี่ยมยอดต่ำลง

2. รูปแบบธง และรูปแบบสามเหลี่ยมชายธง Flag and Pennant Formation
3. รูปแบบสี่เหลี่ยมมุมฉาก Rectangular Formation
4. รูปแบบทรงลิ่ม Wedge Formation
5. รูปแบบต่อเนื่องหัวและไหล่ (Continuous Head and Shoulder Formation)



.....................

1.1 Symmetry Triangle หรือ สามเหลี่ยมสมมาตร

รูปนี้เป็นรูป 3 เหลี่ยมด้านเท่า จากรูปถ้าเราลากเส้นแนวโน้ม ก็จะได้ดังรูป คือจุดต่ำสุดก็ยกขึ้น จุดสูงสุดก็ต่ำลง เขาจะเรียกรูปนี้ว่า 1.1 Symmetry Triangle หรือ สามเหลี่ยมสมมาตร เขาจะตีเส้น ว่ามันจะมีจุดทะลุไหม ถ้าราคามันแกว่ง เข้ามาใน 3 เหลี่ยมแล้ว มันจะไม่มีที่ไป หากมันทะลุขึ้นบน หมายความว่า แนวโน้มจะไม่เปลี่ยน และส่วนมากจะทะลุขึ้นบน ดูในจุด C ประมาณว่า ขึ้นมาอยู่ดีๆ จากนั้น พักตัว แล้วก็ไปต่อ


..........................




1.2 Ascending Triangle หรือ สามเหลี่ยมฐานสูงขึ้น


แปลตามตัวเลย ฐานมันจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ยอดเท่าเดิม จะว่าไปแล้วก็คล้ายๆ ทริ้ปเบิ้ลท๊อปอยู่เหมือนกัน แต่ที่ต่างคือ จุดต่ำสุดมันยกตัวขึ้นเรื่อยๆ
สังเกตุดู กร๊าฟแบบนี้มักอยู่ในตลาดกระทิง และเราจะเห็นจุดตีทะลุด้วย



...............................


1.3 Decending Triangle หรือ สามเหลี่ยมยอดต่ำลง


เขาเรียกว่า 3 เหลี่ยมยอดต่ำลง ตามชื่อ ในตลาดสภาวะหมี ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นตอนหุ้นลง มันเกือบๆจะกลายเป็นทริปเบิ้ลบัททอม แต่ดูยอดมันต่ำลงเรื่อยๆ นั้นแสดงว่า มันเริ่มหมดแรงซื้อ จนมันเข้าสู่จุดตีทะลุ มันจึงลงต่อ เส้นแนวโน้ม A-C ก็เปรียบ เสมือนเส้น neckline ด้วย ดูเส้นประสีแดงด้วย เป็นการยืนยันสัญญาณ



......................................




รูปธงขนานลง Down Flag

ชื่อก็ตามรูปเลย

คือราคาได้ขึ้นมาถึงจุดหนึ่งจากนั้นก็แกว่งดัว คือสุดสูงสุดก็ต่ำลง จุดต่ำสุดก็ต่ำลง และเส้นทะลุขึ้นไปข้างบน มันก็จะเป็นไปตามแนวโน้มเดิม คือ หากหุ้นกำลังขึ้นอยู่มันก็จะขึ้นต่อ ดูโวลุ่ม (ปริมาณการซื้อขายมันด้วยนะ)


........................................


ต่อไปเป็นรูป 3 เหลี่ยมชายธง หรือ Down Pennant คล้ายกับ 1.1 Symmetry Triangle หรือ สามเหลี่ยมสมมาตร มาก แต่มันใช้เวลาน้อยกว่า และมันสามารถยืนอยู่เหนือเส้นแนวโน้มได้ ลองดูที่ธง โวลุ่มมันจะน้อยลงด้วย จากนั้นเราก็จะเห็นมันทะลุธงขึ้นไป มันเป็นการยืนยันแนวโน้มเดิม


..........................

สามเหลี่ยมชายธงสบัดขึ้น Up Pannant

จากนั้นเราก็ขีดเส้นแนวโน้มทั้งเส้นบนและเส้นล่าง และต้องดูว่า มันตีทะลุบนหรือล่าง ถ้าทะลุมันจะเป็นไปตามแนวโน้มนั้น

ก่อตัวเหมือน 3 เหลี่ยมด้านเท่า แต่ปลายจะสบัดขึ้น



รูปนี้ ธงขนานลง Up Flag

ขีดเส้นสีแดงเพื่อให้รู้ว่า เมื่อไหร่เราจะเลิกถือ เมื่อไหร่ ถ้ามันหลุดเส้นที่เราขีดไว้เราก็น่าจะต้องขายทิ้งแล้ว
การขีด

..............................



รูปแบบนี้จะเรียกว่า Falling Wedeg หรือรูปทรงลิ่มในตลาดขาขึ้น
คือรูปทรงลิ่มในตลาดขาขึ้น คือแบบว่าขึ้นมาอยู่ดีๆ จากนั้นก้พักตัว แล้วก็เริ่มงง ว่าจะไปไหนดี จากนั้นจึงตัดสินใจ ขึ้นดีกว่า

ดูเส้นแนวโน้มที่เราขีดดีๆ จุดยอดก็ต่ำลง คือเส้นแนวโน้มต่ำลงทั้ง 2 เส้น

เส้นสีแดง 2 เส้นนั้น คือเทรนนะ แต่เป็นเส้นเทรนเล็ก


................................





Rising Wedeg หรือ รูปทรงลิ่มในตลาดขาลง คือมันตรงกันข้ามกับอันข้างบน คือประมาณว่า ดูเหมือนจะดี แต่ท้ายที่สุดกลับไปไม่รอด

ดูดีๆ ในรูป 3 เหลี่ยมนั้น จุดสูงสุดก็สูงขึ้น จุดต่ำสุดก็สูงขึ้น แต่ท้ายที่สุดไปไม่รอด มันทะลุเส้นแนวโน้มลงเฉยเลย

.................................




รูปนี้เรียกว่า Rectangular in uptrend หรือ 4เหลี่ยมมุมฉากในขาขึ้น
ลักษณะคือแกว่งตัวในแนวขนาน จากนั้นก็ทะลุเส้นเทรนที่เราขีด

..................................



ต่อไปเป็นรูปแบบตรงกันข้าม เรียกว่า Rectangular in Downtrend หรือ 4 เหลี่ยมมุมฉากในขาลง

............................




รูปแบบต่อเนื่อง หัวและไหล่กลับด้าน

ดูไปดูมาก็คล้ายๆ ทริปเบิ้ลท๊อปอีกแล้ว เพื่อแต่ มีจุด H ที่ต่ำลงมากมากว่าเพื่อน เราก็ลงขีดเส้น เทรน หรือเส้น neckline ก็จะได้ตามรูป ดังนั้นถ้ามันทะลุขึ้นไปได้ มันก็จะไปยาว


....................................



รูปนี้คือ รูปแบบต่อเนื่องหัวและไหล่ แนวโน้มมันจะลงต่อเหมือนที่มันเคยเคลื่อนไหวมา เพราะมันทะลุเส้นเทรนที่เราขีด

รูปแบบต่างๆมีแค่นี้ เดียวเราจะไปลงขีดกันจริงๆ


........................................

ต่อไปเราก็ลงมาขีดเทรนจากกร๊าฟ SET




................................


จากนั้น เราก็มาหาเส้นแนวรับแนวต้าน ณ จุด Sep 05 เราก็ทำการลากเส้นเทรน จากจุดยอดสู่สุดยอด และจุดเหว สู่จุดเหว ยิ่งผ่านจุดยอด หรือ จุดเหวมากเท่าไหร่ ยิ่งแม่นยำ

สังเกตุดูดีๆ เส้นเทรนที่เราลาก มีลักษณะเป็น 3 เหลี่ยมด้านเท่าตาม ทฎษฎี เลย และจากเส้นที่ เราขีด เราก็จะได้เส้นแนวต้าน ณ จุด Sep 05 ที่ประมาณ 720 หากทะลุจุดนี้ มีโอกาศขึ้นต่อ ส่วน แนวรับจะอยู่ที่ 640 หากทะลุ โอกาศ ที่มันจะลงก็มีสูง

.................................


ต่อไปเรามาดูเป้าหมายระยะใกล้ๆกันดีกว่า




รูปนี้เป็นการหาจุดแนวรับ ในระยะสั้นๆ จากรูปแนวรับจะอยู่ที่ 680 หากว่า ราคาลงมาถึง 680 เป็นสัญญาณที่ไม่ดี โอกาสเปลี่ยนเทรนมีสูง

สังเกตุดูดีๆ จะพบว่าเขาจะขีด ตรงไส้เทียนเลย


..........................................




ต่อไปเป็นความรู้ใหม่ เรียกว่า เส้น Speed Lind การการใช้ พอจะเข้าใจหน่อยๆ ประมาณว่า ไว้หาแนวรับและแนวต้าน อีก 2 แนว

จากรู้ ใน วงกลมสีแดงคือฟรั่งชั่นของมัน เราต้องการอยากจะรู้ว่า ณ เวลา Sep-05 แนวต้าน ที่ 2 และ 3 คือ ค่าเท่าไหร่ เราก็จะได้ดังรูป
แนวต้านแรกคือ 720 แนวที่ 2 คือ 740 แนว ที่ 3 คือ 775 สังเกตุดูดีๆ เส้นที่เราลาก ต้องลากผ่าน จุดยอดของราคา 2 จุด

..................................





อันนี้เป็นการหาแนวรับ เราจะเห็นแนวรับแรกอยู่ที่ 640 แนวที่ 2 อยู่ที่ 690 แนวที่ 3 720 ดูๆไปแล้ว ลักษณะจะคล้ายๆการลงสเกลเล็กๆนะ เหมือนพวกเขียนแบบ ดูเหมือนว่า เส้นที่เราเรียกว่า แนวรับ แนวต้าน มันเกือบๆ หรือ กึ่งๆว่าจะใช้แทนกันได้เลย ประมาณนั้น

........................................



Create Date : 02 มีนาคม 2553
Last Update : 29 มิถุนายน 2553 14:50:14 น.
Counter : 4988 Pageviews.

0 comments
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๗ มาช้ายังดีกว่าไม่มา
(2 ม.ค. 2567 07:30:30 น.)
พบเจอภาพอะไร? ส่วนหนึ่งของภาพน่าสนใจจึงตัดมาใช้ คุกกี้คามุอิ
(1 ม.ค. 2567 03:56:23 น.)
ทนายอ้วนจัดดอกไม้ - จัดดอกไม้ง่ายๆ – แจกันสวัสดีปีใหม่ 2567 - กุหลาบพวงสีชมพู - ขาว ทนายอ้วน
(2 ม.ค. 2567 15:16:32 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Tunsystem.BlogGang.com

tunsystem
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 45 คน [?]