เที่ยวอยุธยากับ ตุ๊ก-ตุ๊ก ... ตอน 4 วัดมเหยงคณ์และวัดกุฎีดาว










วัดมเหยงคณ์และวัดกุฎีดาวถือเป็นวัดพี่วัดน้อง

เพราะในสมัยพระเจ้าท้ายสระ

พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 30 ของกรุงศรีอยุธยา

ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดมเหยงคณ์ครั้งใหญ่


สมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเจ้าฟ้าพร

หรือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 31 แห่งกรุงศรีอยุธยา

(ทั้งสองพระองค์ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าเสือ

พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 29 แห่งกรุงศรีอยุธยา)


ก็ได้ปฏิสังขรณ์วัดกุฎีดาว ซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามขึ้นบ้าง








การที่บูรณะวัดพร้อม ๆ กัน คือ วัดทั้งสองทรุดโทรมลงในเวลาใกล้เคียงกัน

แสดงว่าวัดกุฎีดาวมีมาอยู่แล้ว แม้จะไม่การปรากฏชื่อมาก่อน

ซึ่งเวลาที่สร้างอาจใกล้เคียงกับวัดมเหยงคณ์

จากคำให้การขุนหลวงหาวัดกล่าวว่า

พระเจ้าธรรมราชา (พ.ศ.1844-1853)

กษัตริย์ กรุงอโยธยาศรีรามเทพลำดับที่ 8

พระราชบุตรเขยองค์ใหญ่ของพระเจ้าสุวรรณราชา

กษัตริย์ กรุงอโยธยาศรีรามเทพลำดับที่ 7

ทรงสร้างกุฎีดาว

ส่วนพระนางกัลยาณี พระอัครมเหสี ทรงสร้าง วัดมเหยงคณ์**





ออกจากวัดเดิม หรือ วัดอโยธยาผ่านวัดกุฎีดาวก่อน แวะก่อน








ตำหนักกำมะเลียน

สันนิษฐานว่าเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

มาประทับเพื่อทอดพระเนตรการบูรณะวัด








กำแพงแก้ว

สังเกตุการก่ออิฐในสิ่งก่อสร้างที่วัดนี้

เรียงด้านสั้นสลับยาวภายในแถวเดียวกันอย่างเป็นระเบียบ

ซึ่งเป็นลักษณะการก่ออิฐแบบที่นิยมทำกันในสมัยอยุธยาตอนปลาย








ระเบียงแก้วย่อมุม








ซุ้มประตู








พระอุโบสถ


มีมุกด้านหน้าและด้านหลัง บันไดขึ้นทั้งสองทาง

ด้านหน้า 3 ประตู








ด้านหลัง 2 ประตู








บ่อหน้าฐานชุกชีพระประธาน ... ลืม?








พระพุทธรูปเป็นหินทราย แกะเป็นท่อน แล้วนำมาต่อกัน















หน้าต่างแปดช่อง ฐานแอ่นโค้งเป็นรูปเรือสำเภา แบบอยุธยาตอนปลาย














เจดีย์ประธาน

ทรงระฆังบนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ... ทำให้ฐานสี่เหลี่ยมค่อย ๆ กลม

มีบันไดขึ้นไปยังลานประทักษิณ








ส่วนยอดเจดีย์หักลงมา














อาคารหลังสุดเป็นพระวิหาร

มีมุกทั้งด้านหนัาและหลัง ประตูเข้าด้านละ 2 ประตู

ฐานแอ่นโค้งเป็นรูปเรือสำเภา แบบอยุธยาตอนปลาย








หน้าต่าง 6 ช่อง เจาะจริงและหลอกจึงเหลือ 3 ช่องหน้าต่าง

คงเพื่อใช้ผนังรับน้ำหนักโครงหลังคา








ด้านในมีเสากลาง มีพระพุทธรูปรอบแท่น














เนื่องจากทางเข้าวัดมเหยงคณ์ปิด

ต้องไปเข้าทางหมู่บ้านช้าง








นอกเหนือคำให้การขุนหลวงหาวัด

พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาหลายฉบับ

กล่าวความต้องกันว่า

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ทรงสร้างวัดมเหยงคณ์









เล่านิดนึงเนาะ อ่านมาแล้วอยากเล่า


1 พระเจ้าอู่ทอง

ทรงอภิเษกกับพระขนิษฐา ของขุนหลวงพะงั่ว

ซึ่งครองเมืองสุพรรณ ... ราชวงศ์สุพรรณภูมิ

มีพระโอรสองค์ใหญ่คือพระราเมศวร ให้ไปครองลพบุรี


2 พระราเมศวรลงมาครองกรุงศรีอยุธยา เมื่อพระเจ้าอู่ทองสิ้นพระชนม์


3 ขุนหลวงพะงั่วยก ทัพมาจากสุพรรณ

พระราเมศวรจึงถวายราชสมบัติให้และกลับไปครองลพบุรี


4 พระเจ้าทองลันพระโอรส

ครองราชย์ต่อจากขุนหลวงพะงั่วเมื่อทรงสิ้นพระชนม์

พระองค์พระชนมายุ 15 พรรษา ครองราชสมบัติได้ 7 วัน


5 สมเด็จพระราเมศวรเสด็จลงมาแต่เมืองลพบุรี เข้ายึดกรุงศรีอยุธยา

ให้กุมตัวสมเด็จพระเจ้าทองลันไปประหารชีวิต ณ วัดโคกพระยา

และเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นครั้งที่ 2


6 พระรามราชาธิราช โอรสพระราเมศวร ทรงพิพาทกับเจ้าพระยาเสนาบดี


7 พระอินทราชา เจ้าเมืองสุพรรณหลานของขุนหลวงพะงั่ว

เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้ากรุงจีน ร่วมกับเจ้าพระยาเสนาบดี ยึดอยุธยา

เมืองลูกหลวงที่สำคัญตอนนั้นได้แก่

สุพรรณบุรีให้เจ้าอ้ายพระยา (1) ปกครอง

เมืองแพรกศรีราชา (สรรคบุรี) เจ้ายี่พระยา (2) ปกครอง

เมืองชัยนาท เจ้าสามพระยาโอรสองค์ที่ 3 ปกครอง


(... บางท่านว่าเมืองแพรกศรีราชา หรือ เมืองสรรค์

คือสรรค์บุรี ก็คือเมืองไตรตรึงษ์

ใกล้ละซิว่าพระเจ้าอู่ทองสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าไชยศิริ

พระเจ้าไชยศิริ เจ้าเมืองอุโมงเสลาหรือเมืองไชยปราการ

เสียเมืองให้ขุนเสือขวัญฟ้า แห่งอาณาจักรเมา (พระเจ้าอนุรุธมหาราชแห่งพม่า)

จึงเผาเมืองแล้วหนีลงมาทางใต้สร้างเมือง ไตรตรึงษ์

เจ้าเมืองไตรตรึงษ์ ทรงมีพระธิดาผู้ทรงสิริโฉม (อุษา)

ท้าวแสนปม (ท้าวชินเสนปลอมตัวมาอยู่กับยาย)

ปลูกมะเขือให้นางอุษาเสวยมะเขือตั้งท้อง

พระโอรสกินข้าวเย็นของท้าวแสนปม ถูกเนรเทศ

พระอินทร์ให้กลองวิเศษ ตีแล้วปมหายไป

สร้างเมืองเทพนคร

ให้พระโอรสนอนในอู่ทอง ... พระเจ้าอู่ทองปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา

...)


8 เจ้าสามพระยา เป็นพระโอรสของพระอินทราชา องค์ที่ 3

เมื่อพระอินทราชาเสด็จสวรรคต

เจ้าอ้ายพระยา(1) และ (2) ต่อสู้ชิงราชสมบัติ

จึงเกิดการชนช้างกันขึ้น ณ สะพานป่าถ่าน สิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์









เจ้าสามพระยา แห่ง เมืองชัยนาท เข้ามาครองราชสมบัติ

ถวายพระนามสมเด็จพระบรมราชาธิราชเป็นที่สอง

แลเสด็จไปตีเมืองนครหลวงกัมพูชาได้ แล้วทรงสร้างวัดมเหยงคณ์


คราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 พ.ศ. 2112 พระเจ้าบุเรงนอง

ใช้วัดแห่งนี้เป็นที่ตั้งกองทัพหลวงบัญชาการรบ

และเมื่ออยุธยาแพ้สงคราม

พระมหินทราธิราชก็ได้ให้เข้าเฝ้าฯ กษัตริย์พม่าผู้ชนะ ณ พลับพลาที่วัดนี้













วัดมเหยงคณ์ เดิมเป็นพระอารามหลวง

และกลายเป็นวัดร้างไปภายหลังกรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อ พ.ศ. 2310


ซุ้มประตู เป็นซุ้มบันแถลง

คือมีลักษณะเหมือนหน้าบัน ประกอบด้วยช่อฟ้า ใบระกาเล็กๆ

ก่ออิฐลดระดับ 2 ชั้น มีฐานล่างอยู่ระดับเดียวกัน

เป็นฐานบัวซึ่งมีลูกแก้วอกไก่ มีทั้งหมด 6 ซุ้มประตูด้วยกัน

ซุ้มประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก คือด้านหน้า

ยังปรากฏรูข้างหลังไม้ของประตูด้านบน และด้านล่าง

(เห็นรูที่ฐานล่างด้านในประตู)

และแนวที่วางใส่กรอบประตู

ซึ่งจะไม่มีปูนฉาบทับเป็นทางยาว








พระมหากษัตริย์จะเสด็จมาวัดโดยทางน้ำ

ซึ่งเดิมมีคลองมาจนถึงหน้าวัด ปัจจุบันเหลือเพียงสระน้ำ








ฉนวน เป็นเส้นทางสำหรับพระมหากษัตริย์ พระมเหสีและเจ้านายฝ่ายใน

จากท่าน้ำ ไปยังพระอุโบสถ








เพื่อเข้าสู่อุโบสถได้เลย








ผู้ที่ตามเสด็จจะไปพระอุโบสถทางด้านนอกกำแพงฉนวนทางทิศเหนือและใต้

(รูปนี้เห็นรูใต้คานไม้บน)














ซึ่งจะมีเจดีย์รายทรงลังกา









อุโบสถ

หันหน้าไปทางทิศตะวันออก

ผนังและเสาของอุโบสถก่ออิฐฉาบปูน

ขนาดจะแสดงถึงความใหญ่โตของอุโบสถ

มีมุขทั้งด้านหน้าและหลัง

สร้างทับฐานเดิมที่สร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น








ด้านหน้ามีประตู 3 ช่อง








ด้านหลังมีประตู 2 ช่อง








พระอุโบสถขนาดใหญ่ เจาะช่องหน้าต่างด้านละ 3 บาน

ลายซุ้มประตูหน้าต่าง เหมือนกับวัดกุฎีดาว








ฐานชุกชีขนาดใหญ่ 2 แท่น

ซึ่งเดิมคงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่








พระพุทธรูปหินทรายในอุโบสถ

เป็นหินทรายแต่ละชิ้นแล้วนำมาต่อกัน




















อุโบสถมีแนวกำแพงแก้วล้อมรอบ ย่อมุมกำแพง














เสมาที่ทำด้วยหินชนวนสีเขียว กว้าง 1 เมตร สูง 2 เมตร หนา 20 เซนติเมตร

ท่าน น. ณ ปากน้ำท่านให้ความเห็นไว้ว่า

เป็นใบเสมาแบบเดียวกับใบเสมาของพระเจ้าอู่ทองที่วัดพุทไธสวรรย์

และเก่ากว่าใบเสมาแบบพระราเมศวร

ทำให้อยากยืนยันว่าวัดนี้ได้สร้างมาก่อนสมัยเจ้าสามพระยาอย่างแน่นอน

อย่างต่ำสุดก็ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอู่ทอง หรืออาจจะยิ่งกว่านั้น **


ฐานใบเสมา เป็นฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง

มีฐานเขียงรองรับขาสิงห์ ... มุมเหมือนขาสิงห์



และฐานบัว (บัวคว่ำบัวหงาย) ย่อมุมไม้สิบสองรองรับฐานบัวกลม








เจดีย์ประธาน

อยู่ทางทิศตะวันตกนอกกำแพงแก้วของอุโบสถ ด้านหลังวัด

เจดีย์องค์เดิมได้พังทลายถึงส่วนกลางขององค์ระฆัง

ที่เห็นในปัจจุบันต่อเติมให้เกือบสมบูรณ์โดยทางวัดเอง








เจดีย์ทรงระฆังคว่ำ ตั้งอยู่บนฐานเขียงทรงกลม 3 ชั้น

มีบันไดขึ้นทั้ง 4 ทิศ

มีฐานทักษิณสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 32 เมตร

โดยรอบฐานเจดีย์มีช้างปูนปั้นยืนเต็มตัวสูง 1.05 เมตร

ประดับอยู่ 80 เชือก

เรียกได้ว่าเป็นเจดีย์ช้างล้อม

น่าจะเป็นอิทธิพลทางศาสนาและศิลปะจากสุโขทัย








ซึ่งช้างนอกจากจะเป็นสัตว์ที่มีความสัมพันธ์กับคติพุทธศาสนาแล้ว

ในสมัยพระเจ้าท้ายสระ พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่นิยมจับช้างป่าด้วย

และในบางปีทรงให้ต่อเรือกำปั่นขนาดใหญ่

บรรทุกช้างออกไปขายยังอินเดีย โดยบรรทุกช้างได้ถึง 30 เชือกต่อลำ








มีซุ้มรอบองค์เจดีย์ 20 ซุ้ม

ในซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปหินทราย








ยอดของเจดีย์องค์เดิมจัดวางอยู่








เจดีย์ทองแดง

สร้างในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ

อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอุโบสถ นอกกำแพงแก้ว

เป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมมีฐานทักษิณ 2 ชั้น ส่วนยอดหักหายไปแล้ว

ภายในองค์เจดีย์กลวง มีบันไดขึ้นสู่คูหาเจดีย์ทางด้านตะวันออก

มีผู้สันนิษฐานว่าเดิมคงมีแผ่น ทองจังโก้ หุ้มองค์เจดีย์

แต่ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นทองแดง จึงเรียกกันว่า เจดีย์ทองแดง

และหน้าเจดีย์ มีฐานวิหารเก่าเหลืออยู่














ผ่านมา 5 วัดคือ

วัดใหญ่ชัยมงคล วัดพนัญเชิง ว้ดอโยธยา วัดกุฎีดาว และ วัดมเหยงคณ์

ความรู้สึกที่เกิดขึ้นคือ กรุงศรีอยุธยานี้ช่างยิ่งใหญ่จริง ๆ

สิ่งที่ต่างกันอย่างจัดเจนของล้านนาและอยุธยาคืออุโบสถ

ทางล้านนาสร้างวิหารให้คนเข้าไปหาพระ ... วิหารจะใหญ่

โบสถ์จะใช้เฉพาะในกิจของสงฆ์เท่านั้น ... โบสถ์จะเล็กและปิดนอกจากจะมีงาน และห้ามผู้หญิงเข้า

ยกเว้นโบสถ์เก่าวัดพระธาตุจอมปิง ที่ให้เข้าไปชมภาพเจดีย์หัวกลับ






ขอบคุณของแต่งบล็อกจากคุณชมพรค่ะ




Create Date : 30 มกราคม 2558
Last Update : 30 มกราคม 2558 15:25:10 น.
Counter : 9835 Pageviews.

26 comments
ตลาดเช้า, สถานีรถไฟพินอูลวิน สายหมอกและก้อนเมฆ
(18 เม.ย. 2567 17:06:42 น.)
มหาสงกรานต์ '67 (รักโดรนมาก) สมาชิกหมายเลข 7777777
(17 เม.ย. 2567 18:18:19 น.)
春和歌山市 : My First Hanami @ Wakayama Castle mariabamboo
(16 เม.ย. 2567 12:49:02 น.)
วัดพระธาตุเสด็จ อำเภอเมือง ลำปาง tuk-tuk@korat
(14 เม.ย. 2567 13:54:44 น.)
  
ผมฮู้จักสองวัดนี้
ตอนอ่านประวัติศาสตร์ไทยหื้อหมิงหมิงฟังครับ
ตะก่อนบ่าเกยฮู้จักเลยครับ 5555

ปล. งานตี้บล็อก แต่ละภาพ แต่ละคำ จะแยกกันเป็นอิสระเลยครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 30 มกราคม 2558 เวลา:16:35:22 น.
  
สามวัดหลัง ยังไม่เคยไปค่ะ

หนูชอบอ่านข้อสังเกต ของพี่ตุ๊กด้วย



บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
anigia Parenting Blog ดู Blog
พรหมญาณี Dharma Blog ดู Blog
Ariawah Auddy Photo Blog ดู Blog
tuk-tuk@korat Travel Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 30 มกราคม 2558 เวลา:16:43:50 น.
  
อ่านนานไปหน่อย หนูนึกว่าได้เจิม ไม่ทันคุณก๋าค่ะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 30 มกราคม 2558 เวลา:16:44:36 น.
  
ว่าทำโน้ตย่อไว้ให้อ่านแล้วนะคะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 30 มกราคม 2558 เวลา:16:58:43 น.
  
เคยไปทำบุญที่วัดมเหยงคณ์
ตอนน้ำท่วม ต้องนั่งเรือเข้าไป
ส่วนวัดกุฎีดาวได้เข้าไปชมครับ
โดย: moresaw วันที่: 30 มกราคม 2558 เวลา:17:35:36 น.
  
มาเที่ยววัดแล้วขอค่ารถกลับบ้านโด้ย
เป๋าแห้งแล้ว ไว้พรุ่งนี้จะได้มาใหม่

โดย: nulaw.m (คนบ้านป่า ) วันที่: 30 มกราคม 2558 เวลา:17:40:20 น.
  
อ่านประวัติศาสน์ กรุงศรีอยุธยา มีพระมหา
กษัตริย์หลายพระองค์ ที่แรกคิดว่ามีไม่ถึง
5 ที่ไหนได้เยอะมากจริง ๆ
โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 30 มกราคม 2558 เวลา:19:02:40 น.
  
ตามมาเที่ยวต่อค่ะ
วันนี้เพื่อนพาไปเที่ยววัดหลายคนเลย ^__^
โดย: เนินน้ำ วันที่: 30 มกราคม 2558 เวลา:19:52:05 น.
  
อยุธยาไม่ได้ไปเที่ยวนานมากพอสมควร
ยิ่งใหญ่เจริญด้วยวัฒนธรรมทางศาสนาจากสถานที่ๆยังหลงเหลือ
ทิ้งร่องรอยไว้ให้ชนชาติไทยรุ่นหลังๆได้ศึกษาสมเป็นเมืองหลวงเก่าของเรานะค่ะ
ทางจังหวัดอนุรักษ์ดูแลไว้เรียบร้อยสะอาดตามากๆเลย
ขอบคุณคุณตุ๊กด้วยค่ะที่พาชมพร้อมประวัติศาสตร์ประกอบได้เยี่ยมคร้า
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กะว่าก๋า Dharma Blog ดู Blog
tuk-tuk@korat Travel Blog
โดย: Tui Laksi วันที่: 30 มกราคม 2558 เวลา:19:58:16 น.
  
อ่านเพลินเลยครับ
โดย: พี่ เมศร์ IP: 101.51.101.112 วันที่: 30 มกราคม 2558 เวลา:20:36:40 น.
  
สวัสดีค่ะ พี่ตุ๊ก ^^

เพิ่งคอมเม้นต์ถึงอยุธยาที่บล๊อกพี่หนูพอดีค่ะ
เปิดมาเจอบล๊อกพี่ตุ๊กเลย อิอิ
โดย: ปรัซซี่ วันที่: 30 มกราคม 2558 เวลา:23:03:30 น.
  
thx u crab
โดย: Kavanich96 วันที่: 31 มกราคม 2558 เวลา:3:55:58 น.
  
แบบนี้ดีแล้วค่ะพี่ตุ๊ก สนุก... หนูเลื่อนขึ้นเลื่อนลง อ่านซ้ำเอง เลยช้าซะ
โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 31 มกราคม 2558 เวลา:5:15:33 น.
  
สวัสดียามเช้าครับพี่ตุ๊ก

โหวต Travel blog หื้อเลยครับ

โดย: กะว่าก๋า วันที่: 31 มกราคม 2558 เวลา:6:21:55 น.
  
นี่นับเป็นอีก 2 วัดที่เวลาไปอยุธยาแล้วต้องไปทุกทีครับ ไปแต่ละครั้งความรู้สึกมันก็แตกต่า่งจากเดิม แม้ว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งเดิมก็ตาม
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 31 มกราคม 2558 เวลา:7:18:49 น.
  
สมัยโน้น คงยิ่งใหญ่จริงๆ เห็นโครงสร้างอาคารแล้ว
หน้าตาตอนที่ยังสมบูรณ์อยู่คงสวยน่าดู

คลองที่ใช้สำหรับการเสด็จตอนนั้นจะเป็นยังไงนะ กลายเป็นสระน้ำไปซะแล้ว

ชื่อวัดกุฎีดาว ฟ้ายังนึกไม่ออกว่าเคยได้ยินมาจากไหน
คุ้นๆอยู่
โดย: กาบริเอล วันที่: 31 มกราคม 2558 เวลา:13:30:45 น.
  
1 โหวตค่า
ดูโบราณสถานจนเมื่อยเลย อิอิ

อยุธยาสมัยรุ่งเรือง คงสวยงามมากนะคะ

ขอบคุณพี่ตุ๊กที่บอกพันธ์นกด้วยค่า

โดย: สมาชิกหมายเลข 861805 วันที่: 31 มกราคม 2558 เวลา:20:03:15 น.
  
ซุ้มประตู กำแพงแก้วใหญ่โตเนาะ
วิหารตอนยังสมบูรณ์คงสวยมากค่ะ เสาเบ้อเริ่มเลย
ทางวัดบูรณะเยี่ยมเลยค่ะ เก็บรูปทรงได้หมด

อ่อ พี่ตุ๊กอธิบายไว้ปิดท้าย เข้าใจเลยค่ะ
โดย: ที่เห็นและเป็นมา วันที่: 31 มกราคม 2558 เวลา:22:12:03 น.
  
สวยจังเลยค่ะคุณตุ๊ก ... โครงสร้างดูยังแข็งแรงมาก ๆ เลยนะคะ ... ขอบคุณคุณตุ๊กมากค่ะ


tuk-tuk@korat Travel Blog ดู Blog


โดย: Tristy วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา:0:12:56 น.
  
อ่านประวัติศาสตร์ไทยสมัยเด็กๆ รู้สึกว่าพระเจ้าทองลันเป็นกษัตริย์ที่อาภัพมากครับ ครองราชย์ได้แค่ 7 วันก็ถูกชิงบัลลังก์ และได้เปิดตัววัดโคกพระยาเป็นที่ประหารกษัตริย์ด้วย หลังจากนั้นกษัตริย์และเจ้านายอีกหลายสิบองค์ก็ถูกประหารที่วัดนี้เรื่อยมาจนสิ้นอยุธยาเลย

ผมชอบวัดกุฎีดาวมากครับ เสาที่หักลงไปจมดินนั่นดูขลังดี วัดนี้ฐานะเทียบเท่าวัดมเหยงคณ์ แต่ช่วงหลังวัดมเหยงคณ์ได้รับความสนใจจนมีผู้คนคึกคักโด่งดังกว่าเยอะเลย นั่นทำให้ผมชอบวัดกุฎีดาวที่เงียบสงบกว่าด้วย

ท้าวแสนปมเป็นตำนานที่ภาคเหนือสร้างขึ้นเพื่อเชื่อมโยงความเกี่ยวดองของกษัตริย์ทางเหนือกับกษัตริย์อยุธยา เมืองแพรกก็อยู่ในชัยนาทนั่นละครับ
แถวๆวัดมเหยงคณ์ยังมีวัดช้างและวัดนางคำเล็กๆซ่อนอยู่อีกนะ อยุธยาวัดเก่ามากมายเหลือเชื่อจริงๆครับ
โดย: ชีริว วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา:22:05:48 น.
  
ยังอยากจะไปตามเก็บอีกนะคะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา:16:30:51 น.
  
ยังไม่เคยไปวัดกุฏีดาวเลย
น่าสนใจบ่อน้ำนะ ทำไมต้องมาอยู่ในวัดโดยมีอาคารครอบ

คำตอบที่น่าเป็นไปได้คือ อาจเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธฺ์จึงมีการก่ออาคารทับลงไป แต่ก็ไม่แน่ใจเพราะไม่มีรูปถ่ายจากมุมบน
โดย: ผู้ชายในสายลมหนาว วันที่: 3 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา:11:34:42 น.
  
เป็นสถานที่ ที่หนูอยากไปมากเลยค่ะ
โดย: พรพิมล ทองโบราณ IP: 182.52.33.157 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา:13:20:45 น.
  
เป็นภาพที่สวยงามมากเลยค่ะ
โดย: นิพาภรณ์ กาบยุบล IP: 182.52.33.157 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา:13:25:36 น.
  
เป็นภาพที่น่าไปเที่ยวมาก
มีโบสถที่เก่าแก่ภาพแต่ละภาพก็เห็นถึงความเป็นอยู่
โดย: นิพาภรณ์ กาบยุบล IP: 182.52.33.122 วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา:13:28:43 น.
  
ช่วงเวลานี้ยิ่งน่าเที่ยวมากเพราะพิพิธภัณฑ์และโบราณสถานเข้าชมฟรีสำหรับคนไทยค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา:15:11:13 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Tuk-tukatkorat.BlogGang.com

tuk-tuk@korat
Location :
นครราชสีมา  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 148 คน [?]

บทความทั้งหมด