ท่องเที่ยวไทย .... วัดทุ่งสว่าง อ. เมือง นครราชสีมา

วัดทุ่งสว่าง





ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางทิศตะวันออก





เป็นอีกวัดหนึ่งที่เกี่ยวกับประวัติเมืองโคราช





กองทัพของเวียงจันทร์ได้กวาดต้อนผู้คนจากเมืองโคราชมาสว่างที่นี่

ชาวบ้านได้สร้างหอระฆังและกุฏิสงฆ์ไว้





หลังจากนั้นได้สร้างอุโบสถขึ้น

ได้ชื่อว่าวัดทุ่งสว่าง









ครั้งต่อมาพระยากำธรพายัพทิศ (ดิส อินทโสฬส)

อดีตเจ้าเมือง และอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา

ได้บริจาคที่ดินและสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้น

เนื่องจากหลังเก่าได้ชำรุดทรุดโทรมมาก

ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.2499











สิ่งก่อสร้างได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่

แต่ยังคงเป็นสัญญลักษณ์ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต



ปิดท้ายด้วยภาพ ประตูบ้าน " อินทโสฬส " เจ้าเมืองคนสุดท้ายของนครราชสีมา และสืบเชื้อสายมาจาก พระเจ้าตากสินมหาราช







Create Date : 07 มีนาคม 2554
Last Update : 23 มีนาคม 2554 10:00:14 น.
Counter : 8437 Pageviews.

51 comments
봄 처녀(Virgin spring) by 홍난파(NanPa Hong) ปรศุราม
(17 เม.ย. 2567 10:09:12 น.)
ต้นไม้ใบหญ้าเริ่มฟื้นคืนชีพ สวยสุดซอย
(12 เม.ย. 2567 14:13:40 น.)
Bangsaen 21 The Finest Running Event Ever 2023 บางแสน แมวเซาผู้น่าสงสาร
(12 เม.ย. 2567 10:20:55 น.)
ระยองฮิสั้น จันทราน็อคเทิร์น
(12 เม.ย. 2567 15:33:48 น.)
  
วันที่ 2 เมษายน นี้ จะกลับกระโทกโชคชัยจะได้ไปเที่ยววัดนี้หรือไม่เนี๊ยคุณตุ๊ก..ฮะๆๆ
โดย: หมูตอนพ่อเต๊าะ (หมูตอนพ่อเต๊าะ ) วันที่: 7 มีนาคม 2554 เวลา:14:04:44 น.
  
ไม่ได้เห็นวัดทุ่งสว่างนานมากๆค่ะ ดีใจจัง

เมื่อก่อนจะไปทำบุญวัดนี้บ่อยมากๆ

ขอบคุณค่ะ
โดย: ต้นข้าว_ต้นนั้น วันที่: 7 มีนาคม 2554 เวลา:14:16:34 น.
  
บ่าได้แวะไปแอ่ววัดมาเมินแล้วครับปี้ตุ๊ก
ขนาดวัดใกล้บ้านยังบ่าค่อยได้เดินเข้าไปเลยครับ


โดย: กะว่าก๋า วันที่: 7 มีนาคม 2554 เวลา:14:44:00 น.
  
คาดว่าถ้ามาถึงตอนเที่ยง
วัดนี้คงได้ชื่อวัดทุ่งเที่ยง
หรือจะเป็นวัดทุ่งเย็น หรือ วัดทุ่งค่ำ
เนอะพี่เนอะ 555
โดย: hellojaae (hellojaae ) วันที่: 7 มีนาคม 2554 เวลา:14:49:13 น.
  
นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย
ผู้อื่นพึงทำให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ไม่ได้

มีความสุขกับธรรมอันบริสุทธิ์ของตนเองตลอดไป..นะคะ



หอระฆัง..สวยดี...นะคะ

โดย: พรหมญาณี วันที่: 7 มีนาคม 2554 เวลา:14:55:32 น.
  
อ่านเพลินได้ความรู้ดีค่ะพี่
โดย: coji วันที่: 7 มีนาคม 2554 เวลา:15:43:38 น.
  
สไตล์ครับพี่ตุ๊ก

แต่ถ้าเขียนเรื่องวัดวาอาราม ทำอย่างนั้นไม่ได้นะเนี่ย เฮอะ ๆ
โดย: ปลายแป้นพิมพ์ วันที่: 7 มีนาคม 2554 เวลา:16:48:47 น.
  
หวัดดีครับ มาชมและดูวัดสว่าง ใช่หรือ
เปล่าครับ พิมพ์ไว้ก่อน

ผมสังเกต ชอบถ่ายภาพเกือบ 4 โมงเย็น
มีเงาขึ้นสวย หรือเป็นเวลาใดครับคุณตุ๊ก

ผมถ่ายภาพมาพอสมควร วันนี้เลยนำมาลง
ในบล๊อกดูครับ ลอง ๆ ดู ภาพอาจจะน้อยไปนิด แต่พยายามเต็มที่เพราะความไม่เคย

ถนัดเอ้ย เกือบถนัด การเขียนตัวอักษร
มากกว่าครับ
โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 7 มีนาคม 2554 เวลา:16:50:31 น.
  
ไม่ถ่ายรูปเจ้าบ้านมาด้วยหรอคะ่ อยากเห็น
โดย: gutswallow วันที่: 7 มีนาคม 2554 เวลา:16:57:25 น.
  
เข้ามาชมภาพวัดทุ่งสว่างค่ะ
แต่แอบสนใจ ว่ากำแพงเมืองโคราช
ยังมีร่องรอยเหมือให้เห็นหรือเปล่าคะ
โดย: me-o วันที่: 7 มีนาคม 2554 เวลา:17:01:56 น.
  
วัดสวยจังค่ะ พี่ตุ๊กขา


น่าไปเที่ยวมากๆ แต่คงไม่ได้ไป 5555(ฮาทำไมเนี่ย)
โดย: กรุ๊ปบีราศีสิงห์ วันที่: 7 มีนาคม 2554 เวลา:17:28:27 น.
  
หวัดดียามค่ำครับ พี่ตุ๊ก
กองทัพเวียงจันทร์ หรือ กองทัพไทย ครับ
ที่กวาดต้อนผู้คน
วัดนี้สีสวย สดใส ดีนะครับ

โดย: เศษเสี้ยว วันที่: 7 มีนาคม 2554 เวลา:17:42:51 น.
  
อยากเล่าเรื่องสุรินทร์ที่อยู่บ้าง...แต่ผมไม่ใช่คุณสุรินทร์ ๕๕๕

ขอบคุณที่แวะไปอวยพรวันเกิดนะครับ
โดย: อั๋นครับผม (kruaun ) วันที่: 7 มีนาคม 2554 เวลา:18:15:22 น.
  
ไทยเราเคยรบแพ้ลาวเหรอครับ
หรือเค้ามากวาดต้อน ตอนเราแพ้พม่า
สงสัยต้องไปอ่านประวัติศาสตร์ใหม่ครับ
ไม่เกี่ยวกับการเมืองครับ

โดย: เศษเสี้ยว วันที่: 7 มีนาคม 2554 เวลา:19:37:52 น.
  
ประตูโบสถ์สวยดีค่ะ

ฝันดีนะคะ
โดย: อุ๊ (oumon ) วันที่: 7 มีนาคม 2554 เวลา:19:45:37 น.
  
ขอโทษอย่างแรงครับ พี่ตุ๊ก
ลืมไปว่ามีรบระหว่าง เมืองโคราช กับ เวียงจันทร์
โดย: เศษเสี้ยว วันที่: 7 มีนาคม 2554 เวลา:19:56:09 น.
  
เคยไปครั้งนึงค่ะ...สมัยเด็ก ๆ (นานมากมาก)
มีบ้านเพื่อนอยู่แถว ๆ นั้นค่ะ
โดย: nokkatua วันที่: 7 มีนาคม 2554 เวลา:19:58:43 น.
  
เป็นวัดที่สีสันจัดจ้านที่สุดที่เจอมาค่ะ
โดย: mariabamboo วันที่: 7 มีนาคม 2554 เวลา:20:08:50 น.
  
ตามมาเที่ยวค่ะ
โดย: กิ่งไม้ไทย วันที่: 7 มีนาคม 2554 เวลา:20:51:53 น.
  
ชอบหอระฆังครับ
โดย: wicsir วันที่: 7 มีนาคม 2554 เวลา:20:59:03 น.
  
วัดสวยนะครับ
โดย: คนเคยผ่านมหาสมุทร วันที่: 7 มีนาคม 2554 เวลา:21:38:10 น.
  
มาเที่ยววัดกับคุณตุ๊กค่ะ... บูรณะซะใหม่เอี่ยมเลยนะคะ วัดนี้
โดย: namfaseefoon วันที่: 7 มีนาคม 2554 เวลา:21:38:46 น.
  
ครู tuk-tuk เอารูปวัดลง fb ด้วยซิครับ พร้อมกับร้านอาหารด้วยครับ
โดย: moonfleet วันที่: 7 มีนาคม 2554 เวลา:21:49:23 น.
  
อรุณสวัสดิ์ครับพี่ตุ๊ก




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 8 มีนาคม 2554 เวลา:5:48:42 น.
  
หวัดดียามเช้าค่ะพี่ตุ๊ก
แวะมาเที่ยวเมืองโคราชด้วยค่ะ อิอิ
หัดๆๆไว้ เผื่อได้ไปอยู่ อิอิ
บอกตรงๆๆค่ะ ชอบ เมืองนี้จริงๆๆ
โดย: kwan_3023 วันที่: 8 มีนาคม 2554 เวลา:7:15:08 น.
  
มาแอ่ววัดโตยคนนะค่ะ
โดย: JewNid วันที่: 8 มีนาคม 2554 เวลา:7:21:51 น.
  
ชอบเที่ยววัดวาอารามเหมือนกันเลยค่ะคุณตุ๊ก

จริง ๆ ที่คุณตุ๊กแนะนำก็น่ารักดีนะคะ ชื่อตึกม้าลาย 8 กับม้าลาย 9 เป็นไง ฮี่ ๆ
โดย: i'm not superman วันที่: 8 มีนาคม 2554 เวลา:8:46:58 น.
  
หวัดดียามเช้าค่ะคุณตุ๊ก
ตามไปเที่ยววัดด้วยคนค่ะ แล้วก็จะมาชวนไปชิมน้ำพริกอ่องที่บ้านค่ะ แต่ว่าคุณตุ๊กคนเหนือ คงทำได้น่าทานและอร่อยแน่ๆ เลย
โดย: kapeak วันที่: 8 มีนาคม 2554 เวลา:8:55:01 น.
  
เกาะ tuk...tuk เที่ยว โคราชด้วยคนเด๋อ!..
โดย: *SUPRA* วันที่: 8 มีนาคม 2554 เวลา:11:29:47 น.
  
สวัสดีครับพี่ตุ๊กครับ

จากคลิปที่บ้านผม

ถ่ายที่เซ็นต์หลุยส์ครับ

อิๆ

ภาพมันชัดใช้ได้เลยเนอะ

ไว้หาถ่ายภาพพระมั่งดีกว่า
โดย: มนุษย์ต่างดาว..ผมยาว..ปากหวาน.. (เป็ดสวรรค์ ) วันที่: 8 มีนาคม 2554 เวลา:11:34:32 น.
  
โบสถ์สีแดงกะสีครีม เข้ากันได้อย่างสวยเลยค่ะ

ป.ล.ทางราชการโคราชน่าจะมอบโล่รางวัลให้คุณตุ๊กบ้างนะ

เพราะนำของดี ของอร่อยและสารพัดเรื่องราวมาเผยแพร่ทั่วกัน
โดย: นักล่าน้ำตก วันที่: 8 มีนาคม 2554 เวลา:12:20:14 น.
  
ที่เชียงใหม่ร้านอาหารดังๆ
เกิน 70 % เป็นเด็กตี้จบถาปัดเทคโนครับปี้ตุ๊ก
ไปไล่ชื่อดูได้เลยครับ
กู๊ดวิว คอทเทจ บ้านไร่ยามเย็น ฯลฯ


แปลกดีเหมือนกั๋นครับ


โดย: กะว่าก๋า วันที่: 8 มีนาคม 2554 เวลา:12:38:04 น.
  
เป็นคนโคราช เพิ่งจะได้รู้นี่แหละ
โดย: ปลายอ้อยลอยลม IP: 182.53.103.21 วันที่: 8 มีนาคม 2554 เวลา:18:57:17 น.
  
อยากทราบเรื่อง อินทโสรฬ เจ้าเมืองคนสุดท้ายของโคราชครับ
โดย: ภาคภูมิ(dentz metal) IP: 182.53.98.105 วันที่: 23 มีนาคม 2554 เวลา:10:18:14 น.
  
เรื่อง อินทโสฬส จะพยายามนะคะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 23 มีนาคม 2554 เวลา:10:59:13 น.
  
เดี่ยวจะนำประวัติมาลงให้นะ
โดย: ชาย IP: 223.207.103.48 วันที่: 1 มิถุนายน 2554 เวลา:6:30:55 น.
  
ท่านเป็นถึงท่านเจ้าเมืองเก่า และก็สืบเชื้อสายมาจาก พระเจ้าตากสินมหาราช ทั้งตัวท่านเจ้าเมืองเอง และเชื้อสายท่าน ได้ทำคุณประโยชน์ให้ประเทศชาติมากมาย แต่เห็นทางเข้าบ้านท่านแล้ว ..(พูดไม่ออกเลย)..น่าจะมีหน่วยงานใดเข้าไปทำการอนุรักษ์หรือปรับปรุงให้ดูดีหรือภูมิฐานกว่านี้..พอนานไปก็ดูแต่จะทรุดโทรมลงไปเรื่อยๆ...อนิจจา..อะไรก็ไม่เที่ยง
โดย: จรูญ น้อยศรี ศิษ์เก่า ศ.ว.ก คนหัวรถ IP: 183.89.86.89 วันที่: 11 กันยายน 2554 เวลา:15:19:58 น.
  
คงไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้วมั้งคะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 11 กันยายน 2554 เวลา:15:22:38 น.
  
เมื่อ23ก.ค. ผ่านไป ยังเห็นมีบ้านไม้ทรงโบราญอยู่ด้านใน(แต่เราก็ไม่กล้าแอบมองดูนาน เดี๋ยวคนจะหาว่ามาทำอย่างอื่น)น่าจะมีคนอยู่นะ ถ้าไม่มีจริงๆก็น่าจะปรับปรุงให้เป็นที่ๆรู้ว่า สถานที่ๆนี้เคยเป็นที่อยู่เจ้าเมืองคนสุดท้าย
โดย: จรูญ น้อยศรี ศิษ์เก่า ศ.ว.ก คนหัวรถ IP: 27.130.85.184 วันที่: 9 ตุลาคม 2554 เวลา:9:41:13 น.
  
ได้ข่าวว่าเขาให้เช่าค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 17 ตุลาคม 2554 เวลา:10:42:05 น.
  
facebook positanoเขาใหญ่ หรือ
www.positanothailand.com
พอสสิตาโน....ดินแดนแห่งความฝันหลบหนีความวุ่นวายของชีวิตในเมือง คนพบความสงบสุขในดินแดนของขุนเขา สูดโอโซนอับดับ 7 ของโลก พร้อมที่พักสุดหรูแบบวิลล่า และแบบอังกฤษและอิตาลี่ ดื่มด่ำกับทะเลหมอก และดอกไม้ในสวนสไตล์อังกฤษ
โดย: salam thailand วันที่: 21 มีนาคม 2555 เวลา:15:10:51 น.
  
ได้เห็นวัดทุ่งสว่างคิดถึงบรรยากาศเก่าๆจัง ครับพี่น้อง
โดย: sky man IP: 10.0.100.72, 58.8.12.40 วันที่: 5 เมษายน 2555 เวลา:22:48:28 น.
  
ท่านทั้งหลายจงอ่านประวัติอำเภอโนนสูงแล้วจะรู้ว่าทานพระยาคือใคร รอคำตอบ
โดย: นายกล้วย IP: 183.89.73.182 วันที่: 24 เมษายน 2555 เวลา:12:59:43 น.
  
ขอเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมทำบุญไหว้พระประจำวันเกิดและพระพุทธรูปปางต่างๆ ๑๐๘ ปางได้ที่วัดทุ่งสว่าง ทุกวัน เพื่อสมทบทุนสร้างเตาเผาศพ
โดย: นายกล้วย IP: 183.89.73.182 วันที่: 24 เมษายน 2555 เวลา:13:02:55 น.
  
เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน ณ ราชสีมา) เป็นพระราชโอรสองค์สุดท้ายของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และเป็นเจ้าเมืองนครราชสีมาในสมัยรัชกาลที่ 2-3 รวมทั้งเป็นแม่ทัพคนสำคัญคนหนึ่งของไทยในสงครามปราบกบฏเวียงจันทน์ และ อานามสยามยุทธ

[แก้] ประวัติ

เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน ณ ราชสีมา) เกิดในปี พ.ศ. 2323 ในปลายรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โดยมีมารดาคือ เจ้าหญิงยวน ราชธิดาของพระเจ้านครศรีธรรมราช รับราชการฝ่ายใน ณ ราชสำนักกรุงธนบุรี เมื่อทรงครรภ์แล้ว สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงทรงพระราชทานแก่เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา) ให้เป็นแม่เมือง หาได้ถือเป็นภรรยาไม่ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) จึงถือได้ว่าเป็นโอรสองค์หนึ่งของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเฉกเช่นเดียวกับ เจ้าพระยานคร (น้อย) และนับเป็นบุตรบุญธรรมของเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น)

ในตอนปลายรัชกาลกรุงธนบุรี ปรากฏว่าเจ้าเมืองนครราชสีมาคือ พระยากำแหงสงคราม(บุญคง กาญจนาคม) ไปราชการช่วยเหลือ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ ในการสงครามกัมพูชา-ญวน และท้ายสุดเกิดการเปลี่ยนแผ่นดิน พระยากำแหงสงคราม(บุญคง) ถูกสำเร็จโทษ ตามเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ แต่บุตรหลานสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่ยังเล็กไม่ได้ถูกสำเร็จโทษด้วย

ในสมัยรัชกาลที่ 1 ทองอิน ได้เริ่มรับราชการ ณ เมืองนครราชสีมา

ในสมัยรัชกาลที่ 2 เจ้าเมืองนครราชสีมาคือ พระยานครราชสีมา (เที่ยง ณ ราชสีมา) บุตรของเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) ได้ถูกมอบหมายให้นำทัพไปปราบกบฏอ้ายสาเกียดโง้ง ต่อมาในปลายรัชกาลทองอินได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองนครราชสีมาแทนพี่ชาย และได้รับบรรดาศักดิ์สุดท้ายเป็น เจ้าพระยากำแหงสงคราม รามภักดี อภัยพิริยนรากรมพาหุ เจ้าเมืองนครราชสีมา

เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ได้สมรสกับท่านผู้หญิงทับทิม ธิดาพระยาสุริยเดช (ทัศน์ รายนสุข) บุตรคนหนึ่งของเจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น) ต่อมาท่านผู้หญิงทับทิมได้ถึงแก่กรรม จึงได้สมรสใหม่กับ ท่านผู้หญิงบุนนาค ธิดาของเจ้าพระยาอภัยราชา (ปิ่น) และเป็นน้องสาวของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนีย์) ต่อมามีบุตรชาย (เมฆ) ได้เป็นเจ้าเมืองนครราชสีมาในรัชกาลที่ 4

ในสมัยรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2369 พระยาไกรสงคราม เจ้าเมืองขุขันธ์ วิวาทกับน้องชาย มีพระราชโองการให้เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) กับพระยาปลัดเมืองนครราชสีมา ยกกำลังไปปราบปรามให้สงบ โดยให้หลวงยกกระบัตรอยู่รักษาเมือง แต่ในที่สุดกลับต้องทำการรบติดพันกับพระยาไกรสงคราม ที่เมืองขุขันธ์ ทำให้เจ้าอนุวงศ์ นำทัพลาวเวียงจันทน์ เข้ายึดเมืองนครราชสีมาโดยง่าย เมื่อความทราบถึงเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) จึงให้พระยาปลัดเมืองนครราชสีมากลับเข้าเมืองนครราชสีมาเพื่อควบคุมครัวเรือนนครราชสีมาให้รวมกันติดที่บ้านปราสาท ในขณะที่ชาวเมืองนครราชสีมา ได้ถูกกวาดต้อนไปกับกองทัพเวียงจันทน์ จากนั้นพระยาปลัดเมืองนครราชสีมา คุณหญิงโมภรรยาปลัดเมือง หลวงยกกระบัตร พระณรงค์สงคราม ได้ร่วมกันนำชาวเมืองนครราชสีมาเข้าต่อสู้กับกองทัพลาวจนได้ชัยชนะในเบื้องต้นจนเกิดเป็นวีรกรรม ณ ทุ่งสำริด และกองกำลังชาวเมืองนครราชสีมาได้ตีทัพลาวที่เจ้าอนุวงศ์ส่งมาช่วยแตกพ่ายไปอีกครั้งหนึ่ง จากวีรกรรมครั้งนี้ คุณหญิงโมได้รับพระราชทานนามเป็น ท้าวสุรนารี

ในเวลาเดียวกันเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ยังรบติดพันกับกองทัพเมืองขุขันธ์และกองทัพลาว จากนั้นได้ถอยอ้อมมาทางเมืองเสียมราฐ และเข้าจังหวัดปราจีนบุรีจึงบรรจบกับกองทัพไทยอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเจ้าอนุวงศ์รู้ข่าวกองทัพพระนครจึงสั่งถอยทัพออกจากเมืองนครราชสีมาและสั่งทำลายกำแพงเมืองนครราชสีมาสองด้าน พระยาไกรสงครามได้ถอยทัพไปด้วยแต่ในที่สุดถูกเจ้าอนุวงศ์สั่งประหารเนื่องจากไม่สามารถจับเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ได้ตามแผนที่วางไว้

พ.ศ. 2370 กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ได้ชุมนุมทัพที่นครราชสีมา เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ได้กลับเข้าเมืองนครราชสีมาไปเฝ้า มีรับสั่งให้คุมทัพเมืองนครราชสีมา และหัวเมืองไปช่วยกองทัพพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนีย์ ต่อมาคือเจ้าพระยาบดินทรเดชา) ในการปราบเจ้าราชวศ์ที่เมืองจำปาสัก หลังจากนั้นให้ไปร่วมตีเมืองเวียงจันทน์ ในครั้งนั้นได้พบครัวเมืองปักธงชัยกลับคืนมาจากการถูกกวาดต้อนไปบริเวณเมืองสกลนคร เมื่อเสร็จสิ้นการปราบกบฏเวียงจันทน์แล้วเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ได้นำชาวเมืองนครราชสีมาบูรณะเมืองนครราชสีมาให้กลับคืนมาดีเหมือนแต่ก่อน ในครั้งนั้นกองทัพไทยได้ร่วมกันสร้างวัดสามัคคี ในบริเวณนอกกำแพงเมืองด้านเหนือ

พ.ศ. 2376 ทรงโปรดเกล้าให้ เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์) เป็นแม่ทัพใหญ่ในราชการสงครามกับกัมพูชา-ญวน (อานามสยามยุทธ) มีเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) เป็นแม่ทัพหน้า และ เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) เป็นแม่ทัพเรือ ในครั้งนั้นทัพหน้าของเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ได้เดินทัพจนเกือบถึงบริเวณเมืองไซ่ง่อน ก่อนที่กองทัพไทยจะถูกทัพญวนตีโต้กลับมา

พ.ศ. 2377 เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ได้น้อมเกล้าฯ ถวายช้างเผือกที่พบในเขตเมืองนางรอง รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดเกล้าฯให้ชื่อช้างนั้นว่า พระยามงคลนาคินทร์ อินทรไอยราววรรณ

พ.ศ. 2380 เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) เป็นแม่กองบูรณะกำแพงเมืองพระตะบอง และป้อมค่ายให้เข็งแรง เพื่อเตรียมรับศึกกัมพูชา-ญวน โดยเป็นแม่ทัพใหญ่ในเขตทะเลสาบภาคตะวันออก

พ.ศ. 2386 เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ได้ล้มป่วยลง ทำให้ต้องลาพักราชการสงคราม กลับมาพักรักษาตัว ณ เมืองนครราชสีมา แต่บุตรหลานยังคงอยู่ช่วยงานราชการสงครามอยู่

พ.ศ. 2387 ได้น้อมเกล้าฯ ถวายช้างพลาย ที่คชลักษณ์ดีอีก 3 เชือก

พ.ศ. 2388 เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ถึงแก่กรรมด้วยความสงบ พระพรหมบริรักษ์ บุตรชายของเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองนครราชสีมาคนต่อมา

ต่อมาในรัชกาลที่ 4 บุตรของเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระยานครราชสีมา (เมฆ ณ ราชสีมา) บุตรอีกคนคือ พระยาไชยวิชิตสิทธิศาสตรา (ขำ ณ ราชสีมา) ได้เป็นผู้รักษากรุงเก่า

เจ้าจอมสังวาล พระมารดาของกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นธิดาของนายศัลวิชัย บุตรคนหนึ่งของเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) ซึ่งรับราชการเป็นมหาดเล็กฝ่ายใน

ในรัชกาลที่ 5 พระยากำแหงสงคราม (จัน ณ ราชสีมา) ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลนครราชสีมา เป็นชั้นหลานของเจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน)

[แก้] เชื้อสาย/สกุล

ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้นามสกุลแก่

พระยากำธรพายัพทิศ (ดิศ อินทโสฬศ)

พระบุรคามบริรักษ์ (นาค เมนะรุจิ)

พันตรี พระพิทักษ์โยธา (พิทักษ์ อธินันทน์)

หลวงเรืองนรารักษ์ (รศ พรหมนารท)

หลวงอุบลศักดิ์ประชาบาล (พันธ์ พรหมนารท)

หลวงรามฤทธิรงค์ (รามฤทธิรงค์ มหาณรงค์)

และ พันตรี ขุนกำแหงเสนีย์ (กำแหง อินทรกำแหง)

ตามที่ขอเปลี่ยนใหม่ และได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พุทธศักราช ๒๔๘๔ แล้วว่า "ณ ราชสีมา" (เขียนเป็นอักษรโรมัน na Rajasima) อันเป็นมงคลนาม เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ เจ้าพระยานครราชสีมา (อินทร์) ผู้เป็นต้นสกุล ซึ่งได้รับราชการประกอบคุณงามความดีแก่ นครราชสีมา และทั้งทายาทก็ได้รับราชการด้วยจงรักภักดี เป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติสืบเนื่องกันมาในจังหวัดนี้เป็นเวลาหลายราชกาล
โดย: นายกล้วย IP: 183.89.73.182 วันที่: 24 เมษายน 2555 เวลา:19:36:32 น.
  
ประติความเป็นมา (เรียงตามปี)
พ.ศ. 2440 เมื่อได้สถาปนาเมืองนครราชสีมาขึ้นแล้วประมาณ 442 ปี ทางราชการ จึงได้รวบรวมตำบลต่างๆ อันประกอบไปด้วย ตำบลจันอัน ตำบลด่านคล้า ตำบลโนนสูง ตำบลขามเฒ่า ตำบลขามสะแกแสง (ปัจจุบันเป็นอำเภอขามสะแกแสง) ตำบลโนนวัด ตำบลเสลา (ปัจจุบันทั้งสองตำบลเป็นหมู่บ้านขึ้นกับตำบลพลสงคราม) ตำบลโตนด ตำบลทองหลาง ตำบลบิง และตำบลใหม่ ยกฐานะเป็นอำเภอ ใช้ชื่อว่า “อำเภอกลาง” โดยมีพระยากำธรพายัพทิศ (ดิษฐ์ โสฬส) เป็นนายอำเภอคนแรก เมื่อก่อนตำบลต่างๆ เหล่านี้ไปขึ้นกับท้องถิ่นอื่นๆ เช่น แขวงพิมาย แขวงบัวใหญ่ แขวงจอหอ (ปัจจุบันเป็นตำบลขึ้นกับอำเภอเมือง) และแขวงท่าช้าง (ปัจจุบันคืออำเภอเฉลิมพระเกียรติ) ที่ตั้งที่ว่าการอำเภอกลางอยู่ในเขตตำบลโนนสูงบริเวณวัดร้าง ซึ่งปัจจุบันคาดว่าเป็นชุมชนบ้านเพิ่ม สาเหตุที่ทางราชการตั้งชื่ออำเภอกลางนั้น ก็เพราะว่าเป็นชุมชนที่กึ่งกลางระหว่าง อำเภอเมือง ซึ่งเป็นเขตชั้นในกับแขวงบัวใหญ่ (ก่อตั้งเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ. 2442) ที่อยู่รอบนอกมีสภาพเป็นชายแดนของจังหวัด หลังจากตั้งอำเภอขึ้นมาไม่นานทางราชการก็ตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น ใช้ข้าหลวงประจำจังหวัด (ผู้ว่าราชการจังหวัด) จึงให้ทุกอำเภอตั้งนามสกุลโดยมีชื่ออำเภอหรือชื่อท้องถิ่นเป็นคำอยู่ในนามสกุลโดยมีชื่ออำเภอหรือชื่อท้องถิ่นเป็นคำอยู่ในนามสกุลด้วย เพื่อประโยชน์ที่จะได้สืบหาถิ่นกำเนิดได้ง่าย ชาวอำเภอกลางจึงมีนามสกุลลงท้ายว่า “กลาง” ยิ่งกว่านั้นหลายตำบลยังกำหนดให้มีคำขึ้นต้นที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละตำบลด้วย เช่น ขอ,จง,มุ่ง,หวัง เป็นต้นโดยให้เอาคำที่เป็นชื่อแทนตำบลไว้คำแรกแล้วเอาคำว่ากลาง ซึ่งเป็นชื่ออำเภอไว้เป็นคำสุดท้าย เช่น ขอฝากกลาง จงสืบกลาง และหวังดีกลาง เป็นต้น ส่วนอำเภออื่นๆ ของจังหวัดนี้ก็ปฏิบัติ เช่นเดียวกัน ดังนั้น จังหวัดนครราชสีมาจึงเป็นจังหวัดเดียวในประเทศไทยที่ได้ยินชื่อ และนามสกุลแล้วสามารถบอกได้ว่าเป็นคนท้องถิ่นใดหรืออาจจะชี้ให้ลึกลงไปถึงระดับตำบลได้ด้วย
ใน พ.ศ. 2459 พระยากำธรพายัพทิศ นายอำเภอกลาง ได้พิจารณาเห็นว่าสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอทับที่วัดร้างอยู่ เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อสถานที่จึงได้เสนอขอเปลี่ยนชื่อจากอำเภอกลางเป็น “อำเภอโนนวัด” แต่มิได้เปลี่ยนนามสกุลของประชาชนที่ได้จัดตั้งไปแล้ว ตามชื่อใหม่ของอำเภอแต่อย่างใด รวมที่ใช้ชื่อ “อำเภอกลาง” 19 ปี
ระหว่าง พ.ศ. 2460-2461 พระบริรักษ์นครเขต เป็นนายอำเภอ พิจารณาเห็นว่าสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอไม่เหมาะสม จึงได้ย้ายมาจัดสร้างขึ้นใหม่ในบริเวณที่ตั้งปัจจุบัน (อาคารที่ว่าการอำเภออยู่ตรงบริเวณสวนป่าหน้าอาคารแผนกทะเบียนราษฎร) โดยก่อสร้างเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น หันมุขไปทางทิศเหนือและยังคงใช้ชื่อว่าอำเภอโนนวัดอยู่ตามเดิม
ใน พ.ศ. 2461 ทางราชการโดย “หลวงสวัสดิ์ศรีธานี” ได้ตั้งโรงเรียนประจำอำเภอขึ้น คือ โรงเรียนโนนสูง “ศรีธานี” เป็นโรงเรียนมัธยมอันดับที่ 3 ของจังหวัด ใช้รหัส (ปักอักษรติดอกเสื้อนักเรียนว่า น.ม.3)นอกจากนั้นอำเภอโนนสูงยังเป็นสถานที่ตั้งโรงเรียนกสิกรรม(ต่อมาได้ย้ายไปตั้งที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แล้วย้ายอีกครั้งไปตั้งที่ตำบลแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ จนถึงปัจจุบันและยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย)
วันที่ 15 มีนาคม 2480 จัดตั้งเทศบาลตำบลโนนสูง ในพื้นที่ตำบลโนนสูง [1]
พ.ศ. 2487 นายชม วัลลิภากร เป็นนายอำเภอโนนวัด กระทรวงมหาดไทยได้ตราพระราชฎีกาปรับปรุงเขตการปกครองอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เสียใหม่นายอำเภอโนนสูงจึงได้โอนบางหมู่บ้านของตำบลทองหลาง ไปขึ้นกับอำเภอท่าช้าง และโอนบางหมู่บ้านไปขึ้นตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอจอหอ พร้อมกันนั้นก็ให้ยุบตำบลเสลา และตำบลโนนวัดรวมกันแล้วตั้งเป็นตำบลพลสงครามและได้เปลี่ยนชื่ออำเภอโนนวัดเป็นอำเภอ “โนนสูง” มาจนถึงปัจจุบัน รวมเวลาที่ใช้ชื่ออำเภอโนนวัด 28 ปี ในขณะที่เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอโนนสูง มีเขตการปกครอง 11 ตำบล ปัจจุบันมีตำบลที่ตั้งขึ้นใหม่ได้แก่ ดอนชมพู มะค่า ธารปราสาท เมืองปราสาท หลุมข้าว ลำคอหงษ์ ลำมูล และดอนหวาย ส่วนตำบลที่ถูกยุบและโอนไป ได้แก่โนนวัด เสลา ทองหลาง ขามสะแกแสง
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2493 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลโนนสูง [2] และ ตั้งตำบลธารปราสาท โดยรวมท้องที่ที่เคยเป็นพื้นที่ของเทศบาลตำบลโนนสูง (ตำบลโนนสูง) เนื่องจากมีการปรับพื้นที่ให้เล็กลง [3]
วันที่ 19 ธันวาคม 2495 ตั้งตำบลเมืองนาท แยกออกจากตำบลขามสะแกแสง และ ตำบลพลสงคราม [4]
วันที่ 20 พฤศจิกายน 2507 จัดตั้งสุขาภิบาลมะค่า ในท้องที่บางส่วนของตำบลพลสงคราม (ในขณะนั้น) [5]
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2511 แยกพื้นที่ตำบลขามสะแกแสง และตำบลเมืองนาท อำเภอโนนสูง ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอขามสะแกแสง ขึ้นกับอำเภอโนนสูง[6]
วันที่ 1 กันยายน 2513 ตั้งตำบลมะค่า แยกออกจากตำบลพลสงคราม ตั้งตำบลดอนชมพู แยกออกจากตำบลบิง และ ตั้งตำบลหลุมข้าว แยกออกจากตำบลธารปราสาท [7]
วันที่ 3 มิถุนายน 2514 จัดตั้งสุขาภิบาลตลาดแค ในท้องที่บางส่วนของตำบลธารปราสาท [8]
วันที่ 29 มิถุนายน 2516 ยกฐานะเป็น อำเภอขามสะแกแสง [9]
ปี พ.ศ. 2521 นายสมบัติ สืบสมาน นายอำเภอโนนสูง เห็นว่าอาคารที่ว่าการอำเภอโนนสูงหลังเดิมซึ่งเป็นไม้เก่าแก่ ชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา จึงประสานขอรับงบประมาณจากกรมการปกครอง ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอเป็นอาคารตึก 2 ชั้น ที่ตั้งอยู่หลังที่ว่าการอำเภอหลังใหม่นี้ ปัจจุบันใช้เป็นห้องเก็บวัสดุครุภัณฑ์ของส่วนราชการ
วันที่ 19 ธันวาคม 2524 ได้โอนหมู่ 1 (บ้านหนุก) และ หมู่ 16 (บ้านนามาบ) (ในขณะนั้น) จากตำบลขามเฒ่า อำเภอโนนสูง ไปขึ้นกับตำบลขามสะแกแสง อำเภอขามสะแกแสง [10]
ในปี พ.ศ. 2528 ฯพณฯ วิรัช รัตนเศรษฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครราชสีมา เขต 3 (ดำรงตำแหน่งในขณะนั้น) ได้กรุณาประสานงานกับกรม การปกครองขอรับการสนับสนุนเพื่อก่อสร้างอาคารหอประชุม
วันที่ 12 ตุลาคม 2531 ตั้งตำบลลำคอหงษ์ แยกออกจากตำบลขามเฒ่า [11]
วันที่ 1 สิงหาคม 2534 ตั้งตำบลเมืองปราสาท แยกออกจากตำบลด่านคล้า และ ตำบลจันอัด [12]
วันที่ 1 มกราคม 2535 เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลตำบลโนนสูง (ครั้งที่ 2) [13]
วันที่ 15 กันยายน 2536 ตั้งตำบลดอนหวาย แยกออกจากตำบลโตนด และ ตั้งตำบลลำมูล แยกออกจากตำบลบิง และ ตำบลโตนด [14]
ในปี 2539 ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ (ปัจจุบัน) ซึ่งนับว่าเป็นที่ว่าการอำเภอหลังใหม่ที่สง่างาม เป็นศูนย์กลางในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ระดับหนึ่ง จะเป็นที่ให้บริการของรัฐให้ประชาชนได้รับความสะดวก รวดเร็ว ในการติดต่อราชการได้อย่างทั่วถึงต่อไป และท่านยังได้กรุณาสนับสนุนงบประมาณตามโครงการพัฒนาจังหวัด ของส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจ ตามข้อเสนอของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จัดซื้อครุภัณฑ์ สำหรับข้าราชการ โต๊ะประชุมเป็นแบบเหล็ก รวมเป็นเงิน 185,000 บาท
วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลมะค่า และ สุขาภิบาลตลาดแค เป็น เทศบาลตำบลมะค่า และ เทศบาลตำบลตลาดแค
ในอดีตอำเภอโนนสูงเป็นอำเภอที่มีความเจริญสูงสุดอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา เพราะมีทางรถไฟผ่าน ทำให้การคมนาคมสินค้าเกษตรกรรม และหัตถกรรมเป็นไปด้วยความสะดวก คนจีนเข้ามาตั้งร้าน (โรงเจ็ก) ค้าขายสินค้า มีการก่อสร้างโรงสีไฟ (โรงสีข้าว)ขึ้นในเขตเทศบาล 2 โรง ราษฎรนำข้าวเปลือก สินค้าหัตถกรรมและของป่ามาขาย แล้วซื้อส่งของที่จำเป็นในการครองชีพจากตลาดออกไป นอกจากนั้นราษฎรที่มีฐานะดี และเห็นความสำคัญของการศึกษาได้ส่งบุตรหลานเข้ามาศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียน “ศรีธานี” อำเภอโนนสูงจึงมีความเจริญดังกล่าวแล้ว ต่อมาได้มีการตัดถนนสายใหม่เรียกชื่อว่าถนนมิตรภาพ การติดต่อกับอำเภอเมืองที่มีความเจริญสูงกว่า ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น ถนนหนทางได้รับการพัฒนาอย่างกว้างขวาง การคมนาคมเปลี่ยนจากเดินเท้า ใช้เกวียนใช้รถจักรยาน (รถถีบ) ไปเป็นรถจักรยานยนต์ รถยนต์ ทั้งรถส่วนตัวและรถโดยสารประจำทาง ประกอบด้วยตำบลขามสะแกแสง ได้ยกฐานะเป็นอำเภอมีตลาดมีโรงเรียนประจำอำเภอ มีบริการทางการแพทย์ของตนเอง ปัจจุบัน อำเภอโนนสูงได้รับการคัดเลือกจากกรมการปกครองให้เป็นนายอำเภอมิติใหม่ โดยสนับสนุนการพัฒนาประสิทธิภาพการบริการประชาชนของอำเภอ จนมีมาตรฐานการบริการได้รับการยกย่องให้เป็นอำเภอตัวอย่าง

[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต
โดย: นายกล้วย IP: 183.89.73.182 วันที่: 24 เมษายน 2555 เวลา:19:40:13 น.
  
อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
สักการะอนุสาวรีย์สามัญชนคนแรกของประเทศ
ตามธรรมเนียมของการสร้างอนุสาวรีย์ในประเทศไทยมักสร้างให้กับชนชั้นกษัตริย์เจ้าหน้าที่สร้างวีรกรรมในประวัติศาสตร์ แต่อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี หรือย่าโมของชาวโคราช ถือเป็นอนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อระลึกถึงและยกย่องคุณงามความดีของวีรสตรีสามัญคนแรกของประเทศ
ท้าวสุรนารี หรือย่าโมที่ชาวโคราชเรียกขานกันอย่างคุ้นเคย ท่านเป็นวีรสตรีในประวัติศาสตร์ที่สร้างคุณประโยชน์ให้แก่ชาติบ้านเมือง จึงเป็นบุคคลที่ชาวโคราชภาคภูมิใจและเคารพบูชา ย่าโมกลายเป็นสัญลักษณ์ของชาวโคราช กระทั่งเรียกชื่อจังหวัดนี้ว่า "เมืองย่าโม" และชาวโคราชก็พอใจที่ได้เป็นลูกหลานย่าโม แม้โคราชจะมีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดของประเทศ สามารถแยกการปกครองได้เป็นอีกจังหวัดหนึ่ง แต่ชาวโคราชส่วนมากไม่ยินยอม เพราะนั่นหมายถึงการออกจากความเป็นลูกหลานย่าโม
อนุสาวรีย์ย่าโมไม่เคยขาดพวงมาลัยที่ผู้คนนำมาบูชา อย่าว่าแต่คนโคราชเลย แม้แต่คนต่างถิ่นผ่านมาทางโคราชก็ต้องแวะมาสักการะย่าโมเพื่อเป็นสิริมงคล ชาวโคราชมักจะมาบนบานศาลกล่าวขอสิ่งต่าง ๆ จากย่าโม เช่น ขอให้ได้งานทำ ขอให้มีลูก เมื่อสมประสงค์แล้วก็จะแก้บนด้วยสิ่งของที่บอกกล่าวไว้ โดยเฉพาะการบนด้วยสิ่งที่ย่าโมโปรดปรานที่สุด คือ เพลงโคราช ด้วยเหตุนี้บริเวณอนุสาวรีย์ย่าโมจึงเป็นแหล่งเพลงโคราชของพ่อเพลงแม่เพลงหลายคณะ และด้วยเหตุที่อนุสาวรีย์ย่าโมตั้งอยู่ในทำเลกลางเมืองเป็นจุดท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของโคราช ย่านอนุสาวรีย์ย่าโมจึงกลายเป็นย่านธุรกิจการค้าที่คึกคัก มีทั้งโรงแรมที่พัก ร้านอาหาร ตลาด ร้านขายของฝากของที่ระลึก ไม่ว่าจะเป็นผ้าไหม หรือของกินยี่ห้อดังที่ติดป้ายชวนชิมของนักชิมมืออาชีพ
ที่ตั้งและการเดินทาง ถ.ราชดำเนิน เทศบางเมืองโคราช
รถประจำทาง มีรถวิ่งในตัวเมืองผ่านหลายสาย เช่น รถสองแถวสาย 1 รสบัสสาย 2, 3, 6 รถปรับอากาศสาย 15 ค่าโดยสาร 5 - 6 บาท







ประวัติ ท้าวสุรนารีมีนามเดิมว่าโม เกิดเมื่อปี พ.ศ.2314 เป็นธิดาของนายกิ่มและนางบุญมา ครั้งอายุได้ 25 ปี ได้สมรสกับพระยามหิศราธิบดี หรือพระยาปลัด ที่ปรึกษาราชการเมืองนครราชสีมา วีรกรรมของคุณหญิงโมปรากฏขึ้นในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเหตุการณ์กบฎเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ซึ่งต้องการอิสรภาพจากกรุงเทพฯ จึงกรีฑาทัพเข้าเมืองโคราช ซึ่งขณะนั้นไม่มีผู้ดูแล เพราะเจ้าเมืองและพระยาปลัดไปว่าราชการต่างเมือง
กองทัพจากเวียงจันทน์จึงเข้ายึดเมืองโคราชสำเร็จ และกวาดต้อนชาวโคราชไปเป็นเชลย คุณหญิงโมก็ถูกกวาดต้อนไปด้วยระหว่างเดินทางคุณหญิงโมออกอุบายขอมีดพร้าจอบเสียมจากทหารลาว ว่าจะนำไปตัดไม้เพื่อทำที่พักแรม แต่แท้จริงนำมาเสี้ยมไม้เก็บซ่อนไว้เป็นอาวุธ ทั้งยังหลอกล่อให้การเดินทางล่าช้า เพื่อรอกำลังสนับสนุนจากกรุงเทพฯ จนเมื่อเข้าเขตทุ่งสัมฤทธิ์ เมืองพิมาย คุณหญิงโมจึงวางแผนโจมตีกองทัพเวียงจันทน์จนได้รับชัยชนะก่อนที่ทัพจากกรุงเทพฯ จะมาสมทบ








พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานบรรดาศักดิ์คุณหญิงโมเป็น "ท้าวสุรนารี" พร้อมเครื่องยศทองคำ เช่น ถาดทองคำ จอกหมาก กู่ ตลับทองคำสามใบ เต้าปูนทองคำ คนโทน้ำ ทองคำ ขันทองคำ เป็นต้น นับเป็นสตรีสามัญชนในประวัติศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นวีรสตรีของชาติ
สิ่งที่น่าสนใจ
ถ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เป็นรูปหล่อทองแดงรมดำ สูง 1.85 ม. หนัก 325 กก. แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทานแบบโบราณคือ นุ่งผ้ายกทอง ห่มด้วยสไบกรองทอง มีตะกรุดพิสมรมงคลสามทับสไบ สวมตุ้มหู อยู่ในลักษณะมือขวากุมดาบปลายชี้ลงพื้น มือซ้ายท้าวสะเอว หันหน้าไปทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นที่ตั้งกรุงเทพฯ
ในปี พ.ศ.2477 สมัยพระยากำธรพายัพทิศ (ดิศ อินทรโสฬส) ข้าหลวงประจำ จ.นครราชสีมา และพันเอกพิเศษพระเริงรุกปัจจามิตร (ทองคำ รักสงบ) ผู้บังคับการมณฑลทหารที่ 5 พร้อมทั้งข้าราชการและประชาชนชาวนครราชสีมาได้ร่วมกันสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีขึ้น เพื่อบรรจุอัฐิย่าโม โดยศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบร่วมกับพระเทวาภินิมมิตรประติมากรเลื่องชื่อในช่วงสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม
อนุสาวรีย์แห่งนี้เสร็จสมบูรณ์และเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2477 นับเป็นอนุสาวรีย์ของสามัญชนสตรีคนแรกของประเทศ ที่เกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2475 จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชสู่การปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมี "คณะราษฎร์" เป็นแกนนำ และได้จัดตั้งรัฐบาลขึ้น ในช่วงที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี อันเป็นยุคแห่งการสร้างชาติ ในบรรยากาศของความเป็น "ชาตินิยม" ในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองนอกจากสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีเพื่อเน้นถึงความรักชาติรักท้องถิ่นแล้วยังมีอนุสารีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์นี้หลายแห่ง เช่น อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่กรุงเทพฯ อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทรที่ภูเก็ต เป็นต้น
ทุกวันที่ 23 มี.ค. - 3 เม.ย. ของทุกปี ชาวโคราชจะจัดงานเฉลิมฉลองใหญ่โต เพื่อรำลึกถึงวันแห่งชัยชนะที่คุณหญิงโมได้นำชาวโคราชต่อสู้กับกองทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์
ถ ประตูชุมพล สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองราชสีมาเป็นเมืองหน้าด่าน โดยช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้วางผังเมือง ซึ่งมีคูน้ำคันดินล้อมเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1,000 ม. ยาว 1,700 ม. ตามกำแพงเมืองมีประตูเมืองทั้งสี่ทิศคือ ประตูพลแสน อยู่ทางทิศเหนือ ประตูพลล้าน ทิศตะวันออก ประตูไชยณรงค์ ด้านทิศใต้ และประตูชุมพล อยู่ด้านทิศตะวันตก ซึ่งเป็นประตูเดียวที่เหลืออยู่ซึ่งตั้งอยู่เบื้องหลังอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เป็นองค์ประกอบที่เสริมให้อนุสาวรีย์มีความสง่างามยิ่งขึ้น
ประตูชุมพลยังคงลักษณะสถาปัตยกรรมแบบเดิมไว้ แนวกำแพงก่อด้วยอิฐและหินขนาดใหญ่ฉาบด้วยปูนทาสีขาว ส่วนบนแนวกำแพงทำเป็นรูปใบเสมา มีหอรบตั้งอยู่เหนือประตู มีลักษณะเป็นอาคารไม้ทรงไทย หลังคาทรงจั่วมุงกระเบื้องดินเผา ประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์อย่างสวยงาม กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ.2479
มีเรื่องเล่าขานให้เป็นสีสันแก่คนต่างถิ่นที่มาเยือนโคราชว่า หากใครได้เดินลอดซุ้มประตูชุมพลแล้ว จะต้องมีเหตุให้มาอยู่เมืองโคราชไปตลอดชีวิต อีกนัยหนึ่งคือจะต้องมาแต่งงานมีครอบครัวเป็นคนโคราชนั่นเอง







โดย: นายกล้วย IP: 183.89.73.182 วันที่: 24 เมษายน 2555 เวลา:19:42:58 น.
  
วันจันทร์ว่าจะไปทำบุญไม่รู้ว่าพระอาจารย์จะจำเราได้ไหมเน้อ คิดถึงจังเลย วัดทุ่งสว่างไม่ได้เห็นตั้งนาน
โดย: ติ๊ก IP: 49.48.88.225 วันที่: 30 พฤษภาคม 2555 เวลา:17:22:51 น.
  
เชิญร่วมทอดกฐินสามัคคี ๒๘ พย ๕๕
เวลา ๑๓.๐๐ น
โดย: นายกล้วย IP: 183.89.79.54 วันที่: 25 พฤศจิกายน 2555 เวลา:20:15:47 น.
  
ขอเชิญร่วมบริจาคสร้างศาลาประดิษฐานพระพุทธรูป ๑๐๘ องค์ได้ที่วัดทุ่งสว่าง นครราชสีมา ได้ทุกวัน
โดย: นายกล้วย IP: 183.89.77.129 วันที่: 10 ธันวาคม 2555 เวลา:19:45:54 น.
  
ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคี
สมทบองค์กฐิน ๒๕๕๖ กอง ๆ ละ ๔๙๙ บาท
“เพื่อสมทบทุนเทพื้นคอนกรีตรอบฌาปนสถาน
แบบปลอดมลพิษ (เมรุ)วัดทุ่งสว่าง”
ณ. วัดทุ่งสว่าง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง
จังหวัดนครราชสีมา
วันอาทิตย์ที่ ๓ เดือน พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๖
โดย: นายรวย IP: 183.89.87.231 วันที่: 25 ตุลาคม 2556 เวลา:7:25:19 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Tuk-tukatkorat.BlogGang.com

tuk-tuk@korat
Location :
นครราชสีมา  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 148 คน [?]

บทความทั้งหมด