ใบย่านาง วิธีแก้ปัญหาอาการร้อนเกินที่จะทำให้คุณปรับสมดุลร่างกาย


ใบย่านาง สรรพคุณสมุนไพร บรรเทาอาการร้อนเกิน ปรับสมดุลร่างกาย แก้ไข้ แก้พิษผิดสำแดง วิธีการใช้ หาง่าย ราคาถูก  



ย่านาง เป็นสมุนไพรในครัวเรือน ที่หาได้ง่ายอีกชนิดหนึ่งและมีประโยชน์  ปัจจุบันมีการแนะนำการใช้น้ำคั้นจากใบย่านาง ดื่มเพื่อปรับสมดุลของร่างกาย โดยนักวิชาการสาธารณสุข ด้านการแพทย์ทางเลือก รวมทั้ง มีการรวบรวม ประสบการณ์ จากการใช้น้ำคั้นใบย่านาง ในการรักษาโรคเรื้อรังต่างๆ มาเผยแพร่

ย่านาง หรือ ย่านางขาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Tiliacora triandra) เป็นไม้เลื้อยมีเนื้อไม้ในวงศ์ Menispermaceae เถากลม เหนียว เมื่ออ่อยสีเขียว แก่แล้วเป็นสีเทา ใช้ลำต้นเลื้อยพันต้นอื่น ใบเดี่ยว ดอกช่อแบบแตกแขนง ผิวเกลี้ยงเป็นมันสีเขียว สุกเป็นสีส้มอมแดง เมล็ดแข็งเพียงเมล็ดเดียว เถากินแก้ไข้ รากแก้ไข้ รักษาโรคประดง อาหารไทยอีสานและอาหารลาวใช้ใบย่านางเป็นส่วนผสมในแกงลาว ใช้ทำเครื่องดื่ม ในเวียดนามใช้ทำเยลลี่ เราสามารถนำทุกส่วนของย่านางมาใช้ประโยชน์ได้ไม่ว่าจะใช้ประกอบอาหาร หรือ ใช้เป็นยารักษาโรคมาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบันซึ่งสามารถหาได้ง่ายและราคาถูกอีกด้วย



สรรพคุณทางยาดั้งเดิมของสมุนไพรใบย่านาง

จากการค้นคว้ายังไม่พบว่าประเทศใดใช้ สมุนไพรใบย่านาง หลากหลายเท่ากับประเทศไทย
ใบย่านาง มีรสจืดขม กินได้ ใช้ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไข้ ตัวร้อน แก้ไข้รากสาด ไข้พิษ ไข้หัว ไข้กลับซ้ำ ใช้เข้ายาเขียว ทำยาพอก ลิ้นกระด้าง คางแข็ง กวาดคอ แก้ไข้ฝีดาษ ไข้ดำแดงเถา

ราก มีรสจืดขม กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้ ปรุงยาแก้ไข้รากสาด ไข้กลับ ไข้พิษ ไข้ผิดสำแดง ไข้เหนือ ไข้หัวจำพวกเหือดหัด สุกใส ฝีดาษ ไข้กาฬ กินแก้พิษเมาเบื่อ แก้เมาสุรา แก้พิษภายในให้ตกสิ้น บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้โรคหัวใจบวม ถอนพิษผิดสำแดง แก้อาการท้องผูก แก้กำเดา แก้ลม

ภาคอีสานใช้รากต้มเป็นยาแก้อีสุกอีใส ตุ่มผื่น และใช้รากย่านางผสมรากหมาน้อย ต้มแก้ไข้มาลาเรีย

รากย่านางเป็นส่วนประกอบสำคัญของยาเบญจโลกวิเชียร ยาดังกล่าวเป็นยาแก้ไข้ใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในขณะเริ่มเป็นได้



ย่านางทั้งต้น ปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ แก้ป่วง (ปวดท้องเพราะกินอาหารผิดสำแดง) ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ และถอนพิษเบื่อเมาในอาหาร เช่น เห็ด กลอย โดยใช้รากย่านางต้นและใบ1 กำมือ ตำผสมกับข้าวสาร (ข้าวเจ้า) 1 หยิบมือ เติมน้ำ 1 แก้ว ขยำคั้นให้น้ำออกมา กรองด้วยผ้าขาวบาง เติมเกลือและน้ำตาลเล็กน้อยพอดื่มง่าย ดื่มให้หมดทั้งแก้วทำให้อาเจียนออกมา จะช่วยให้ดีขึ้น อย่าเอาไปปั่นเพราะย่านางเป็นยาเย็น ความร้อนจากรอบหมุนเร็วของเครื่องปั่นจะทำให้ฤทธิ์ชีวภาพของใบย่านางสูญหายไป

มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ใช้ในการประกอบอาหารพื้นบ้านไทยหลายๆ ตำรับ ในใบย่านาง มีวิตามินเอและซีสูง นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารอาหารสำคัญอื่นๆ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ไฟเบอร์ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ไทอะมีน ไรโบฟลาวิน และไนอะซีน สำหรับสรรพคุณในทางยา ย่านางถือเป็นยาเย็น มีความโดดเด่นด้านการดับพิษและลดไข้ โดยรากใช้แก้ไข้ทุกชนิด เช่น ไข้พิษ ไข้เหนือ ไข้หัด สุกใส ไข้กาฬ ขับกระทุ้งพิษไข้ ถอนพิษผิดสำแดง และแก้เบื่อเมา ส่วนใบและเถา จะใช้แก้ไข้ ลดความร้อน และแก้พิษตานซาง รากย่านาง เป็นหนึ่งในส่วนประกอบของตำรับยาเบญจโลกวิเชียร หรือยา5 ราก หรือแก้วห้าดวง ซึ่งเป็นตำรับยาแก้ไข้ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศใช้ในบัญชียาจากสมุนไพรที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ร่วมกับรากชิงชี่ รากท้าวยายหม่อม รากคนทา และรากมะเดื่อชุมพร



เมื่อศึกษาถึงองค์ประกอบทางเคมี ในรากย่านางส่วนใหญ่เป็นอัลคาลอยด์ในกลุ่ม isoquinoline ในใบประกอบด้วยสารโพลีแซคคาไรด์ สารโพลีฟีนอล แคลเซียมออกซาเลท และอัลคาลอยด์กลุ่ม isoquinoline สำหรับการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของย่านาง ยังมีไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นการทดลองในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง ยังไม่พบรายงานการวิจัยในคน โดยพบว่าย่านางมีฤทธิ์ลดไข้ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรีย Plasmodium falciparum แก้ปวด ลดความดันโลหิต ต้านเชื้อจุลชีพ ต้านการแพ้ ลดการหดเกร็งของลำไส้ ต้านการเจิญของเซลล์มะเร็ง ยับยั้งเอนไซม์ acetylcholinesterase และมีฤทธิ์อย่างอ่อนๆ ในการต้านอนุมูลอิสระ


ที่มา : หมอชาวบ้าน https://www.doctor.or.th/article/detail/10740  
         วิกิพีเดีย  https://th.m.wikipedia.org/wiki/ย่านาง 



Create Date : 16 กุมภาพันธ์ 2562
Last Update : 19 กุมภาพันธ์ 2562 15:38:23 น.
Counter : 789 Pageviews.

0 comments
สวัสดีปีใหม่ ๒๕๖๗ มาช้ายังดีกว่าไม่มา
(2 ม.ค. 2567 07:30:30 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
ไม่ลอดช่องโหว่ ปัญญา Dh
(2 ม.ค. 2567 13:44:30 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Thaiherbweb.BlogGang.com

สมาชิกหมายเลข 3339170
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด