มะม่วงหาว


   ชื่อวิทย์ : Anacardirm Occidentale Linn.

   จัดอยู่ในวงศ์ ANACARDIACEAE







   มะม่วงหิมพานต์มี 2 ชนิด ผลสุกมีสีเหลืองกับสีแดง ผลของมะม่วงหิมพานต์ จะมีลักษณะขยายใหญ่พองโตคล้ายกับผลชมพู่ เรียกกันว่า ผลปลอม เมื่อสุกกลายเป็นสีเหลือง หรือสีแดงคล้ำ มีรสเปรี้ยวอมหวานนิ่มและมีกลิ่นหอม ผลปลอมนี้ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ' เต้า ' ( cashewapple ) ส่วนปลายสุดของผลปลอมเป็นส่วนของดอกที่ได้รับการผสมเกสรแล้วเจริญเป็นผลจริง ชาวบ้านเรียกว่า ' เมล็ด ' หรือ ' ลูกใน ' หรือ ' หัวใน ' ( nut ) รูปร่างคล้ายไต ระยะแรกสีม่วงแล้วกลายเป็นสีเขียวอ่อนนุ่ม เมื่อโตเต็มที่ลดขนาดลงเล็กน้อย แก่จัดจะแข็งเปลี่ยนเป็นสีเทา ส่วนนี้เป็นเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่เป็นสินค้าออกสำคัญของภาคใต้





   ชื่อพื้นเมืองของมะม่วงหิมพานต์ ได้แก่ ยกร่อง ( ใต้ ) กะแตแก ( มาลายู , นราธิวาส ) กายี ( ตรัง ) ตำหยาว ท้ายล่อ กาหยี ม่วงล่อ หัวครก กะแตแหล กาจู กาหยู ส้มม่วงชูหน่าย ( ใต้ ) นายอ ( มาลายู - ยะลา ) มะม่วงกาสอ ( อุตรดิตถ์ ) มะม่วงกุลา มะม่วงสังกา มะม่วงสิงหน มะม่วงหยอด ( ภาคเหนือ ) มะม่วงทูนหน่วย ส้มม่วงทุนหน่วย( สุราฎร์ธานี ) มะม่วงหิมพานต์ ( เงิ้ยวแม่ฮ่องสอน ) ยาโหยยามักม่วงหิมพานต์ ( อุดรธานี - อีสาน ) พานต์มะม่วงสิโห ( เชียงงอ )

ประโยชน์ทางยา
   ราก สรรพคุณแก้โรคท้องร่วง แลเป็นยาฝาดสมาน ใบ สรรพคุณเป็นยาสมานลำไส้บรรเทาอาการท้องร่วง ใบแก่ ใช้บดใส่แผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก ละใบสดนำมาเผาไฟ สูดดมควันเพื่อรักษาอาการ ไอ เจ็บคอเมล็ด สรรพคุณแก้กลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ทำให้เนื้อชา ยาง ช่วยกัดทำลายเนื้อที่เป็นตุ่ม ไต ตาปลา โรคเท้าแตก และแก้เลือดออกตามไรฟัน





ประโยชน์ทางอาหาร
   ส่วนที่เป็นผัก / ฤดูกาล ยอดอ่อน ใบอ่อน ใช้รับประทานเป็นผล และเมล็ดนำมาปรุงอาหารได้ ยอดและใบอ่อนใน ช่วงฤดูฝน การปรุงอาหาร ชาวใต้รับประทานยอดอ่อน และใบอ่อนสดเป็น " ผักเหนา ะ" ร่วมกับน้ำพริก แกงเผ็ดขนมจีนน้ำยา เช่นเดียวกับชาวอิสานที่นำยอดอ่อน และใบอ่อนสดรับประทานกับลาบก้อยป่นปลา และน้ำพริก ส่วนเมล็ดนิยมทำให้สุกก่อนโดยการเผาไฟ หรือคั่ว นำไปผัดหรือยำร่วมกับอาหารอื่น หรือรับประทานเป็นของว่าง

   การปลูกมะม่วงหิมพานต์ เป็นพืชปลูกง่ายปลูกในที่กลางแจ้ง ทนต่อแสงแดดได้ดี ขึ้นได้ในดินทุกชนิด





   การขยายพันธุ์ทำได้ 2 วิธี คือการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง

ข้อมูลและภาพประกอบ
-> //www.pantown.com/board.php?id=27690&area=3&name=board1&topic=710&action=view






Create Date : 01 เมษายน 2551
Last Update : 1 กันยายน 2552 12:41:41 น.
Counter : 3640 Pageviews.

2 comments
โจทย์ถนนสายนี้มีตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 348 - "ฉุกละหุก" ทนายอ้วน
(28 มี.ค. 2567 14:24:52 น.)
เก๋งจีนดอกปลาดาว (Stapelia Gigantea) 2 ฟ้าใสวันใหม่
(27 มี.ค. 2567 08:42:58 น.)
ภาพเก่า เล่าใหม่ ผลไม้และเบอร์รี่ชนิดต่างๆ ที่มีในสวน สวยสุดซอย
(27 มี.ค. 2567 14:20:01 น.)
รถเจาะบาดาลน้ำลึก 80-300 เมตร อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี โทร 062-1705084 สมาชิกหมายเลข 5575925
(25 มี.ค. 2567 01:55:50 น.)
  
ตกลงส่วนที่เป็นสีเหลือง กะสีแดงตอนสุกแล้วนั่นหน่ะ "กินได้" ใช่ป่ะคะ
โดย: กลีบดอกโมก วันที่: 1 เมษายน 2551 เวลา:16:22:53 น.
  
เริศ
โดย: ชัช (กู่ฉิน ) วันที่: 5 พฤษภาคม 2552 เวลา:14:58:52 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Sweet-ice.BlogGang.com

หวานเย็นผสมโซดา
Location :
นนทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]