๑.ประวัติการเสด็จประพาสต้น


.........." เสด็จประพาสต้น " .....เรื่องราวมากมายที่เกิดขึ้นระหว่างการเสด็จประพาสบ้านเมืองในอดีต ที่ยังคงปรากฏหลักฐานต่างๆนานาให้ได้ค้นหาไม่ว่าจะเป็นที่มาของคำว่า " ประพาสต้น " ซึ่งต่อยอดเป็นคำเรียกอีกมากมาย .....ทั้งเพื่อนต้น เรื่อนต้น และสถานที่ต่างๆ ที่เสด็จประพาสเมื่อ ร้อยกว่าปีก่อน

แต่เดิมการเสด็จที่เรียกว่าประพาสต้นมีเพียง ๒ ครั้งเท่านั้น นั่นคือปี รศ. ๑๒๓ และ ๑๒๕ รวบรวมเส้นทางเสด็จประพาสทั้งหมด ๑๐ เส้นทาง รวมทั้งสิ้น ๔๔ จังหวัด โดยเป็นเส้นทางเสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆมากมาย เรียกได้ว่าเป็นการทำวิจัยขั้นใหญ่



มาทำความเข้าใจที่มาของคำว่า ประพาสต้น " เสด็จประพาสต้น " เป็นหนึ่งในการเสด็จประพาสหัวเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งต่างจากการเสด็จประพาสอย่างเป็นทางการ กล่าวคือ การเสด็จประพาสต้น เป็นการเสด็จอย่างไม่เป็นทางการ ไม่มีท้องตรารับสั่งในหัวเมืองใดๆ จัดทำที่ประทับแรม ไม่มีหมายกำหนดการในแต่ละวัน โปรดที่จะประทับที่ใดก็ได้ตามพระราชประสงค์ และพระองค์โปรดที่จะให้ผู้ใกล้ชิดตามเสด็จเพียงไม่กี่คนเท่านั้น .....ซึ่งล้วนใช้ชีวิตกันอย่างสามัญชนทั่วไป


การเสด็จประพาสเช่นนี้ ทำให้พระองค์ได้ทรงสนทนากับราษฎรโดยตรง โดยที่พวกเขาไม่รู้ตัวว่ากำลังเข้าเฝ้าฯ พระเจ้าอยู่หัว บางครั้งเมื่อทรงทราบถึงความเดือดร้อนของชาวบ้าน ก็มีพระราชโองการให้เจ้าเมืองรับไปจัดการ หรือแม้แต่ทรงเปลี่ยนตัวข้าราชการการปกครองเสียเองก็เคยมี

..........การเสด็จประพาสต้น เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๓ ( พ.ศ. 2447 )



เหตุการณ์ประพาสต้นครั้งนี้ ได้ถูกบันทึกไว้ในพระราชนิพนธ์จดหมายเหตุประพาสต้น ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ โดยทรงใช้นามแฝงว่า " นายทรงอานุภาพ " ทรงนิพนธ์ในรูปแบบของจดหมายจำนวน ๘ ฉบับ ส่งให้กับมิตรคนหนึ่งชื่อว่า " พ่อประดิษฐ์ " .....จดหมายเรื่องนี้ได้ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ทวีปัญญารายเดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน ร.ศ. ๑๒๕ เดือนละฉบับจนจบเรื่อง และจากบทบันทึกในปี ร.ศ. ๑๒๓ นี้เองที่ทำให้เราทุกคนได้ทราบถึงที่มาของคำว่า ประพาสต้น



เมื่อนายทรงอานุภาพได้บันทึกข้อความบทหนึ่งไว้ว่า เหตุที่จะเรียกว่า ประพาสต้น นั้นเกิดเมื่อเสด็จในคราวนี้ เวลาจะประพาสมิให้ใครรู้ว่าเสด็จไปทรงเรือมาดเก๋ง ๔ แจว ลำหนึ่ง เรือนั้นลำเดียวไม่พอบรรทุกเครื่องครัว จึงทรงซื้อเรือมาดประทุน ๔ แจว ที่แม่น้ำอ้อมแชวง จังหวัดราชบุรี ลำหนึ่งโปรดเกล้าฯให้เจ้าหมื่นเสอมใจราช เป็นผู้คุมเครื่องครัวไปในเรือนั้น



เจ้าหมื่นเสมอใจราชชื่อ ค้น จึงทรงดำรัสเรียกเรือลำนั้นว่า เรือตาค้น เรียกเร็วๆ เสียงเปลี่ยนเป็น เรือต้น เหมือนในบทเห่ซึ่งว่า ..... พระเสด็จ โดยแดนชล ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย .....ฟังดูก็เพราะดี แต่เรือมากประทุนลำนั้นใช้อยู่หน่อยหนึ่งเปลี่ยนเป็นเรือมาดเก๋ง ๔ แจว อีกลำหนึ่งจึงโปรดให้เอาชื่อเรือต้นมาเรียกใช้ เรือมาดเก๋งลำที่เป็นเรือพระที่นั่ง ทรงอาศัยเหตุนี้ ถ้าเสด็จประพาสโดยกระบวนเรือพระที่นั่งมาดเก๋ง ๔ แจว โดยพระราชประสงค์จะมิให้ผู้ใดทราบว่าเสด็จ จึงเรียกการเสด็จประพาสเช่นนั้นว่า " ประพาสต้น " ...



คำว่า " ต้น " .....ยังมีที่ใช้อนุโลกต่อมาจนถึงเครื่องแต่งพระองค์ ในเวลาทรงเครื่องอย่างสามัญเสด็จประพาสมิให้ผู้ใดเห็นแปลกผิดกับคนสามัญ ดำรัส เรียกว่า " ทรงเครื่องต้น " ต่อมาโปรดฯ ให้ปลูกเรือนฝากระดานอย่างไทย เช่นพลเรืออยู่กันเป็นสามัญขึ้นที่ในพระราชวังดุสิต ก็พระราชทานนามเรือนนั้นว่า " เรือนต้น " .....




Create Date : 19 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2552 13:32:31 น.
Counter : 2199 Pageviews.

0 comments
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
๏ ... รามคำแหง แรงคำหาม ... ๏ นกโก๊ก
(2 ม.ค. 2567 14:22:51 น.)
พบเจอภาพอะไร? ส่วนหนึ่งของภาพน่าสนใจจึงตัดมาใช้ คุกกี้คามุอิ
(1 ม.ค. 2567 03:56:23 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Suwannaphoom.BlogGang.com

Kasaem
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]

บทความทั้งหมด