การหาทิศกิบลัตด้วยหลักดาราศาสตร์สำหรับมุสลิม
ด้วยวันที่ 28 พฤษภาคม 2554 เวลา 16:17:55 น. ดวงอาทิตย์จะอยู่ที่ทิศกิบลัตพอดี?

ออกตัวก่อนนะครับ ว่าผมไม่ใช่มุสลิม แต่เคยได้ยินคนมุสลิมนำปัญหาเรื่องการหาทิศกิบลัตด้วยหลักทางดาราศาสตร์มาถามในหว้ากอนี้ คิดว่าดูน่าสนใจดี (ไอเดียกระฉูด) พอจะช่วยกันได้ก็เลยช่วยครับ
การอยากรู้ว่าวิหารกะบะฮ์อยู่ทิศไหน ด้วยการสร้างเสาขนาดสูง คงเป็นเรื่องยาก ดังนั้น จึงต้องมองหาสิ่งที่จะมองเห็นร่วมกันได้ ซึ่งนั่นก็คือสิ่งที่อยู่สูงมากๆ ไม่ว่าจะเป็นดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดวงดาวทั้งหลาย
ในที่นี้จะกล่าวถึงดวงอาทิตย์แล้วกันนะครับ โดยผมจะหาวันที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากเหนือวิหารกะบะฮ์ เพราะว่าดวงอาทิตย์นั้นสามารถค่อนไปทางเหนือและค่อนไปทางใต้ได้ เนื่องจากโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ในขณะที่แกนโลกก็เอียงราว 23.5 องศา ทุกที่ในโลกที่อยู่บริเวณเข็มขัดโลก ในระยะห่างจากเส้นศูนย์สูตรไม่เกิน 23.5 องศา จึงมีโอกาสได้เห็นดวงอาทิตย์ตรงหัวกันปีละ 2 ครั้ง คือขาขึ้นและขาลง ข้อมูลพื้นฐานที่จะต้องทราบก็คือ พิกัดของวิหารกะบะฮ์ครับ โดยหาจาก google map ทางดาราศาสตร์



จะได้พิกัดคือ N 21° 25' 21" และ E 39° 49' 34.32"
วิหารกะบะฮ์จึงอยู่ในเขตเข็มขัดโลกนี้ จากนั้นก็มาหาวันที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉาก ด้วยโปรแกรมดูดาวโปรแกรมดูดาว stellariumนะครับ
พบว่าดวงอาทิตย์จะตั้งฉากครั้งแรกในวันที่ 28 พฤษภาคม 2554 เวลา 16:17:55 น.



แต่ก็ไม่ถึงกับเป๊ะนะครับ และคงไม่มีอะไรเป๊ะ เอาที่ใกล้เคียงที่สุดเท่านั้นครับ
ดังนั้น ในวันเวลาดังกล่าว ทุกๆที่บนโลกจะเห็นดวงอาทิตย์อยู่ตรงทิศกิบลัตเหมือนกันหมดครับ จึงขอให้ทุกคนได้สังเกตเอาไว้ ด้วยการห้อยดิ่งเพื่อดูเงา หรือมองทิศเทียบกับสิ่งปลูกสร้างฐาวรอะไรก็ได้ และจะได้พิสูจน์ว่า มัสยิดบางแห่งสร้างถูกทิศกิบลัตหรือไม่? แต่ผมว่าแบ่งหน้าที่แยกย้ายกันไปดู หรือถ่ายรูปเงาของสิ่งต่างๆเอาไว้ก็ดีครับ

นาฬิกาที่ใช้อยู่เดินตรงหรือไม่?
อย่าลืมว่าเข้าสู่ยุคอินเตอร์เน็ตแล้วนะครับ ไม่จำเป็นต้องตั้งเวลาตามวิทยุ โทรทัศน์ หรือตามเพื่อนอีกแล้ว ให้ตั้งตามลิงค์นี่ได้เลยครับ //www.timeanddate.com/worldclock/fullscreen.html?n=28

ลองมาดูทิศกิบลัตที่กรุงเทพฯ นะครับ พบว่าอยู่ที่มุมทิศ (มุมอาชิมุธ) 286° 53' 49" หรือนับจากทิศตะวันตกขึ้นไปทางเหนือ 16° 53' 49"



ยะลา ทิศกิบลัตอยู่ที่มุมทิศ 290° 53' 59"
ปัตตานี ทิศกิบลัตอยู่ที่มุมทิศ 290° 44' 17"
นราธิวาส ทิศกิบลัตอยู่ที่มุมทิศ 290° 55' 06"

หากพลาดจากวันเวลาดังกล่าว วันที่ติดกันนั้นพระอาทิตย์ก็ยังไม่หนีไปไกลมาก แต่เอาวันที่ 28 เป๊ะกว่า
27 พฤษภาคม 2554 เวลา 16:17:48 น.
29 พฤษภาคม 2554 เวลา 16:18:03 น.


และหากพลาดไปอีก จะเพราะลืมหรือเพราะสภาพอากาศไม่ดีก็ตาม ไม่ต้องรอถึงปีหน้าครับ อย่าลืมว่าปีหนึ่งดวงอาทิตย์จะตั้งฉากเหนือ ณ ที่แห่งหนึ่งถึง 2 ครั้ง
สำหรับครั้งถัดไปตรงกับวันที่ 16 กรกฎาคม 2554 เวลา 16:26:44 น. ครับ แต่รอบนี้ดวงอาทิตย์ก็ไม่ใกล้จุดเหนือศีรษะมากเหมือนรอบที่แล้วนะครับ




ข้อจำกัดของเรื่องนี้คือ มีเพียงครึ่งโลกเท่านั้นครับ ที่จะได้เห็นดวงอาทิตย์ในขณะนั้น และโชคดีที่ประเทศไทยก็อยู่ในเขตนั้นทั้งประเทศ แต่ยังมีพื้นที่กลางคืนอีกถึงครึ่งโลกที่ไม่ได้เห็นครับ
แต่ก็พอมีทางออกเหมือนกัน โดยการหาพิกัดที่ตรงข้ามกับวิหารกะบะฮ์ แล้วดูวันเวลาที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากเหนือพิกัดนั้น แต่ต้องหันหลังให้กับดวงอาทิตย์นะครับ แต่ขี้เกียจหาแล้วอะ 555 เพราะบทความนี้พิมพ์เป็นภาษาไทย ก็เพื่อให้คนไทยได้อ่านเท่านั้นครับ

อ่อ จะบอกว่า เราโชคดีกว่าประเทศทางซาอุนิดหน่อย เพราะบางพื้นที่ๆไม่ใกล้ไม่ไกลจากวิหารกะบะฮ์ นอกจากจะมองไม่เห็นวิหารกะบะฮ์แล้ว ยังได้เห็นดวงอาทิตย์อยู่สูงโด่มากซะจนหาทิศกิบลัตลำบากเหมือนกัน ประเทศเราอยู่ไกล ทำให้เห็นดวงอาทิตย์อยู่ต่ำ จึงกำหนดทิศง่ายกว่าหน่อยครับ


ไปเสริชเรื่องนี้ดู แล้วเจอการระบุวันที่ครอบคลุมหลายวันจัง
//topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2007/09/Y5819867/Y5819867.html#9
//ptsn.ac.th/forum/index.php?topic=321.0
ระบุว่า
วันที่ 27 พฤษภาคม เวลา 16.18 น.
วันที่ 28 พฤษภาคม เวลา 16.18 น.
วันที่ 29 พฤษภาคม เวลา 16.18 น.
วันที่ 30 พฤษภาคม เวลา 16.19 น.
วันที่ 31 พฤษภาคม เวลา 16.19 น.

วันที่ 14 กรกฎาคม เวลา 16.27 น.
วันที่ 15 กรกฎาคม เวลา 16.27 น.
วันที่ 16 กรกฎาคม เวลา 16.27 น.
วันที่ 17 กรกฎาคม เวลา 16.27 น.


อยากเรียนว่า แม้จะไม่มีวันไหนเป๊ะ แต่วันเวลาที่พระอาทิตย์ใกล้จุดเหนือศรีษะที่สุด ย่อมมีอยู่วันเดียวเท่านั้น
อันนี้เอาภาพพระอาทิตย์ตั้งฉากเหนือวิหารกะบะฮ์ระหว่างวันที่ 27-31 พฤษภาคม 2554 มาให้ดูชัดๆ แล้วจะเห็นว่าวันไหนกันแน่ เหมาะสมที่สุด

คลิ๊กที่ภาพเพื่อชมภาพขนาดจริง


และก็ช่วงระหว่างวันที่ 14-17 กรกฎาคม 2554 แล้วจะเห็นว่าวันไหนเหมาะสมที่สุด

คลิ๊กที่ภาพเพื่อชมภาพขนาดจริง



Create Date : 04 พฤษภาคม 2554
Last Update : 3 กรกฎาคม 2554 16:07:59 น.
Counter : 4031 Pageviews.

5 comments
แคดเมียม Cadmium ความอันตรายของมัน สมาชิกหมายเลข 4149951
(8 เม.ย. 2567 07:11:22 น.)
สรุปวิชาโลกดาราศาสตร์และอวกาศชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.5) เรื่องทรัพยากรธรณี นายแว่นขยันเที่ยว
(28 ก.พ. 2567 00:03:41 น.)
มีตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 347 Rain_sk
(28 ก.พ. 2567 08:43:19 น.)
สวัสดีปีใหม่ Rain_sk
(1 ม.ค. 2567 21:38:33 น.)
  
ชาวมุสลิมที่มาเห็นเรื่องนี้แล้ว รบกวนช่วยส่งต่อเมล์ให้เพื่อนๆด้วยนะครับ
โดย: สมภพ เจ้าเก่า วันที่: 4 พฤษภาคม 2554 เวลา:14:44:19 น.
  
อิอิ ทักทายนะจ่ะ เรามาอย่างเป็นมิตร
โดย: ตะวันเจ้าเอย วันที่: 4 พฤษภาคม 2554 เวลา:15:44:58 น.
  
ได้ความรู้
โดย: blogwhite วันที่: 4 พฤษภาคม 2554 เวลา:21:45:35 น.
  
ขอบคุณค่ะ ได้ความรู้เยอะจัง
โดย: กระติ๊ดแดง วันที่: 8 พฤษภาคม 2554 เวลา:14:06:16 น.
  
Do you know what holiday it is today?
We are used to the fact that we know only religious and public holidays and celebrate only them.
I found out about this only yesterday after visiting the site https://whenisholiday.com/.
It turns out that every day there are from 2 to 10 different holidays that surround us and make our lives happier.
Here is one of the holidays that will be today:
https://whenisholiday.com/america/when-is-national-doughnut-day-2017.htmlhttps://whenisholiday.com/world/when-is-world-tailors-day-2017.htmlhttps://whenisholiday.com/america/when-is-national-cannoli-day-2018.htmlhttps://whenisholiday.com/world/when-is-national-couples-day-2017.htmlhttps://whenisholiday.com/america/when-is-sadie-hawkins-da.htmlhttps://whenisholiday.com/europe/when-is-national-redhead-day-2018.htmlhttps://whenisholiday.com/https://whenisholiday.com/world/when-is-national-soccer-day-2018.htmlhttps://whenisholiday.com/america/when-is-husband-appreciation-day-2019.htmlhttps://whenisholiday.com/
โดย: Sergztw IP: 136.243.138.66 วันที่: 15 มีนาคม 2564 เวลา:4:18:39 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Sompop.BlogGang.com

สมภพ เจ้าเก่า
Location :
นครราชสีมา  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ผู้ติดตามบล็อก : 26 คน [?]

บทความทั้งหมด